ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ไผหากคองคอยถ่าคนตายว่าสิต่าว คือดั่งดาวอยู่ฟ้าคอยได้กะบ่มา แปลว่า ใครที่จะเฝ้ารอคอยให้คนตายกลับมา ก็เหมือนรอคอยดาวบนฟ้าให้มาหา หมายถึง คนตายแล้ว ไม่อาจฟื้นคืนมาได้ อย่าได้เศร้าโศกคร่ำครวญหาจนไม่เป็นอันทำอะไร


  ค้นหาสาธุการ ปลาร้านอกไห  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   24) ผาแดงนางไอ่  
  ซะนีน้อย    คห.ที่25)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : สกลนคร
เข้าร่วม : 29 ก.พ. 2555
รวมโพสต์ : 7
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 21100
รวม: 21100 สาธุการ

 
คุณโจ้น:
                         ประเพณีบุญบั้งไฟล้าน
        ประเพณีบุญบั้งไฟถือมาตั้งแต่ศาสนาพราหมณ์ยุคต้นเป็นประเพณีสืบต่อกันมาแสดงให้เห็นว่ามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์
์ที่สำคัญตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า“พระยาแถนเป็นเจ้าของฝนเป็นเทวดาผู้หนึ่งที่ควบคุมให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล
หากทำการบูชาให้พระยาแถนพอใจ ท่านก็จะบันดาลให้ฝนตก จากเรื่องเล่ากล่าวไว้ว่า เมืองพระยาคันคาก ( คางคก )  เกิดความแห้งแล้ง      ทำการสู้รบกับพระยาแถนไม่ได้จึงตกลงทำสัญญากันว่า     จะทำบุญบั้งไฟถวายแถนทุกปี ถ้าไม่ทำหรือทำไม่ถูกใจก็จะทำให้ฝนไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล สัญญาที่พระยาคันคากให้ไว้แก่พระยาแถนคือ
  “ ถึงเดือนห้าฟ้าใหม่ให้ทำบุญ และจัดทำอันใดให้เป็นการถวายพระยาแถนให้ทำพิธีการต่าง ๆ ถวายพระยาแถน ” บางตำนานเล่ากันว่า “  การทำบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน ” มีนิยายปรัมปราอยู่เรื่องหนึ่งเล่าสืบต่อกันมาว่ามีเมืองชื่อ คีตนครพระยาผู้ครองเมืองคือพระยาขอมมีธิดาโฉมงามมากนางหนึ่งชื่อนาง ไอ่คำ เมื่อถึงเวลาสมควรที่จะมีคู่ครอง พระยาขอมจึงให้ธิดาเลือกคู่โดยให้บรรดาเจ้าชายที่หมายปองทำบั้งไฟมาแข่งกันถ้าบั้งไฟของใครขึ้นสูงก็แสดงให้เห็นว่า
คนนั้นมีวาสนาสูง     และจะได้นางไอ่คำเป็นรางวัล         การแข่งขันครั้งนี้ผลปรากฏว่า     ท้าวผาแดง เป็นผู้ชนะ การแข่งขันบั้งไฟ       ซึ่งในการแข่งขันครั้งนี้ได้มี ท้าวภังคี     โอรสของพระยานาค     ได้แปลงกายเป็นกระฮอกด่อน
(กระฮอกด่อนหมายถึงกระรอกสีขาว)มาชมโฉมนางไอ่คำนางไอ่คำเห็นกระรอกด่อนอยากได้จึงให้บริวารไล่จับและ
บริวารอีกคนหนึ่งได้ยิงกระรอกตายก่อนตายท้าวภังคีได้อธิษฐานว่า“หากใครก็ตามได้กินเนื้อของข้าพเจ้าเข้าไปแล้วขอ
ให้ถึงแก่ชีวิต บ้านเมืองล่มจม  ”  ชาวเมืองได้กินเนื้อของกระรอกด่อนเกือบทุกคน จึงทำให้เกิดบ้านเมืองล่มจม กลายเป็นหนองน้ำ        มีชื่อเรียกว่าหนองหาน      มาตราบเท่าทุกวันนี้             ส่วนท้าวผาแดงพานางไอ่คำหนี แต่หนีไม่พ้น  เนื่องจากนางไอ่คำก็ได้กินเนื้อของกระรอกด่อนเข้าไปด้วย        จึงถูกแผ่นดินถล่มถึงแก่ชีวิตทั้งสอง ด้วยคุณงามความดีของท้าวผาแดงที่ประกอบไว้           เมื่อตายไปจึงได้เป็นเทพบุตรที่มีอำนาจคุ้มฟ้าบนสวรรค์ ดังนั้นก่อนถึงฤดูกาลทำนา       ชาวอีสานจึงบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 459 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 459 ครั้ง
 
