ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
คันสิเทียวทางเวิ้งหาทิงบั้งใหญ่ คันสิขึ้นต้นไม้ให้หาท้างปล่องลง แปลว่า ถ้าจะเดินทางไกลกันดาร ให้เตรียมกระบอกน้ำ ถ้าจะขึ้นต้นไม้ ให้มองหาทางลงก่อน หมายถึง จะทำกิจการใดๆ ควรวางแผนเตรียมข้าวของอุปกรณ์ให้พร้อม


  ค้นหาสาธุการ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่143) แสดงความคิดเห็น      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
และกรรมกราตัดสินวงโปงลางน่าจะเชิญอาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลป ทุกที่ของภาคอีสานมาด้วย และต้องเป็นผู้ที่ประดิษชุดการแสดงที่เกณกำหนดมาด้วย เพราะจะได้ถามท่านเลยว่าเหตุใดถึงทำมาแบบนี้ต้นฉบับแต่ละชุดการแสดงเป็นเช่นไร และถูกต้องมากน้อยขนาดใน จะได้ชัดเจนคราบบบบ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 306 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 306 ครั้ง
 
 
  15 ม.ค. 2554 เวลา 02:07:32  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1101) *แตกประเด็นที่ถกเรื่องไทพวน และภูไท จนเป็นที่วิพากษ์กันทั่วประเทศ  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่4) ไทพวน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
เรื่องฟ้อนไทพวน ผมก็สงสัยเหมือนกันนะครับว่า ไทพวนที่มีในอีสาน คือที่ไหน อ. ไร หมู่บ้านไหน จ.ไร แน่นอน แล้วแต่กายแบบชนเผ่าดั้งเดิมแบบไหน ภาษาเป็นอย่างไร เพลงของขนเผ่าที่ใช่ร้องเล่นกันเป็นแบบไหน
  แล้วผมก็อยากเห็น การแต่งกาย การฟ้อน การขับร้อง การบรรเลงดนตรี ที่เป็นของชนชาติพันธ์ ไทพวน เล่นจริงๆ จะได้เป็น แบบยืนยันที่แน่นอนและถูกต้องของชนชาติพันธ์ไทพวนจริงๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 264 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 264 ครั้ง
 
 
  02 ก.พ. 2554 เวลา 12:17:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่142)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
ส่วนนางไหมีมาได้อย่างไรมีไว้เพื่ออะไร
จากที่ผมได้ทราบมานะคราบว่า นางไหเกิดขึ้นครั้งแรกที่วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ส่วนที่มาของนางไห ผมไม่แน่ใจ อันนี้ต้องไปถามอาจารย์เก่าแก่ของ วนศ.กาฬสินธุ์ และราชินีไหซอง คือ อ.นิตยา ราชินีไหซอง ศิษย์เก่ารุ่นแรกๆของวนศ.กส.นะคราบ และเป็นนางไหคนแรกของของโลกด้วยซ้ำนะคราบ ผมคิดว่า
   ถูกต้องหรือผิดพลาดประการใดเรียนท่านผู้รู้กรุณาให้ความรู้เพิ่มเติมดว้ยนะคราบ ขอบคุณครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 215 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 215 ครั้ง
 
