ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ยูงยางไม้ลมตีหักถ่อง บาดว่าเครือหญ้าป้องลมต้องบ่เพ แปลว่า ต้นพะยูง ต้นยาง โดนพายุหักโค่น แต่เครือหญ้าปล้อง โดนพายุกลับไม่หัก หมายถึง พึงรู้จักปรับตัวให้เข้ากับ บุคคล กาละ และเทศะ


  ค้นหาสาธุการ ปลาร้านอกไห  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่55) พานบายศร      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 


พานบายศรีงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูนปี51

 
 
สาธุการบทความนี้ : 367 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 366 ครั้ง
 
 
  10 พ.ค. 2552 เวลา 16:37:03  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่56) พานบายศรี      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 


พานบายศรีงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูนปี52

 
 
สาธุการบทความนี้ : 361 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 360 ครั้ง
 
 
  10 พ.ค. 2552 เวลา 16:44:30  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่66)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 
มื้อนี่เมื่อยแฮง

ผมขอลา(ป๊าด)
ขอบไปหลับไปนอนก่อนเด้อคับ

พบกันน่าฟ้าใหม่ มื้อนี่ราตรีสวัสเด้อคับพี่น้อง

ห้าๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 313 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 313 ครั้ง
 
 
  13 พ.ค. 2552 เวลา 01:41:56  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่64)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 


เก๋ากึ๊กคับ

รูปนี้

หาเจอในอัลบัมรูปอีก

เหอะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 294 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 294 ครั้ง
 
 
  13 พ.ค. 2552 เวลา 01:22:59  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่62)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 
บ๊โง่ยล้มหรอกคับ


แข็วแฮ็งซิตายนิ

ล้มบักแฮงพัดอยู่3มื้อ

ก็เอนๆนิด1

เขามีแกนเหล็กข้างในคับ

เลยบ๊โง่ย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 269 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 269 ครั้ง
 
 
  13 พ.ค. 2552 เวลา 01:14:04  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่65) สารคดี เรื่อง นครจัมปาศรี ดินแดนแห่งอารยธรรม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 


นครจัมปาศรีมีประวัติอันยาวนานนับเป็นพันปี  และได้ถูกเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์  จะเนื่องจากวิกฤตการณ์หรือเหตุผลใดก็ไม่อาจจะทราบได้  จะอย่างไรก็ตามยังคงมีเค้าพอที่จะสืบค้นได้บ้างจากหลักฐานทางโบราณคดี  เช่นโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  สามารถสอบค้นและเปรียบเทียบอายุสมัยลักษณะเผ่าพันธุ์  ตลอดจนการดำรงชีพขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพชนในถิ่นแถบนี้ได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้ยังเป็นตำราเอกสารอื่นๆพอที่จะอ้างอิงเทียบเคียงได้ด้วย

                จากข้อสันนิษฐานของ  อาจารย์สมชาย  ลำดวน ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้สันนิษฐานว่า  นครจัมปาศรีมีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุคด้วยกันคือ

                ยุคแรก  คือ ยุคทวารวดี  ระหว่าง พ.ศ.1000-1200 หลักฐานชี้นำให้เห็นเด่นชัด คือ หลักฐานจากพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบจากกรุต่างๆ  ในเขตพื้นที่นครจัมปาศรีและหลักฐานทางสถูปเจดีย์  ศาสตราจารย์ ดร.จิตร  บัวบุศย์  ให้ความเห็นว่า เจดีย์ส่วนใหญ่ฐานนั้นมาจากฐานอุบลมณฑลซึ่งเป็นต้นแบบนิยมสร้างกันในสมัยคลื่นที่ 3 ของพระพุทธศาสนา (รุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 13) ที่เข้าสู่ประเทศสยามและนครจัมปาศรีก็ได้รับอิทธิพล  ศิลปวัฒนธรรมในคลื่นนี้ด้วย

                ยุคที่สอง คือ ยุคลพบุรี  ระหว่าง พ.ศ.1600-1800 ซึ่งมีหลักฐานยืนยันดังนี้คือ หลักศิลาจารึก14 บรรทัดที่ขุดพบที่ศาลานางขาว  ศิลปะวัตถุต่างๆที่ขุดค้นพบและแตกกระจายในเขต         นครจัมปาศรี  โบราณสถาน ล้วนเป็นศิลปกรรมของขอมสมัยลพบุรีทั้งสิ้น

