ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ทำทานผัวเมียบ่พร้อมผลบุญเต็มส่วน บุญคันบ่เพียรก่อสร้างสิหมายได้ดั่งใด แปลว่า ทำบุญให้ทาน หากผัวเมียไม่เห็นดีด้วยตามกัน ย่อมไม่ได้ผลบุญเต็มส่วน บุญ ย่อมให้ผลบุญเฉพาะแก่ผู้ทำบุญ หมายถึง ควรหมั่นทำบุญ ทำทาน สม่ำเสมอ ด้วยตนเอง


  ค้นหากระทู้ ปลาร้านอกไห  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   6) มาเว้าผญากันเด้อพี่น้องเด้อ  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) มาเว้าผญากันเด้อพี่น้องเด้อ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ฮู้จักผญา

คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)

ผะหยา หรือ ผญา เป็นคำภาษาอีสาน สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปรัชญา เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ "ปร" ไปเป็น ผ เช่น คำว่า เปรต เป็น เผต โปรด เป็น โผด หมากปราง เป็น หมากผาง ดังนั้นคำว่า ปรัชญา อาจมาเป็น ผัชญา แล้วเป็น ผญา อีกต่อหนึ่ง

ปัญญา ปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา ป เป็น ผ เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้

ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์ เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่า หมายถึงอะไร

ผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะ ไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วย
ผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กิน ใจความมาก


การพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิด ความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวฝนสมัยก่อน นิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึกสามารถผูกมัด จิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลัง ที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่น ลึกซึ้งลงไป

ภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต" คือรูปภาพของวัฒนธรรม แห่งชาติ นั่นเอง

การจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือ พูดผญา คือการตอบคำถาม ซึ่งมีผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอนเท่านั้น ผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายชาย เช่น

(ชาย) .... อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำ ถามข่าวถึงปลา อยากถามข่าวนา ถามข่าวถึงเข้า(ข้าว) อ้ายอยากถามข่าวน้อง ว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ชู้ ผัวสิซ้อนหากบ่มี

(หญิง) ..... น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด ผัดแต่เป็นหญิงมา บ่มีชายมาเกี้ยว ผัดแต่สอนลอนขึ้น บ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่ม ผัดแต่เป็นพุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มี


พอสิเข้าใจเกี่ยวกับผญาแล้วนอ ถ้าอยากฮู้หลายกะไปหาศึกษาเพิ่มเติมเอาเองเด้อ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกหม่องนี่โลด    

เพื่อว่าเป็นการเรียนรู้และฝึกการเว้าผญา เฮากะมาเว้า มาแลกเปลี่ยนความฮู้เกี่ยวกับผญากันเด้อพี่น้องเด้อ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 2063 ครั้ง
จากสมาชิก : 29 ครั้ง
จากขาจร : 2034 ครั้ง
 
 
  02 ก.ย. 2549 เวลา 09:33:02  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   7) คนอีสานในอดีต ใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) คนอีสานในอดีต ใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลาน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ศิลปวัฒนธรรม วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 24 ฉบับที่ 6

เรื่องจากปก

สุริยา สมุทคุปติ์ พัฒนา กิติอาษา

"คนอีสาน" ในอดีต ใช้ผ้าซิ่น ห่อคัมภีร์ใบลาน

ผู้เขียนทั้งสองคนเป็นอาจารย์สังกัดสาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ๓๐๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๔๔๒๒ ๔๒๕๘ โทรสาร ๐ ๔๔๒๒ ๔๒๐๕ E-mail : suriya@ccs.sut.ac.th; pattana@ccs.sut.ac.th



พวกเราใช้คำว่า "คนอีสาน" หรือ "อีสาน" ในความหมายที่เป็นประดิษฐกรรมทางการเมืองและวัฒนธรรมสมัยใหม่ (modern geopolitical and cultural construct) ของดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ซึ่งถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทยสมัยใหม่อย่างถาวรในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ในที่นี้ "คนอีสาน" มีความหมายเฉพาะคนที่พูดภาษาลาว มีรากเหง้าวัฒนธรรมและชุมชนทางวัฒนธรรมในจินตนาการดั้งเดิมคล้ายคลึงกับคนลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อพยพมาจากดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เช่น ภูไท โซ้/โส่ง ไทดำ ย้อ ฯลฯ คนอีสานเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยกเว้นบางจังหวัดในเขตอีสานใต้ เช่น นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ซึ่งมีประชากรในกลุ่มชาติพันธุ์ไท โคราช เขมร ส่วย และกูย/กุย อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

บทความนี้นำเสนอในการเสวนาทางวิชาการ "ผู้ค้ำจุนโลก-ผู้ค้ำจุนธรรม : กรณีผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ในวัฒนธรรมอีสาน" จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ณ ห้อง ๔๐๗ ชั้น ๔ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. นอกจากนี้บทความชุดนี้ยังใช้ประกอบนิทรรศการผ้าซิ่นลาวและอีสาน ซึ่งจัดแสดงที่ห้องไทยศึกษานิทัศน์ อาคารสุรพัฒน์ ๕ และอาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นิทรรศการดังกล่าวแสดงผ้าซิ่นจำนวน ๓๐ ผืน จัดแสดงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ๒๕๔๕ ขอขอบพระคุณทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรที่ให้โอกาสทางวิชาการกับพวกเราทั้งสองคนเรื่อยมา การติดต่อ ประสานงาน และอำนวยความสะดวกของทางศูนย์ โดยเฉพาะการทำงานของนฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และขวัญศิริ เจริญทรัพย์ ช่วยให้พวกเรามีโอกาสเผยแพร่ข้อคิดและงานเขียนทางมานุษยวิทยาต่อชุมชนวิชาการและสาธารณชนในวงกว้างอย่างสม่ำเสมอในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา ขอขอบพระคุณอาจารย์สมชัย ฟักสุวรรณ์ และเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ที่อนุเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ให้ยืมคัมภีร์ใบลานจำนวนหนึ่ง และให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่พวกเราด้วยความยินดีและเต็มไปด้วยน้ำใจไมตรีเป็นอย่างยิ่ง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 332 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 332 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 12:58:13  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   7) คนอีสานในอดีต ใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่1)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ผ้าซิ่น ของผู้หญิงกับคัมภีร์ใบลานของคนอีสานในอดีตเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ทำไมคนอีสานสมัยหนึ่งจึงใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลานอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุเอาองค์ความรู้ทางศาสนธรรม ตำรายาโบราณ และนิทานชาดกพื้นบ้านที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุ วัสดุทางวัฒนธรรมสองชิ้นมาจากต่างบริบทกันอย่างสิ้นเชิงในโลกทัศน์ทางวัฒนธรรมของคนอีสาน และคนกลุ่มอื่นที่มีวัฒนธรรมใกล้ชิดกัน เช่น คนลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คนเมืองในล้านนา หรือคนสยามในดินแดนภาคกลาง ถูกนำมาอยู่รวมกันอย่างใกล้ชิดได้อย่างไร อะไรคือวิธีคิดหรือตรรกะทางวัฒนธรรมที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อและประเพณีดังกล่าว

ในความเป็นจริงแล้วความเชื่อและประเพณีการใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์น่าจะเป็นเรื่องแปลกประหลาดอย่างมาก เพราะวัสดุชิ้นหนึ่งได้รับการจัดวางไว้ให้เป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ์ และได้รับการเก็บรักษาในปริมณฑลทางศาสนาและอำนาจของผู้ชายมาโดยตลอด ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นวัสดุและสิ่งของเครื่องใช้ทางโลกย์ เกิดจากฝีมือ และแรงงานของผู้หญิง และใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มร่างกายท่อนล่างของผู้หญิง

เมื่อพิจารณาจากแนวคิดวิเคราะห์เชิงโครงสร้างนิยม (structuralism) และสัญลักษณ์นิยม (symbolism) ของนักมานุษยวิทยาผู้มีชื่อเสียงในวงวิชาการนานาชาติหลายท่าน เช่น Levi-Strauss (๑๙๖๓, ๑๙๖๙); Douglas (๑๙๖๖); และ Turner (๑๙๖๗) ผ้าซิ่นกับคัมภีร์ใบลานไม่น่าจะไปด้วยกันได้ในทางทฤษฎี

แต่ทำไมคนอีสานในอดีตจึงคิดและทำในสิ่งที่แย้งกับความเชื่อและโลกทัศน์ในวัฒนธรรมของตนเอง ทั้งยังไปกันไม่ค่อยได้กับแนวคิดทฤษฎีทางมานุษยวิทยาบางสายสกุล ความเชื่อและประเพณีดังกล่าวมีตรรกะหรือเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นสำคัญที่พวกเราพยายามจะอธิบายในบทความชิ้นนี้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 306 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 306 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 12:59:20  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   7) คนอีสานในอดีต ใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่2)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
สัญนิยมทางวัฒนธรรมของ "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์"

พวกเราพิจารณาความเชื่อและประเพณีเกี่ยวกับการใช้ "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์" ของชาวอีสานในอดีตเป็นกรณีศึกษาติดตามความเคลื่อนไหวของแนวคิดทฤษฎีทางมานุษยวิทยาร่วมสมัย และพลวัตของวิธีคิด แนวปฏิบัติ และความเชื่อบางอย่างของคนอีสาน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง หรือเพศสภาวะ (gender)

แน่นอนว่าความเชื่อเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และบทบาทของคัมภีร์ใบลานในวัฒนธรรมศาสนา และการเรียนรู้หนังสือของคนอีสานได้ลดน้อยถอยลงไปอย่างน่าใจหาย ธรรมเนียมการใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ก็แทบจะเรียกได้ว่าเป็นอดีตไปเสียแล้ว ทุกวันนี้เรามักจะพบเห็นผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ได้ในสภาพที่ทรุดโทรม ขาดวิ่น เกรอะกรังไปด้วยฝุ่นและหยากไย่ ตามตู้คัมภีร์ไม้ในวัดเก่าแก่ทั้งในเขตเมืองและชนบทของภาคอีสานเท่านั้น

เราอาจกล่าวได้ว่าความเชื่อและแนวปฏิบัติในการใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์กำลังจะเลือนหายไปจากความทรงจำและจินตนาการของคนอีสาน โดยเฉพาะคนอีสานรุ่นใหม่ไปเสียแล้ว การเข้ามาของการศึกษาแผนใหม่ วัฒนธรรมภาษาไทยภาคกลาง และความเจริญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ลดบทบาทและความสำคัญของวัด พระภิกษุสงฆ์ และองค์ความรู้ด้านภาษา ศาสนธรรม และภูมิปัญญาดั้งเดิมของอีสานในคัมภีร์ใบลานลงจนแทบจะหมดความสำคัญไปเลย อักษรธรรมหรืออักษรไทยน้อย (ตัวภาษาเขียนของภาษาลาว-อีสาน) และความรู้ด้านศาสนธรรม วรรณคดี และอื่นๆ ที่มีวัดเป็นศูนย์กลางกำลังจะกลายเป็นอดีต ความวิตกกังวลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับ "คัมภีร์ใบลานอีสาน" ของบรรดานักวิชาการ พระภิกษุสงฆ์ ปราชญ์พื้นบ้าน และผู้นำจากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดต่างๆ ทั่วภาคอีสาน ที่จังหวัดมหาสารคามเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๔ ที่ผ่านมา๑

ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ เป็นวัฒนธรรมที่กำลังจะตายเช่นเดียวกับความสำคัญของคัมภีร์ใบลาน และตัวอักษรขอม อักษรธรรม และอักษรไทยน้อย ในสังคมอีสานและสังคมไทยสมัยใหม่

พวกเราถามว่า อดีตที่กำลังจะตายหรือที่กำลังจะกลายเป็นความทรงจำดังกล่าวนั้น บอกอะไรกับเราได้บ้างในทางวิชาการ พวกเราตระหนักดีว่า การหยิบยกเอากรณีผ้าซิ่นห่อคัมภีร์มาพิจารณานั้น เป็นการหยิบยกเอาประเด็นที่อยู่ในตำแหน่งชายขอบ (marginal position) มากๆ ในการศึกษาความหมายทางสังคมวัฒนธรรมของคัมภีร์ใบลาน

นักวิชาการที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคัมภีร์ใบลานจำนวนมากให้ความสนใจกับการอ่านความหมาย ค้นหาองค์ความรู้ โลกทัศน์ วิถีชีวิตและคติความเชื่อต่างๆ จากตัวบทในคัมภีร์ใบลาน หลายท่านก็อ่านหรือปริวรรตคัมภีร์ใบลานเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เป็นแหล่งข้อมูลต่อไป หลายท่านก็ให้ความสำคัญกับการจัดหมวดหมู่ รวบรวม และอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในฐานะที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (โปรดดูโครงการปริญญาเอกไทศึกษา ๒๕๔๔; จารุวรรณ ธรรมวัตร ๒๕๔๔; จารุวรรณ ธรรมวัตร และวิไลวรรณ ศรีโทหาญ ๒๕๔๔; นฤมล ปิยวิทย์ และคุณช่วย ปิยวิทย์ ๒๕๔๔; บุญเรือง คัชมาย์ ๒๕๔๓; บุญสม ยอดมาลี ๒๕๔๔; บำเพ็ญ ณ อุบล ๒๕๔๔; ภูมิจิต เรืองเดช ๒๕๔๔; สมหมาย เปรมจิตต์ ๒๕๔๔; สุภณ สมจิตรศรีปัญญา ๒๕๔๔; สุรจิตต์ จันทรสาขา ๒๕๔๔; อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และคณะ ๒๕๓๙; อุดม บัวศรี ๒๕๔๔)

แต่พวกเรากลับสนใจประเด็นเล็กๆ เกี่ยวกับความเชื่อและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ และพยายามอธิบายนัยทางวิชาการและความหมายของกรณีเฉพาะ หรือประเด็นปัญหาเล็กๆ ดังกล่าว

พวกเรามีเหตุผลสำคัญ ๒ ประการในการหยิบยกเอาประเด็นปัญหาเล็กๆ เรื่อง "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์" มาพิจารณาในบทความนี้ กล่าวคือ