 
  15 ม.ค. 2554 เวลา 02:01:39  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่117)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
คุณอีสานลมโชย:
คุณสาวนาฏศิลป์:
คุณบ่าวดินดำ:
สวัสดีทุกท่านนะคราบ ผมเปนสมาชิกใหม่ จากที่ผมได้อ่านข้อความของทุกท่านแล้ว และได้ยินได้ฟังได้ชมการแสดงของทุกโรงเรียน ทั้งหลายๆที่ และที่เชียงคานแล้วนะคราบ ถ้าจะพูดกันถึงประเด็นของ รร สว่างแดงดิน กะ รร. กาฬสินธุ์พิท กินกันไม่ลงคราบถ้าดูแบบผู้ชมทั่วไป
แต่ถ้าดูแบบผู้ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการแสดงและผู้ที่ได้ทำงานกับผู้ที่มีประสบการณ์ทางการแสดงเกี่ยวกับนาฏศิลป์ แล้วนั้น  วงที่ฟ้อนได้ถูกต้องตามแบบ และบรรเลงลายเพลงได้ถุกต้องควรจะได้รับรางวัลชนะเลิศไป ส่วนท่าฟ้อนและลายเพลงที่คิดขึ้นใหม่นั้นถ้าทำขึ้นโดยใช้หลักการของ นาฏศิลป์ และ ดนตรีพื้นเมืองอีสาน กรรมการควรศึกษาท่ารำอีสานให้ดีแล้วค่อยมาตัดสิน เพราะดูและฟังจากกรรมการคอมเม้นแล้วไม่ได้กล่าวถึงหลักการของการฟ้อนเลย และคำบ้างคำกรรมการก็ไม่ควรใช้ด้วยซ้ำ เพราะฟังแล้วมันไม่น่าใช่คำพูดของผู้รู้ เช่น การที่กล่าวถึงว่า นักเรียนที่มาระประในงานนี้ รำสวยกว่านักศึกษามหาวิทยาลัย เพราะเขารำเป็นรำไทยมากกว่า ผมว่า การที่เรียนวิชานาฎศิลปก็เพราะอยากพัฒนาการฟ้อนรำให้สวยขึ้น และอีกอย่าครูที่สอนฟ้อนรำของวงโปงลางแต่ละโรงเรียนก้อมีพื้นฐานการรำไทยส่วนมากนะคราบถ้าไม่มีรำไทยแล้วการรำของนางรำทุกวงคงรำไม่สวยขนาดนี้นะคราบ และที่ว่าวงหนองเรือเอารูปแบบเดิมมาแสดงแล้วยังไงก็ไม่ได้รางวาลได้แค่นั้นระดับกลางๆ แลัวทำไมไม่ว่าสว่วงแดนดินบ้างที่เอารูปแบบเดิมมา ส่วนกล่าวถึงองค์รวมหรือภาพรวมผมว่าให้ทั้ง 2 วง แต่ผมจะเอาจุดที่รำไม่ถูกต้องตามต้นแบบ การแต่งกายไม่ถูกตามแบบและการแปรแถวการใช้เวทีมาตัดคะแนนออก วงใหนเหลือคะแนนมากกว่าวงนั้นก็คงได้รางวัลไปนะคราบ  ตัดสินงานต่อไปรบกวนกรรมการดูท่ารำในแต่ละลายที่ใช้ประกวดด้วยนะคราบว่ารำได้ถูกต้องตามแบบใหมแต่งกายถูกต้องตามแบบหรือปว่า เช่นชุดภูไท ว่าภูไทที่ใดแต่งกายแบบใหน มี่อะไรบ้างเป็นส่วนประกอบการแต่งกาย ผมอยากเรียนอีกอย่างว่ากรรมการไม่ควรเชียร์วงที่ตนชื่นชอบจนเห็นได้ชักเจนเกินไปเพราะจะทำให้ผู้ชมผู้เชียร์วงอื่นๆตำหนิได้นะคราบ

    ถ้าจะให้กรรมการด้านนาฏศิลป์คอมเม้นเรื่องท่ารำคงยากค่ะ เพราะ กรรมการท่านนี้ท่านจบด้านไอที  ที่ท่านได้มาเป็นคณะกรรมการเพราะท่านได้เขียนหนังสือหรือวิจัย(ไม่แน่ใจนะคะว่าอันไหน)เกี่ยวกับวัฒนธรรมอีสาน แต่ไม่ได้จบด้านนาฏศิลป์มาโดยตรง



ตามปกติกรรมการเขาจะคัดจากครูอาจารย์  นักวิชาการ หรือศิลปินอิสระ (ทั้งดนตรี และนาฏศิลป์)คิดว่ากรรมการท่านนี้คงมาจากสายนักวิชาการ ถ้าใช่ก็ต้องให้เครดิตเขา  ผมไม่กล้ายืนยันว่ากรรมการจะครบทั้ง 3 สายนี้หรือเปล่าเพราะดูจากทีวี  แต่ถ้าครบเราจะไปตำหนิเขาในข้อใดล่ะ

    