 
  01 มี.ค. 2555 เวลา 05:42:52  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   73) ผาแดง - นางไอ่ ( ฉบับ บ่าวปิ่นลม )  
  ซะนีน้อย    คห.ที่31)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : สกลนคร
เข้าร่วม : 29 ก.พ. 2555
รวมโพสต์ : 7
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 21100
รวม: 21100 สาธุการ

 
คุณปิ่นลม:
ขอบคุณเจ้าของภาพ
ภาพหนองหาร จ.สกลนคร

เพื่อการวิเคราะห์ วิจารณ์ เสนอแนวคิด ความเห็นที่แตกต่าง แต่ บ่แตกแยก


ตามตำนานเล่าขานสืบต่อกันมา มูลเหตุที่ทำให้เกิด “ หนองหาร ” หนองหาร ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืด ที่มีชื่อและขนาดกว้างใหญ่ใน จ.สกลนคร  ต้นกำเนิดลำน้ำก่ำ วิถีชีวิตของ ชาวบ้านในชุมชนรอบหนองหารที่ได้อาศัยใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และทำประมง รวมถึงเป็นที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่สวยงาม “ หนองหาร “ มีขนาดกว้าง 8 กม. ยาว 13 กม.โดยประมาณ  

มีเรื่องราวเกี่ยวพันกับวรรณคดีพื้นบ้านอีสานเรื่อง "ผาแดง – นางไอ่" ตำนานรักอันลึกซึ้งของ หนึ่งหญิง - สองชาย ก็กลายเป็นสงครามทำให้บ้านเมืองถล่มทลาย กลายเป็นหนองน้ำใหญ่
โดยตำนานรักเรื่องนี้มีอยู่ว่า
“ พระยาขอม”
ผู้ครองเมืองเอกชะธีตา มีธิดานางหนึ่งชื่อ “ นางไอ่” ซึ่งจัดเป็นหญิงที่มีรูปร่างงดงามในวัยแตกเนื้อสาว ซึ่งจะหาสาวงามนางใดในสามไตรภพมาเทียบมิได้ ความงดงามของเธอเป็นที่เลื่องลือไปทั่วแดนไกล เจ้าชายหลายหัวเมืองต่างหมายปองอยากได้มาเป็นคู่ครองกันทุกคน