                ในปัจจุบัน  บริเวณที่ตั้งของนครจัมปาศรี  คือ อำเภอนาดูน  จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมี อาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

·       ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ   อำเภอปทุมรัตน์  จังหวัดร้อยเอ็ด

·       ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ   อำเภอนาเชือกและอำเภอยางสีสุราช

จังหวัดมหาสารคาม

·       ทิศเหนือ  ติดต่อกับ  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม

·       ทิศใต้  ติดต่อกับ อำเภอพยัคภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป  ของอำเภอนาดูน  เป็นที่ราบลูกคลื่นสลับกันไม่มีภูเขา  ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน  มีป่าไม้เบญจพรรณเหลือบ้างเล็กน้อยทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายในฤดูแล้งเก็บน้ำไม่อยู่  บางแห่งมีดินเกลือปะปนซึ่งเป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ของอาหารพืช  และมีมากมายด้านทิศตะวันออกของตัวอำเภอนาดูน         การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม  สามารถไปได้โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ  อำเภอวาปีปทุม  จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ซึ่งมีระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางผู้เดินทางจะได้รับความสะดวกสบายจากถนนลาดยางตลอดทั้งสายพร้อมทั้งสัมผัสกับธรรมชาติจากสองฝั่งถนนที่ร่มรื่นสบายตา  นอกจากจะได้สัมผัสกับ

ธรรมชาติแล้วสิ่งที่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสอีกประการ เมื่อได้เข้าสู่ดินแดนที่ชื่อว่า นครจัมปาศรี     นั่นคือ รอยยิ้มและความมีน้ำใจของผู้คนแถบนี้  ซึ่งนั่นเป็นการแสดงถึงพื้นฐานจิตใจที่ถูกปลูกฝังมาอย่างยาวนานตั้งแต่ครั้งบรรพชน  ชาวนาดูนเป็นผู้ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ยังยึดถือประเพณีดั่งเดิมของชาวอีสาน  คือ  เป็นผู้มีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศล  ชอบทำบุญทำทานจึงได้มีประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามที่เรียกว่า  “ฮีตสิบสอง”  เป็นการทำบุญสำคัญครั้งใหญ่  ในหนึ่งปีจะมีการทำบุญครั้งสำคัญรวมสิบสองครั้ง  นั่นคือในแต่ละเดือนจะมีการทำบุญใหญ่หนึ่งครั้งดังจะกล่าวถึงต่อไปนี้

                เดือนอ้าย (เดือนมกราคม หรือเดือน1) บุญเข้าปริวาสกรรม เป็นการทำบุญในช่วงที่พระภิกษุสามเณรอยู่ปริวาส  คือ การลงโทษให้อบรมตัวเองเท่ากับเวลาที่อาบัติแล้วปิดไว้  ชาวไทยอีสานที่นับถือศาสนาพุทธก็จะนำข้าวปลาอาหารและสิ่งของที่จำเป็นแก่สมณะไปถวายแก่พระภิกษุสามเณรเหล่านั้นตลอดระยะเวลาที่อยู่ปริวาส  ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญครั้งใหญ่  และจะได้บุญได้บุญกุศลมาก

                เดือนยี่ (เดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือน 2 ) บุญคุณลาน เป็นการทำบุญหลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว  ก่อนที่จะขนข้าวขึ้นเล้าหรือยุ้งฉาง ก็จะทำบุญคุณลาน  เพื่อความเป็นสิริมงคลสมบูรณ์พูนสุขเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปยังญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไป แล้ว อีกทั้งเป็นการบูชาเทพยดาผู้ดลบัลดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและพระแม่โพสพผู้รักษาข้าวในนาได้เจริญงอกงาม

                เดือนสาม (เดือนมีนาคม) บุญข้าวจี่ เป็นการทำบุญจากข้าวของตน หลังจากว่างเว้นจากการเก็บเกี่ยว โดยประชุมตกลงวันทำบุญเมื่อได้วันแล้วแต่ละครอบครัวจะนำข้าวจี่ไปรวมกันที่วัดเพื่อถวายเป็นสังฆทาน  โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าได้ถวายข้าวจี่แก่พระภิกษุสามเณร จะได้อานิสงส์อย่างมาก