จากการที่ผมได้ชมได้ฟังที่กรรมการพูดนะคราบ กรรมการสายดนตรีเปนอาจารย์สายตรงคราบ แต่กรรมการฝ่ายการรำเป็นเพียงนักวิชาการไม่ใช่อาจารย์สายนาฏศิลป์โดยตรงแน่นอน เพราะถ้าเป็นอาจารทางด้านนาฏศิลปท่านจะต้องกล่าวถึงการแต่การที่ถูกต้องท่ารำที่ถูกต้องตามแบบตามลายเพลง เพราะอาจารย์ทางด้านนาฏศิลปท่านจะไม่คอมเม้นในการใช้สีเสื้อผ้าที่มันเป็นสีโทนคลาสสิคเพราะสีโทนคลาสสิคจะเป็นสีที่เป็นพื้นของอิสาน เช่นครามนำ้ตาล หรือเกี่นยวกับการรำโบราณคดี ประวัติศาสตร์จะต้องเป็นโทนสีนี้อยู่แล้ว เพราะถ้าจะเอาสีสันที่ฉูดฉาดคงต้องเอาไปตัดชุดหางเครื่องจะดีกว่านะคราบ แล้วถ้ากรรมการท่านใดชอบการแสดงที่สวมใส่เสื้อผ้าสีสันฉูดฉาด คงต้องไปตัดสินการประกวดแดนซ์เซอร็นะคราบ เพราะฉนั้นการประกวดแบบนี้ควรเชิญกรรมการทุกด้านมาตัดสินนะคราบ และเป็นผู้ที่เรียนจบและมีประสบการณ์เชี่ยวชาญในแต่ละด้านด้วย
   1.ดนตรี
   2.นาฏศิลป์
   3.คีตศิลป์  (ขับร้อง)
   4.เสื้่่อผ้า (ผู้รู้เกี่ยวกับการแต่การของชนเผ่าและการแต่การในแต่ละลายเพลงที่ใช่ฟ้อนรำ การแต่งกายของแต่ละมัย)
   5.ศิลปินพื้นบ้านทุกสาขา
   6.นักวิชาการ  ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพื้นบ้านอีสาน
      และจะต้องทำการโหวดจากผู้ชนในงานการประกวด แจกแบบประเมินแสดงความคิดเห็นด้วย
ถ้าหากรรมการในด้านที่กล่าวมาไม่ได้ ผมว่าก็คงต้องเป็นที่กล่าวว่าของผู้คนอย่างนี้ต่อไป
      ฝากไว้ด้วยนะคราบจะประกวดอะไรก็ตาม ควรนำผู้ที่เป็นกรรมการ ที่จบสายตรงในด้านนั้นมาตัดสินนะคราบ ไม่ใช่ว่าเป็นนักวิชาการจะตัดสินได้ทุกอย่าง เพียงแค่งานวิจัยหรือสร้างหนังสือขึ้นมาเพียงเล่มก็จะไปตัดสินคนอื่นอย่างนั้นอย่านี้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 213 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 212 ครั้ง
 
 
  12 ม.ค. 2554 เวลา 17:22:24  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่118)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
อีกอย่างกรรมการชุดนี้ส่วนมากเป็นผู้ที่ชื่นชอบในการแสดงของวงที่ได้รับราลวัลชนะเลิศอยู่แล้ว  เพราะจากการได้เห็นการให้กำลังใจของกรรมการในขณะที่รับชมการแลดงนั้นจะเห็นได้ชัดเจนมาก ว่าแสดงได้ถูกใจกรรมการ ถ้าเป็นกรรมการนั้นไม่ควรแสดงกิริยาที่ชื่นชอบวงใดวงหนึ่งออกมาจนเห็นได้ขนาดนัน เพราะจะทำให้ผู้ที่ชื่นชอบวงอื่นๆจะว่าให้ได้ว่าลำเอียงนะคราบ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 207 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 207 ครั้ง
 