"ท้าวผาแดง"
เจ้าชายเมืองผาพง ฝั่งซ้ายมาน้ำโขง ทราบข่าวเล่าลือถึงสิริโฉมอันงดงามของ นางไอ่ ก็เกิดความหลงไหลใฝ่ฝันในตัวนางเป็นอย่างมาก จึงวางแผนทอดสัมพันธ์ไมตรีด้วยการส่งแก้วแหวนเงินทองและผ้าแพรพรรณเนื้อดีไปฝาก นางไอ่ เมื่อมหาดเล็กนำเอาสิ่งของไปมอบให้ แถมยังได้บอก นางไอ่ ถึงความรูปหล่อ องอาจ ผึ่งผายของ ท้าวผาแดง ให้ฟัง เท่านั้นเองนางก็เกิดความสนใจและฝากเครื่องบรรณาการไปฝาก ท้าวผาแดง เป็นการตอบแทนด้วย
ก่อนที่มหาดเล็กจะเดินทางกลับ “ นางไอ่” ยังได้ฝากคำเชื้อเชิญ” ท้าวผาแดง” ซึ่งตั้งทัพรออยู่นอกเมืองให้เข้าพบนางที่วังพระยาขอม แน่นอนละ จะเป็นด้วยบุพเพสันนิวาส หรือบุญกรรมแต่ปางก่อนของคนทั้งสอง
ทำให้คนคู่นี้รักกันอย่างรุนแรง และแอบได้เสียกัน สุดจะยั้งใจได้
ฝ่าย “ ท้าวพังคี ” ลูกชาย พญาศรีสุทโธ พญานาคผู้ครองเมืองบาดาล ก็เป็นอีกตนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันอยากยลสิริโฉมของ นางไอ่ ทั้งนี้เพราะเป็นเวรกรรมในอดีตชาตินั้นบันดาลให้มีอันเป็นไป
โดยเรื่องมีอยู่ว่า ท้าวพังคี เมื่อชาติก่อน เป็นชายหนุ่มที่ยากจนและเป็นคนใบ้ เดินทางเที่ยวขอทานไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ จนมาถึงหน้าบ้านเศรษฐีคนหนึ่ง และได้เข้าไปอาศัย ช่วยทำงานให้บ้านของเศรษฐีโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ทำให้เศรษฐีมีความรักใคร่เอ็นดูอย่างมาก ถึงกับยกลูกสาวสวยนางหนึ่งให้เป็นภรรยา ลูกสาวของเศรษฐีนางนี้คือ นางไอ่ ในชาติปางก่อน “ ท้าวพังคี” ในชาตินั้นเป็นคนไม่เอาไหน แทนที่จะรักภรรยาลูกเศรษฐีกลับไม่สนใจใยดี ไม่ยอมหลับนอนด้วยกันฉันสามี – ภรรยาแม้แต่ครั้งเดียว ภรรยาก็ไม่ปริปากบอกใครทราบ ปรนนิบัติสามีเยี่ยงภรรยาที่ดี เสมอมา
อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวพังคี ก็คิดถึงญาติพี่น้องที่บ้านเกิดของตน จึงพาภรรยากลับไปเยี่ยมบ้าน เศรษฐีผู้เป็นบิดาได้จัดแจงให้ลูกสาวหาบเสบียงอาหารตามผัวไป ท้าวพังคี หนุ่มใบ้ก็ไม่เคยช่วยเหลืองนางด้วยการหาบแทนเลย นางทนลำบากหาบของหนักข้ามห้วย และป่าเขา จนกระทั่งเสบียงอาหารหมดลงกลางทาง ท้าวพังคี เห็นมะเดื่อสุกเต็มต้น จึงขึ้นไปเก็บกินแทนข้าว ฝ่าย นางไอ่ ชะเง้อคอแหงนหน้าขึ้นมอง ท้าวพังคี ผัวรักให้โยนลูกมะเดื่อลงไปให้กินบ้าง แต่ ท้าวพังคี กลับไม่ใส่ใจเนื่องจากเป็นคนใจแคบ กินอิ่มคนเดียวแล้วก็ลงจากต้นมะเดื่อเดินหนีไป นางจึงขึ้นเก็บกินเอง เมื่อนางกินอิ่มแล้ว ก็ลงมาแต่ไม่พบ ท้าวพังคี จึงออกเดินตามหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ นางมีความทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่ง พอเดินทางถึงต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำ นางจึงลงอาบน้ำและดื่มกินจนมีความสดชื่นขึ้นมา จึงตัดสินใจแล้วอธิษฐานว่า
“ ชาติหน้าขอให้เจ้าตายอยู่บนกิ่งไม้ และอย่างได้เป็นผัว – เมียกันอีกเลย ”