                เดือนสี่ (เดือนเมษายน) บุญผะเหวด หรือ บุญมหาชาติ เป็นการทำบุญที่มีการฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดร  ดังนั้นชาวอีสานจึงยึดถือปฏิบัติประเพณีนี้  สืบต่อกันมาด้วยการบอกกล่าวญาติพี่น้องให้ไปร่วมทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ ตามวันทำบุญที่กำหนด   และมีการแห่กัณฑ์กลอน      (กัณฑ์เทศน์)ไปร่วมทำบุญด้วย

                เดือนห้า บุญสงกรานต์เป็นวันสิ้นปีเก่าและวันขึ้นปีใหม่ของไทยเราแต่โบราณโดยปกติจะอยู่ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้วเข้าขอพร รดน้ำดำหัวจากพ่อแม่ญาติพี่น้อง และผู้ที่เคารพนับถือทางราชการจัดให้วันสงกรานต์เป็นวันครอบครัวแห่งชาติ

                เดือนหก บุญบั้งไฟ สืบเนื่องจากชาวอีสานมีความเชื่อว่า “พญาแถน เป็นเทพเจ้าแห่งฝนสามารถดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลได้” ดังนั้นชาวอีสานจึงจัดงานทำบุญบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถนเป็นการขอบคุณและเพื่อขอฟ้าขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล

                เดือนเจ็ด บุญซำฮะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บุญเบิกบ้าน” เป็นการทำบุญเพื่อบูชา    เทพยดาอารักษ์  ศาลเจ้าพ่อ เจ้าปู่ หลักบ้านหลักเมือง ผีปู่ตา  ผีตาแฮก และเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุข  การทำบุญซำฮะจึงเป็นการทำบุญเพื่อชำระล้างสิ่งที่เลวร้ายหรือสิ่งที่เป็นมลทินมัวหมองออกไป  จากชีวิตให้ความราบรื่นเป็นปกติสุข

                เดือนแปด บุญเข้าพรรษา เป็นประเพณีนิยมของชาวนาดูน ที่จะต้องทำบุญ ด้วยการนำข้าวปลาอาหาร เวชภัณฑ์ยารักษาโรค  ผ้าอาบน้ำฝน  เทียนพรรษา และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ไปถวายพระภิกษุ สามเณร เพราะระยะเวลา 3 เดือน คือตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน8 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระภิกษุสามเณรจะอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนั้น ตลอด 3 เดือน โดยไม่จาริกไปนอนค้างคืนที่อื่นถ้าไม่จำเป็น

                เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีนิยมทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว  ด้วยการนำข้าวปลาอาหารของคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ห่อด้วยใบตองนำไปวัดพร้อมด้วยภัตตาหารที่จะถวายพระภิกษุสามเณร  ก็จะมีพิธีเปรตพลี  คือพิธีกรวดน้ำทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตาย  โดยห่อข้าวประดับดินที่เตรียมไว้ไปไว้ตามโคนต้นไม้กิ่งไม้ พร้อมกับเชิญวิญญาณของญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วมารับเอาส่วนบุญส่วนกุศล

                เดือนสิบ บุญข้าวสาก หรือบุญข้าวสลากภัต นิยมทำตรงกับวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 10 การเตรียมข้าวสากจะมี 2ลักษณะ คือ ห่อข้าวใหญ่เป็นห่อข้าวสำหรับถวายพระภิกษุสามเณร และห่อข้าวเล็ก เป็นห่อข้าวสำหรับอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตาย

                เดือนสิบเอ็ด  บุญออกพรรษา นิยมทำตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษาครบ  3 เดือนของพระภิกษุสามเณร พิธีกรรมที่นิยมทำ ได้แก่  การจุดประทีปโคมไฟ ทำบุญตักบาตรเทโว และฟังเทศน์นิทานชาดกต่างๆ

                เดือนสิบสอง  บุญกฐิน เป็นประเพณีนิยมของชาวพุทธโดยเฉพาะชาวนาดูนมีความเชื่อว่าการทำบุญกฐินเป็นการทำบุญที่ได้กุศลมาก ฤดูกาลทำบุญกฐินมีกำหนด 1 เดือนคือตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 พระภิกษุสามเณรจะสามารถรับกฐินได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

นอกจากประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแล้วอำเภอนาดูนยังมีปูชนียสถานอันทรงคุณค่าและมีความหมายที่ชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงความเป็นดินแดนแห่งอารยธรรม ของนครจัมปาศรี อาทิเช่น

