ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 28 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
เก้าสิฆ่าสิบสิฆ่า ให้เอาแก่นคะยูงตี อย่าได้เอาบาลีต่อยตีตางค้อน แปลว่า จะฆ่าเก้าครั้งสิบครั้งก็ไม่ว่า ขอให้ใช้ไม้พะยูงตี ขออย่าได้เอาปัญญาความรู้มาตีแทนไม้ค้อน หมายถึง ไม่ควรใช้ปัญญาความรู้ของตน เอาเปรียบคนอื่น


  ค้นหาสาธุการ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   564) เซไล เมืองเก่าของชาวไทเลย  
  ต้นจัง-*-    คห.ที่40)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : สกลนคร
เข้าร่วม : 15 ม.ค. 2553
รวมโพสต์ : 1
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 1500
รวม: 1500 สาธุการ

 
คุณลูกเลยพิทย์ ศิทย์มหาพิษณุพงศ์:
คุณโหวดฟ้า:
คำว่าไล นั้นมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า เลย จริงไหมครับ

เซ เป็นคำโบราณของลาวที่แปลว่า แม่นำ้ จริงครับ
ในลาวยังพบคำว่า ปากเซ อยู่ ซึ่งก็หมายถึง ปากแม่นำ้นั่นเอง

คำว่า เซไลนั้น น่าจะแปลว่า แม่นำ้ เลย หรือเปล่า

เพราะ ที่มาของคำว่า เลยนั้น มาจากคำว่า เซเลย (ประวัติศาสตร์อีสาน เติม วิพากย์พจนกิจ 272) โดยเพีย้นมาจาก เซไล
ซึ่งกลายมาเป็น เลย ในที่สุด

เซไลนครนั้น ยังมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกันกับทั้ง ไทย ลาว พม่า และล้านนา
ตามพงศาวดารโยนก

ซึ่ง ที่มาของการฟ้อน และเครื่องแต่งกายในชุด เซไลนี้นั้น
อยากให้มีการอธิบายโดยละเอียดด้วยครับ ว่ามีแนวคิดและที่มาอย่างไร



ที่มาของการแสดงชุดฟ้อนเซไล หรือฟ้อนเซไลนคเรศ (นคเรศ หมายความว่าเมือง) เหตุที่ไม่ใช้คำว่านคร คุณครูอสาวดี วิเศษสัตย์ ผู้ประดิษฐ์การแสดงได้เห็นว่าเมืองเซไลเป็นเมืองเล้กๆ ไม่ใหญ่โตมากนักถ้าใช้คำว่านครอาจจะไม่เหมาะสม

สำหรับแนวคิดคุณครูอสาวดี ได้บอกไว้ว่าได้หยิบยกเอาเพียงแค่ตอนที่ชาวโยนกได้มาตั้งเมืองเซไลแล้ว แล้วต่างพากันเฉลิมฉลองร้องรำกันอย่างสนุกสนาน โดยใช้ผู้แสดงที่เป็นหญิงสาวที่ใช้ท่าฟ้อนที่มีความอ่อนช้อย มีกลิ่นอายของความเป็นเหนืออยู่ ผสมผสานกับควมเป็นอีสานบ้าง ซึ่จะแตกต่างกับการแสดงชุด ตำนานเมืองเลย ที่กำลังประดิฐ์ขึ้นใหม่ จึงการแสดงชุดนี้กล่าวถึงตั้งแต่เดินทางลงมา เจ้าเมืององค์ต่างๆ จนถึงยุคแห่งความรุ่งเรือง และเปลี่ยนเป็นเมืองเลย

การแต่งกายนั้นออกแบบโดยคุณครูนัฐพล ลำดวน น่าจะเอาลักษณะการแต่งกายของชาวเหนือ หรือชาวยโยนกมา เนื่องจากผ้าซิ่นหรือผ้าถุงยังมีลักษณะการต่อหัวด้วยผ้าขาวอยู่ ตีนซิ่นเป็นลายจก ส่วนตัวซิ่นเป้นลายริ้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายแบบทางเหนือ ส่วนตัวเสื้อหรือเกาะอกให้เป็นผ้าพันอก หรือเกาะออก แล้วใส่เสื้อผ้าแก้วทับ ผมมัดเป็นมวยประดับด้วยดอกกล้วยไม้ เครื่งเงินต่างๆ มีลักษณะคลายทางเหนือที่ใส่ดอกไม้เป็นเอกลักษ์ และใส่เครื่องประดับเครื่องเงิน

ส่วนเรื่องดนตรีนั้นคุณครูเจนวิทย์ ขุนทำนาย เป็นคนทำดนตรีขึ้น ได้แนวคิดมาจากไหนอันนี้ยังไม่ทราบเหมือนกัน ก่อนที่คุณครูเจนวิทย์จะทำดนตรีขึ้นคุณครูอสาวดีได้ให้กรอบว่า อยากได้ดนตรีที่มีกลิ่นอายทางเหนือบ้าง ผสมกับอีสานบ้าง เลยได้ดนตรีแบบนี้มา ผมว่าช่วงแรกคล้ายๆ ฟ้อนบูชาพญานาคของวงโปงลางโรงเรียนหนองคายวิทยาคาร ส่วนช่วงที่สองคล้ายๆลายจัมปาขาวหรือลีลาวดีของวงศิลป์อีสาน หรือวงแคน

การแสดงชุดนี้ประดิษฐ์ครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2550 แสดงครั้งแรกงานมหกรรมวิชาการ เฟ้นหาคนเก่ง ของโรงเรียนเลยพิทยาคม
จากนั้นก้อแสดงมาเรื่อยๆแต่ก้อนำออกแสดงค่อนข้างน้อย ครั้งล่าสุดก้อตอนที่งานฉลองศาลาเฉลิมพระเกียรติบุญศิริ วัดป่าห้วยลาด ครั้นที่สมเด็จพระราชินีเสด็จ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 150 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 150 ครั้ง
 
 
  27 ม.ค. 2553 เวลา 10:50:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
เซไล เมืองเก่าของชาวไทเลย --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