ด้วยแรงอธิษฐานของนาง ชาติต่อมา ” เจ้าใบ้ ” สามีจึงเกิดมาเป็น “ ท้าวพังคี ” ส่วนเธอเองได้เกิดมาเป็น ” นางไอ่ ” และเวรกรรมจึงตามสนองคนทั้งสอง
ฝ่าย พระยาขอม เห็นว่า นางไอ่ ธิดาสาวผู้มีเรือนร่าง และใบหน้าอันสิริโฉม หาหญิงใดในหล้ามาเปรียบเทียบมิได้ ปัจจุบันเธอก็โตเต็มสาวแล้ว จึงมีใบฎีกาแจ้งไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ ให้ทำบั้งไฟมาจุดแข่งขันกันที่เมืองเอกชะธีตา หรือเมืองหนองหาร เพื่อจุดถวายพญาแถนผู้เป็นใหญ่ในชั้นฟ้าบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ประการหนึ่ง ส่วนอีกประการหนึ่ง หากบั้งไฟเมืองไหนขึ้นสูงกว่าเพื่อน ก็จะได้ นางไอ่ ธิดาสาวผู้เลอโฉมไปเป็นคู่ครอง
พระยาขอม ได้กำหนดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก เป็นวันงาน ทำให้เจ้าชายเมืองต่าง ๆ ทำบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน มาจุดแข่งขันกันอย่างมากมาย บุญบั้งไฟครั้งนั้นนับเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร พอถึงวันงานผู้คนก็หลั่งไหลมาทั่วทุกสารทิศ ทั้งยังมีการแข่งขันตีกลอง เรียกว่า “ เส็งกอง ” กันอย่างครึกครื้น เป็นที่สนุกสนานของหนุ่ม – สาว

” บุญบั้งไฟ ”
ในครั้งนี้ แม้ “ ท้าวผาแดง ” จะไม่ได้รับฎีกาบอกบุญเชิญให้นำเอาบั้งไฟไปร่วมงานด้วยก็ตาม แต่ ” พระยาขอม ” ว่าที่พ่อตา ก็ให้การต้อนรับ ” ท้าวผาแดง ” เป็นอย่างดี
ฝ่าย ท้าวพังคี เจ้าชายเมืองบาดาล ก็อยากมาร่วมงานกับมนุษย์ เพราะต้องการยลโฉม นางไอ่ เป็นกำลัง และคิดและวางแผนในใจว่า บุญบั้งไฟครั้งนี้ข้าต้องไปให้ได้ แม้พ่อข้าจะทัดทานอย่างไรก็ตาม จากนั้นก็พาไพร่พลส่วนหนึ่งออกเดินทางขึ้นมาเมืองมนุษย์ ทาง แปวนาค
แปลงกายเป็นชาวบ้าน แห่บั้งไฟปะปนมากับขบวน เป็นบวนบั้งไฟไม่มีชื่อ แอบแฟงเข้ามาเพื่อยลโฉม
นางไอ่ ซึ่งขบวนแห่ต้องผ่านหน้าพลับพลา ที่นางไอ่กับพญาขอมผู้พ่อ นั่งชมอยู่