พระธาตุนาดูน เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ซึ่งมีการขุดค้นพบสถูปจากซากโบราณสถาน ในปี พ.ศ.2522 ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานในตลับ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสัมฤทธิ์ ซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้ เป็นนิมิตหมายอันดีแก่ชาวประชาอย่างยิ่ง  จึงได้ก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ ประดิษฐานไว้ให้มั่นคง เป็นปูชนียสถานและสิริมงคลอน นคือแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป  และเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน

รอบบริเวณของพระธาตุนาดูน จะเป็นพุทธานุสรณ์สถานในภาคอีสานที่เรียกว่า         “พุทธมณฑลอีสาน” เกิดจากการได้รับงบประมาณจากรัฐบาลนำมาพัฒนาปรับปรุงบริเวณดังกล่าวให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภายในบริเวณประกอบด้วยสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและสถานที่ปรินิพพาน  นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำเนรัญชราจำลองรอบองค์พระธาตุมีไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงามอีกด้วย

อีกสถานที่หนึ่งที่สำคัญ ซึ่งอยู่ห่างจากพระธาตุนาดูนไประมาณ 3 กิโลเมตร จะเป็นบ่อน้ำที่มีน้ำผุดขึ้นมาจากพื้นดินอยู่ตลอดเวลา  ไม่มีเหือดแห้ง ชาวบ้านได้เรียกบ่อน้ำแห่งนี้ว่า “บ่อน้ำดูน”เมื่อครั้ง พ.ศ.2418 กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้หัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จัดหาน้ำในสระจัดส่งไปร่วมในพระราชพิธีรัชมหามังคลาภิเษก รัชกาลที่ 7 จึงมีประชาชนล่ำลือว่าเมื่อนำน้ำจากบ่อน้ำดูนมาอาบกินโคที่เจ็บป่วยอยู่นั้นก็จะหาย และได้นำน้ำในบ่อน้ำดูนส่งเข้าทูลเกล้าในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้วยสาเหตุนี้จึง เรียกบ่อน้ำแห่งนี้ว่า บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นเมื่อมีพิธีศักดิ์สิทธิ์ในปัจจุบันทางหน่วยงานและชาวบ้านก็จะมานำน้ำจากบ่อนี้ไปใช้ในพิธีเสมอ

                เมืองโบราณ  เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง  เนื่องจากเป็นย่านที่อยู่ของชุมชนโบราณ นครจัมปาศรี ปัจจุบันบริเวณแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านกู่  บ้านดงสวรรค์      บ้านหนองแคน บ้านหนองทุ่ม  บ้านสระบัว  ตำบลกู่สันตรัตน์  และบ้านโพธิ์ทอง  ตำบลพระธาตุอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งในสมัยโบราณดินแดนแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา  สันนิษฐานได้จากหลักฐานที่ขุดค้นพบนั่นเอง

      กู่สันตรัตน์

เป็นโบราณสถานสร้างด้วยศิลาแลง  แบบแผนผังและรูปประติมากรรมที่พบสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา และเป็นที่พักรักษาคนเจ็บป่วย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงเสด็จมาทอดพระเนตรและทรงเยี่ยมราษฎร  เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2514




กู่น้อย”
          ห่างจากกู่สันตรัตน์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตร จะเป็นโบราณสถานชื่อว่า   กู่น้อย“ สร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายสีแดง มีปรางค์กู่ 1 หลังตั้งตรงกลางล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงหนึ่งชั้น  ด้านหน้าปรางค์กู่ทางทิศตะวันออกจะสร้างเป็นอาคารไม้สำหรับเป็นที่พักและประกอบศาสนกิจ  ปัจจุบันอาคารไม้ไม่เหลือให้เห็น คงเหลือเฉพาะหลุมหินสำหรับฝังเสาขนาดใหญ่ให้เห็นเท่านั้น และห่างจากกู่สันตรัตน์ไปทางทิศเหนือประมาณ  500 เมตร จากหลักฐานและซากปรักหักพัง สันนิษฐานว่า  สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจอีกแห่งและทางด้านทิศตะวันออก จะเป็นโรงช้าง โรงม้า เพราะมีหลักฐานที่ปรากฏ คือ เสาไม้ยาว 5 เมตร และพบซากกระดูกฟันสัตว์เป็นจำนวนมาก  ต่อมาได้ขุดค้นพบเทวรูปนางอุมา ซึ่งทำด้วยหินทรายสีขาวจึงมีผู้ขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า  “ศาลานางขาว”

