ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
อดสงสารบักเลเถ้าควายเฮาไว้แด่ คันบ่บายหญ้าป้อนบักเลเถ้าส่วนสิตาย แปลว่า สงสารควายแก่ของตนไว้ หากไม่หาหญ้ามาป้อน ควายแก่ อาจจะตาย หมายถึง ควรเป็นคนกตัญญู รู้สำนึกในบุญคุณ


  ค้นหาสาธุการ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   1004) ผ้ามูลแต่พ่อแต่แม่ แพรโบราณ ภูษาแพรพรรณ ประชันความงาม  
  หนุ่ม ต้นกล้า    คห.ที่287) อ้าย อันเห็นหมอน หน่วยมันคล้ายๆกันอยู่กับของอยู่เฮียนนข้อย แหม่แต่หน่วยน้อยกว่าครับ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 20 เม.ย. 2554
รวมโพสต์ : 2
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 5130
รวม: 5130 สาธุการ

 


คุณอ้ายโอ๊ต:
หมอนขิดข้างจก อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ลักษณะของหมอนขิดอีสานที่ผสมผสานวัฒนธรรมการทำจกข้างหมอน ที่ยังไม่พบหมอนลักษระแบบนี้ในจังหวัดอื่นๆในอีสาน





หมอนขิด ข้างจก ของ อ.ภูเขียว ชัยภูมิ(ซ้าย)    เปรียนเทียบกับหมอนข้างจกของ แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว(ขวา)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 299 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 299 ครั้ง
 
 
  20 เม.ย. 2554 เวลา 17:39:18  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1007) การประกวดวงโปงลาง ฟ้อนลำแคน คอนเทสต์ 2010 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
  หนุ่ม ต้นกล้า    คห.ที่325)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 20 เม.ย. 2554
รวมโพสต์ : 2
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 5130
รวม: 5130 สาธุการ

 
คุณครูsomภูโอบ:
คุณอ้ายโอ๊ต:
หลายประเด็นที่ผมสนใจและอยากให้มีคนทำเหมือนกัน จะเป็นสถาบันไหนหรือที่ไหนทำก็ได้ ขอแค่เป็นการแสดงที่สื่อถึงจังหวัดชัยภูมิ เช่น

"ระบำดอกกระเจียว"
สัญลักษณ์ของจังหวัดคือดอกกระเจียว ก็สร้างดอกกระเจียวให้มีชีวิตเหมือนคน คือให้ช่างฟ้อนหญิงฟ้อนเป็นดอกกระเจียวไปเลย แนวคิดแบบว่า เมื่อยามต้องน้ำฝนต้นดอกกระเจียวจะเติบโตและผลิบาน

"ฟ้อนผู้ดีหลวง"
สมญานามของการยกย่องสตรีเมืองชัยภูมิ เรื่องที่แต่งกายเรียบร้อยงดงาม ด้วยชุดผ้าไหมมัดหมี่ มี่เครื่องประดับทำด้วยทองอย่างลงตัวสวยงาม อีกทั้งยังมีคุณสมบัติตามแนวคิดของหญิงอีสานโบราณ คือ เฮือน3น้ำ4 การแสดงจะไปในแนวคิดถึงการแสดงออกของลักษณะกุลสตรีผู้ดีหลวงเมืองชัยภูมิ

"ฟ้อนหมอนขิดข้างจก"
จังหวัดเดียวในภาคอีสานที่มีการทำลวดลายจกข้างหมอนขิด คือ อ.ภูเขียว อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ซึ่งการทอลายจกบนหมอนขิดนี้ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งยังมีถิ่นฐานเดิมคือหลวงพระบาง หมอนขิดข้างจกนั้นจึงมีเอกลักษณ์โดดเด่นและความสวยงามเหนือกว่าหมอนขิดจากจังหวัดอื่นๆ

"ฟ้อนขิดหลวง"
ผ้าขิดฝ้ายผืนใหญ่ ลวดลายสวยงาม ของชาวบ้านหลายอำเภอในชัยภูมิ ผ้าทอขิดนี้ก็สืบทอมาตั้งแต่ครั้งถิ่นฐานเดิมอยู่ที่หลวงพระบาง เป็นผ้าขิดด้ายหรือไหมสีดำบนพื้นขาว