 
  12 ม.ค. 2554 เวลา 17:27:55  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่102)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
สวัสดีทุกท่านนะคราบ ผมเปนสมาชิกใหม่ จากที่ผมได้อ่านข้อความของทุกท่านแล้ว และได้ยินได้ฟังได้ชมการแสดงของทุกโรงเรียน ทั้งหลายๆที่ และที่เชียงคานแล้วนะคราบ ถ้าจะพูดกันถึงประเด็นของ รร สว่างแดงดิน กะ รร. กาฬสินธุ์พิท กินกันไม่ลงคราบถ้าดูแบบผู้ชมทั่วไป
แต่ถ้าดูแบบผู้ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการแสดงและผู้ที่ได้ทำงานกับผู้ที่มีประสบการณ์ทางการแสดงเกี่ยวกับนาฏศิลป์ แล้วนั้น  วงที่ฟ้อนได้ถูกต้องตามแบบ และบรรเลงลายเพลงได้ถุกต้องควรจะได้รับรางวัลชนะเลิศไป ส่วนท่าฟ้อนและลายเพลงที่คิดขึ้นใหม่นั้นถ้าทำขึ้นโดยใช้หลักการของ นาฏศิลป์ และ ดนตรีพื้นเมืองอีสาน กรรมการควรศึกษาท่ารำอีสานให้ดีแล้วค่อยมาตัดสิน เพราะดูและฟังจากกรรมการคอมเม้นแล้วไม่ได้กล่าวถึงหลักการของการฟ้อนเลย และคำบ้างคำกรรมการก็ไม่ควรใช้ด้วยซ้ำ เพราะฟังแล้วมันไม่น่าใช่คำพูดของผู้รู้ เช่น การที่กล่าวถึงว่า นักเรียนที่มาระประในงานนี้ รำสวยกว่านักศึกษามหาวิทยาลัย เพราะเขารำเป็นรำไทยมากกว่า ผมว่า การที่เรียนวิชานาฎศิลปก็เพราะอยากพัฒนาการฟ้อนรำให้สวยขึ้น และอีกอย่าครูที่สอนฟ้อนรำของวงโปงลางแต่ละโรงเรียนก้อมีพื้นฐานการรำไทยส่วนมากนะคราบถ้าไม่มีรำไทยแล้วการรำของนางรำทุกวงคงรำไม่สวยขนาดนี้นะคราบ และที่ว่าวงหนองเรือเอารูปแบบเดิมมาแสดงแล้วยังไงก็ไม่ได้รางวาลได้แค่นั้นระดับกลางๆ แลัวทำไมไม่ว่าสว่วงแดนดินบ้างที่เอารูปแบบเดิมมา ส่วนกล่าวถึงองค์รวมหรือภาพรวมผมว่าให้ทั้ง 2 วง แต่ผมจะเอาจุดที่รำไม่ถูกต้องตามต้นแบบ การแต่งกายไม่ถูกตามแบบและการแปรแถวการใช้เวทีมาตัดคะแนนออก วงใหนเหลือคะแนนมากกว่าวงนั้นก็คงได้รางวัลไปนะคราบ  ตัดสินงานต่อไปรบกวนกรรมการดูท่ารำในแต่ละลายที่ใช้ประกวดด้วยนะคราบว่ารำได้ถูกต้องตามแบบใหมแต่งกายถูกต้องตามแบบหรือปว่า เช่นชุดภูไท ว่าภูไทที่ใดแต่งกายแบบใหน มี่อะไรบ้างเป็นส่วนประกอบการแต่งกาย ผมอยากเรียนอีกอย่างว่ากรรมการไม่ควรเชียร์วงที่ตนชื่นชอบจนเห็นได้ชักเจนเกินไปเพราะจะทำให้ผู้ชมผู้เชียร์วงอื่นๆตำหนิได้นะคราบ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 197 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 196 ครั้ง
 
 
  11 ม.ค. 2554 เวลา 18:37:13  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่138)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
คุณmusic:
ต้องขอขอบพระคุณท่าน อ.ชัชวาลย์เป็นอย่างสูงที่ได้เข้ามาให้ความรู้และข้อcomment ถึงในเว็ป

     แต่ทว่า ผมเองก็ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคำ comment ของอาจารย์อยู่หลายอย่างด้วยกัน  ด้วยความเคารพอย่างสูง ผมขอถามข้อสงสัยทั้งหมดที่ผมสงสัย และขอเสนอแนวคิดที่เห็นต่างไปบ้าง สุดแล้วแต่ความกรุณาของอาจจารย์ หรือผู้มีความรู้ท่านอื่นๆที่จะได้กรุณาช่วยตอบคำถามครับ