                จะเห็นได้ว่า นครจัมปาศรี เมื่อครั้งอดีตกาลเป็นดินแดนที่เจริญทั้งด้านศิลปะขนบธรรมเนียมประเพณี และด้านศาสนา ดูได้จากโบราณสถานและปูชนียสถานทั้งหลาย ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับศาสนกิจทั้งสิ้น  ประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาก็เน้นการทำบุญทำทาน อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและผู้ล่วงลับไปแล้ว  อารยธรรมอันดีงามเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นมาเพียง 10 หรือ20 ปี แต่สืบทอดมาเป็นเวลานับพันปีมาแล้ว  ปัจจุบันอำเภอนาดูนแม้จะเป็นเพียงอำเภอเล็กๆในจังหวัดมหาสารคามเท่านั้น  แต่กลับยิ่งใหญ่ด้านอารยธรรมและความศรัทธาด้านพุทธศาสนา  จึงไม่น่าแปลกที่เมื่อมาเยือนดินแดงแห่งนี้ จะได้รับการต้อนรับด้วยความอบอุ่น  ยิ้มแย้ม และเป็นกันเอง ทำให้นึกถึงคำพูดที่ว่า “บรรพชนปลูกต้นไม้ไว้ ลูกหลานได้ร่มเย็น”  ดังนั้นทุกๆปี ทางจังหวัดมหาสารคามจะได้มีการจัดงานนมัสการพระธาตุนาดูน  ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 หรือวันมาฆบูชา ซึ่งมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมพิธี โดยแต่งกายนุ่งขาวห่มขาว ร่วมกันสวดมนต์ดังกึกก้องกังวานราวกับเสียงระฆังสวรรค์  เราซึ่งเป็นอนุชนรุ่นหลัง ควรสืบทอดความดีงามให้คงอยู่คู่ดินแดนแห่งนี้  ตราบนานเท่านาน





ข้อมูลจาก:http://muiya.multiply.com/

 
 
สาธุการบทความนี้ : 267 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 266 ครั้ง
 
 
  13 พ.ค. 2552 เวลา 01:39:32  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่54) พานบายศรี      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 


พานบายศรีงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน  ปี50

 
 
สาธุการบทความนี้ : 262 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 261 ครั้ง
 
 
  10 พ.ค. 2552 เวลา 16:36:40  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่58)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 
ครับพี่ เดี๋ยวผมจะหาข้อมูลเกี่ยวกับมหาสารคามลงนะครับ

ตอนนิกำลังเขียนประวัติและเหตุการที่แปลกประหลาดที่เกิดขึ้น ระหว่างการบรรจุในพระธาตุนาดูนอยู่

เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ

แล้วพี่สะเลเต  ชื่อว่าไรคับ

บ้านอยู่อำเภอไหนคับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 255 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 255 ครั้ง
 
 
  10 พ.ค. 2552 เวลา 23:09:23  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่53) พานบายศรี      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 


ผมแวะเอารูปพานบายศรีเข้าขบานแห่
ในงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูนมาให้ชมกันครับ

ตั้งแต่ปี50-52

ถ่ายไว้แค่3ปี

ปีอื่นๆหาไม่เจอคับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 245 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 244 ครั้ง
 
 
  10 พ.ค. 2552 เวลา 16:35:40  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่49) http://www.oknation.net/blog/nadoon      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 
http://www.oknation.net/blog/nadoon

 
 
สาธุการบทความนี้ : 5 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 5 ครั้ง
 
 
  17 เม.ย. 2552 เวลา 12:56:56  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   22) นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน  
  ลูกพระธาตุนาดูน    คห.ที่63)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : มหาสารคาม
เข้าร่วม : 11 มี.ค. 2552
รวมโพสต์ : 23
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69230
รวม: 69230 สาธุการ

 
ป๊าดด

อ้ายของแท้

คับผม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 5 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 5 ครั้ง
 
 
  13 พ.ค. 2552 เวลา 01:16:33  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
นครจัมปาศรี : พุทธมลฑลอีสาน : พระบรมธาตุนาดูน --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