"ฟ้อนต้นกะธูป"
ต้นกะธูป เอกลักษณ์ อ.หนองบัวแดง ในวันออกพรรษาจะมีการประดิษฐ์ต้นกะธูปขนาดใหญ่คือนำธูปมาพันด้วยกระดาษสีเป็นลวดลายสวยงาม นำไปจัดแต่งขึ้นเป็นต้นเป็นชั้นๆเหมือนฉัตร ฝรั่งต่างชาติได้มาชมก็ชื่นชมว่า เป็นต้นคริสมาสต์แห่ง อ.หนองบัวแดง (การแสดงนี้ วงโปงลางต้นน้ำซี ทำมาก่อนแล้ว คือ ฟ้อนแห่ต้นกะธูป)

"ฟ้อนสักการะพระธาตุหนองสามหมื่น"
พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นโบราณสถานที่มีรูปแบบของศิลปะผสมหลายอย่าง ได้แก่ ล้านช้าง ล้านนา และอยุธยา อีกทั้งยังมีตำนานเกี่ยวกับหนองสามหมื่นตามนิทานสังข์ทองอีกด้วย

"ตีคลีไฟ"
การตีคลีไฟ ดั้งเดิมคือเวลาว่างจาการทำนา เมื่อนั่งผิงไฟ เกิดเบื่อ จึงนำถ่านไฟออกมาตีเล่น จนปัจจุบันก็มีการเล่นเป็นกิจลักษณะ มีการแข่งขันการตีคลีลูกไฟ โดยเปลี่ยนจากก้อนถ่านไฟเป็นลูกไฟที่ประดิษฐ์ที่คงทนกว่า เป็นแห่งเดียวใน อ.เทพสถิต*

"ชาติพันธุ์ในชัยภูมิ>>>ฟ้อนเผ่าไทยชัยภูมิ"
จังหวัดชัยภูมิมีความหลากหลายเรื่องชาติพันธุ์ เช่น ไทลาว ไทเบิ้ง(ไทคราช) ญัฮกุร *ไทพวน(อ.คอนสาร)
หากจะนำเสนอเหมือนฟ้อนเผ่าไทภูพานก็น่าจะทำได้ เพียงแต่ต้องสื่อมาว่าที่รวมกันของชาติพันธุ์นี้ มาเจอกันเพื่ออะไร มีจุดประสงค์ในการสื่อการแสดงอย่างไร เช่น ชาติพันธุ์เหล่านี้รวมตัวกันเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อในหลวง เป็นต้น

"ป๊ะเรเร"
การแสดงดั้งเดิมของชาวไทบนหรือญัฮกุร ตอนนี้วิทยาลัยนาฏศิลปโคราชทำออกมาแล้ว แต่เป็นไทบนในโคราชเองซึ่งก็สามารถประยุกต์เพื่อไทบนชัยภูมิก็ไม่น่าจะผิดแนวคิด

"สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ"
สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆของชัยภูมิสามารถนำมาเป็นแนวคิดในการประดิษฐ์การแสดงได้ เช่น การใส่กิจกรรมของคนกับสถานที่ท่องเที่ยวนั้น เช่น
การที่ชายหนุ่มหญิงสาวมาเล่นน้ำตีโป่งและเกี้ยวพาราสีหยอกล้อกันที่น้ำตกตาดโตน

หรือจะเอาตำนานหรือความเชื่อเกี่ยวกับโบราณสถานต่างๆ ตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงล้านช้าง มาประดิษฐ์การแสดง

"โครงการก่อสร้างพระใหญ่ชัยภูมิ"
พระใหญ่ชัยภูมิเป็นโครงการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดชัยภูมิบนพื้นที่หลายร้อยไร่ จะเป็นองค์พระปฏิมาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ส่งที่ขาดคือนาฏกรรมที่จะเป็นนาฏกรรมร่วมของชาวชัยภูมิ ให้ได้เทียบเท่ากับการฟ้อนรำสักการะพระธาตุพนม

    ขอบคุณค่ะสำหรับขอมูลจริงแล้วตัวส้มเองอยากให้ผู้มีความสามารถด้านนี้มาช่วยกันทำหรือหากเป็นไปได้อย่างวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลป์ หากได้มาก็คงดีเพราะจะทำให้คนทั่วไปยอมรับโดยไม่ต้องมีคำถามใดๆเลยแล้วสอนรำให้ทุกโรงเรียนเลย เพราะเวลาไปแข่งดูของจังหวัดอื่นแล้วอดคิดไม่ได้เราก็อยากมีเหมื่อนเค้าบ้าง คิดหนักจังเลยนะเนี้ย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 214 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 214 ครั้ง
 
 
  21 ก.พ. 2555 เวลา 19:30:20  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
การประกวดวงโปงลาง ฟ้อนลำแคน คอนเทสต์ 2010 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