ประการแรก พวกเรามองเห็นว่าผ้าซิ่นห่อคัมภีร์จะช่วยให้พวกเรามองเห็นข้อจำกัดของแนวการวิเคราะห์ทางทฤษฎีมานุษยวิทยาบางสายสกุล และสามารถช่วยให้พวกเราหาหนทางที่จะหาทางออกให้กับข้อจำกัดดังกล่าวนั้น ถ้าเราพิจารณาในเชิงสัญลักษณ์ ผ้าซิ่นเป็นตัวแทนเพศหญิง ส่วนคัมภีร์ทางศาสนาเป็นตัวแทนที่ผูกพันกับอำนาจและความเชี่ยวชาญของเพศชาย

ตามตรรกะข้างต้นทั้งสองอย่างไม่น่าจะมาอยู่ร่วมกันได้ในตู้คัมภีร์ในวัด เพราะในระดับสัญลักษณ์ทั้งสองอย่างน่าจะเป็นข้อห้าม (taboo) แต่ในทางปฏิบัติทั้งสองอย่างมาอยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัว อย่างน้อยก็ในวัฒนธรรมอีสาน แล้วเราจะอธิบายตรงนี้ว่าอย่างไร

พวกเราเห็นว่า การอธิบายว่าความเชื่อและแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่ว่านี้เป็นข้อยกเว้นพิเศษเฉพาะกรณีไม่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาในระดับทฤษฎีได้

ประการที่สอง พวกเราเชื่อว่ากรณีผ้าซิ่นห่อคัมภีร์จะเป็นกรณีตัวอย่างเฉพาะเจาะจง ทั้งสถานที่และกาลเวลา ที่ช่วยให้ทำความเข้าใจเพศสภาวะในวัฒนธรรมอีสานตามสภาพความเป็นจริงในช่วงเวลาหนึ่ง ผ้าซิ่นที่ถูกนำมาใช้ห่อคัมภีร์น่าจะเป็น "สัญญะทางวัฒนธรรม" (cultural signifier) อันหนึ่งที่ลื่นไหล ทับซ้อน และมีพลังในการอธิบายความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของหญิง-ชายในบริบทของวัฒนธรรมอีสานได้อย่างน่าสนใจ ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์บอกว่า ผู้หญิงกับผู้ชายในสังคมอีสานในอดีตไม่ได้มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระนาบดิ่ง หรือการแบ่งแยกบทบาททางเพศแบบเบ็ดเสร็จและตายตัว

แนวคิดทางทฤษฎีสัญลักษณ์นิยมและโครงสร้างนิยม โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากผลงานของ Douglas (๑๙๖๖); Levi-Strauss (๑๙๖๓; ๑๙๖๙); และ Turner (๑๙๖๗) ผ้าซิ่นแม้จะเป็นผ้าซิ่นที่ทอใหม่และยังไม่ได้ใช้นุ่งห่มก็ไม่ควรจะเข้ามาอยู่ในปริมณฑลของความศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างใกล้ชิด และแนบแน่นในลักษณะของการนำมาใช้เป็นผ้าห่อคัมภีร์ เพราะเป็นวัสดุทางวัฒนธรรมที่ถูกผลิตขึ้นอยู่ในปริมณฑลที่ตรงข้ามกัน ไปด้วยกันไม่ได้ในเชิงโครงสร้างและวิธีคิด

แต่ในความเป็นจริงคนอีสานได้สร้างข้อยกเว้นหรือกฎเกณฑ์พิเศษขึ้น โดยการอนุญาตให้ทำได้ เพราะผู้หญิงบวชเรียนสืบทอดพระศาสนาไม่ได้ การทานงานฝีมือที่ดีที่สุดและงดงามที่สุดอาจจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้หญิงได้บุญได้กุศลตามความเชื่อทางพุทธศาสนาแบบพื้นบ้าน

พวกเราคิดว่าการตีความแบบสัญลักษณ์นิยมและโครงสร้างนิยมนั้นหยุดนิ่ง ตายตัวและคงที่เกินไป กำหนดตัวสัญลักษณ์กับความหมายทางวัฒนธรรมค่อนข้างจะเป็นสากลนิยม มีขอบเขตกว้างขวาง และอธิบายความเฉพาะเจาะจงของพื้นที่ทางวัฒนธรรมได้จำกัด

สมมติว่าเราพิจารณา "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์" แบบโครงสร้างหน้าที่นิยม เราจะได้ความหมายทางวัฒนธรรมของความเชื่อและแนวปฏิบัตินี้ว่าอย่างไร จะเกิดปัญหาทางทฤษฎีขึ้นหรือไม่

ในอดีตข้อเสนอหลักทางวิชาการเกี่ยวกับบทบาททางเพศในสังคมไทย รวมทั้งสังคมอีสานส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการนำเสนอความช่วยเหลือเกื้อกูลกันของทั้งสองเพศในสังคม บทบาททางวัฒนธรรมมักจะได้รับการแบ่งแยกอย่างชัดเจน แต่ก็มีกลไกทางความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และสถาบันต่างๆ ในสังคมคอยช่วยสร้างความรอมชอมและสร้างความสมดุลระหว่างเพศ ถึงกระนั้นก็ตามนักวิชาการที่ได้รับอิทธิพลของทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยมมักจะมีแนวโน้มพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างเพศหญิง-ชายในสังคมไทยแบบแยกขั้ว แยกบทบาททางเพศออกจากกัน และแยกบทบาททางสังคมดังกล่าวออกจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรม ผลที่ได้มักจะออกมาในลักษณะที่ว่า ชายไทยมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมทางการเมืองและราชการ ส่วนหญิงไทยอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน และมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมการผลิต ทั้งในครัวเรือนและสังคม ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาของ Kirsch (๑๙๘๒, ๑๙๘๕) ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงอาจจะตรงข้าม หรือมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและเฉพาะเจาะจงมากกว่าการสรุปรวบยอดข้างต้น

ในสังคมไทยปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ทั้งลูกผู้ชายและลูกผู้หญิงจำนวนมาก เช่น นักมวย หนุ่มสาวโรงงาน โสเภณี ฯลฯ ต่างก็ดิ้นรนหางานและหาเงินเพื่อปากท้องของตนเองและครอบครัวด้วยกันทั้งสิ้น

โดยทั่วไปการพิจารณาความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและอะลุ้มอล่วยแบบลงตัวในความสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างหญิง-ชายน่าจะเป็นคำตอบที่มีเหตุมีผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของการใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ ซึ่งแสดงให้เห็นบทบาทของผู้หญิงในการค้ำจุนโลก และค้ำจุนธรรมะหรือการปฏิบัติธรรมของผู้ชายมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามปัญหาที่ตามมาก็คือ สัญญะทางวัฒนธรรมชุดเดียวกันนี้ (ผ้าซิ่นกับคัมภีร์) ถ้ามองหาความหมายที่แตกต่างกันออกไปจะได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามองว่าสัญลักษณ์ชุดนี้เป็นตัวแทนการครอบงำทางอุดมการณ์ที่เพศชายมีเหนือเพศหญิงในสังคมไทย โดยการใช้ความเชื่อและประเพณีทางศาสนาเป็นเทคโนโลยีแห่งอำนาจที่สำคัญ นักวิชาการในสายสกุลเศรษฐศาสตร์การเมือง มาร์กซิสม์ และเฟมินิสม์ ส่วนใหญ่จะอธิบายเพศสภาวะในสังคมไทยโดยพิจารณาความสัมพันธ์เชิงอำนาจ พิจารณาบทบาทหญิงชายในลักษณะของการเอารัดเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด มองพุทธศาสนาและอุดมการณ์รัฐเป็นตัวแทนของเพศชายในการเอารัดเอาเปรียบเพศหญิง โดยการพิจารณาเชื่อมโยงให้เห็นว่าโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศในยุคของการพัฒนาระยะ ๓๐-๔๐ ปีที่ผ่านมา ได้มีส่วนทำให้การเอารัดเอาเปรียบหรือกดขี่ทางเพศรุนแรงมากขึ้น ผู้หญิงอาจจะมีการศึกษาสูงขึ้น มีโอกาสทางเศรษฐกิจการเมืองมากขึ้น และมีบทบาทความรับผิดชอบทางสังคมมากขึ้น แต่ยังตกเป็นฝ่ายถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เช่นเดิม โดยเฉพาะผู้หญิงชนบท ผู้หญิงชนกลุ่มน้อย ผู้หญิงชายขอบ แรงงานรับจ้างไร้ฝีมือ ฯลฯ (โปรดดูงานของ Khin Thitsa 1980; Pasuk Phongpaichit 1982; Suchada Thaweesit 2000)

ในกรณีนี้สุลักษณ์ ศิวรักษ์ สรุปไว้อย่างชัดเจนเลยว่า วัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของผู้ชายเอาเปรียบผู้หญิง ทั้งในทางอุดมการณ์ เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม สอนให้คนสยบยอมต่ออำนาจและขาดความกล้าหาญทางจริยธรรม๒

พวกเราจะแก้ปัญหามุมมองทางทฤษฎีที่หลากหลายเหล่านี้อย่างไร จะเลือกนำเสนอผ้าซิ่นห่อคัมภีร์จากกรอบแนวคิดทฤษฎีอะไร อย่างไร และทำไม ทางเลือกทางทฤษฎีมีหลายทาง แต่พวกเราจะทดลองเลือกนำเสนอผ้าห่อคัมภีร์ตามแนวสัญนิยมทางวัฒนธรรม (cultural semiotics) โดยเฉพาะการเน้นตรงที่ว่า สัญญะทางวัฒนธรรมใดๆ (cultural sign) มีพลวัตของความลื่นไหล ทับซ้อน และความหลากหลายของความหมายที่เป็นไปได้หลายทาง ดังที่ปรากฏในงานเขียนหลายชิ้นของ Bakhtin (๑๙๘๑; ๑๙๘๔) แนวการวิเคราะห์สัญญะทางวัฒนธรรมดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาจากงานของนักภาษาศาสตร์ Saussure (๑๙๖๖) ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นรากฐานสำคัญของการวิเคราะห์สัญญะทางภาษาดังกล่าวไว้ว่า สัญญะทางภาษาใดๆ จะต้องประกอบด้วย ๒ ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ความคิดหรือความหมาย (concept/signified) กับเสียงที่ใช้สื่อความคิดหรือตัวหมายถึง (sound-image/signifier) ทั้ง ๒ ส่วนนี้จะจับคู่กันโดยบังเอิญ ชุมชนของผู้ใช้ภาษาเท่านั้นที่จะกำหนดว่าเสียงใดหมายถึงอะไร แต่การกำหนดดังกล่าวก็ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว

การใช้ความบังเอิญในการอธิบายความหมายของชุดสัญญะทางภาษาข้างต้นทำให้นักทฤษฎีรุ่นหลังได้ขยายความต่อว่า สัญญะทางภาษาหรือปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมใดย่อมมีความลื่นไหลของความหมายอยู่ในตัว คำหนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอาจมีความหมายได้หลายอย่างในต่างสถานที่และกาลเวลากัน ที่สำคัญความหมายมักจะขึ้นอยู่ที่ว่าผู้รับสาร ผู้ฟัง ผู้ชมหรือผู้อ่านสัญญะชุดนั้นจะตีความหมายออกมาว่าอย่างไร การวิเคราะห์สัญญะลักษณะนี้จะปฏิเสธการถือมั่นยึดมั่นแบบตายตัวของความหมายระหว่างตัวความหมาย (signified) กับตัวหมายถึง (signifier) มีความเป็นไปได้หลายทางและหลายแง่มุมที่ทั้งคู่จะลื่นไหลมาประสานสอดคล้องกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมองการจับคู่ระหว่างตัวความหมายกับตัวหมายถึงนั้นอย่างไร จากแง่มุมไหน เวลาใด และด้วยจุดยืนอย่างไร นอกจากนั้นการวิเคราะห์เชิงสัญญะจะเน้นความสำคัญที่ความลื่นไหล ทับซ้อน และเฉพาะเจาะจงเป็นรายกรณีและช่วงเวลามากเป็นพิเศษ

พวกเรามองที่ความเป็นไปได้ของสัญญะทางวัฒนธรรมที่ลื่นไหลและเต็มไปด้วยการต่อรองและสร้างสรรค์ของคนในสังคม ความเชื่อและประเพณีย่อมมีข้อยกเว้นเพราะทั้งคู่ต่างก็มีมิติที่ลื่นไหลอยู่ในตัว ขึ้นอยู่กับว่าจะถูกคนผู้เป็นเจ้าของให้ความหมายมันว่าอย่างไร จะจัดวางมันไว้ที่ตรงไหน เข้าคู่กับอะไร ผ้าซิ่นกับคัมภีร์ใบลานศักดิ์สิทธิ์ย่อมมีวันที่จะพบกันได้ เพราะทั้งสองอย่างไม่ใช่เดินทางที่เหินห่าง หรือแตกต่างแยกขาดจากกันและกันเป็นเส้นขนานตลอดไป

เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเราเชื่อว่า นักวิชาการหรือผู้อ่านสัญญะแต่ละคนน่าจะมีหลายวิธี หลายแนวทาง และหลายความหมายที่สามารถผลิตได้จากการอ่าน/ทำความเข้าใจสัญญะทางวัฒนธรรมของผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ การตีความหมายและวิธีการอ่านที่พวกเรานำเสนอในที่นี้เป็นเพียงตัวเลือกอันหนึ่งเท่านั้น พวกเรามองเห็นในเงื่อนไขเฉพาะอันหนึ่งและเชื่อว่าความหมายต่อไปนี้สอดคล้องกับข้อมูล เรื่องเล่า และสิ่งที่พวกเราคิดอยู่ในใจ กล่าวคือ "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์" สำหรับพวกเราแล้วบอกถึงร่องรอยวิธีคิดและความทรงจำเกี่ยวกับ "ความเชื่อและประเพณีที่ไม่น่าจะเป็นไปได้" ในวัฒนธรรมอีสาน ขณะเดียวกันก็บอกถึงการให้ความสำคัญกับความรู้หนังสือและผู้รู้ ในวัฒนธรรมอีสานยุคหน้าก่อนจะถูกกลืนด้วยระบบการศึกษาแห่งชาติและวัฒนธรรมราชการไทย