และ ได้ออกติดตามลอบชมโฉมนางไอ่ ในขบวนแห่ของ พระยาขอม เจ้าเมือง ไปอย่างหลงใหลใน
การจุดบั้งไฟแข่งขันเป็นไปอย่างสนุกสนาน ทุกคนใจจดจ่ออยากรู้ว่า บั้งไฟเจ้าชายเมืองไหนชนะและได้ นางไอ่ ไปครอง ซึ่งการจุดบั้งไฟครั้งนั้น ท้าวผาแดง และ พระยาขอม มีเดิมพันกันว่า ถ้าบั้งไฟท้าวผาแดง ชนะบั้งไฟ พระยาขอม แล้ว ก็จะยก นางไอ่ ธิดาสาวให้ไปเป็นคู่ครอง
ผลปรากฎว่า บั้งไฟของ"พระยาขอม" ไม่ขึ้นจากห้าง ซึ่งคนอีสานเรียกว่า“ ซุ” ส่วนของ ท้าวผาแดง แตก(ระเบิด) คาห้าง คงมีแต่บั้งไฟของ “ พังคี” และของ “ พระยาเซียงเหียน” แห่งเมืองเซียงเหียนเท่านั้นที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า
แต่พระยาเซียงแหนเป็นอาของ ” นางไอ่”  ส่วนท้าวพังคี ไม่อาจอยู่ในร่างแปลงมนุษย์ได้นานเพราะ
ตัวเองเป็น นาค หรืองูใหญ่ ไม่อาจถือครองคู่กับมนุษย์ได้ จึงพาไพร่พลหลบหนีลงเมืองบาดาล ไม่แสดงตน
เมื่อหาผู้ชนะมารับรางวัลไม่ได้ จึงสมมุติบั้งไฟ ของท้าวพังคี ( ที่หายตัวไปแล้ว ) เป็นของ “พระยาฟ้าแดด” ซึ่งเป็นอาของนางไอ่    เพื่อป้องกันข้อกังขา เป็น อันว่า นางไอ่ จึงไม่ตกเป็นคู่ครองของใครทั้งนั้น

เมื่อ บุญบั้งไฟ เสร็จสิ้นลง“ ท้าวผาแดง” และ” ท้าวพังคี” ต่างฝ่ายต่างกลับบ้านเมืองของตน แต่ในที่สุด “ ท้าวพังคี” ก็ทนอยู่บ้านเมืองแห่งตนไม่ได้ เกิดร้อนรน เพราะหลงไหลในสิริโฉมอันงดงามของ"นางไอ่"
ทั้งที่พ่อห้ามปรามไม่ให้ขึ้นมาเมืองมนุษย์  แต่ ท้าวพังคีก็แอบหนีขึ้นมายังเมืองเอกชะธีตาอีก โดยแปลงร่างเป็น"กระรอกเผือก" “ หรือกระฮอกด่อน “ที่คอแขวนกระดิ่งทอง ไปเกาะอยู่บนกิ่งไม้ใกล้หน้าต่างห้องนอนของนาง ด้วยอยากเห็นหน้า
เมื่อเสียงกระดิ่งทองดังกังวาลขึ้น “ นางไอ่ ” ได้ยินก็เกิดความสงสัยจึงเปิดหน้าต่างออกไปดูเห็นกระรอกเผือกวิ่งและเต้นไปเกาะกิ่งนั้นกิ่งนี้ด้วยท่าทางน่ารักน่าเอ็นดู นางก็เกิดความพอใจอยากได้ขึ้นมาจึงสั่งให้นายพรานฝีมือดีออกติดตามจับกระรอกเผือกให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดนายพรานก็จับไม่ได้ เพราะความว่องไวของกระรอกเผือกตนนั้น นางจึงเกิดความไม่พอใจขึ้นมาแทนที่และสั่งให้นายพรานจับให้ได้ ไม่ว่าจะจับเป็นหรือจับตาย
นายพรานออกติดตามกระรอกเผือกอยู่นาน ในที่สุดผลกรรมแต่ชาติปางก่อนตามมาทัน เมื่อกระรอกเผือกตัวน้อยหนีนายพรานมาถึงต้นมะเดื่อที่มีผลสุกเต็มต้น เจ้ากระรอกน้อยก็ก้มหน้าก้มตากัดกินลูกมะเดื่อด้วยความหิวโหย นายพรานไล่ตามมาทันก็เกิดความโมโหที่จับเป็นไม่ได้ จึงตัดสินใจจับตาย ด้วยการใช้หน้าไม้อาบยาพิษยิงถูกร่างเจ้ากระรอกเผือกเต็มรักกระรอกเผือกหรือ "ท้าวพังคี" รู้ตัวดีว่าต้องตายแน่ ก่อนจะสิ้นใจ "ท้าวพังคี" ก็แสดงอิทธิฤทธิ์ โดยร่ายมนต์อธิษฐานว่า
“ ขอให้เนื้อของตนมีมากมาย 8,000 เล่มเกวียน มากพอเลี้ยงผู้คนได้ทั้งเมืองอย่างทั่วถึง ”

