ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ชื่อว่าการยอย้องนินทาประจำโลก มีแต่ปู๋แต่ปู้สิหนีได้ฮ่อมใด แปลว่า นินทาและสรรเสริญ เป็นของมีอยู่ประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ไม่มีใครหลีกหลบพ้น หมายถึง นินทา สรรเสริญ เป็นเรื่องธรรมดา อย่าได้ใส่ใจ


  ค้นหาสาธุการ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   455) แหล่งผลิต/จำหน่ายเครื่องดนตรี ฯลฯ พื้นบ้านอีสาน  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่7) ขออนุญาต ประชาสัมพันธ์ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 


http://www.srru.ac.th/news_detail.php?id=1445  

ลิงก์ข้างบนเป็นการประชาสัมพันธ์ การสั่งซื้อ สั่งจอง DVD การแสดงสดการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติ ณ ประเทศ โปแลนต์ ของ มรภ.สุรินทร์ครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 678 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 678 ครั้ง
 
 
  12 พ.ค. 2553 เวลา 15:44:15  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   879) พิธีแต่งงานของชาวเขมรสูงอีสานใต้  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่0) พิธีแต่งงานของชาวเขมรสูงอีสานใต้      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 


งานแต่งงานในวัฒนธรรมเขมรที่อีสานใต้

เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้เดินทาง ไปร่วมงานแต่งงานญาติฝ่ายเจ้าสาวที่แต่งงานกับเจ้าบ้านในหมู่บ้านเดียวกัน ซึ่งทั้งสองได้จัดการแต่งงานแบบวัฒนธรรมเขมรตามขนบธรรมเนียมของตน

               โดยภายในงานเริ่มตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าขบวนขันหมากฝ่ายเจ้าบ่าวนำ หน้าด้วยพราหมณ์   แห่เข้ามายังปะรำพิธีที่บ้านเจ้า สาวซึ่งได้จัดเตรียมไว้แล้วโดยต้องเดินรอบปะรำสามรอบฝ่ายพราหมณ์ชายจะตกลง ต่อรองกันกับ พราหมณ์ฝ่ายเจ้าสาวเพื่อขอเข้าไปนั่งในปะรำพิธี  

                  

                       ขบวนขันหมากฝ่ายเจ้าบ่าวแห่รอบปะรำพิธีสามรอบ

                

    พราหมณ์ฝ่ายเจ้าบ่าวกำลังต่อรองกับพราหมณ์ฝ่ายเจ้าสาว เพื่อเข้าสู่ปะรำพิธี

ใน ขณะนี้เพลงกันตรึมแห่ขันหมากจะดังขึ้นพร้อมกับขบวนฟ้อนรำของฝ่ายเจ้า สาวอย่างสนุกสนาน   พอได้เวลาพราหมณ์ฝ่ายเจ้าสาวขอ นับค่าสินสอดที่เรี่ยกว่า ขันสลา(ขันหมาก)และข้าวของเครื่องใช้  ขนม  นม   เนย ว่าครบตามที่กำหนดหรือไม่   ของเหล่านี้พ่อแม่จะต้อง แบกรับขึ้นไปบนบ้านและขณะทำพิธีห้ามพ่อแม่ฝ่ายเจ้าบ่าวเจ้าสาวเข้ามายุ่ง เกี่ยวหรือเข้าใกล้ภายในปะรำพิธีโดยเด็ดขาดในขณะนี้จะเป็นพิธีสำคัญของ พราหมณ์โดยเริ่มให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวไหว้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายตรงกันข้ามเพื่อให้ รับทราบเครือญาติสายตระกูล



                      

               พิธีไหว้หรือสัมเปี๊ยะของเจ้าบ่าวเพื่อรับทราบฝ่ายเครือ ญาติ

โดย ของกำนันที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวมอบให้แก่ญาติฝ่ายตรงกันข้ามคือหมากพลูบุหรี่ เหล้ารินให้จิบแล้วญาติจะตอบแทนด้วยเงินเล็กๆน้อยแก่เจ้าบ่าวเจ้าสาวในพิธี ไหว้เรี่ยกว่า  พิธีสัมเปี๊ยะ  คือ พิธีไหว้นั่นเอง  หลังเสร็จสิ้นก็จะเริ่มต่อไปด้วย การสู่ขวัญเจ้าบ่าวเจ้าสาว  ที่เรี่ยกว่า เฮาปลึงมงกวลจองได หมายถึง การสู่ขวัญผูกข้อมือ โดยพราหมณ์สู่ขวัญเป็นภาษาเขมรและมีการโปรยข้าวสารเรี่ยกขวัญ  ตามด้วย  พิธีประจีร์  และ ผูกข้อมือจากญาติๆ