ส่วนกรณีปัญหาแนวทางการวิเคราะห์ทางทฤษฎีนั้น พวกเรานำเสนอว่า เราคงจะต้องพิจารณาให้เฉพาะเจาะจงเป็นรายกรณี และเน้นความสำคัญของเงื่อนไขของสถานที่ เวลา ฟังเหตุผลและทำความเข้าใจวิธีคิดของผู้คนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้นสำคัญ ไม่ใช่การค้นหาภาพรวมหรือข้อสรุปรวมที่เป็นหลักการทั่วไปของวัฒนธรรมการห่อคัมภีร์ด้วยผ้าซิ่นในวัฒนธรรมอีสานหรือวัฒนธรรมใกล้เคียง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 330 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 330 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 13:01:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   7) คนอีสานในอดีต ใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่4)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ผู้หญิงอีสานเข้าไปเกี่ยวข้องกับคัมภีร์ใบลานหรือหนังสือใบลานหรือไม่ อย่างไร

คำตอบก็คือ เกี่ยวข้องด้วยในเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงอย่างยิ่ง นั่นคือเป็นผู้ฟัง ร่วมทำบุญโดยการสร้างคัมภีร์ถวายวัด และทานผ้าทอหรือ "ผ้ามัดหมี่" (โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับผ้าทอและผ้ามัดหมี่อีสานในทรงพันธ์ วรรณมาศ ๒๕๓๔) เพื่อใช้ในการห่อคัมภีร์ถวายวัด

ข้อมูลจากการสำรวจคัมภีร์ใบลานอย่างคร่าวๆ ในเขต ๗ จังหวัดภาคอีสาน (นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด นครพนม และขอนแก่น) ของสมชัย ฟักสุวรรณ์ และคณะจากหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๔ สามารถรวบรวมคัมภีร์ใบลานได้มากกว่า ๒,๕๐๐ มัด ในจำนวนนี้มีคัมภีร์ที่ห่อด้วยผ้าซิ่นมากกว่า ๕๐๐ มัด ส่วนที่เหลือห่อด้วยผ้าทอประเภทอื่น เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง หรือเก็บไว้ในหีบหรือกล่องไม้สลัก คัมภีร์ใบลานที่พบในเขตจังหวัดศรีสะเกษและร้อยเอ็ดส่วนใหญ่จะถูกห่อด้วยผ้าซิ่นและเก็บไว้ในสภาพเรียบร้อยและคงทนถาวรพอสมควร ผู้เชี่ยวชาญด้านเอกสารโบราณและตัวอักษรพื้นบ้านอีสานท่านนี้ตั้งข้อสังเกตว่าคัมภีร์ใบลานในเขตจังหวัดนครพนมและอุบลราชธานีน่าจะมีผ้าซิ่นห่อและเก็บรักษาไว้ในสภาพที่ดีกว่าท้องถิ่นอื่นๆ ของภาคอีสาน เพราะทั้ง ๒ จังหวัดได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการเมืองการปกครอง และศิลปวัฒนธรรมของอีสานและหัวเมืองลาวภาคใต้ในอดีต๓

ที่หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมาก็มีรายงานการเก็บรวบรวมและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน ซึ่งได้เก็บรักษาไว้ "...จำนวน ๖,๕๔๙ ผูก และสมุดไทยอีก ๑๘ เล่ม...เนื้อเรื่องที่จดบันทึกไว้ในเอกสารโบราณเหล่านี้มีหลากหลายสาขาวิชาเช่นเดียวกับวรรณกรรมประเภทหนังสือ คือเป็นเรื่องราวในสังคมชาวอีสานในอดีต เช่น กฎหมายโบราณ จดหมายเหตุ ตำนานต่างๆ ตำราต่างๆ เช่น ตำรานวดแผนโบราณ มีรูปภาพประกอบ ตำราโหราศาสตร์ ตำราเวชศาสตร์ เช่น จำพวกยาสมุนไพรพื้นบ้าน หมวดวรรณคดี หมวดพงศาวดาร วรรณคดีก็มีนิทานพื้นบ้าน นิทานชาดก นิทานอิงหลักธรรมทางพุทธศาสนา และประเภทกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โลกศาสตร์ ฯลฯ อักษรที่ใช้บันทึกเท่าที่มีอยู่ในหอสมุดฯ นครราชสีมาในปัจจุบันนี้มี ๕ ตัวอักษรคือ อักษรธรรมอีสาน มีมากเป็นอันดับหนึ่ง ประมาณ ๕๐-๖๐% หรือประมาณ ๓,๐๐๐ กว่าผูกหรือเรื่อง อักษรขอมรองลงมาเป็นอันดับสอง ประมาณ ๒๐% หรือประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าผูก อักษรลาวหรือไทยน้อย ประมาณ ๑๕% หรือประมาณ ๑,๕๐๐ กว่าผูก ส่วนที่เป็นอักษรไทย แต่เขียนด้วยอักขรวิธีโบราณ ประมาณ ๑๐๐ ผูก สมุดไทยส่วนใหญ่จะบันทึกไว้ด้วยลายลักษณ์อักษรไทยและอักษรขอม อักษรธรรมล้านนามีประมาณ ๒-๓ ผูก..." (สมชัย ฟักสุวรรณ์. มปป.)

ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมาข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้ผ้าทอมือของผู้หญิงอีสานในอดีต โดยเฉพาะผ้าซิ่น สำหรับห่อคัมภีร์ใบลานเป็นธรรมเนียมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมอีสานดั้งเดิม

ความนิยมดังกล่าวได้กลายมาเป็นสำนวนพื้นบ้านที่คนอีสานรุ่นเก่าที่มีประสบการณ์ชีวิตเกี่ยวข้องกับการบวชเรียนและใช้ประโยชน์จากคัมภีร์ใบลานจดจำและเข้าถึงความหมายอย่างขึ้นใจหลายสำนวน เช่น "ทานกล้วยได้เป็นเศรษฐี ทานผ้ามัดหมี่ได้เป็นพระเจ้า"๔ "ไผอยากเป็นปราชญ์ให้แก้ผ้าซิ่น"๕ หรือ "ไผอยากเป็นปราชญ์ให้ไปแก้ซิ่นในวัด" เป็นต้น

ถ้าพิจารณาสำนวนพื้นบ้านเหล่านี้นอกบริบททางวัฒนธรรมและใช้เป็นคำพูดในชีวิตประจำวันก็จะได้ความหมายที่เป็นปริศนาธรรมกึ่งทะลึ่งตลกขบขัน เพราะคำว่า "แก้ซิ่น" แปลอีกอย่างว่าเป็นการแก้ผ้าซิ่นหรือถอดผ้าของผู้หญิงในวัด ซึ่งเป็นข้อห้ามที่ผิดศีลธรรมอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตามสำนวนพื้นบ้านเหล่านี้บ่งบอกถึงความแพร่หลายของการใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลานอย่างชัดเจน จนกล่าวได้ทั่วไปเลยว่า คัมภีร์ใบลานในอีสานส่วนใหญ่มักจะถูกห่อด้วยผ้าซิ่น ซึ่งมาจากฝีมือการทอของผู้หญิง ขณะเดียวกันสำนวนพื้นบ้านเหล่านี้ก็บ่งบอกความสัมพันธ์ของคนทั้งสองเพศที่มีต่อคัมภีร์ใบลานด้วย โดยเฉพาะในแง่ที่ว่าผู้ชายสามารถบวชเป็นพระ มีโอกาสบวชเรียนศึกษาหาความรู้ที่อยู่ในคัมภีร์ใบลานต่างๆ ได้ ส่วนผู้หญิงไม่ได้รับโอกาสเช่นนั้น แต่สามารถใช้ฝีมือและความสามารถในการทอผ้าของตน รวมทั้งจิตใจที่เป็นกุศลบริจาคทรัพย์และทานผ้าทอของตนเองเพื่อสร้างคัมภีร์ใบลาน และดูแลคัมภีร์โดยการทานผ้าซิ่นและผ้าทออื่นๆ ให้กับวัดเพื่อใช้เป็นผ้าห่อคัมภีร์

 
 
สาธุการบทความนี้ : 322 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 322 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 13:06:44  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   7) คนอีสานในอดีต ใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่5)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
สมชาย นิลอาธิ (๒๕๔๔ : ๖-๗) ได้อธิบายความเชื่อเกี่ยวกับหนังสือใบลานและการใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ในภาคอีสานอย่างละเอียดว่า

"...ชาวอีสานในอดีตเชื่อว่า ทั้งหนังสือใบลานผูกและใบลานก้อมเป็นเอกสารศักดิ์สิทธิ์ จึงทำให้มีข้อกำหนดพฤติกรรมการกระทำต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือใบลาน ทั้งในแง่ที่ต้องปฏิบัติและข้อห้ามหลายอย่าง เช่น ความเชื่อที่มีผลให้คนทำกัน คือ เชื่อว่าผู้ใดสร้างหนังสือใบลานผูกถวายวัดจะได้อานิสงส์บุญกุศลมาก

เมื่อมีการสร้างหนังสือใบลานผูกขึ้นมาแล้วย่อมต้องมีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับหนังสือผูกใบลานด้วย โดยเฉพาะผ้าห่อหนังสือใบลานผูก ก็มีความเชื่อกันด้วยว่า ถ้าได้ถวายผ้าห่อหนังสือใบลานก็จะได้บุญกุศล ซึ่งสามารถถวายได้ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม และก็ถวายได้โดยไม่จำกัด ได้ทั้งผ้าขาว ผ้าสี ผ้าขิด ผ้าจก ผ้ามัดหมี่ โดยเน้นที่ต้องเป็นผ้าทอใหม่ๆ เป็นสำคัญ แต่ถ้าเป็นผ้าเก่าที่ทอไว้แล้วก็ต้องเป็นผ้าที่ยังไม่เคยใช้สอยมาก่อน โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นทอขึ้นมาเพื่อใช้เป็นผ้าซิ่นของผู้หญิง

มีผู้หญิงบางคนในบางแห่งที่คิดว่า การทอผ้าไหมเป็นหน้าที่ของลูกผู้หญิงนั้น กว่าจะได้เส้นไหมมาทอแต่ละผืน แต่ละเครือหูกต้องเอาตัวไหมและฝักไหมลงต้มในหม้อน้ำร้อนเพื่อสาวให้เป็นเส้นไหม นั่นคือต้องฆ่าชีวิตตัวไหมเป็นจำนวนมาก จึงหาโอกาสทำบุญกุศลทดแทนจากการฆ่าด้วยหน้าที่ทางสังคมเป็นเหมือนการไถ่บาปไปในตัว

มีผู้หญิงบางคนสละเส้นผมที่หมั่นดูแลรักษาอย่างดีจนยาวสลวย โดยการถอนออกมาหลายๆ เส้น จนสามารถรวบโคนเส้นผมใฟ้เป็นปอยได้ใหญ่พอสมควร ขนาดประมาณนิ้วมือ มัดโคนให้แน่น หรือรวบติดโคนปอยด้วยครั่งหรือขี้สูด คล้ายการทำ "ช้องผม" หรือไม่ก็ถักปอยผมหรือช้องผมนั้นให้เรียบร้อยสวยงามเพื่อถวายวัด เพื่อให้ใช้ผูกปี้ที่ใช้บอกชื่อเรื่อง ชื่อตอน เสียบไว้กับมัดหนังสือผูกใบลาน โดยเชื่อว่าจะได้บุญกุศลมาก

คนที่มีหนังสือใบลานเป็นสมบัติส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นใบลานผูกหรือใบลานก้อมอยู่กับเรือน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นหมอธรรมหรือหมอสูตรที่เป็นผู้นำในการทำพิธีกรรมต่างๆ คือ ผู้รักษาธรรม จะมีการบูชาหนังสือใบลานทุกวันศีล (วันพระ) และในโอกาสพิเศษที่มีการจัดงานบุญประเพณีเสมอ

ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับหนังสือใบลานที่เป็นคะลำหรือข้อห้ามก้มีอยู่หลายอย่าง เช่น เมื่อต้องเคลื่อนย้ายหนังสือใบลานอย่าให้เนื้อหนังสือใบลานถูกเนื้อต้องตัว ต้องจับเคลื่อนย้ายที่เก็บวางไปทั้งมัด ถ้าจะต้องถือหนังสือใบลานผูกไปที่อื่นแล้ว ห้ามถือไว้ในระดับต่ำกว่าหน้าอก และห้ามถือหนังสือใบลานในลักษณะกวัดแกว่ง กรณีที่เกี่ยวข้องกับเพศ-วัยนั้น จะมีข้อห้ามอยู่ด้วย คือห้ามผู้หญิงจับต้อง-จับถือหน้งสือผูก และห้ามเด็กจับเล่นหนังสือผูกรวมทั้งห้ามทุกเพศ-วัยนอนทับ-นั่งทับหนังสือผูก เป็นต้น"

ความเชื่อแนวปฏิบัติข้างต้นนี้ก็สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของพระสงฆ์รูปหนึ่งจากวัดศรีอุบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่พวกเราสัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๔๕ ดังที่ปรากฏในข้อความต่อไปนี้

"...ผ้าซิ่นที่ใช้ห่อคัมภีร์ต้องเป็นของเจ้าของผู้ศรัทธาและบ่งบอกถึงฐานะของผู้นั้นด้วย ผ้าซิ่นเป็นผ้าไหม ผ้าฝ้าย บางชิ้นก็มีดิ้นเงิน ดิ้นทองแกม เป็นการแสดงฝีมือผู้ทอ ซิ่นไหมเป็นของหายากและมีค่า ผู้มีจิตศรัทธานำมาบริจาคทานเป็นผ้าห่อคัมภีร์ถวายวัด โดยเฉพาะในช่วงเข้าพรรษา น่าจะเป็นโอกาสหนึ่งที่ผู้มีจิตศรัทธาจะถวายคัมภีร์ที่มีอาจารย์เป็นผู้จาร/เขียน แล้วนำมาถวายวัด เพื่อให้พระมีโอกาสใช้คัมภีร์เทศน์เรื่องต่างๆ ให้ญาติโยมได้นั่งฟังในช่วงเข้าพรรษา... ผู้ชายเป็นคนจารตัวธรรมในคัมภีร์ใบลาน ผู้หญิงจารไม่ได้เพราะไม่รู้หนังสือธรรม ต้องเป็นชายที่เคยบวชจึงได้เรียนหนังสือธรรม ผู้หญิงไม่มีโอกาสจาร/เขียนตัวธรรม เพราะไม่ได้เรียน..." ๖