เมื่อกระรอกเผือกสิ้นใจตาย นายพรานกับพวก"นักล่า"  ก็นำเอาร่างของกระรอกเผือกไปให้ นางไอ่คำดู
นางไอ่ เล่นกับซากกระฮอกด่อน  จนคลายความอยากได้แล้ว จึงเอาให้พ่อครัวไปทำอาหาร โดยเอา
ไปชำแหละเอาเนื้อ เมื่อคนครัว ปาดเอาเนื้อ ก็ปรากฏว่าเนื้อของกระรอกน้อยก็เพิ่มขึ้นมาอย่างทวีคูน
เจ้าเมืองขอมเลยตัดสินใจ ป่าวประกาศแบ่งปันชาวเมืองทุกครัวเรือน  ผู้คนในเมืองต่างพากันกินเนื้อกระรอกอย่างอิ่มหมีพีมัน ยกเว้นครอบครัวแม่หม้าย ซึ่งไม่มีผัว
ถือว่า ไม่มีสิทธิ์ได้รับการแบ่งปัน ให้กิน ก็มีหลายครอบครัวอยู่เหมือนกัน

ฝ่ายบริวาร"ท้าวพังคี" ในเมืองบาดาล รู้เหตุการณ์ "ท้าวพังคี" หายตัวไป จึงออกตามหา โดยแปลงกายเป็น
มนุษย์ขึ้นมาถามข่าวในเมือง พบชาวเมืองกำลังกินเนื้อ “กระฮอกด่อน “ จึงสอบถาม รู้ใจความว่า เจ้าเมือง
เพิ่นแจกจ่ายเนื้อกระฮอก  พอดูก็รู้โดยทันทีว่าเป็นเนื้อนาค และเป็นเนื้อของ ท้าวพังคี  จึงนำความไปบอก
พญานาค ว่าลูกชายถูกนายพรานฆ่าตายให้พญานาคราชผู้เป็นบิดาฟัง  บิดาท้าวพังคีก็เกิดความกริ้วโกรธา
สั่งจัดบริวารเป็นริ้วขบวนกำลังยกพลโยธาทัพขึ้นไปอาละวาดเมืองพระยาขอมถล่มทลายให้หายแค้น พร้อมประกาศก้องว่า
"ไผกินเนื้อลูกพังคีของกูพวกมึงอย่าไว้ชีวิต"

  แล้วก็พากันขุดโพรงใต้เมือง เสียงดังครืนๆ   บ้างก็ขุดรูจนบางนาคบางตัว โผล่ให้เห็นในตอนหัวค้ำแถวๆ นอกเมือง  หวังถล่มเมืองนางไอ่  รอแค่เวลาให้พญา ศรีสุทโธนาค สั่งการเท่านั้น
ขณะที่บ้านเมืองกำลังล่มทลายเพราะอิทธิฤทธิพญานาค"ศรีสุทโธ" อยู่นั้น
“ ท้าวผาแดง ” ก็ขี่ม้า “ บักก่ำ ” เหยาะย่างมุ่งหน้าไปหา “ นางไอ่ ”
ท้าวผาแดงเห็นนาคเต็มไปหมดและได้เล่าเรื่องที่พบเห็นให้นางฟัง นางกลับไม่สนใจแต่ได้ทำอาหารที่มีกลิ่นหอมหวลเป็นพิเศษมาให้ท้าวผาแดงกิน ท้าวผาแดงจึงถามว่า เนื้ออะไรจึงหอมนัก ก็ได้รับคำตอบจากนางว่า “ เนื้อกระรอก ถูกนายพรานยิงตายนำมาให้ ” เท่านั้นเอง ท้าวผาแดงก็ทราบในทันทีว่าเป็นเนื้อของ ท้าวพังคีลูกชายเจ้าพ่อศรีสุทโธ เจ้าเมืองบาดาล
จึงไม่ยอมกินอาหาร"ต้องห้าม"ที่นางยกมาให้ พลางถามนางว่า “เจ้ากินเนื้อนี้แล้วหรือ”  
นางไอ่ตอบว่ากินแล้วตั้งแต่หัวค่ำ “  ผาแดงตกใจ เล่าเหตุอันจะเกิดในไม่นานให้รู้ และตัดสินใจพา
นางไอ่หนี  โดยให้เก็บเอาข้าวของแก้วแหวนเงินทอง เครื่องของมีราคา ห่อใส่ผ้า ขึ้น
”ม้าบักก่ำ” หนีออกจากเมืองในกลางดึกคืนนั้น