๑.เรื่องรำเทิดพระเกียรติของวงอนุกูลนารี ที่อาจารย์ได้ให้comment ไว้ว่าคำร้องหมดแล้วยังรำอีกนาน ผมสงสัยว่าเราจะต้องทำคำร้องให้ยาวขนาดไหน แล้วถ้าคำร้องหมดแล้วสมควรรำไปอีกนานขนาดไหนครับ ด้วยเพราะผมก็เห็นของวงกาฬสินธุ์พิท กับสว่างแดนดินก็รำไปอีกประมาณเดียวกันเมื่อคำร้องหมดแล้วเช่นเดียวกัน อีกทั้งเพลงที่อนุกูลนารีใช้ก็เป็นเพลงที่ วนศ.ร้อยเอ็ดได้ทำไว้เมื่อครั้งไปประกวดวงดนตรีพื้นบ้านชิงแชมป์แห่งประเทศไทยครั้งที่1 ถ้วยสมเด็จพระเทพฯ เมื่อวันที่๖-๗ เมษายน ๒๕๔๙
ต่างแค่ได้เปลี่ยนเนื้อร้องใหม่ให้เป็นการกล่าวถึงสมเด็จพระราชินิ ทั้งได้ตัดดนตรีช่วงท้ายที่เป็นลำเพลินออกอีก(ถ้าใส่มาด้วยคงยาวกว่านี้อีก)

๒. ขอความรู้เรื่องการรำเทิดพระเกียรติด้วยครับว่าจำเป็นต้องใส่เนื้อร้องลงไปในดนตรีด้วยหรือไม่ครับ จะใช้เป็นลำทางสั้น หรือลำทางยาวกล่าวถึงบุคคลที่จะเทิดพระเกียรติแล้วจะฟ้อนเทิดพระเกียรติโดยใช้เพียงแค่ทำนองเพลงในภายหลัง(เหมือนที่วงกาฬสินธุ์พิททำตอนฟ้อนลำแคน)จะได้หรือไม่ครับ หรือควรทำรึป่าวครับ  เพราะผมก็เห็นวงศิลป์อีสานทำแบบนี้ตอนไปประกวดชิงถ้วยสมเด็จพระราชินีที่จัดโดย กระทรวงกีฬาและนันการที่จัดที่สนามศุภเหมือนกันครับ

๓.วงที่มีเซิ้งสวิง แล้วใส่เกาะอก คือวงจากเลยพิทย์รึป่าวครับ ไม่น่าจะใช่วงอนุกูลนารีนะครับ ผ้าที่ใช้ก็ไม่ใช่ผ้าแพรวาด้วยรึป่าวครับ

๔.เรื่องฟ้อนเทิดพระเกียรติของวงกาฬสินธุ์พิท ที่อาจารย์ได้ให้commentไว้ว่าใช้เสื้อผ้าสีจืด (เสื้อชมพูสไบแพรวาสีฟ้า) น่าจะไม่จืดไปหรือป่าวครับ เพราะสีที่ใช้ในการรำเทิดพระเกียรติพระราชินีก็น่าจะเป็นสีฟ้าซึ่งเป็นสีตามวันพระราชสมภพ ก็ถูกต้องแล้วไม่ใช่หรือครับ ส่วนเสื้อแขนกระบอกสีชมพูซึ่งเป็นสีอ่อนและเป็นสีคู่ตัดของสีฟ้า น่าจะทำให้สีฟ้าแด่นขึ้น อีกทั้งเวทีก็เป็นสีฟ้าเข้มอยู่แล้ว ถ้าจะใส่สีฟ้าทั้งชุดอีก ก็จะยิ่งไม่เห็นช่างฟ้อนอย่างเด่นชัดอีกเลย  
    ขอความรู้เรื่องสีของเสื้อผ้าของชาวอีสานด้วยนะครับว่า จริงๆแล้วโทนสีเสื้อของชาวอีสานเป็นโทนสีใดครับ  เป็นสีที่ใช้สีคู่ตัด(ออกแนวฉุดฉาด)เพื่อแสดงให้เห็นความฉ่ำของสี  หรือเป็นแนวโทนสีคล้ำๆ โทนเดียวกันทั้งชุด เช่นคราม น้ำตาลครับ
    แล้วเมื่อจัดเสื้อผ้าบนเวทีควรจะใช้โทนสีแบบใด้ครับ เป็นแบบสีคู่ตัดเพื่อให้ชุดดูเด่นหรือควรจะใช้โทนสีตามความเป็นจริง(โดยไม่คำนึงว่าจะสวยไม่สวยก็ตาม แต่ขอให้ถูกตามความเป็นจริง หรือสีโมโนโทนครับ