ข้อมูลและข้อคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงกับคัมภีร์ใบลานในอีสานข้างต้นนี้ นับว่าสอดคล้องกันกับความเห็นของสมหมาย เปรมจิตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาคัมภีร์ใบลานทั้งในวัฒนธรรมล้านนา ลาว และอีสาน ทำไมผู้หญิงจึงต้องตกเป็นเสมือนผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนคัมภีร์ใบลานและพุทธศาสนาโดยรวม ทำไมผู้หญิงจึงอ่านและจารหรือเขียนใบลานไม่ได้๗ ต่อคำเหล่านี้ท่านอธิบายว่า

"...เรื่องผู้หญิงจารใบลานนั้นไม่พบหลักฐานเลยทั่วภาคเหนือทุกแห่ง คงจะเป็นเพราะผู้หญิงไม่ได้บวชเรียนเหมือนผู้ชาย แม้แต่ชาววังก็มีน้อยคนที่ได้เรียน ผู้หญิงโบราณจึงอ่านหนังสือไม่ออก แต่ทำวัตรสวดมนต์ได้ ใช้สตางค์ได้เหมือนคนที่ได้เรียนหนังสือและทุกคนจะเหมือนกัน ที่วัดช้างดำ จังหวัดน่าน พบภาพที่ตู้คัมภีร์ใบลานพระสอนหนังสือให้ผู้หญิง ซึ่งเป็นการยืนยันได้ว่าผู้หญิงบางคนได้มีโอกาสเรียนหนังสือ นอกนั้นไม่พบที่ไหนเลย

การที่ผู้หญิงภาคอีสานนิยมเอาผ้าซิ่น (ไหม) ห่อคัมภีร์นั้น คงจะเป็นเพราะผ้าซิ่นเป็นผ้าที่ถือว่าสวยงามที่สุด ผ้าอื่นๆ ไม่ค่อยจะมีมากเหมือนผ้าซิ่น จึงเป็นของที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงที่จะใช้ห่อพระคัมภีร์ ซึ่งถือกันว่าจะได้บุญมาก เพราะผู้หญิงไม่มีโอกาสได้บวชเหมือนผู้ชาย แต่ผ้าซิ่นที่ใช้แล้วเขาจะไม่ใช้ห่อเด็ดขาด

ส่วนที่ล้านนาเขาก็มีพบบ้างเล็กน้อย แต่ที่พบมากกว่าคือ การถักผม-ฟั่นผม-เป็นเชือกร้อยคัมภีร์ เพราะถือว่าจะได้บุญมากเช่นกัน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเส้นผมไม่ทนนานเหมือนเชือกด้าย ไม่ถึงร้อยปีก็เปราะขาด อีกประการหนึ่งธรรมเนียมหรือประเพณีก็มีความสำคัญด้วย เมื่อไม่มีผู้หญิงคนไหนเขียน-จารใบลานมาก่อน ใครอุตริไปทำเข้าจะทำให้เป็นคนแปลกไป และการจารนั้นทำได้ลำบากมาก ต้องอาศัยความชำนาญจริงๆ เพราะใบลานมีใยประสานกันเหมือนผ้าทอเลยทีเดียว ผมเองก็จารไม่ได้เรื่อง..." (สมหมาย เปรมจิตต์. "จดหมายติดต่อส่วนตัว." ๒ มกราคม ๒๕๔๕

 
 
สาธุการบทความนี้ : 329 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 329 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 13:07:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   7) คนอีสานในอดีต ใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่6)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ในอดีต บอกอะไรในปัจจุบัน

ดังที่กล่าวในตอนต้นของบทความแล้วว่า ประเด็นคำถามที่เราให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ การอ่านสัญญะทางวัฒนธรรมของกรณีผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ในวัฒนธรรมอีสานในอดีต ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ที่เก็บรวบรวมไว้ตามตู้คัมภีร์ หอสมุดแห่งชาติ และศูนย์วัฒนธรรมประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วภาคอีสานเวลานี้บอกอะไรกับเรา ในฐานะที่เป็นผู้สนใจและนักศึกษาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมดังกล่าว เราจะอ่านหรือตีความหมายสัญญะทางวัฒนธรรมเหล่านั้นว่าอย่างไร

ประการแรก "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์" ชี้ให้เราเห็นถึงความผูกพันและบทบาทในการอุปถัมภ์ค้ำจุนพระพุทธศาสนาและชุมชนท้องถิ่นของผู้หญิงอีสานในอดีต แน่นอนว่าพุทธศาสนาไม่มีพื้นที่ทางอุดมการณ์และโครงสร้างของสถาบันสำหรับผู้หญิงมากนัก ยกตัวอย่างเช่น คุณลักษณะของพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นอุดมคติของผู้บรรลุธรรมในพุทธศาสนาขั้นสูงสุดก็มองข้ามเพศหญิง และเชื่อว่าการได้เกิดเป็นมนุษย์และมีเพศเป็นชายเป็นอุดมคติสูงสุด ดังคำอธิบายที่ว่า "...พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีธรรมจนแก่กล้าจะบังเกิดธรรมสโมทาน ๘ ประการ ได้แก่ ๑. เป็นมนุษย์ ๒. มีเพศเป็นชาย ๓. มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาแก่กล้า ๔. ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ๕. ได้ออกบวช ๖. ได้บรรลุฌาณ ๘ และอภิญญา ๕ ๗. ได้ทำบุญยิ่งใหญ่โดยยอมสละชีวิต และ ๘. มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในพุทธภูมิ..." (บรรจบ บรรณรุจิ อ้างในเสมอชัย พูลสุวรรณ ๒๕๔๔ : ๒๒๖)

อย่างไรก็ตามบทบาทในการอุปถัมภ์ค้ำจุนพระศาสนาของผู้หญิงในวัฒนธรรมอีสานเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสังคมจำนวนมาก เช่น ผู้หญิงโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุมีหน้าที่หลักในการทำบุญส่งข้าวพระที่วัดเป็นประจำ บางท้องที่ก็รวมกลุ่มกันเรียกว่า "แม่ออกค้ำ" ให้การอุปถัมภ์เรื่องข้าวปลาอาหาร ปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งเงิน แก่พระภิกษุสามเณรที่กำลังบวชเรียน ในช่วงเข้าพรรษาผู้หญิงอีสานในหลายพื้นที่จะรวมกลุ่มกันไปปฏิบัติธรรมที่วัดและหัดร้องบทสวดที่เรียกว่า "สรภัญญะ" นอกจากนี้ในประเพณีการทำบุญ ๑๒ เดือนที่เรียกว่า "ฮีต ๑๒" ต่างก็มีกลุ่มผู้หญิงในชุมชนเป็นกำลังสำคัญควบคู่กับผู้ชายแทบทั้งสิ้น การทานผ้าซิ่นให้วัดใช้ห่อคัมภีร์ใบลานเป็นกิจกรรมที่คล้ายคลึงกับการทานผ้าทอต่างๆ เพื่อทำบุญในพระพุทธศาสนาด้วย เช่น ทอทุงหรือธงผะเหวดในงานบุญเทศน์มหาชาติประจำปี ทอผ้าไหมเป็นชุดผ้าเหลืองประกอบด้วยสบง จีวร อังสะ และรัดประคดสำหรับพิธีบวชนาคของลูกชาย เป็นต้น

ประการที่สอง ความเกื้อกูลและสัมพันธ์กันระหว่างเพศหญิงและชายในสังคมหมู่บ้านอีสานในอดีต โดยเฉพาะในการทำนุบำรุงพุทธศาสนา ภูมิปัญญาและภูมิธรรมดั้งเดิมเกี่ยวกับรากเหง้า พัฒนาการและประวัติศาสตร์ของตนเองและชุมชนท้องถิ่น พวกเราเห็นว่าฐานคิดทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนพื้นบ้านอีสานไม่ได้มองเรื่องเพศสภาวะในมิติของความสัมพันธ์เชิงอำนาจหรือการเอารัดเอาเปรียบ งานหรือบทบาทหน้าที่ทางสังคมเป็นสิ่งที่ถูกหล่อหลอมโดยความเชื่อและประเพณี กรณี "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์" เป็นกรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงค้ำจุนผู้ชาย ผู้ชายค้ำจุนช่วยเหลือเกื้อกูลผู้หญิง และทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างก็อุปถัมภ์หรือทำนุบำรุงพุทธศาสนา ความสัมพันธ์ทางสังคมดังกล่าวในชุมชนหมู่บ้านภาคอีสานมีความหมายสำคัญอย่างยิ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (๒๕๓๘ : ๑๐๖-๑๐๗) นำเสนอว่า หญิงชายในวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยมีสถานภาพแตกต่างกันก็จริง แต่ความแตกต่างไม่ได้แปลว่าการกดขี่หรือเอารัดเอาเปรียบทางเพศเสมอไป เพศสภาวะในวัฒนธรรมไทยดั้งเดิมนั้น "...มีกลไกของวัฒนธรรมและประเพณีอื่นที่แวดล้อมอยู่ด้วยหลายประการ อันช่วยประกันมิให้มีการกดขี่ทางเพศเป็นไปอย่างรุนแรงได้ แต่เมื่อชาวชนบทอพยพเข้ามาอยู่ในเมือง หรือเมื่อวัฒนธรรมเก่าถูกกระทบด้วยวัฒนธรรมตะวันตก เมื่อนั้นการกดขี่ทางเพศจะปรากฏชัดขึ้น"

"ผ้าห่อคัมภีร์..." ในความคิดของเรา "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์" จึงเป็นทั้งสัญลักษณ์และแนวปฏิบัติในวิถีชีวิตจริงอันหนึ่งของคนอีสานในอดีต ที่ทำให้หญิงชายในวัฒนธรรมอีสานมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันในชุมชนท้องถิ่น โดยมีพุทธศาสนาเป็นแกนกลาง

ประการที่สาม ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์บ่งบอกถึงการให้คุณค่าและความสำคัญกับหนังสือและการรู้หนังสือ (literacy) ธรรมเนียมนิยมในการสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญา อุดมการณ์ความคิด และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่สืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน การเคารพยกย่อง กราบไหว้ หรือบูชาคัมภีร์ใบลานบอกถึงการให้คุณค่าอย่างสูงสุดต่อความรู้ หรือหนังสือ (literacy) ในอดีตคนพื้นบ้านอีสานยกย่องคนรู้หนังสืออ่านออกเขียนได้ เชิดชูคนเก่งและคนมีความรู้ความสามารถในชุมชน โดยเฉพาะคนที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางโลกย์และทางธรรม

ประการที่สี่ ความรู้ที่อยู่ในคัมภีร์ใบลานถูกกำกับด้วยจริยธรรมและศาสนธรรม ความรู้ในคัมภีร์ใบลานจึงขลังและศักดิ์สิทธิ์ ทั้งยังเป็นความรู้ที่อยู่ภายใต้การกำกับและควบคุมของคนในชุมชน ฐานของความรู้จึงอยู่ที่ชุมชน ความรู้และทักษะวิชาชีพต่างๆ แม้จะเป็นเรื่องของปราชญ์หรือผู้ที่มีความสามารถแต่ละคน แต่ความรู้ดังกล่าวก็ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนความรู้และทักษะวิชาชีพที่ได้จากระบบการศึกษาแผนใหม่ พวกเราคิดว่าความรู้ในคัมภีร์ใบลานไม่ได้ถูกตัดขาดออกจากชุมชนจนกระทั่งการเข้ามาครอบงำของการศึกษาแผนใหม่จากกรุงเทพฯ และสถาปนาโรงเรียนสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และ ๖ เป็นต้นมา หลังจากนั้นเราอาจกล่าวได้อย่างชัดเจนว่าความรู้ในหนังสือสมัยใหม่และโรงเรียนเป็นเรื่องของสินค้าและทักษะอาชีพ ที่ถูกกำหนดโดยนโยบายการพัฒนาของรัฐและกลไกตลาดของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอุตสาหกรรม (โปรดดู Keyes 1991)

ดังนั้นความรู้ที่ไม่ได้ถูกห่อด้วยผ้าซิ่นจึงเป็นความรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนท้องถิ่นได้ไม่ทั่วถึง และไม่ได้พัฒนาศักยภาพของผู้หญิงและผู้ชายในชนบทตามความเป็นจริง ทั้งยังเป็นระบบความรู้ที่ห่างไกลวิถีชีวิตและความเป็นจริงในท้องถิ่นมากกว่าที่ระบบความรู้และภูมิธรรมที่เคยมีมาของชุมชน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 305 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 305 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 13:09:20  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   7) คนอีสานในอดีต ใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่7)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
บทสรุป

ความพยายามของ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ และกลุ่มสามเณรีที่ต่อสู้เรียกร้องให้มีการบวชของผู้หญิงไทย เพื่อเติมให้พุทธบริษัท ๔ ของพุทธศาสนาในประเทศไทยสมบูรณ์นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้หญิงไทยถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกเลือกปฏิบัติโดยโครงสร้างและกฎระเบียบของมหาเถระสมาคมและระบบราชการไทยที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ("กรมศาสนาบุกดูบวชสามเณรี." มติชนรายวัน. ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕, หน้า ๑, ๑๕) ส.ศิวรักษ์ (๒๕๔๔ : ๑๘๐, ๑๘๗) นำเสนออย่างชัดเจนถึงการคัดค้านการบวชของผู้หญิงในพุทธศาสนา ทั้งภิกษุณี และสามเณรีในประเทศไทยว่า "...เราไม่เคยมีภิกษุณี ภิกษุณีมาไม่ถึงเมืองไทย เราก็เลยตระหนกตกใจกลัวสิ่งซึ่งเราไม่รู้...เป็นการคัดค้านจากผู้ซึ่งกลัวการเปลี่ยนแปลง หรือไปเข้าใจพระพุทธดำรัสที่ว่า ถ้าเกิดไม่มีภิกษุณี พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี มีภิกษุณีพระศาสนาจะอยู่ได้ ๕๐๐ ปี ไปตีความตามพยัญชนะ ไม่ได้ตีในบริบทที่กว้างขวาง..."