คืนนั้นผู้คนกำลังหลับสนิท เหตุการณ์ร้ายก็ได้เกิดขึ้นดังผาแดงคาดไว้  เสียงครืน ๆ แผ่นดินถล่มดังมาแต่ไกล ท้าวผาแดงก็รู้ในทันทีว่าพญานาคจะทำให้เมืองล่มสลายแล้ว ควบม้าพานางไอ่ขึ้นหนีออกจากเมืองอย่างสุดฝีเท้า เพื่อให้พ้นภัย
เมืองเอกชะธิตา ล่มสลายเพราะแผ่นดินยุบเกิดเป็นหนองน้ำใหญ่  ผู้คนล้มตายทั้งเมือง
ยกเว้นบ้านของแม่หม้าย ที่ไม่ได้กินเนื้อกระฮอกด่อน  ไม่ได้รับความเสียหาย เหลือให้เห็น
เป็นเกาะแก่งอยู่ประปราย

แม้ว่าท้าวผาแดงจะควบม้าคู่ชีพไปทางไหน นาคก็ดำดินติดตาม แผ่นดินก็ถล่มทลายไปด้วย
ท้าวผาแดงควบม้ามุ่งไปยังน้ำโขง เพื่อหนีไปยังเมืองผาพง พญานาคก็ติดตามอย่างไม่ลดละ ขาหลัง
ของม้าบักก่ำ หล่มดินอยู่ตลอด

เส้นทางหนีของม้าบักก่ำ เกิดเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ ชื่อว่าลำน้ำก่ำ

แม้ว่าจะวิ่งหลบหลีก คดงอเพื่อจะสลัดการไล่ติดตามของพญานาคเท่าใดก็ ไม่ยอมหลุด ผาแดงจึงให้นางทิ้งของมีค่าที่หอบหิ้วมา
ทั้งฆ้องทองคำ ทิ้งลงหลอกว่านางไอ่ตกลง พญานาคก็ทำลายพื้นดินแถบนั้น  เกิดเป็นวังน้ำ ชื่อว่า วังฆ้อง
กลอุบายดังกล่าวถ่วงเวลาได้นิดหนึ่ง ไพร่พลพญานาค ก็ไล่ติดตามต่อ นางไอ่ ทิ้งกลองทองคำลง
เกิดเป็น วังกลอง  ถอดทิ้งแม้กระทุ่งแหวนที่อยู่นิ้วเพราะกลัวน้ำหนักจะถ่วง ม้าบักก่ำ เกิดเป็น วังแหวน
ม้าบักก่ำก็ วิ่งหนีสุดสามารถ   สองขาหน้าตะกายดินไปตลอด แต่สองขาหลังคู้หลบ แผ่นดินยุบอยู่ตลอด
ด้วยเหตุที่นางไอ่กินเนื้อกระฮอกด่อน  ซึ่งต้องคำสาป ในที่สุดนางไอ่ก็ถูกพญานาคใช้หางฟาดตกลง
จากหลังม้า และจมลงในน้ำตายไปต่อหน้าท้าวผาแดง ด้วยเหตุสุดวิสัยที่จะช่วยนางเอาไว้ได้  ตรงที่นางไอ่ตกลงจากหลังม้า “ เวิงมน “ เวิงหม่น “ วังน้ำขนาดใหญ่ที่สุดของลำน้ำก่ำ  ก่อนถึงน้ำโขง
เมื่อท้าวผาแดงกลับถึงเมืองผาพง ก็คิดถึงนางไอ่ เมียรักข้าวปลาไม่กิน ร่างกายผ่ายผอม เกิดล้มป่วยลงและตรอมใจตายตามนางไปในที่สุด