๕. ที่อาจารย์ให้commentไว้ว่า"การใช้ชุดเหมือนกันเลยดูคนแน่นไปเติมเวทีเกินไป"
อันนี้ผมตีความได้ว่าอาจารย์กำลังจะบอกว่า การฟ้อนที่มีจำนวนคนมากๆ(อย่างที่เชียงคานกาฬสินธุ์พิทย์ ใช้ช่างฟ้อน ๑๖ คน) ควรจะให้ใส่ชุดที่มากกว่าหนึ่ง (เหมือนของสว่างแดนดิน) ใช่รึไม่ครับ  ถ้าหากเป็นอย่างนั้น ผมขอเสนอความคิดว่า การที่ใช้ช่างฟ้อนจำนวนมาก ถ้าหากใส่เสื้อผ้าเหมือนกันหมด รำท่าเดียวกันอย่างพร้อมเพียง และแปรแถวให้รูสึกถึงการใช้เวทีได้เหมาะสมและแสดงการเคลื่นไหวเพื่อไม่ให้น่าเบื่อ น่าจะดีกว่ารึป่าวครับ

๖.เรื่องการใช้ไหครับ ขอความกรุณาอาจารย์comment ให้ชัดเจนกว่านี้(ถ้าอาจารย์จะกรุณา) เพราะอาจารย์กล่าวเพียงว่าถ้าใช้ไหเป็นเครื่องดนตรีทำไมไหจึงออกมาทีหลังดนตรีเริ่มและเข้าไปก่อนดนตรีจบแล้วไม่ได้กล่าวอะไรต่อครับ
    ถ้าท่านใดทราบข้อมูลว่าปัจจุบัน วงโปงลางมีนางไห นางเกราะ และหมากกั๊ปแก๊ปไว้ทำอะไรก้อรับกวนขอข้อมูลด้วยนะครับ
   ในความคิดผม ผมคิดว่าในปัจจุบันคงไม่มีวงไหนใช้ไหเป็นเครื่องดนตรีแล้วครับ น่าจะใช้เป็นองค์ประกอบองค์ประกอบหนึ่งที่วงโปงลางได้ทำกันจนเป็นธรรมเนียมว่าวงโปงลางจะต้องมีนางไหแล้วแหล่ะครับ เหมือนกับหมากกั๊บแก๊บ และนางเกราะ ที่จริงๆแล้วก็ไม่ได้ออกมาเพื่อเป็นเครื่องดนตรีหรือมาให้จังหวะแต่ ออกมาเพื่อเป็นตัวชูรสให้วงโปงลางน่าดูขึ้น
  
๗.การแสดง "ส่วงเฮือ" ไม่ใช่เซิ้งนะครับ ในสูจิบัตร ที่วงกาฬสินธุ์พิทได้แจกให้คณะกรรมการก่อนเริ่มการแสดงก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเซิ้งนะครับ (แต่ผมจำชื่อเต็มๆไม่ได้นะครับ) เพราะฉนั้นการที่ไม่มีจะหวะเซิ้งในการแสดงเลย น่าจะไม่ผิดรึป่าวครับ
   ส่วนการพายก่อนแล้วจึงเข้าไปเอาเรือออกมาอันนี้ผมก็ว่ามันดีอยู่แล้ว ก่อนการพายเรือมีการรำท่าไหว้ครู มีการแปรแถว และท่ารำที่ยังไม่ได้ใช้ไม้พาย ถ้าเอาเรืออกมาก่อนผมคิดว่าน่าจะเป็นการเกะกะเสียเปล่าๆ "ส่วนที่อาจารย์กล่าวว่า การโชว์พายก่อนแล้วถึงวิ่งไปเอาเรือมาขาดความต่อเนื่อง" อันนี้ก็ไม่ทราบว่าท่านอื่นคิดว่าอย่างไร แต่ความรู้สึกตอนนั้น(ที่เป็นการดูครั้งแรก)ผมก็ว่าการแสดงชุดนนี้น่าสมบูรณ์ที่สุดในการแสดงของวงนี้แล้วนะครับ