                    

                                พิธีเรี่ยกขวัญ หรือเฮาปลึง

                      

                                   พิธีจองไดหรือผูกข้อมือ

                    

                       พราหมณ์เสี่ยงทายจากรูปทรงไข่ต้ม

หลังจากนั้นส่งตัวเจ้า สาวเจ้าบ่าวขึ้นหอโดยน้องหรือหลานต้องคอยมาล้างเท้าให้ก่อนขึ้นหอและจะมีของ กำนัลตอบแทนแก่ผู้ล้างเท้า   จากนั้นจะเป็นพิธีกรรม ของ พราหมณ์ท่ามกลางเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวและญาติพี่น้องในเรือนหอ  ส่วนกิจกรรมที่ปะรำพิธีจะปัดกวาดจัดเตรียมที่จะยกสำรับ เครื่องเซ่นผีบรรพบุรุษมาเซ่นให้ทราบว่าลูกหลานแต่งงานของสิ่งนี้เรี่ยกว่า  สแนแซน(เครื่องเซ่น)  โดยมีญาติ ฝ่ายชายและหญิงมาร่วมพิธีเซ่น  

                

พิธีแซนหรือเซ่นซึ่งประกอบด้วยสะเเนนแซน(เครื่อง เซ่น)เพื่อบอกกล่าวบรรพบุรุษ

หลัง จากนั้นเจ้าบ่าวจะต้องกลับไปบ้านของตนเพื่อเตรียมการในช่วงบ่ายที่เจ้าสาวจะ แห่ไปทำพิธีไหว้ของสมมามอบแก่ญาติฝ่ายชาย โดยขบวนของเจ้าสาวจะพร้อมด้วยเครื่องไหว้ เป็นฟูกหมอนผ้าไหมจัดเป็นชุดตามจำนวนของญาติฝ่ายชายที่จะมอบเรี่ยกว่า  สำรับสมาหมายถึงของไว้หรือของสมนา  และ เจ้าสาวต้องหาบน้ำขมิ้นน้ำหอมไปอาบให้พ่อแม่ฝ่ายเจ้าบ่าวในพิธีงูดตึก(อาบ น้ำ)   เมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวเพลงกันตรึมดังขึ้นและ ขบวนฟ้อนรำของฝ่ายหญิงฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนานบริเวณลานบ้าน   จากนั้นพรามหมณ์ก็จัดทำพิธีให้เจ้าสาวจุ่มคว้านมือลงในหม้อดินปิด ปากหม้อด้วยใบตองโดยภายในมีแหวนทองเป็นของกำนัลแก่ฝ่ายเจ้าสาวและตามด้วย พิธีโยนไม้คานข้ามศรีษะของเจ้าบ่าวเจ้าสาวไปด้านหลัง

              

                  พิธีการโยนไม้คานข้ามศรีษะเปรียบเสมือนนักเอาเบาสู้

ซึ่ง ข้างหลังจะมีคนคอยรับเชื่อว่าใครรับได้จะเป็นคนต่อไปที่จะได้แต่งงานคล้าย กับการรับดอกไม้ในพิธีของคริส์ต  หลังจากนั้นก็จะ เป็นการอาบน้ำหรือพิธีงูดตึกให้แก่พ่อแม่ฝ่ายเจ้าบ่าวแล้วเปลี่ยนชุดผ้าไหม เย็บเชิงผ้าโดยฝีมือของเจ้าสาวให้แก่พ่อแม่ฝ่ายเจ้าบ่าว   หลัง จากนั้นตามด้วยพิธีการมอบของสมมาแก่ญาติฝ่ายชาจึงเป็นอันเสร็จพิธีการแต่ง งานหรือที่เรี่ยกว่าพิธีแซนการ์ในวัฒนธรรมเขมรที่อีสานใต้

