ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 28 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
เป็นญิงก็ให้เป็นญิงแท้อย่าเป็นญิงมักง่าย ยิงกะยิงแท้แท้แนแล้วจั่งยิง แปลว่า เป็นหญิง(หรือยิง) ก็ให้เป็นหญิงจริงๆ อย่าเป็นหญิงมักง่าย ยิง ก็ให้ยิงจริงๆ เล็งแล้ว ค่อยยิง หมายถึง จะเป็นอะไร ขอให้เป็นให้สมบูรณ์ เป็นให้ดีที่สุด


  ค้นหากระทู้ ปลาร้านอกไห  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   10) ร้อยเอ็ด  
  แก้มฮวก    คห.ที่7) ทุ่งกุลาฮ้องไห้      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
เข้าร่วม : 08 ส.ค. 2551
รวมโพสต์ : 1
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 9300
รวม: 9300 สาธุการ

 
ครั้งหนึ่งได้มีกุลา(ชาวพม่า)พวกหนึ่งเที่ยวเร่ขายสินค้าจากอุบลราชธานี ศรีสะเกษ เรื่อยมาจนถึงสุรินทร์ พอมาถึงท่าตูม พวกกุลาได้พากันซื้อครั่งเป็นจำนวนมาก เพื่อจะนำไปทำสีย้อมผ้ามาขายอีกต่อหนึ่ง พวกกุลาต่างพากันหาบครั่งข้ามแม่น้ำมูล พอมาได้สักหน่อยหนึ่งก็ถึงท้องทุ่งอันกว้างใหญ่
หมายใจว่าจะเดินตัดทุ่งไปสู่เมืองปาหลาน (อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย) มหาสารคาม ขอนแก่น อุดรธานี ขึ้นเหนือไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นเส้นทางที่พ่อค้าพวกนี้ยังไม่เคยเดินผ่านทุ่งนี้มาก่อน ทำให้ไม่ทราบระยะทางที่แท้จริง เพราะมองเห็นเมืองปาหลานอยู่หลัด ๆ หาทราบไม่ว่า "ใกล้ตาแค่ไกลตีน" (สำนวนภาษาอีสาน คือ มองเห็นเป็นใกล้แต่ต้องเดินไกล) ขณะที่เดินข้ามทุ่งรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามากและเป็นฤดูแล้งด้วย
น้ำจะดื่มก็ไม่มีต้นไม้จะอาศัยร่มเงาแม้เพียงต้นเดียวก็ไม่มีทั้งแดดก็ร้อนจัดต่างก็พากันอิดโรยไปตาม ๆ กัน ครั่งที่หาบมาจะทิ้งก็เสียดาย จึงพากันโอดครวญและคิดว่าคงจะเอาชีวิตมาตายในทุ่งนี้เป็นแน่แท้จึงพากันร้องไห้ไปตาม ๆ กัน
              พวกกุลาต่างพากันร้องไห้แล้วได้พากันพักพอหายเหนื่อยจึงเดินทางต่อไปอีก แต่ครั่งที่หาบมาหนักมากพวกกุลาจึงพากันเทครั่งนี้ทิ้งบ้างเล็กน้อย ต่อมากลายเป็นหมู่บ้านครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด      
              เมื่อพวกกุลาเดินมาต่อไปอีกรู้สึกอิดโรยมาก ครั้นไปถึงกลางทุ่งจึงตัดสินใจเทครั่งทั้งหมดคงเหลือไว้แต่อาหารเท่านั้น บริเวณที่กุลาเทครั่งทิ้งทั้งหมดนี้ต่อมาได้ชื่อว่า บ้านครั่งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด    เมื่อพวกกุลาเดินทางมาพ้นทุ่งแล้ว เข้าสู่หมู่บ้านมีคนมามุงดูจะขอซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก แต่พวกกุลาไม่มีสินค้า จะขายให้แก่ชาวบ้าน พวกกุลาพากันเสียใจและเสียดายสินค้าที่ตนได้เททิ้งที่กลางทุ่ง พวกกุลาจึงพากันร้องไห้อีกเป็นครั้งที่สอง ทำให้เกิดเป็นชื่อเรียกทุ่งอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้" มาตราบเท่าทุกวันนี้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 903 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 901 ครั้ง
 
 
  19 ต.ค. 2551 เวลา 19:54:38  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
ร้อยเอ็ด --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