๘. เรื่องการบูชาพระธาตุยาคู อันนี้ก็ไม่น่าจะเสียคะแนน ถ้าจำไม่ผิดผมว่าช่วงต้นของการแสดงก็ได้มีการลำก่อน อาจจะไม่ได้กล่าวประวัติทั้งหมด แต่ในช่วงเริ่มนั้นก็มีการแสดงหลายอย่างที่แสดงออกถึงการเคารพบูชา ทั้งเครื่องสักการะ การจุดธูปเทียน(ซึ่งจุดจริงเสียด้วยซ้ำ) ชุดของผู้แสดง(นุ่งขาวห่มขาว)และท่ารำที่แสดงออกถึงการสักการะ มองในฐานะผู้ชมชุดนี้ก็น่าจะเป็นไม้เด็ดของวงนี้ด้วยซ้ำ

๙.ในชุดฟ้อนภูไทสามเผ่านี้ ต้องยอมรับว่าอาจารย์ใส่ใจในชุดการแสดงและรายละเอียดของนักแสดงได้ดีครับ สามารถทราบว่านักแสดงของกาฬสินพิทย์คนใดรำอ่อนกว่าคนอื่น แต่ก็น่าจะเป็นผลดีต่อนักแสดงเอง จะได้ฝึกฝนให้มากกว่าเดิมเพื่อจะได้รำให้สวยเหมือนเพื่อน (สู้ๆนะครับ น้องผู้แสดงคนที่สองจากซ้ายนชุดภูไทเรณู)

๑๐. ขอเรียนถามท่านอาจารย์หรือผู้มีความรู้ท่านอื่นๆด้วยความเคารพว่า ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร หากต้นแบบที่น่าจะนำไปเป็นแบบอย่างในการแสดงของวงโปงลางทำการแสดงออกมาผิด (เช่น วิทยาลัยนาฏศิลป์หรือมหาวัทยาลัย) เช่นหากต้นแบบทำการแสดงออกมาผิดจากความเป็นจริง เช่น ท่าไหว้ในการฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ ที่วิทยาลัยนาฏสิลป์ทำออกมาแล้วพนมมือไหว้ตรงสะโพกแต่ชาวบ้านจริงๆพนมมือไหว้ตรงกลางออก หรือการฟ้อนไทพวนที่แต่งชุดไม่สมจริงที่ วนศ.กาฬสินธุ์ทำไว้ และเป็นประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งในเว็ปบอร์ดนี้ เราควรจะต้องทำตามที่วนศ.เค้าทำไว้ หรือทำตามแบบที่มันถูกต้องจริงๆครับ และทั้งสองอย่างมีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไรครับ)

ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์หรือผู้มีความรู้ไว้ล่วงหน้าครับ หากได้กรุณาได้ช่วยให้ความรู้และตอบข้อสงสัย

ต้องขออภัยมาณ ที่นี้ด้วย การมีบางข้อความที่ไม่ถูกใจผู้อ่าน หรือผิดพลาดไปบ้าง ทั้งนี้ต้องขอคำแนะนำจากผู้รู้ด้วยครับว่าที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไรครับ





เห็นด้วยทุกประการครับ
และอยากรู้ว่า อาจารย์ ทำไมไม่ คอมเม้น เรื่องภูไทย 3เผ่า ของ สว่างบ้างเพราะท่ารำบางท่าก็ผิด
ทำไมถึงเลือกที่จะคอมเม้นเฉพาะวงของ กพส. เท่านั้น  ถ้าจะคอมเม้นก็ต้องหาข้อเปรียบเทียบในการคอมเม้น

การใช้ผ้าแพรฝ้อย(ผ้าแพรมน "ภาษาภูไท")
การใช้ผ้าแพรฟ้อยของชาวภูไทหนองห้างมาใช้ในฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ ผมว่าก็ไม่น่าจะผิดน่ะครับ เพราะชาวภูไทยหนองห้งก็เป็นชาวภูไทกาฬสิธุ์เหมือนชาวภูไทบ้านโพน  และการฟ้อนชุดนี้ ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการฬ้อน "ภูไทกาฬสินธุ์" เป็นการรวบรวมท่าฟ้อน การแต่งกาย ลายเพลง มาแสดงอยู่แล้ว เพียงแต่คนทั่วไปจะเข้าใจว่า ภูไทกาฬสินธุ์ คือชาวภูไทยบ้านโพนเท่านั้น  ที่จริงเเล้วชาวภูไทยกาฬสินก็มีหลายหมู่บ้านหลายอำเภอ เพียงเเต่วัฒนธรรมชาวภูไทยบ้านโพน มีศิลปวัฒนธรรมหัตถกรรที่โด่งดัง มากกว่า ชาวภูไทยต่างหมู่บ้านต่างอำเภออื่น จึงทำให้คนทั่วไปเข้าใจตามนี้ว่ามีเพียงแต่ภูไทยบ้านโพนในกาฬสินธุ์