พิธีการแต่งงานหรือชาวเขมรเรี่ยก  ว่าแซนการ์   จะจัดขึ้น ตั้งแต่เดือนแคปะกุล  - เดือนแคเจต(เดือนกุมภาพันธ์  - เดือนเมษายน)การเตรียมงานในสมัยเมื่อ 20  -  30  กว่า ปีก่อนถือเป็นงานพิธีที่ยุ่งยากและพิถีพิถันอย่างมากเตรียมงานกันข้ามปีกว่า จะได้แต่งงานแม้ปัจจุบันขั้นตอนบางอย่างอาจจะหายไปบ้างแต่รูปแบบทางวัฒนธรรม การแต่งงานของคนไทยเขมรก็ยังดำเนินไปตามขนบธรรมเนียมที่ยังคงมีอยู่ให้ควบ คู่กับวิถีชนบทแห่งวัฒนธรรมชาวไทยเขมรเรื่อยๆต่อไป

จากเว็บ http://www.oknation.net/blog/yongyoot

 
 
สาธุการบทความนี้ : 434 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 434 ครั้ง
 
 
  11 พ.ค. 2553 เวลา 00:04:38  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   879) พิธีแต่งงานของชาวเขมรสูงอีสานใต้  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่10)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 
พนม=ภูเขา มึนเกิด=ไม่มี ทะมอ,ถมอ=หิน สะเร็ย=ผู้หญิง ละออ=สวย มึนเกิด=ไม่มี
ปะเด็ย=สามี”

ผมแปลได้แค่นี้ ครับ ที่เหลือไม่แน่ใจ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 333 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 333 ครั้ง
 
 
  14 พ.ค. 2553 เวลา 11:00:41  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1252) การประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปี 2555  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่32)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 
คุณอ้ายโอ๊ต:
วงโปงลางอีสานหนุ่มปริญญา สาวมหาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น



นางไหท่านนี้ เคยเรียน วนศ.ร้อยเอ็ดใช่มั๊ยครับ สวยจัง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 333 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 333 ครั้ง
 
 
  31 ส.ค. 2555 เวลา 20:27:02  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   121) การแสดงของ โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จ.สุรินทร์  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่28)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 


ขอชื่นชมนะครับ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์การแสดงสวยๆงามๆให้ได้ดูชมกัน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 315 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 315 ครั้ง
 
 
  03 พ.ค. 2553 เวลา 20:18:48  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   880) น่าจะมีการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปที่อีสานใต้(สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์) ดีมั้ยครับ  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่17)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 
            คือต้องการให้เกิดความคิดในเชิงสร้างสรรค์น่ะครับ หลายความคิดเห็นเข้ามาผนวกกัน ก็จะได้เกิดเป็นความรู้ ข้อมูลใหม่ๆ ซึ่ง ตัวผมเองเป็นคนอีสานใต้(ศรีสะเกษ) มีความรู้จัก คุ้นเคยกับวัฒนธรรมอีสานใต้ และมีความหวงแหนในศิลปะ ภูมิปัญญา ของคนอีสานใต้ และตามความคิดเห็นส่วนตัว คือ ถ้ามีการจัดตั้ง วนศ.อีกสักแห่งที่อีสานใต้ก็คงจะเป็นการดี
            การที่เราท่านได้มา แตกเติมเสริมแต่งประเด็น ในครั้งนี้ ก็อาจจะเป็นการเริ่มต้นเพื่อที่จะก้าวไปสู่การสร้างสรรค์ในอนาคต ย้ำนะครับเพื่อการสร้างสรรค์ และถ้าหากท่านใดสามารถกระทำการดังที่ คุณ"taponglang" เสนอ โปรดดำเนินการเถอะครับ เพราะผมก็อยากทราบเหมือนกัน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 280 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 280 ครั้ง
 
 
  20 พ.ค. 2553 เวลา 19:48:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   880) น่าจะมีการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปที่อีสานใต้(สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์) ดีมั้ยครับ  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่6)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 
วัฒนธรรมเขมรอีสานใต้ มีความโดดเด่นมากในจังหวัด ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขณะที่เมืองนครราชสีมา มีวัฒนธรรมแบบไทโคราช ซึ่งย่อมต้องมีผลต่อแนวคิดของ วนศ.นครราชสีมา ไม่มากก็น้อย ถึงแม้ว่าจะมีพันธกิจด้าน"วัฒนธรรมกลุ่มลุ่มเเม่น้ำมูลและทิวพนมดงรัก" ก็ตาม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 271 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 271 ครั้ง
 
