ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 3 พฤษภาคม 2568:: อ่านผญา 
คันเจ้ามีความฮู้ อย่าถือโตอวดอ่ง ให้ลงมาสู่พื้น ยืนดินได้ส่ำสู่คน แปลว่า ถ้ามีความรู้สูงกว่าผู้อื่น ก็อย่าถือตัวหยิ่งยโส ให้ลงมาสู่พื้น ยืนดินเหมือนคนอื่นๆ หมายถึง อย่าถือตัวว่าตัวเองการศึกษาสูง รู้มากกว่าผู้อื่น


  ค้นหาสาธุการ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   824) โสกันเรื่อง ฟ้อนภูไท แบบฉบับต่างๆ  
  ร้อยบุปผา    คห.ที่41) ฝากถึงคุณโอ๊ต      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 22 ส.ค. 2552
รวมโพสต์ : 1
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 2380
รวม: 2380 สาธุการ

 
คุณอ้ายโอ๊ต:
ในส่วนเรื่องการฟ้อนละคอนภูไทบ้านโพนนั้น

ในตอนแรกผมก็คิดไปว่า เป็นรูปแบบที่ดัดแปลงมาจากฟ้อนกลองตุ้มของชาวไทลาวเสียมากกว่า

เพราะทั้งการสวมเล็บและการแต่งกายแบบนั้นก็สืบทอดกันมาเป็นร้อยๆปีแล้ว ไม่น่าจะเกิดจากการที่ไปเลียนแบบการรำซัดชาตรีของภาคกลาง

ซึ่งในการฟ้อนละครไทยในที่อื่น ซึ่งจะมีความชัดเจนที่สุดคือ ฟ้อนภูไทเรณูนคร
และการฟ้อนละคอน ของชาวภูไททั้งใน มุกดาหาร ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ ก็มีความคล้ายคลึงกันและเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน แต่ก็ไม่เห็นเหมือนกับ ฟ้อนละคอนของบ้านโพน เลยแม้แต่น้อย

เป็นไปไม่ได้ที่คนกลุ่มเดียวจะนำการฟ้อนมาจากภาคกลาง แล้วนำมาเผยแพร่ ในรูปแบบต่างๆ แถมยังกระจายไปทั่วภาคอีสาน นอกจากเสียว่ามันเป็นของดั้งเดิมที่ติดตัวมาอยู่แล้ว จึงสามารถพบเห็นกันได้ทุกที่




ซึ่งผมดูแล้วขัดแย้งกับความเป็นจริง เพราะการคมนาคมสมัยนั้นก็ยากลำบากและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกลุ่มต่างๆในสมัยนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย

และจากการที่ผมไปสัมภาทย์การฟ้อนละคอนบ้านหนองห้าง ก็ได้รับคำบอกเล่าว่า มีมานานตั้งแต่สมัยที่อพยพย้ายถิ่นมาอยู่ภาคอีสานตั้งนานแล้ว




แล้วที่กล่าวว่าเป็นต้นแบบของฟ้อนกลองตุ้มและเซิ้งบั้งไฟ ก็ยิ่งไม่ถูกต้อง



เพราะฟ้อนกลองตุ้มที่มีการสวมส่วยมือ ในประเทศลาวก็ยังมีการฟ้อนกันอยู่ ซึ่งถ้าบอกว่ารำชาตรีเป็นต้นกำเนิดของการฟ้อนเหล่านี้ผมก็คัดค้านอย่างแน่นอน

เพราะดูเป็นการดึงเอาวัฒนธรรมไปหาภาคกลางมากเกินไป จนเหมือนเป็นการล้มล้างและสร้างกรอบวัฒนธรรมจากแนวคิดของหน่วยงานราชการในสมัยนั้นเสียมากกว่า





เป็นไปได้ว่าภูไทบ้านโพนนั้น มีการดัดแปลงการฟ้อนรำชนิดอื่นและจากที่อื่น แล้วนำมาเรียกว่าฟ้อนละคอน เพียงแต่มีการเอาท่ารำจากภาคกลางมาใช้ก็ได้



