ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ แปลว่า ให้ค่อยๆคิด ค่อยๆแก้ ค่อยๆลาก ค่อยๆดึง ค่อยๆขุด ค่อยๆขน ค่อยๆคน ค่อยๆค้ำ หมายถึง พึงทำด้วยความละเอียดรอบครอบ อย่าได้ละความพยายาม


  ค้นหาสาธุการ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   855) ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน แห่งกลุ่มสาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  
  ยอดหญิง ส้มสันเที๊ยะ    คห.ที่0) ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน แห่งกลุ่มสาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ยโสธร
เข้าร่วม : 14 พ.ย. 2552
รวมโพสต์ : 2
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 5110
รวม: 5110 สาธุการ

 
ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน  ต้นฉบับอยู่ที่นี่ที่เดียว กลุ่มสาขาศิลปะการแสดง  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์พื้นเมืองอีสาน  ท่าฟ้อนสวยมาก  เพลงเพราะมาก  เป็นจังหวะลำเพลิน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 326 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 326 ครั้ง
 
 
  14 พ.ย. 2552 เวลา 22:25:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   855) ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน แห่งกลุ่มสาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  
  ยอดหญิง ส้มสันเที๊ยะ    คห.ที่24) คำอธิบาย จากฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน โดยผู้ประพันธ์เพลงสาวสารคามลำเพลิน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ยโสธร
เข้าร่วม : 14 พ.ย. 2552
รวมโพสต์ : 2
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 5110
รวม: 5110 สาธุการ

 
เพลงสาวสารคามลำเพลิน


(ลำ)  ล่ะจั่ง..... ว่าเปิดผ้าม่านกั้ง  แจ้งสว่างสีงาม งาม  ล่ะสาวสารคาม สิมาลำ  ให้พี่นำ มาเด้ออ้าย  ให้พี่นำ มาเด้ออ้าย


โอ้ยนอชาย  คันเหลียวมาแล้ว  เป็นทิวแถวผ่าน คันเหลียวมาแล้วล่ะ  เป็นทิวแถวผ่าน สารคามเมืองบ้าน  สิพาอ้ายเที่ยวชม  สมใจแล้ว สิพาพี่เซิ่นตาม  มาชมแดน  เมืองงาม ตักสิลา เมืองฟ้า พารากว้าง ใหญ่นามสมซื่อ  ระบือนามยิ่งย้อง พอปานฟ้าเมืองแมน  เข้าเขตแคว้น  แดนพุทธมณฑล มนต์เสน่ห์อีสาน  เพิ่นมีมาปางกี้

สายน้ำ  ชีไหลลอยผ่าน  สาวสารคาม  ออกมาฟ้อนลำเพลิน  
ยามเดินล่ะสวยงามแสนเหวิน   ยามเดินล่ะสวยงามแสนเหวิน  
ล่ะมีลีลา ดั่งนกหงส์บิน นกขมิ้น ล่ะโผบิน โบกไป  วิจิตรงาม  แพรไหมมากมี

(ลำ) หันมาพี้ธานีสมซื่อ  ระบือนามเพิ่นเอิ้น  เมืองฟ้าหย่อน หย่อน  
ออนซอนล้ำเมืองตักสิลา  มหาสารคามให้แวะมาเด้ออ้าย   ให้แวะมาเด้ออ้าย

ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน  เป็นการสร้างสรรค์ผลงาน โดยคณาจารย์กลุ่มสาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แต่เดิมทีนั้น ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน ได้ถูกปรุงแต่ง ขึ้นมาเพื่อใช้ในการการเฉลิมฉลอง ในการสถาปนาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2551 เท่านั้น โดยในตอนนั้น ทางคณาจารย์ได้มีคำสั่ง ให้แต่งเพลงนี้ขึ้นมา แล้วทำดนตรีประกอบใส่ และเชิญชวนให้ให้โรงเรียนมัธยมศึกษา ทั่วภาคอีสานมาประกวดฟ้อนกัน โดยใช้เพลงสาวสารคามลำเพลิน เป็นเพลงบังคับ แล้วให้โรงเรียนที่เข้ามาประกวด คิดท่าฟ้อนขึ้นมาใหม่ จำได้ว่าประมาณ 8 โรงเรียน ที่เข้ามาประกวด และโรงเรียนสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ พร้อมถ้วยและเงินสด 10.000 บาท โรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รางวัลรองชนะเลิศ และโรงเรียนสารคามพิทยาคมได้รางวัลที่สอง โดยที่คณะกรรมการได้แก่ อาจารย์ยาย ดร.ฉวีวรรณ พันธุ อาจารย์เรืองชัย โพธิ์กลาง จากวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ หลังจากนั้นมาคณาจารย์ทางกลุ่มสาขาศิลปะการแสดงจึงได้มาทำการคิดประดิษฐ์ท่าฟ้อน ใส่เพลงสาวสารคามลำเพลินนี้ และบรรจุเพลงนี้เป็นหลักสูตรในการเรียนการสอน ในวิชาเอกนาฏยศิลป์พื้นเมือง ชั้นปีที่ 1 (คือทุกคนต้องต่อท่ารำ และสอบเพลงนี้)  ส่วนในเรื่องชุดการแสดงนั้น เครื่องแต่งกายนั้น เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดในเรื่องของการแต่งกายที่ชัดเจน  จึงนิยมแต่งชุดด้วยเสื้อแขนกระบอก อันได้แก่ สีเหลือง สีเทา สีฟ้า สีม่วง และสีน้ำตาล นุ่งผ้าถุงไหมสร้อยดอกหมาก ทำผมตามลักษณะของสตรีอีสาน และดัดด้วยดอกไม้อีสาน เช่น ดอกจำปาขาว ดอกปีป ดอกกันเกรา(ดอกมันปา) ดอกสะเรเต เป็นต้น ในเรื่องของท่าฟ้อนจะออกมาในรูปแบบของท่าฟ้อนสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์ของนาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเรื่องที่ทุกคนสงสัยคือ ท่อนเนื้อเพลงที่ร้องว่า  ยามเดินล่ะสวยงามแสนเหวิน   ยามเดินล่ะสวยงามแสนเหวิน  ล่ะมีลีลา ดั่งนกหงส์บิน นกขมิ้น ล่ะโผบิน โบกไป  นั้น
ในฐานะของเราผู้ประพันธ์ ต้องการสื่อให้เห็นถึงความสง่างามของนกหงส์ นกขมิ้นในยามที่โผบิน ดุจดั่งสตรีชาวอีสานที่เดินเหินไปมาอย่างสง่างดงาม คำว่ายามเดินล่ะสวยงามแสนเหวินนั้น เหวินในที่นี้ ก็คือลักษณะของนกหงส์บินเหวิ่น ที่เทียบใส่กับผู้หญิง จึงไม่ต้องสงสัยหรือคิดว่า เอาคำมาสัมผัสกันเฉย ๆ ใช่ว่า ถ้าเอาคำมันมาสัมผัสกัน แต่ถ้ามันไม่มีความหมาย นั่นมันก็ไม่ถูกต้องตามแบบฉันทลักษณ์อีสานเพราะในวรรณกรรมอีสานอาทิเช่น เรื่องสังศิลป์ชัย อุสาบารส นางแตงอ่อน นั้นได้มีลักษณะของการประพันธ์บทฮ่าย กาพย์ โคลงอีสานเกี่ยวกับลักษณะของนกเทียบกับผู้หญิงไว้อย่างมากมาย จึงไม่น่าจะแปลกในการเอามาใช้ในการประพันธ์ เพราะการแต่งเพลงทุกครั้ง เราคำนึงเสมอถึงความถูกต้อง ถึงแม้เราจะอายุยังน้อยอยู่ อาจจะไม่เทียบเท่ากับรุ่นพี่คนอื่น ๆ แต่ก็มากด้วยผลงาน ที่สร้างสรรค์ประพันธ์ออกไป แต่งให้มหาวิทยาลัยก็มากนับครั้งไม่ถ้วน โรงเรียนมัธยมต่าง ๆ ก็เยอะครับ แต่ก็ยังมีอีกมากที่ต้องศึกษาจากผู้รู้ต่อไป สุดท้ายขอบคุณทุกท่านมาก ๆ ที่ร่วมติชมในผลงานเพลงสาวสารคามลำเพลิน  ที่กว่าจะออกมาเป็นเพลงนี้ยากมาก ๆ คับ

ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน  โดยกลุ่มสาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ออกแบบสร้างสรรค์ท่าฟ้อนโดย อาจารย์เกิดศิริ นกน้อย
อาจารย์รัตติยา โกมินทรชาติ อาจารย์สุภาพรรณพงษ์ กาญจนพันธุ์ อาจารย์วิภารัตน์ ข่วงทิพย์ และนายณัฐพล ฉายพล (ปัจจุบันนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเอกนาฏยศิลป์พื้นเมือง) และควบคุมการสร้างสรรค์ผลงานโดย อาจารย์พีรพงศ์ เสนไสย ประธานกลุ่มสาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมสาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประพันธ์บทร้องโดย นายธวัชชัย พินิจมนตรี (น้องยอดหญิง ส้มสันเที๊ยะ)
ที่ปรึกษาในการประพันธืบทร้องโดย อาจารย์ยาย ดร.ฉวีวรรณ พันธุ
อาจารย์ยายมลฤดี พรมจักร์ อาจารย์อาชา พาลี
ขับร้องโดย นางสาวสถิตย์ พันธุ์โยศรี และนางสาวผกาทิพย์ สนิทนิตย์ (ปัจจุบันนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเอกนาฏยศิลป์พื้นเมือง)
ประพันธ์บทดนตรีโดย นายจักรี อบมา (กุ้ง บ้านแท่น) ปัจจุบันนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเอกดุริยางค์สากล วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 185 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 184 ครั้ง
 
 
  29 ธ.ค. 2552 เวลา 23:06:45  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน แห่งกลุ่มสาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