 
  14 พ.ค. 2553 เวลา 11:29:37  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   874) การฟ้อนกลองตุ้มในจังหวัดศรีสะเกษ  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่26)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 
ถึงชาวศรีสะเกษทุกท่าน นะครับ ตอนนี้อนุสาวรีย์พระนางศรีสระผม เปลี่ยนชื่อแล้วนะครับ
เป็นพระนางศรีสระเกศ ความหมายเหมือนเดิมและยังพ้องเสียงกับชื่อจังหวัดด้วย

จากเว็บ อบจ.ศรีสะเกษครับ

เออ ผ้าเก็บนี่มีกันทุกเผ่าในเมืองศรีของเราเลยเนาะ ผมอยู่ไพรบึง เผ่าเขมร ย่า ยาย แถวบ้าน เวลามีงานบุญ งานสำคัญต่างๆ ก็จะพากันสวมเสื้อเก็บนี่แหละ (ภาษาเขมรสูงบ้านผมเรียก เอาวเก็บ,เอาว=เสื้อ) นุ่งผ้าถุง อันหรีกปะเดา ต่อหัวต่อตีน พาดสไบ(ผ้าเก็บที่เป็นผืน)
ที่บ้านผมไม่มีใครทำขายนะครับ

ถ้าอยากได้ก็นี่ครับ
จากอดีต…สู่ปัจจุบัน …เสื้อเก็บเย็บมือย้อมมะเกลือบ้านเมืองหลวง

หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  3 ดาว

ประวัติความเป็นมา

            ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชนบททั่วทุกท้องถิ่นของ จ.ศรีสะเกษ ตั้งแต่บรรพบุรุษจนปัจจุบันมีการแต่งการด้วยผ้าพื้นเมือง  ที่มีการถักทอจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ใยฝ้าย ป่าน ปอ  หรือผลิตผลที่มาจากส่วนต่างๆของสัตว์เช่น ตัวไหม ขนของสัตว์ต่างๆ เป็นต้น  จากนั้นนำเส้นใยดังกล่าวมาย้อมสีตามธรรมชาติเพ่อให้เกิดความสวยงาม  โดยสีที่นิยมคือ สีดำจากไม้มะเกลือ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องความทนทาน ปกปิดร่างกายป้องกันร่างกายจากความร้อนของแสงแดด และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย  ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะทอและเย็บผ้าด้วยมือ ลวดลายที่ทอจึงเป็นลวดลายที่นึกคิดขึ้นมาเอง ส่วนมากนิยม ทอเป็น “ผ้าเก็บหรือผ้าเหยียบ” ซึ่งมีความคงทนถาวร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี วิธีตัดเย็บจะทำด้วยเมืองเนื่องจาก ไม่มีจักรเย็บผ้าหรือเครื่องมือทุ่นแรง จนสืบสานมาเป็นเสื้อเก็บเย็บมือย้อมมะเกลือในปัจจุบัน

กลุ่มผู้ผลิต: กลุ่มเสื้อไหมเก็บเย็บมือย้อมมะเกลือ  สมาชิก  60 คน   ทุนดำเนินการ 100,000 บาท

สถานที่ผลิต: ครัวเรือนในตำบลเมืองหลวง

ประธานกลุ่มผู้ผลิต : นางฉลวย ชูศรี

สถานที่ตั้งกลุ่มผู้ผลิต : บ้านเลขที่  12/1 หมู่  3  ต.เมืองหลวง  อ.ห้วยทับทัน  จ.ศรีสะเกษ

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์) จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

                        ความสวยงามและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน เป็นเสื้อที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ

ราคา :  1,000 – 1,500 บาท  ขึ้นอยู่กับความสวยงามของลายแซว  รูปแบบเสื้อ และเทคนิคการย้อมมะเกลือไม่ให้สีตก

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน  มาตรฐานเลขที่ มผช.๘๓๕/๒๕๔๘

 
 
สาธุการบทความนี้ : 263 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 263 ครั้ง
 
 
  10 พ.ค. 2553 เวลา 23:53:31  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   893) ขอเชิญประกวดเดี่ยวพิณ แคน ซอ โหวด กันตรึม ในงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ 2553  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่4)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 
อยากไปจังเลยครับ แต่ติดงาน จังหวัดตัวเองแท้ๆ
ถ้าหากท่านใดว่างก็ขอเชิญชวนนะครับ งานมีทั้งกลางคืนและกลางวัน
ห้วยน้ำคำ บรรยากาศดีครับ ชาวศรีสะเกษยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมีโอกาสต้อนรับทุกท่าน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 247 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 247 ครั้ง
 