เพิ่มเติมครับ  ส่วนระบำจำปาศรี  ไม่ทราบว่า ระหว่าง ม.ราชภัฏสารคราม กับ มมส. ที่ใดเป็นคนประดิษ์ขึ้นก่อนกันแน่ เพราะว่าผมได้ทราบมาว่า ม.ราชภัฏมหาสารคราม ได้ประดิษขึ้นมานานแล้ว และอีกอย่างผมอยากทราบว่า ที่ ม.ราชภัฏมหาสารคาม มีอ.ท่านใดบ้างที่เป็นผู้ร่วมประดิษท่ารำ ขึ้น  แล้วที่ มมส.มีอาจารย์ท่านใดบ้างที่เป็นผู้ประดิษท่ารำ ระหว่าง ท่ารำระบำจำปาศรี ของ ราชภัฏมหาสารคาม และ มมส.แตกต่างกันอย่างไร แล้วที่ใดทำถูกหรือทำผิด

กรุณาท่านผู้รู้ให้ความรู้เรื่องนี้ด้วยครับ
ขอบคุณล่วงหน้า

 
 
สาธุการบทความนี้ : 191 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 191 ครั้ง
 
 
  15 ม.ค. 2554 เวลา 01:43:17  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่173)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
เห็นด้วย กับอ้าย โอ้ด กับโหวดฟ้าคับ

ที่บอกว่า อุปโลก

หารู้ไม่ว่าวงแคนก็เป็นวงที่อุปโลกที่สุดของวงโปงลาง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 191 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 191 ครั้ง
 
 
  20 ม.ค. 2554 เวลา 11:48:00  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่140)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
สมัยก่อนไหซองเป็นเครื่องดนตรีประกอบการบรรเลงจริง แต่ปัจจุบัน ได้มีเครื่องดนตรีที่ทันสมัยสามารถใช้แทนไหซองได้คือ เบส แต่ยังนำไหมาประกอบการแสดงวงโปงลางเพราะว่าไม่อยากทิ้งไหซองที่เป็นที่เป็นเครื่องดนตรีคู่กับวงดนตรี มาตั้งแต่แรกเริ่มแล้วแต่ก่อนที่ดีดไหก็เป็นนักดนตรีผู้ชาย แต่เมื่อไม่ได้ใช้ไหบรรเลงจึงนำไหซองมาเป็นอุปกรณ์ในการโชว์ เพื่อเรียกผู้ชมในการโหมโรง เปิดวงเท่านั้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 188 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 188 ครั้ง
 
 
  15 ม.ค. 2554 เวลา 01:53:24  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1102) ประกวดวงโปงลาง งานกาชาด จ.กาฬสินธุ์ ชิงถ้วยพระเทพฯ เชิญมาแข่งนำกันนะครับ  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่12)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
ปีที่แล้วงานกาชาดกาฬสินธุ์ ที่ประกวดวงโปงลางมีการคัดเลือกโดยวิธีส่งวีดีโอบันทึกการแสดงเข้าคัดเลือกนะคราบจนเหลือ 3 วงของแต่ละถ้วย แล้วค่อยให้ขึ้นชิงกันบนเวที

 
 
สาธุการบทความนี้ : 183 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 183 ครั้ง
 
 
  09 ก.พ. 2554 เวลา 21:32:23  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  บ่าวดินดำ    คห.ที่127)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 11 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 12
ให้สาธุการ : 5
รับสาธุการ : 23260
รวม: 23265 สาธุการ

 
เรียนทุกท่าน ผมว่างานต่อคงต้องให้ผู้ที่ไปชมการประกวดวงโปงลางร่วมตัดสินการแข่งขันกับกรรมการแล้วละ ถึงจะไม่มีคัยว่าคัยได้เพราะร่วมกันตัดสินเอง จึงจะไม่มีคัยว่าคัย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จงตั้งอยู่ในความยุติธรรมด้วยนะคราบ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 171 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 171 ครั้ง
 
 
  13 ม.ค. 2554 เวลา 18:20:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3 --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