เมื่อท้าวผาแดงตายเป็นผี ก็ยังมีความอาฆาตเคียดแค้นพญานาคอยู่ไม่วาย พอได้โอกาสเหมาะ ผีผาแดง ก็เตรียมไพร่พลเดินทัพผีไปรบกับพวกพญานาคให้หายแค้น บริวารผีท้าวผาแดงมีเป็นแสน ๆ เดินเท้าเสียงดังอึกทึกปานแผ่นดินจะถล่ม เข้ารายล้อมเมืองพญานาคเอาไว้ทุกด้าน ต่างฝ่ายต่างใช้อิทธิฤทธิ์รบกันนานถึง 7 วัน 7 คืน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ฝ่ายเจ้าพ่อศรีสุทโธ เจ้าเมืองบาดาลซึ่งแก่ชราภาพมากแล้ว ก็ไม่อยากก่อกรรมก่อเวร เพราะต้องการไปเกิดในแผ่นดินพระศรีอาริยเมตตรัยอีก จึงไปหาท้าวเวสสุวัณ ผู้เป็นใหญ่ให้มาตัดสินความ
ท้าวเวสสุวัณ จึงเรียกทั้งสองฝ่ายมาโดยให้ทั้งสองฝ่ายเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ทราบ ท้าวเวสสุวัณจึงบอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็นผลของ ” บุพกรรม ” หรือกรรมเก่าแต่ชาติปางก่อนที่ตามมาในชาตินี้ และทั้งสองฝ่ายก็มีเหตุผลกล้ำกึ่งกัน จึงให้ทั้งสองเลิกลาไม่ต้องเข่นฆ่ากันอีก ขอให้มีเมตตาต่อกัน และให้ทั้งสองฝ่ายรักษาศีลห้า ปฏิบัติธรรม และให้มีขันติธรรม ต่อไป
ท้าวผาแดง และพญานาคได้ฟังคำสั่งสอนของก็กลับมีสติ เข้าใจในเหตุและผลต่างฝ่ายต่างอนุโมทนา สาธุการ ให้อภัยกันในที่สุด  เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 401 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 401 ครั้ง
 
 
  01 มี.ค. 2555 เวลา 06:04:16  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   78) ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่  
  ซะนีน้อย    คห.ที่1)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : สกลนคร
เข้าร่วม : 29 ก.พ. 2555
รวมโพสต์ : 7
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 21100
รวม: 21100 สาธุการ

 
เคยเบิ่งหนังเรื่องนี้ ตั้งแต่เป็นอิซะนี โตน้อยๆ ยุพุ่น...โอ๋ยยยยยยยย ไห่วะสั่น ไห่จนสะอื้น..ตอนนั้น อ้ายปิยะ ตระกูลราษร์ แสดงเป็น บักทอง..ป้าทอง แสดงเป็น แม...ในหนังหนั่น..แมบักทองไปวัด แล่วกะคุยเพลินกับเจ้าอาวาสวัด เลยไปส่งข้าวลูกสวย..
  คั่นซินีน้อยจำบ่ผิดเด้อ..

 
 
สาธุการบทความนี้ : 353 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 353 ครั้ง
 
 
  02 มี.ค. 2555 เวลา 01:12:30  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