 
  29 พ.ค. 2553 เวลา 22:36:45  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   706) การแสดงรวมวงโปงลาง ในงานประกวดดนตรีพื้นบ้านโปงลาง  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่9)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 
จาก คห.ที่ 8

ที่ถูกต้องคือ โรงเรียนสตรีสิริเกศ เขียนอย่างนี้นะครับ เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดศรีสะเกษครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 235 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 235 ครั้ง
 
 
  29 ก.ย. 2552 เวลา 21:32:44  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   880) น่าจะมีการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปที่อีสานใต้(สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์) ดีมั้ยครับ  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่11)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 
อีสานใต้ มักจะหมายถึง ดินแดนที่มีวัฒนธรรมแบบเขมรสูง และประชากรพูดภาษาเขมรครับ

การไปตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปซึ่งมีพันธกิจในการศึกษานาฏดุริยางค์ในแถบลุ่มน้ำมูล และทิวเขาพนมดงรักไว้ที่นครราชสีมา ดูไม่เหมาะนัก แต่ก็คงมีเหตุผลอีกหลายประการที่เราๆท่านยังไม่ทราบ

ฉะนั้นหากท่านคุณท่านทั้งหลาย มีข้อมูล มีข้อคิดเห็นประการใด ก็อยากให้ท่านได้มาถกประเด็น วิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เกิดความคลี่คลาย และนำไปสู่การสร้างสรรค์ต่อไป

 
 
สาธุการบทความนี้ : 221 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 221 ครั้ง
 
 
  18 พ.ค. 2553 เวลา 19:47:02  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   880) น่าจะมีการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปที่อีสานใต้(สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์) ดีมั้ยครับ  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่0) น่าจะมีการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปที่อีสานใต้(สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์) ดีมั้ยครับ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 


ผมว่าวัฒนธรรมทางอีสานใต้ มีความเฉพาะเจาะจง และเป็นเอกลักษณ์ของพื้นถิ่นนี้ ศิลปะการแสดง
หลายอย่างนับวันจะเลือนหาย วนศ.ร้อยเอ็ดก็เน้นศิลปกรรมอีสานกลาง วนศ.นครราชสีมาก็เน้นศิลปกรรมแบบพื้นเมืองโคราช ถ้าจะมีวิทยาลัยนาฏศิลปที่เน้นทางอีสานใต้โดยเฉพาะก็คงจะดี
คุณๆท่านๆ คิดว่าอย่างไรครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 201 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 200 ครั้ง
 
 
  11 พ.ค. 2553 เวลา 21:13:16  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   868) เมืองศรีสะเกษ  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่123)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 
เมืองล้านเป็ด เพชรพระธาตุ
ปราสาทใหญ่ ไทยสี่เผ่า
เมืองล้านเป็ด นกเป็ดน้ำจากไซบีเรีย พบมากที่หนองใหญ่ไพรบึงและห้วยชลังครับ
เพชรพระธาตุ พระธาตุใหญ่ไพรบึง วัดไพรบึง
ปราสาทใหญ่ ไพรบึงมีปราสาทเยอ เป็นอโรคยศาลา ปัจจุบันเหลือเพียงเนินกองหิน ตั้งอยู่ที่วัดปราสาทเยอเหนือ
ไทยสี่เผ่า ที่ไพรบึงมีชาวเขมร แถบตำบลไพรบึง ตำบลสำโรงพลัน ตำบลดินแดง ชาวส่วยแถบตำบลปราสาทเยอ ดินแดง โนนปูน ชาวเยอ แถบตำบลปราสาทเยอ และชาวลาวแถบตำบลสุขสวัสดิ์ ตำบลไพรบึง(บ้านผมอยู่ตำบลไพรบึง มีหมู่บ้านชาวลาว 2 หมู่บ้าน ถูกล้อมรอบด้วยหมู่บ้านชาวเขมร)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 181 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 181 ครั้ง
 
 
  11 พ.ค. 2553 เวลา 21:28:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   289) ขอ  
  ศรีสระเกศ    คห.ที่1)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 18 ก.ค. 2552
รวมโพสต์ : 28
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 40560
รวม: 40560 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 1 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  17 มี.ค. 2556 เวลา 21:12:07  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
ขอ --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