แต่สำหรับที่อื่นแล้วการฟ้อนละคอนเป็นของที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษอย่างแน่นอน ไม่ได้เอาต้นแบบมาจากใครที่ไหน



คุณเน็ก:


การเลียนแบบเครื่องกาย คือ
        นุ่งโจงกระเบน ** ซึ่งมิใช่ลาวแน่นอน เพราะลาวมินุ่งโจงกระเบนเน่นนอน
        ผ้าโพกหัวหรือพันหัว  
        การใส่เล็บ
การใส่พู่นี้มาใส่ทีหลัง เพื่อให้เห็นชัดเจน
       การเบี่ยงผ้าสไบสองฝั่ง คาดเป็นกากะบาท บนอก
        ขิด หรือ กระดิ่งแขวนคอควาย เวลาเดินฟ้อนจะได้ยินเสียงกระดิ่งควาย แทนความเป็นพ่อค้าควายที่ได้ยินเสียงกระดิ่งควายดังมาเป็นขบวน
        การประดับสายสร้อยสังวาล ซึ่งประยุกต์เอาของธรรมชาติ มาแทนเครื่องสังวาล คือ เอาหมากเยามาร้อยสลับกับปล้องอ้อ



ซึ่งรวมถึงข้อมูลการแต่งกายที่บอกว่าอ้างอิงจากภาคกลางผมยิ่งไม่เชื่อใหญ่เลย เพราะการแต่งกายแบบทั้งชาวภูไท และชาวอีสานนั้น ก็พากันแต่งกายที่ว่ามานั้นตั้งนานเป็นร้อยๆปีแล้ว

ผมเลยมองว่านี่เป็นทฤษฏีการสร้างกรอบวัฒนธรรมให้กับท้องถิ่นจากระบบราชการยุคนั้น ที่ต้องการเหมารวมเอาว่าวัฒนธรรมของแต่ละภาคล้วนเป็นวัฒนธรรมที่เกิดมาจากภาคกลางเสียหมด

....................

ท่านอื่นมีความคิดเห็นเป็นประการใดบอกด้วยนะครับ



โดย สุภาพร คำยุธา

เค้าเลียนแบบละครชาตรีของภาคกลางในยุคที่มีการเดินทางจากเมืองบน(อีสาน)มาเมืองล่าง(ภาคกลาง)โดยกลุ่มพ่อค้าวัวควายที่เรียกว่านายฮ้อย(ซึ่งผู้วิจัยได้สรุปความไว้ว่าเป็นผู้เปิดโลกทรรศน์ให้กับชาวอีสานมากในยุคนั้น ไปหาอ่านดูได้ค่ะ)สมัยนั้นมีคณะละครชาตรีที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยรัชกาลที่ 2 อพยพมาและตั้งคณะละครอยู่ใกล้กับตลาดค้าวัวควายเมือนายฮ้อยมาเห็นจึงได้นำไปเล่าให้ผู้คนที่อีสานฟัง เมื่อเล่าไม่เห็นภาพจึงลุกขึ้นมาแต่งองค์ทรงเครื่อง(โดยสมมุติเครื่องแต่งกายตามมีตามเกิดให้เห็นภาพมากที่สุด)แต่ฟ้อนยังไงก็ไม่เหมือนเพราะท่าทางที่ออกมามันก็เป็นFolkอยู่ดี เลยกลายเป็นฟ้อนละครอย่างที่เห็น ทุกอย่างมีที่มาและข้อมูลอ้างอิง ถ้าคุณโอ๊ตสงสัยแนะนำให้ไปหาอ่านหนังสือประวัติศาสตร์และหัดเทียบเคียงข้อมูลอ้างอิงดูนะคะ อย่าเอาความคิดตัวเองแล้วสรุปความแค่กรอบแคบๆที่ตัวเองคิด แล้วจะเข้าใจเรื่องราวที่มาของฟ้อนละครค่ะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 238 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 238 ครั้ง
 
 
  22 ก.ค. 2553 เวลา 13:02:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
โสกันเรื่อง ฟ้อนภูไท แบบฉบับต่างๆ --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