คำถามของพวกเราก็คือ การต่อสู้ของผู้หญิงกลุ่มดังกล่าวและกลุ่มอื่นๆ ที่มาก่อนหน้าเกิดขึ้นในบริบทของพุทธศาสนาในสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์เกี่ยวข้องกันอย่างไรกับบทบาทของผู้หญิงอีสานในการค้ำจุนโลกและค้ำจุนธรรมในอดีต ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ช่วยให้เราเข้าใจความพยายามของกลุ่มสามเณรีหรือไม่อย่างไร

พวกเราคิดว่าความใฝ่ฝันและความปรารถนาของผู้หญิงอีสานในอดีตและการทำบุญร่วมในพระศาสนาเป็นเนื้อนาบุญของผู้หญิงที่มีมาช้านาน ทุกสังคมต่างก็มีช่องทางในวัฒนธรรมที่เปิดโอกาสและยอมรับบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้หญิง เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้มอบสิ่งที่ดีที่สุด มีคุณค่าในทางศิลปะและงานฝีมือให้กับชุมชนเพื่อค้ำจุนหรือทำนุบำรุงพระศาสนามาโดยตลอด

กรณี "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์" ก็เป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนอันหนึ่งในภาคอีสาน ในกรณีนี้ผู้หญิงอีสานแสดงความปรารถนาและความใฝ่ฝันในการเข้าถึงรสพระธรรม ความปรารถนาในการรู้หนังสือและอ่านออกเขียนได้ และความปรารถนาที่จะได้รับการยอมรับ หรือมีส่วนร่วมในการทำบุญในร่มเงาของพุทธศาสนาในระดับชุมชนท้องถิ่น

พวกเราไม่คิดว่าผู้หญิงอีสานในอดีตมีรากเหง้าทางความคิดทางศาสนาที่อยู่ในระนาบเดียวหรือใกล้เคียงกับแนวคิดเฟมินิสม์แบบตะวันตก รวมทั้งไม่คิดว่าผู้หญิงอีสานจะใช้วิธีการปฏิรูป เรียกร้อง ต่อสู้ และดิ้นรนในลักษณะเดียวกับกลุ่มสามเณรี แต่พวกเราคิดว่าด้วยเงื่อนไขของสังคมเกษตรกรรมและบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงในอีสานเมื่อประมาณ ๓๐ ปีย้อนหลังกลับไปในอดีต ผู้หญิงอีสานมีบทบาทค้ำจุนโลกและค้ำจุนธรรมะไม่แพ้ผู้ชาย พวกเธอก็มีความปรารถนาที่จะเข้าถึงรสพระธรรมไม่แพ้ผู้ชาย แต่สิ่งที่สังคมอีสานและสังคมไทยในเวลานั้นเปิดโอกาสให้เข้าทำได้ก็คือ การทำบุญทำทานในวาระโอกาสและรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการทำหน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทของลูกสาว แม่และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงในครอบครัวและชุมชน

ประเด็นที่น่าสนใจในที่นี้ก็คือ บทบาทของผู้หญิงอีสานในทางศาสนาเริ่มลดน้อยถอยลงเป็นลำดับ เมื่อคัมภีร์ใบลานหายไป ศูนย์กลางของชุมชนท้องถิ่นไม่ได้อยู่ที่วัด เมื่อการศึกษาแผนใหม่คืบคลานเข้ามา เมื่อระบบราชการและการพัฒนาประเทศแผนใหม่เข้ามาริบอำนาจและเปลี่ยนวิถีชีวิตของชุมชน อะไรเกิดขึ้นกับชุมชน อะไรเกิดขึ้นกับวัดและสถาบันศาสนาในท้องถิ่น อะไรเกิดขึ้นกับผู้ชายชาวบ้านที่จะมาสืบทอดพระศาสนา และที่สำคัญอะไรเกิดขึ้นกับผู้หญิงอีสานในชุมชนผู้ทำหน้าที่ค้ำจุนหรืออุปถัมภ์พระศาสนา

เมื่อผ้าซิ่นต้องจากท้องไร่ท้องนาเข้าสู่โรงงานในเมืองใหญ่ สู่คลับบาร์ และซ่องโสเภณีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้หญิงรวมทั้งผู้ชายจากชนบทต้องระหกระเหินจากถิ่นที่อยู่เข้าไปเผชิญชะตากรรมของชีวิตในเมือง ซึ่งเป็นเวทีที่การเลือกปฏิบัติและการเอารัดเอาเปรียบทางเพศรุนแรง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายผู้หญิงในสังคมไทยจึงเปลี่ยนไปจากเดิม จากระนาบแนวนอนไปสู่ระนาบแนวดิ่งที่มีอำนาจการกดขี่เอารัดเอาเปรียบ เงินตรา และผลประโยชน์เข้ามากำกับมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้ชายและผู้หญิงเปลี่ยนไป จากที่เคยอุปถัมภ์เกื้อกูลกันภายใต้การกำกับของกลไกทางวัฒนธรรมในชุมชนก็กลายเป็นกดขี่ ขูดรีด และเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น ในเวทีที่ผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำและด้อยอำนาจมากยิ่งขึ้น

ในท้ายที่สุดพวกเราเชื่อว่า "ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์" เป็นกรณีตัวอย่างสำคัญเฉพาะที่บ่งบอกถึงบทบาทและความสำคัญของผู้หญิงที่มีต่อสถาบันศาสนาในระดับชุมชน ความสำคัญของตัวอย่างนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่ช่วยให้เรามองเห็นและเข้าใจ "จุดเปลี่ยน" ในระดับสัญลักษณ์และญาณวิทยาที่บ่งบอกถึงเส้นทางการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในสังคมอีสานและสังคมไทยร่วมสมัย ดังที่เห็นและเป็นอยู่ในช่วง ๓๐-๔๐ ปีที่ผ่านมา

"จุดเปลี่ยนเล็กๆ" ดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่า ในโลกยุคโลกาภิวัตน์คนอีสานทั้งหญิงชายซึ่งไม่มีทั้งผ้าซิ่นและคัมภีร์เป็นภูมิรู้และภูมิธรรมติดตัว ได้กลายมาเป็นสมาชิกของชุมชนรัฐชาติไทยและประชาคมโลกอย่างเต็มตัว พวกเขาและเธอต้องเผชิญหน้ากับชีวิตสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่ง แข่งขัน และเอาตัวรอด ในขณะที่ภูมิปัญญาและภูมิธรรมดั้งเดิมของตนเองและชุมชนนั้นตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอและไร้พลังอย่างยิ่ง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 330 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 330 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 13:10:28  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   7) คนอีสานในอดีต ใช้ผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ใบลาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่8)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
เชิงอรรถ

๑. การประชุมทางวิชาการเรื่อง "การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้จากคัมภีร์ใบลานที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย." จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับองค์การยูเนสโก หน่วยข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการเข้าถึงและการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ ๒๒-๒๓ กันยายน ๒๕๔๔ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. โรงแรมนิวพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.

๒. สุลักษณ์ ศิวรักษ์. "คำบรรยายเรื่องจริยธรรม-จริยศาสตร์สำหรับนักศึกษาเทคโนโลยี" รายวิชาไทยศึกษา. ภาคการศึกษาที่ ๓/๒๕๔๔. สาขาวิชาศึกษาทั่วไป, สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๕. (สมุดบันทึกของพัฒนา กิติอาษา).

๓. สัมภาษณ์สมชัย ฟักสุวรรณ์ เจ้าหน้าที่ประจำหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา. สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยสุริยา สมุทคุปติ์. ๑๓, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕.

๔. บำเพ็ญ ณ อุบล. คำอภิปรายเรื่อง "โลกทัศน์จากคัมภีร์ใบลานอีสาน : ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ของคนอีสาน." ในการประชุมทางวิชาการเรื่อง "การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้จากคัมภีร์ใบลานที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย" จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับองค์การยูเนสโก หน่วยข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการเข้าถึงและการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ ๒๒-๒๓ กันยายน ๒๕๔๔ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. โรงแรมนิวพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. (จากสมุดบันทึกของพัฒนา กิติอาษา)

๕. บุญเรือง คัชมาย์. "คำอภิปราย" ในการประชุมทางวิชาการเรื่อง "การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้จากคัมภีร์ใบลานที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย" จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับองค์การยูเนสโก หน่วยข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการเข้าถึงและการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ ๒๒-๒๓ กันยายน ๒๕๔๔ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. โรงแรมนิวพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. (จากสมุดบันทึกของพัฒนา กิติอาษา)

๖. สุริยา สมุทคุปติ์. สมุดบันทึกสนามสัมภาษณ์พระมหาสมบัติ ชุติปัญโญ อายุ ๓๓ ปี อายุบวช ๑๔ พรรษา วัดศรีอุบล ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. ๕ มกราคม ๒๕๔๕.

๗. สมชัย ฟักสุวรรณ์ ให้ข้อมูลว่า เคยพบคัมภีร์ใบลานที่จารโดยผู้หญิงจำนวน ๑ ผูก ที่ทางหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมาได้รวบรวมไว้ ท่านยืนยันว่ามีความเป็นไปได้เช่นกันที่ผู้หญิงในอดีตบางคนจะมีความสามารถถึงอ่านออกเขียนได้และจารคัมภีร์ใบลานได้ แม้ว่าจะเป็นกรณีที่หาได้ยากและเป็นกรณียกเว้นจริงๆ (สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยสุริยา สมุทคุปติ์ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕)


หน้า 82


 
 
สาธุการบทความนี้ : 313 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 313 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 13:11:50  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   8) สะดืออีสานคืออะไร และอยู่ตรงไหน???  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) สะดืออีสานคืออะไร และอยู่ตรงไหน???      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ที่มา : สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎมหาสารคาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย บุญมาธรรม

ภาคอีสาน เดิมได้รับการเรียกขานจากคนกรุงเทพว่าหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก หรือหัวเมืองลาวพุงขาว ต่อมาได้เรียกว่ามณฑลลาวพวน มณฑลลาวกาว มณฑลลาวกลาง ใน พ.ศ.2437 เปลี่ยนมาเรียกว่ามณฑลอุดร มณฑลอีสาน แล้วมาเรียกเป็นมณฑลอุบลราชธานี มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลนครราชสีมา จนถึงปี พ.ศ.246 จึงได้รวมกันแล้วเรียกว่า ภาคอีสาน ในอดีตนั้น ดินนแดนบริเวณบริเวณนี้บางส่วนเคยตกอยู่ใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรม ของขอม มอญ และลาว มาตามลำคับจนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดินแดนนี้จึงตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง ของราชอาณาจักรสยาม

ในมุมมองทางภูมิศาสตร์ เรียกดินแดนนี้ว่า "ที่ราบสูงโคราช" มีชายขอบทางด้านตะวันตก กั้นไว้ด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ ์และเทือกเขาดงพะยาไฟ (เย็น) ส่วนทางด้านใต้กั้นไว้ด้วยเทือกเขาพนมดงรัก ทำให้พื้นที่ลาดเอียงไปทางตะวันออก ซึ่งมีแม่น้ำของ (คนกรุงเทพเรียกว่า "แม่น้ำโขง") เป็นแนวเขต ส่วนตอนกลางของภูมิภาคนี้ มีเทือกเขาภูพานพาดผ่าน ทำให้แบ่งดินแดนนี้ออกเป็น 2 แอ่ง คือ ตอนบนเรียก "แอ่งสกลนคร" ตอนล่างเรียกว่า "แอ่งโคราช"


 
 
สาธุการบทความนี้ : 613 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 612 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 13:20:58  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   8) สะดืออีสานคืออะไร และอยู่ตรงไหน???  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่1) (ต่อ)      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
หากพิจารณารูปร่างลักษณะของภาคอีสาน จากแผนที่สมัยก่อนๆ ก็จะเห็นรูปร่างผิดแปลกไป จากที่เราเคยเห็นในปัจจุบัน กล่าวคือ แผนที่ของฮอนดิอุส (Hondius) ชาวเบลเยียมเขียนไว้และตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ.1613 (พ.ศ.2156) ก็ดี แผนที่ที่เขียน โดย วิลเล็ม บลาว (Willem Blaeu) ชาวฮอลันดา ที่เขียนขึ้น สมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ ศ 2172-2199) ตอนปลายพุทศตวรรษที่ 22 ตลอดจนแผนที่ของโลโปซอเรส (Lopo Soares) ที่ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากพิแอร์ ฟาน เดอร์อาร์ (Pierre Van Der Aa) ชาวฮอลันดา หรือแผนที่พิมพ์จำหน่ายในลอนดอน ในราวพุทธศตวรรษที่ 23 (ไม่ระบุชื่อผู้เขียน) และแผนที่ที่เขียนโดย เอมานูเอล โบเว่น (Emanuel Bowen) ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23

แผนที่เหล่านี้ถึงแม้จะไม่เน้นเฉพาะประเทศสยามก็ตาม แต่พอจะบอกได้ว่า การรับรู้ (Preception) ของฝรั่งเหล่านี้ ให้ความสำคัญแก่ดินแดนที่ราบสูงโคราชอย่างผิวเผินมาก เพราะรูปร่างของ ที่ราบสูงโคราชหรืออีสานมีขนาดเล็ก แคบกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมาก เมืองสำคัญมีเพียงโคราช ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำของ (R.Mecor) เกินไป

จากแผนที่ยุทธศาสตร์ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งถ้าไม่พิจารณาให้ดีหากดูชื่อคงคิดว่าเป็นสมัยพระเจ้าอู่ทอง แต่ในเนื้อหาสาระจริง กลับเป็นสมัยต้นรัตนโกสินทร์นี่เอง จะเห็นว่าดินแดนแถบน ี้มีเส้นทางมุ่งสุ่พระธาตุพนมและเวียงจันทน์ และเริ่มปรากฎ เมืองสำคัญ เช่น ภูเขียว เชียงคาน “กาลสิน” ขุขัน อุบล ขอนแก่น โคราช และหัวเมืองที่เกี่ยวข้องกับ วิกฤตการณ์ เจ้าอนุวงษ์ ส่วนรูปร่าง ก็ไม่สอดคล้องถับความเป็นจริงนัก กลับไปให้ความสำคัญ แก่แม่น้ำของ (โขง) และแม่น้ำสาย สำคัญอื่น ๆ ถึงกระนั้นก็ให้รายละเอียดมากกว่าแผนที่รุ่นเก่า ๆ ที่ผ่านมา
แผนที่ประเทศสยามและโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณภาคอีสานได้รับการเขียนขึ้นอย่างถูกหลักวิชาการครั้งแรกในสมัย เจมส์แมคคาถี (James Mc.Carthy) เข้ามาสำรวจและทำแผนที่ในนามราชสำนักสยามในข่วงปี พ.ศ. 2417 นี่เอง

ถึงแม้จะมีแผนที่ประเทศไทย ในมาตราส่วนที่ละเอียดมากขึ้นแล้ว แต่ปัญหาเกี่ยวกับจุดศูนย์กลาง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน หรือที่ราบสูงโคราช ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บ้างก็บอกว่า อยู่ในเขตจังหัวดร้อยเอ็ด บ้างก็บอกว่าอยู่ในเขตกิ่งอำเภอฆ้องชัยจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่เสียงส่วนมาก เท่าที่เคยได้ยินมาคือ จังหวัดมหาสารคาม ทั้งยังระบุว่าอยู่ในเขตอำเภอบรบือ พอมีการแยกบางส่วนมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอกุดรัง ก็มีเสียงหลายกระแสบอกว่า จุดศูนย์กลางภาคอีสาน อยู่ที่อำเภอกุดรัง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 357 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 355 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 13:22:10  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   8) สะดืออีสานคืออะไร และอยู่ตรงไหน???  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่2) (ต่อ)      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ด้วยความสงสัยและอยากจะทำให้ความจริงข้อนี้กระจ่าง ทั้งยังได้รับการกระตุ้นจากอธิการบดี สถาบันราชภัฏมหาสารคาม(รศ.ดร.สุวกิจ ศรีปัดถา) ผู้เขียนจึงได้นำเรื่องนี้ ไปหารือกับสภาวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีเครือข่ายและสามารถขอความร่วมมือจากหลายฝ่ายได้สะดวก ผศ.ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด และคณะกรรมการเห็นด้วย จึงได้เริ่มดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการหาจุดศูนย์กลางภาคอีสานทางภูมิศาสตร์ หน่วยงานที่ให้แนวคิดและคำแนะนำมีทั้ง ผศ.บุญเลิศ สดสุชาติ ผศ.ไพบูลย์ หาญไชย จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์รณสิทธิ์ แสงสุวอ จากสถาบันราชภัฏมหาสารคาม โดยเฉพาะผังเมืองจังหวัด คุณประยูร หัตถศาสตร์ และคุณเนาวรัตน์ เคารพ จากการปรึกษาหารือ และใช้วิธีการต่าง ๆ แล้วก็เห็นว่าศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม แต่เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชา และได้รับการยอมรับ โดยทั่วไป คณะกรรมการเห็นว่า น่าจะให้กรมแผนที่ทหาร ซึ่งมีความรู้ความชำนาญ และมีเครื่องมือที่ได้มาตราฐาน ช่วยอนุเคราะห์ดำเนินการตามหลักวิชาการแผนที่ จนกระทั่งวันที่ 2 ธันวาคม 2543 กรมแผนที่ ทหารกองบัญชาการทหารสูงสุด จึงได้มีหนังสือที่ กห 0313/3330 มาถึงประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม ความว่า

... ตามที่สภาวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ขอความอนุเคราะห์ให้กำหนดจุดศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภาคคะวันออกเฉียงเหนือ โดยระบุพิกัดและวิธีการดำเนินการโดยสังเขป กรมแผนที่ทหารได้ ทำการ ศึกษาและหาวิธีการกำหนดจุดศูนย์กลางดังกล่าว ดังนี้

1. วิธีการที่เหมาะสมและเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ หลักการหาจุดศูนย์กลาง (Centroid) ของพื้นที่ โดยการสร้างรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เหมาะสมที่สุดแล้วทำการคำนวณหาจุดกึ่งกลางจากพิกัดจุดยอดมุมของรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ระบบพิกัดที่ใช้คำนวณคือ Uinversal Transverse Mercator Grid (UTM), Geodetic Datum คือ Indian 1975 และ Ellipsoid คือ Everest (Indian 1830)
2. ผลการปฏิบัติพบว่า จุดศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่พอกัด Northing 1791706.14m. Easting 294091.9808m. หรือ Latitude 16๐ 11’ 54”.3209 N Longtitude 103๐ 04’ 24” .9818 E จุดนี้อยู่ด้านทิศใต้ของอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม…

จึงเป็นที่น่าเชื่อถือ “โดยสุจริต” ว่า ศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ บริเวณใกล้บึงกูย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามอย่างแน่นอน
นับจากนี้ไป คงต้องมีงานใหญ่รออยู่ข้างหน้าว่า เมื่อพบศักยภาพของมหาสารคามด้านนี้แล้ว “ผู้คนบ้านนี้ เมืองนี้” จะทำอะไรต่อไป เพื่อให้สมกับคำว่า เมืองนี้คือ “สะดือ” อีสาน

ที่มา : สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎมหาสารคาม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 397 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 396 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2549 เวลา 13:24:35  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   9) เครื่องแต่งกายภาคอีสาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) เครื่องแต่งกายภาคอีสาน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ผ้าพื้นเมืองอีสาน

ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ

2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน

ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 697 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 697 ครั้ง
 
 
  15 ก.ย. 2549 เวลา 15:53:49  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   9) เครื่องแต่งกายภาคอีสาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่1)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม

กลุ่มอีสานเหนือ

เป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่มีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และยังมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ข่า ผู้ไท โส้ แสก กระเลิง ย้อ ซึ่งกลุ่มไทยลาวนี้มีความสำคัญบิ่งในการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสาน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้ายและไหม แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์มาทอร่วมด้วย ผ้าที่นิยมทอกันในแถบอีสานเหนือคือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด และผ้าแพรวา

ผ้ามัดหมี่ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองที่ใช้กรรมวิธีในการย้อมสีที่เรียกว่า การมัดย้อม (tie dye) เพื่อทำให้ผ้าที่ทอเกิดเป็นลวดลายสีสันต่างๆ เอกลักษณ์อันโดดเด่นก็อยู่ตรงที่รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามบริเวณของลวดลายที่ผูกมัด และการเหลื่อมล้ำในตำแหน่งต่างๆ ของเส้นด้ายเมื่อถูกนำขึ้นกี่ในขณะที่ทอ ลวดลายสีสันอันวิจิตรจะได้มาจากความชำนาญของการผูกมัดและย้อมหลายครั้งในสีที่แตกต่าง ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ

การทอผ้ามัดหมี่จะมีแม่ลายพื้นฐาน 7 ลาย คือ หมี่ขอ หมี่โคม หมี่บักจัน หมี่กงน้อย หมี่ดอกแก้ว หมี่ข้อและหมี่ใบไผ่ ซึ่งแม่ลายพื้นฐานเหล่านี้ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ เช่น จากลายใบไม้ ดอกไม้ชนิดต่างๆ สัตว์ เป็นต้น ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ เขตอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านเขวา จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น

ผ้าขิด หมายถึงผ้าที่ทอโดยวิธีใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิดซ้อนเส้นยืนขึ้นตามจังหวะที่ต้องการ เว้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งให้เดินตลอด การเว้นเส้นยืนถี่ห่างไม่เท่ากันจะทำให้เกิดลวดลายต่างๆ ทำนองเดียวกับการทำลวดลายของเครื่องจักสาน จากกรรมวิธีที่ต้องใช้ไม้เก็บนี้จึงเรียกว่า การเก็บขิด มากกว่าที่จะเรียก การทอขิด ผ้าขิดที่นิยมทอกันมีอยู่ 3 ชนิด ตามลักษณะประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก คือ

  • ผ้าตีนซิ่น เป็นผ้าขิดที่ทอเพื่อใช้ต่อชายด้านล่างของผ้าซิ่น เนื่องจากผ้าทอพื้นเมืองจะมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดผืนผ้า ดังนั้นเวลานุ่งผ้าซิ่นผ้าจะสั้นจึงต่อชายผ้าที่เป็นตีนซิ่นและหัวซิ่นเพื่อให้ยาวพอเหมาะ


  • ผ้าหัวซิ่น ก็เช่นเดียวกันเป็นผ้าขิดที่ใช้ต่อชายบนของผ้าซิ่น


  • ผ้าแพรวา มีลักษณะการทอเช่นเดียวกับผ้าจก แพรวา มีความหมายว่า ผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายที่ทอเป็นผืนมีความยาวประมาณวาหนึ่งของผู้ทอ ซึ่งยาวประมาณ 1.5-2 เมตร


ผ้าแพรมน มีลักษณะเช่นเดียวกับแพรวา แต่มีขนาดเล็กกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส นิยมใช้เช่นเดียวกับผ้าเช็ดหน้าและหญิงสาวผู้ไทนิยมใช้โพกผม

ผ้าลายน้ำไหล ผ้าลายน้ำไหลนี้ที่มีชื่อเสียงคือ ซิ่นน่าน (ของภาคเหนือ) มีลักษณะการทอลวดลายเป็นริ้วใหญ่ๆ สลับสีประมาณ 3 หรือ 4 สี แต่ละช่วงอาจคั่นลวดลายให้ดูงดงามยิ่งขึ้น ผ้าลายน้ำไหลของอีสานก็คงจะได้แบบอย่างมาจากทางเหนือ โดยทอเป็นลายขนานกับลำตัว และจะสลับด้วยลายขิดเป็นช่วงๆ

ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งสำหรับผู้ชาย ลักษณะของผ้าโสร่งจะทอด้วยไหมหรือฝ้ายมีลวดลายเป็นตาหมากรุกสลับเส้นเล็ก 1 คู่ และตาหมากรุกใหญ่สลับกัน กว้างประมาณ 1 เมตร ยาว 2 เมตร เย็บต่อกันเป็นผืน
                            

 
 
สาธุการบทความนี้ : 609 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 609 ครั้ง
 
 
  15 ก.ย. 2549 เวลา 15:59:32  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   9) เครื่องแต่งกายภาคอีสาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่2)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
กลุ่มอีสานใต้

คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว

ผ้ามัดหมี่ ในกลุ่มอีสานใต้ก็มีการทอเช่นเดียวกันนิยมใช้สีที่ทำเองจากธรรมชาติเพียงไม่กี่สี ทำให้สีของลวดลายไม่เด่นชัดเหมือนกลุ่มไทยลาว แต่ที่เห็นเด่นชัดในกลุ่มนี้คือการทอผ้าแบบอื่นๆ เพื่อการใช้สอยกันมากเช่น

- ผ้าหางกระรอก จะมีสีเลื่อมงดงามด้วยการใช้เส้นไหมต่างสีสองเส้นควั่นทบกันทอแทรก

- ผ้าปูม เป็นผ้าที่มีลักษณะการมัดหมี่ที่พิเศษเป็นเอกลักษณ์ต่างจากถิ่นอื่น

- ผ้าเซียม (ลุยเซียม) ผ้าไหมที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ


ผ้าขิด การทอผ้าขิดในกลุ่มอีสานใต้มีทั้งการทอด้วยผ้าฝ้ายและผ้าไหม แต่ส่วนมากมักจะใช้ต่อเป็นตีนซิ่นในหมู่คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดี เพราะชาวบ้านทั่วไปไม่นิยมใช้กัน ลักษณะการต่อตีนซิ่นของกลุ่มนี้นิยมใช้เชิงต่อจากตัวซิ่นก่อน แล้วจึงใช้ตีนซิ่นต่อจากเชิงอีกทีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มไทยลาวอย่างเด่นชัด

 
 
สาธุการบทความนี้ : 636 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 636 ครั้ง
 
 
  15 ก.ย. 2549 เวลา 16:02:18  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   9) เครื่องแต่งกายภาคอีสาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่3)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ลักษณะผ้าพื้นเมืองอีสาน

ลวดลายผ้าพื้นเมืองอีสานทั้งสองกลุ่มนิยมใช้ลายขนานกับตัว ซึ่งต่างจากผ้าซิ่นล้านนาที่นิยมลายขวางตัวและนุ่งยาวกรอมเท้า ในขณะที่ชาวไทยลาวนิยมนุ่งผ้าซิ่นสูงระดับเข่าแต่ไม่สั้นเหมือนผู้หญิงเวียงจันทร์และหลวงพระบาง การต่อหัวซิ่นและตีนซิ่นจะต่อด้วยผ้าชนิดเดียวกัน ส่วนหัวซิ่นนิยมด้วยผ้าไหมชิ้นเดียวทอเก็บขิดเป็นลายโบคว่ำและโบหงายมีสีแดงเป็นพื้น ส่วนการต่อตะเข็บและลักษณะการนุ่งจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากภาคอื่นคือ การนุ่งซิ่นจะนุ่งป้ายหน้าเก็บซ่อนตะเข็บ ยกเว้นกลุ่มไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้ ซึ่งมักจะทอริมผ้าเป็นริ้วๆ ต่างสีตามแนวตะเข็บซิ่น จนดูกลมกลืนกับตะเข็บและเวลานุ่งจะให้ตะเข็บอยู่ข้างสะโพก


การใช้ผ้าสำหรับสตรีชาวอีสาน

ผ้าซิ่นสำหรับใช้เป็นผ้านุ่งของชาวอีสานนั้นจะมีลักษณะการใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ผ้าซิ่นสำหรับผู้หญิงที่มีสามีแล้ว จะใช้ผ้าสามชิ้นมาต่อกันโดยแบ่งเป็นผ้าหัวซิ่น ผ้าตัวซิ่น และผ้าตีนซิ่น ผ้าแต่ละชิ้นมีขนาดและลวดลายต่างกัน

  • ผ้าหัวซิ่น จะมีขนาดกว้างประมาณ 20 ซม. ยาวเท่ากับผ้าซิ่น มีลวดลายเฉพาะตัว คือ ทอเป็นลายขวางสลับเส้นไหมแทรกเล็กๆ สลับสีสวยงาม


  • ส่วนตัวซิ่น คือส่วนกลางของผ้าซิ่นมีความกว้างมากกว่าส่วนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเท่าฟืมที่ใช้ทอ ซึ่งนิยมทอเป็นลายมัดหมี่


  • ส่วนตีนซิ่น คือส่วนล่างของผ้าซิ่นจะมีความกว้างเพียง 10 ซม. และยาวเท่ากับความยาวของผ้าซิ่น เมื่อต่อเข้ากับตัวซิ่นแล้วลายจะเป็นตรงกันข้ามกับผ้าหัวซิ่น ความงามอยู่ที่การสลับสีส่วนใหญ่จะเลียนแบบจากลวดลายของสัตว์ เช่น ลายงูทำเป็นลายปล้องสีเหลืองและดำ


2. ผ้าซิ่นสำหรับหญิงสาว จะเป็นผ้าซิ่นมัดหมี่เหมือนกันแต่เป็นผืนเดียวกันตลอด ใช้วิธีการมัดหมี่เป็นดอกและลวดลายติดต่อแล้วทอเป็นผืนเดียวกันตลอด ในผืนซิ่นจะมีลายที่ริมขอบด้านล่างในลักษณะเชิงซิ่นลวดลายส่วนใหญ่ทั้งตัวซิ่นและเชิงนิยมใช้ลายรูปสัตว์ เช่น ไก่ฟ้า หงษ์ทอง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 539 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 538 ครั้ง
 
 
  15 ก.ย. 2549 เวลา 16:07:58  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   9) เครื่องแต่งกายภาคอีสาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่4)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 


ตัวอย่างการแต่งกายสำหรับชุดการฟ้อนภาคอีสาน 1


 
 
สาธุการบทความนี้ : 802 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 802 ครั้ง
 
 
  15 ก.ย. 2549 เวลา 16:11:45  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   9) เครื่องแต่งกายภาคอีสาน  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่5)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ตัวอย่างการแต่งกายสำหรับชุดการฟ้อนภาคอีสาน 2

 
 
สาธุการบทความนี้ : 294 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 294 ครั้ง
 
 
  15 ก.ย. 2549 เวลา 16:13:57  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   10) พานบายศรี หรือ พาขวัญ  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) พานบายศรี หรือ พาขวัญ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
พานบายศรี หรือ พาขวัญ : พัฒนาคุณค่าให้เป็นมูลค่าในโลกยุคไร้พรมแดน



บทนำ

ความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับคนและสิ่งมีชีวิตของผู้คนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ต่างเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตแม้จะมีร่างกายเป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่สิ่งสำคัญที่ประกอบกันมากับร่างกายก็คือ ขวัญ เป็นสิ่งที่มีประจำกายของทุกคน มีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษา คอยดูแลให้เจ้าของร่างกายให้อยู่ดีและปกติสุขยามใดที่ขวัญไม่อยู่กับร่างกาย ก็อาจทำให้ประสพเคราะห์กรรม ได้รับอันตราย อาจถึงชีวิต หรือ การดำเนินชีวิตไม่เป็นปกติสุขนั่นเอง ขวัญ จึงมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต

เป็นเครื่องพิทักษ์รักษา ให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ คนในท้องถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแทบทุกกลุ่มจึงมีพิธีกรรม บำรุงขวัญ สร้างกำลังใจให้เกิดแก่ ขวัญ เพื่อให้ คนและสรรพสิ่ง ให้สามารถอยู่ ดำรงอยู่ ซึ่ง พิธีกรรมดังกล่าว เรียกว่า สู่ขวัญ สูดขวัญ หรือ ปัจจุบันมักได้ยินเรียกกันติดปากว่า พิธีบายศรีสู่ขวัญ นั่นเอง

การบายศรีสู่ขวัญ มีปรากฏในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทุกประเทศ ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อ ทั้งจากพื้นฐานแบบความเชื่อดั้งเดิม ความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ หรือ ความเชื่อพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ในประเทศไทย การบายศรีสู่ขวัญ มีการสืบต่ออย่างชัดเจนในภาคอีสานและภาคเหนือหรือล้านนาในอดีต พิธีกรรมดังกล่าวยังมีจนถึงปัจจุบัน จนบางแห่งมาทำขึ้นใหม่เพื่อนำคุณค่าของพิธีกรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น งานผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น ก็มีพิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นกิจกรรมหลักของการผูกเสี่ยว การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ (HomeStay)ในท้องถิ่นอีสาน เช่นที่เรณูนคร นครพนม ที่บ้านผู้ไทบ้านโคกก่อง กาฬสินธุ์ ก็มีการบายศรีสู่ขวัญเป็นกิจกรรมหลัก หรือการมีบุคคลสำคัญ ประมุขของประเทศต่าง ๆ มาเยือนประเทศไทยในภาคอีสานและภาคเหนือ กิจกรรมสำคัญที่จะขาดไม่ได้ ก็คือ พิธีบายศรีสู่ขวัญ ให้แก่แขกบ้านแขกเมือง เพราะเชื่อว่าเป็นการสร้างเสริมจิตใจ เสริมกำลังใจให้แก่คน หรือ บ้านเมือง ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข พิธีบายศรีสู่ขวัญ จึงมีความสำคัญต่อผู้คนในดินแดนแถบนี้อย่างยิ่ง แต่เหนืออื่นใดการบายศรี สู่ขวัญ จะกระทำไม่ได้เลย หากขาดองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งถือว่า เป็นเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการประกอบพิธีกรรม สิ่งนั่นก็คือ พานบายศรี หรือ พาขวัญ
                

 
 
สาธุการบทความนี้ : 611 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 611 ครั้ง
 
 
  18 ก.ย. 2549 เวลา 09:08:02  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   10) พานบายศรี หรือ พาขวัญ  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่1)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
การทำพานบายศรี หรือ พาขวัญ

มีคำ ผะหยาภาษิต กล่าวตั้งแต่โบราณว่า “ หมกปลาต้องมีครู จี่กะปูต้องมีวาด” ซึ่งหมายความว่าการตกแต่ง หรือทำกิจการใด ๆ ก็ตาม จะต้องมีครูบาอาจารย์สอนสั่ง ลูกศิษย์ที่เรียนรู้ไปจึงสามารถจะทำกิจกรรมนั้นได้อย่างดี เช่นกัน การทำบายศรี หรือ พาขวัญ ในสังคมอีสาน ก็ต้องมีครูบาอาจารย์สอนสั่งพอสมควร ไม่ใช่ใครนึกจะทำก็ได้ เพราะพานบายศรี หรือพาขวัญ ถือว่าเป็นของสูง เป็นเครื่องมือติดต่อ และสังเวยหรือถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ เทวดา มิใช่ของใช้ของมนุษย์เรา ดังนั้นจะต้องทำอย่างปราณีต บรรจงและงดงาม และจะต้องมีการครอบจากครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้เสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าขะลำ เพราะโบราณถือว่า บายศรีมีครูแรง ถ้าใครไม่ได้ครอบ(ขออนุญาต) ห้ามทำบายศรีอัปรีย์จะกิน ซึ่งความเป็นจริงน่าจะหมายถึง ความต้องการที่จะให้ผู้เป็นช่างทำบายศรีทั้งหลายได้ตระหนักและเรียนรู้อย่างตั้งใจ สามารถทำได้อย่างงดงาม เหมาะสม เมื่อนำออกไปเพื่อทำพิธีจะได้ไม่ถูกตำหนิ หรือ แสดงออกถึงความไม่สง่างาม แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ บายศรี หรือ พาขวัญ เป็นเครื่องสังเวยเทวดา การติดต่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้พออกพอใจ สิ่งเหล่านี้ก็ต้องงดงาม และเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความตระการตา แม้จะถูกใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็ตาม ดังนั้นช่างทำบายศรีทุกคนจะต้องตระหนักในสิ่งนี้ ประการสำคัญแม้สังคมยุคใหม่จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และไร้พรมแดน สามารถเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้เกือบทุกเรื่องราวก็ตาม แต่การสอนสั่งที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ให้ผู้เรียนรู้จักและเคารพครูบาอาจารย์ ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพราะจะทำให้เกิดการขัดเกลานิสัยและบุคลิกภาคจากการเรียนรู้และการปฏิบัติที่ครู อาจารย์ได้สอนสั่ง จิตใจที่อ่อนโยน ความเอื้ออาทร ความไม่แข็งกระด้าง ของคนรุ่นใหม่ ก็จะได้จากการเรียนรู้จากการสอนสั่งแบบไทย ๆ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง


ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังถือว่ามีคุณค่าอย่างมากมายให้แก่สังคมไทย การได้ใช้กิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือเพื่อให้คนรุ่นใหม่รับเอาแบบแผนการดำเนินชีวิต จากการเรียนรู้แบบการพาเฮ็ดพาทำ จะทำให้พวกเขารับเอาโดยอัตโนมัติ ไม่เป็นการฝืนใจหรือบีบบังคับ สิ่งใดก็แล้วแต่ที่เกิดจากการให้โดยไม่บังคับ ก็จะทำให้การเรียนรู้เป็นไปด้วยดีและติดตัวไปและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนรู้อย่างแท้จริง
                            

 
 
สาธุการบทความนี้ : 595 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 594 ครั้ง
 
 
  18 ก.ย. 2549 เวลา 09:10:12  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   10) พานบายศรี หรือ พาขวัญ  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่2)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
จะทำคุณค่า ของ บายศรี ให้เป็นมูลค่า ในโลกยุคไร้พรมแดนได้อย่างไร

ในภาวะของโลกปัจจุบันที่ความทันสมัยและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวกำหนดให้พวกเราเดินตาม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเดินตามโลกอย่างมีสติ และในขณะเดียวกันก็จะต้องเปลี่ยนอุปสรรคหรือปัญหาให้เป็นโอกาสให้ได้ โดยเฉพาะการนำศักยภาพท้องถิ่น ที่เป็นทั้งภูมิปัญญาและองค์ความรู้ต่าง ๆ มาปรับเปลี่ยนให้สามารถนำมาใช้ในโลกยุคใหม่ โดยให้เกิดมูลค่าจากสิ่งเหล่านั่นด้วย เรื่องของบายศรี หรือ พาขวัญ ก็เช่นกัน ก็ต้องนำมาสร้างกิจกรรม หรือ สิ่งของ ให้มีมูลค่า ให้ได้ เช่นกัน ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม หากนึกไม่ออก ก็มีรายกรณี กล่าวคือ

1. งานประเพณีผูกเสี่ยวของจังหวัดขอนแก่น องค์ประกอบสำคัญก็คือ การสู่ขวัญ ซึ่งจะต้องใช้พานบายศรีเป็นเครื่องประกอบสำคัญ เราสามารถที่จะทำพานบายศรีหลายพานในงานนี้และสามารถที่จะทำการประกวดพานบายศรีในงานนี้ได้เช่นกัน ก่อให้เกิดการพัฒนา พานบายศรี ได้อีกกระบวนการหนึ่งด้วย และที่สำคัญ การทำ พานบายศรีขนาดเล็ก เพื่อเป็นของที่ระลึกในขนาดต่าง ๆ ก็น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจ ให้แก่คู่เสี่ยวทั้งหลายได้นำไปเป็นสัญลักษณ์แห่งความผูกพันธ์ แทนพิธีกรรมดังกล่าวได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งน่าจะสร้างมูลค่าให้เป็นของที่ระลึกในงานผูกเสี่ยว ได้เป็นอย่างดี ของจังหวัดขอนแก่น

2. งานบุญเบิกฟ้า ของจังหวัดมหาสารคาม ก็มีการใช้บายศรีขนาดใหญ่ในพิธีกรรมดังกล่าวเช่นกัน และเคยมีการประกวดบายศรี โดยให้แต่ละอำเภอได้จัดทำขึ้นมาเพื่อร่วมพิธีกรรมเบิกฟ้า ซึ่งจัดในวันออกใหม่ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 การกระทำพิธีบูชาเทวดาและแม่พระโพสพ ก็ได้ใช้บายศรีเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้นการประกวดบายศรี การทำบายศรีให้เป็นเครื่องมือ บูชาเทวดา โดยทำด้วยวัสดุที่คงทนอยู่ได้นานเพื่อให้ชาวนาได้นำกลับไปบูชาที่ไร่นาของตนเอง ก็น่าจะเป็นสิ่งที่พึ่งกระทำได้ หรือให้เป็นของที่ระลึกและนำกลับไปเป็นของเพื่อให้เกิดสิริมงคลบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บ้านก็น่าจะเป็นไปได้เช่นกัน

3. งานบูชานมัสการพระธาตุพนม พระธาตุเชิงชุม และงานบูชาพระธาตุนาดูนจำปาศรี ก็ได้ใช้พานบายศรีขนาดใหญ่ในงานพิธีกรรมดังกล่าวเช่นกัน งานเหล่านี้บายศรีขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก จะขายได้เพื่อให้พุทธสาสนิกชน ได้นำไปถวายและเป็นพุทธบูชาในงานดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากทำเป็นระบบมีการจัดการที่ถูกต้อง ช่างทำบายศรี หมู่บ้านทำบายศรี ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบายศรี รวมทั้งวัดและพระธาตุ ก็จะได้มูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเป็นกอบเป็นกำ และเป็นสิ่งที่สังคมย่อมรับได้

4. การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่น ศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ หลักเมือง ผีปู่ตา กู่ต่าง ๆ ก็ล้วนแต่มีบายศรี เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นสิ่งเหล่านี้หากช่วยกันคิดช่วยกันทำและทำอย่างสร้างสรรค์ เชื่อว่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ท้องถิ่นได้อย่างมากมาย

5. การสร้างให้เป็นสัญลักษณ์สำคัญของท้องถิ่นและพัฒนาเป็นของที่ระลึกก็ทำได้เช่นกัน หากใครเป็นคนอีสาน สัญลักษณ์ที่เป็นของท้องถิ่นอีสาน ที่พัฒนาเป็นของที่ระลึกและขายได้ ประเภทเครื่องดนตรี น่าจะเป็นสิ่งของที่มีอยู่ในตลาดและสามารถขายได้มานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น แคน โหวด โปงลาง ขลุ่ย ขนาดเล็ก เป็นสิ่งของขายได้ ประเภทสินค้าที่ระลึกการท่องเที่ยวในภาคอีสานแล้ว ทำไมจะทำให้ บายศรี หรือ พาขวัญ ขายได้เช่นเดียวกับของเหล่านั่น ซึ่งในปัจจุบัน บายศรีก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของอีสานแล้ว เช่น ที่สวนสุรนารี บริเวณลำตะคอง ก็มีพานบายศรีโดดเด่นเป็นสง่างดงาม เป็นประติมากรรมที่มองจากเส้นทางแล้วดูอลังการมาก เช่นเดียวกับที่โรงแรมเพชรรัตน์การ์เด้นส์ จังหวัดร้อยเอ็ด ก็มีประติมากรรม พานบายศรี ตั้งอยู่บริเวณห้องพักคอย โถงขนาดใหญ่ นักท่องเที่ยวเมื่อเดินเช้าไปเช็คอิน ก็จะมองเห็นทันที นับว่านำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและดูด

 
 
สาธุการบทความนี้ : 625 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 625 ครั้ง
 
 
  18 ก.ย. 2549 เวลา 09:12:18  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   10) พานบายศรี หรือ พาขวัญ  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่3)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
สรุป

ดังนั้นเมื่อถึงวันนี้ เราก็คงจะต้องฝึกการทำบายศรีให้เกิดความถนัดและสวยงามยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยกันระดมกำลังสมองว่า เราจะพัฒนางานบายศรีมารับใช้สังคมยุคแห่งการเรียนรู้ และไร้พรมแดนได้อย่างไร จะนำคุณค่าของงานศิลปกรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างไร โดยทำให้คนในแวดวงแห่งการทำบายศรีสามารถลืมตาอ้าปากได้ ในขณะเดียวกันงานที่พัฒนาจากแนวคิดและจินตนาการ ซึ่งเป็นงานศิลปะเฉพาะที่เกิดจากศิลปินได้สร้างขึ้นมา จะได้ถูกดูแลความคิดสร้างสรรค์เหล่านั่น ในด้านการจดทะเบียน สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ของผลงานที่สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น จะต้องช่วยกันคิดถึงวิธีการร่วมมือถึงการคุ้มครองให้ได้ เพราะมิฉะนั้นเมื่อมีการทำและสามารถขายได้จนเป็นของที่ระลึก บายศรีที่มีลักษณะเฉพาะเกิดจากจินตนาการของช่างคนใดคนหนึ่งก็สมควรได้รับค่าสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ของทางทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวด้วย ซึ่งพวกเราช่างบายศรีต้องช่วยกันคิดในเรื่องนี้ช่วยกัน เพราะมิฉะนั้น เราคงเป็นเพียงแค่ผู้ถูกจ้างทำงานศิลปะเท่านั่นเอง

เอกสารอ้างอิง

1. พิธีบายศรีสู่ขวัญ จาก www.google.co.th/search?q=cache:oWMq1vle7c0J:student.stjohn.ac.t…

2. พิธีบายศรีประเพณีอันงดงามของท้องถิ่น จาก http://www.everykid.com

3. ประเพณีการสู่ขวัญ จาก http://www.isangate.com

หมายเหตุ:
บทความโดย วรรณศักดิ์พิจิตร บุญเสริม นักวิจัยทางวัฒนธรรมศาสตร์ ประจำสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน E-mail : eiddy101@chaiyo.com
จากเว็บไซต์ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน


 
 
สาธุการบทความนี้ : 481 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 481 ครั้ง
 
 
  18 ก.ย. 2549 เวลา 09:19:23  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   2) กาฬสินธุ์  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) กาฬสินธุ์      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป


กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตร ได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำปาว เรียกว่า “บ้านแก่งสำโรง” แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ ท้าวโสมพะมิตรเป็น “พระยาชัยสุนทร” ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก

กาฬสินธุ์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 519 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 18  คือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสมเด็จ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอท่าคันโท อำเภอเขาวง อำเภอห้วยเม็ก อำเภอคำม่วง อำเภอหนองกุงศรี อำเภอนามน อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอร่องคำ อำเภอสามชัย อำเภอนาคู อำเภอดอนจาน และอำเภอฆ้องชัย

จังหวัดกาฬสินธุ์มีเนื้อที่ทั้งหมด 7,055.07 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศตอนบนเป็นภูเขาตามแนวเทือกเขาภูพาน ตอนกลางเป็นเนินเขาสลับป่าโปร่ง

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดอุดรธานี สกลนคร
       ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม
       ทิศตะวันออก  ติดต่อจังหวัดร้อยเอ็ด มุกดาหาร
       ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และอุดรธานี


ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 639 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 638 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 11:20:37  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   3) ชัยภูมิ  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) ชัยภูมิ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือ เป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวแสนงาม และสายน้ำตกชุ่มฉ่ำยามหน้าฝน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ ภูพังเหย ภูแลนคา ภูพญาฝ่อ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี

ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม จนถึงอิทธิพลลาวล้านช้าง มีการค้นพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด ต่อมาปรากฏชื่อเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายหลังจึงร้างไป และมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีชาวเวียงจันทน์เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง มีผู้นำชื่อ แล ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ

ชัยภูมิอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 342 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 16 อำเภอ  คือ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอจัตุรัส อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอคอนสาร อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเนินสง่า และอำเภอซับใหญ่

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ       ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดขอนแก่น
       ทิศใต้           ติดกับจังหวัดนครราชสีมา
       ทิศตะวันออก  ติดกับจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา
       ทิศตะวันตก   ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี

ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 741 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 741 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 11:25:26  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) นครพนม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

นครพนม เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง(ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนมในปัจจุบัน

ตามประวัติเล่ากันว่าเมื่อพญานันทเสนผู้ครองศรีโคตรบูรสวรรคต เสนาอำมาตย์และประชาชนต่างก็เห็นว่าบ้านเมืองเกิดเภทภัยหลายครั้ง ควรที่จะย้ายไปสร้างเมืองใหม่อยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีป่าไม้รวกขึ้นอยู่เป็นดงจึงได้เรียกชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “มรุกขนคร” หมายถึงเมืองที่อยู่ในดงไม้รวก มรุกขนครในสมัยพญาสุมิตรธรรมเมื่อ พ.ศ. 500 นั้นรุ่งเรืองมาก มีเมืองขึ้นมากมายและมีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย โดยการก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแแพงล้อมรอบ มีงานสมโภชใหญ่โต

หลังจากพญาสุมิตรธรรมแล้ว ก็มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ แต่ก็เกิดมีเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูร จนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ. 1800 เจ้าศรีโคตรบูรได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในพ.ศ. 2057 ผู้ครองเมืองมรุกขนคร คือพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศ ราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น “เมืองศรีโคตรบูร” ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม ในยุคสมัยนี้ยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอีกด้วย

ต่อมา พ.ศ. 2280 พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรองค์สุดท้ายได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วให้ชื่อว่า “เมืองนคร” ซึ่งก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายอีกหลายครั้ง ดังเช่น พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางทิศเหนือ 52 กิโลเมตร จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2333 เมื่อผู้ครองเมืองนครถึงแก่พิราลัย เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร  โดยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามให้ใหม่ว่า
“ นครพนม”

ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อนและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงได้ใช้คำว่า “ นคร” ส่วนคำว่า “พนม” ก็มาจากพระธาตุพนมปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บ้างก็ว่ามรุกขนครเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งอยู่ในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนจึงนำคำว่า “พนม” ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า “นคร” ก็เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้คือเมืองมรุกขนคร นครพนมจึงหมายถึง “ เมืองแห่งภูเขา” นั่นเอง

จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,512.668 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 740 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม นาแก ท่าอุเทน เรณูนคร บ้านแพง ปลาปาก ศรีสงคราม นาหว้า โพนสวรรค์ นาทม และอำเภอวังยาง

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
       ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอดงหลวง กิ่งอำเภอหว้าน ใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
       ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
       ทิศตะวันตก  ติดต่อกับอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดจังหวัดสกลนคร


ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 593 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 593 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 11:32:27  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   5) นครราชสีมา  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) นครราชสีมา      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

นครราชสีมา หรือที่เรียกว่า “โคราช” เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ผู้มาเยือนจะเพลิดเพลินกับกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งเดินป่าศึกษาธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้งยังได้อิ่มอร่อยกับอาหารอีสานต้นตำรับ ก่อนกลับยังได้ซื้อหาสินค้าเกษตรหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีให้เลือกอีกมากมาย

คำว่า นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง นครราชสีมาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เคยมีฐานะเป็นเมือง “เจ้าพระยามหานคร” เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง จนมาถึงปัจจุบันก็ยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน

จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,494 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 32 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ ด่านขุนทด โนนไทย โนนสูง ขามสะแกแสง พิมาย คงโนนแดง ประทาย ชุมพวง บัวใหญ่ แก้งสนามนาง บ้านเหลื่อม จักราช ห้วยแถลง ปักธงชัย โชคชัย ครบุรี เสิงสาง หนองบุนนาก วังน้ำเขียว เฉลิมพระเกียรติ เมืองยาง เทพารักษ์ ลำทะเมนชัย พระทองคำ บัวลายและสีดา

อาณาเขต
       ทิศเหนือ      ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น  
       ทิศใต้          ติดกับจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี  
       ทิศตะวันออก  ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์  
       ทิศตะวันตก   ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และสระบุรี  


ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 709 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 709 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 11:37:16  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   6) บุรีรัมย์  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) บุรีรัมย์      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

บุรีรัมย์ เมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน ดินแดนแห่งอารยธรรมขอมโบราณ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร

จังหวัดบุรีรัมย์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 10,321 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 23 อำเภอ คือ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง ลำปลายมาศ ประโคนชัย พุทไธสง สตึก กระสัง บ้านกรวด คูเมือง ละหานทราย หนองกี่ ปะคำ นาโพธิ์ หนองหงส์ พลับพลาชัย ห้วยราช โนนสุวรรณ เฉลิมพระเกียรติ ชำนิ โนนดินแดง บ้านกรวด ละหานทราย บ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอแคนดง และอำเภอบ้านด่าน

ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และที่สำคัญที่สุด คือ ปราสาทขอมน้อยใหญ่กว่า 60 แห่ง ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไป อันแสดงถึงความรุ่งเรืองของบุรีรัมย์มาแต่ครั้งอดีตกาล รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะดินเผาสมัยขอม กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18

หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้
  
อาณาเขต
       ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม
       ทิศใต้    ติดต่อกับจังหวัดสระแก้วและเทือกเขาพนมมาลัย ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา
       ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์
       ทิศตะวันตก  ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา  

ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 582 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 582 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 11:41:59  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   7) มหาสารคาม  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) มหาสารคาม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

มหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความสงบ และเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น “ตักศิลาแห่งอีสาน” เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาอยู่มากมายหลายแห่ง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 475 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 5,291 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม กันทรวิชัย โกสุมพิสัย วาปีปทุม บรบือ พยัคฆภูมิพิสัย นาเชือก เชียงยืน นาดูน แกดำ ยางสีสุราช อำเภอกุดรังและอำเภอชื่นชม
  
อาณาเขต  
       ทิศเหนือ       ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์
       ทิศใต้          ติดกับจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์
       ทิศตะวันออก  ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด
       ทิศตะวันตก    ติดกับจังหวัดขอนแก่น

ที่มา เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 476 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 475 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 11:46:03  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   8) มุกดาหาร  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) มุกดาหาร      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงแขวงสวันเขต มีหมู่บ้านชุมชนใหญ่ชื่อบ้านหลวงโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณพระธาตุอิงฮัง แขวงสวันเขตในปัจจุบัน โดยมีเจ้าจันทรสุริยวงศ์ปกครอง มีบุตรชายชื่อเจ้ากินรี ซึ่งต่อมาได้ข้ามลำน้ำโขงมาฝั่งขวาที่บริเวณปากห้วยมุก สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ณ ที่นั้นในปี พ.ศ. 2310 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 และตั้งชื่อเมืองว่า “มุกดาหาร” อันเกิดจากศุภนิมิตรที่พบเห็นในขณะที่กำลังสร้างเมือง ชาวเมืองทั่วไปเรียกมุกดาหารว่า เมืองมุก

ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช อุปราชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2321

เดิมเมืองมุกดาหาร มีฐานะเป็นเมืองขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร ขึ้นเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ 17 ของภาคอีสาน

จังหวัดมุกดาหารเป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง 70 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่มีถึง 8 เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยกะเลิง ไทยแสกและไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม

มุกดาหารมีพื้นที่ประมาณ 4,339.830 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
       ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอหนองพอก อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
       ทิศตะวันออก  ติดต่อกับแขวงสวันเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
      ทิศตะวันตก  ติดต่อกับอำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์  


ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 710 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 708 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 11:51:21  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   9) ยโสธร  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) ยโสธร      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดยโสธรจากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์กับสมัครพรรคพวก เดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่เรียกว่า “บ้านสิงห์ท่า” หรือ “เมืองสิงห์ท่า” ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น “เมืองยโสธร” ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา

ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515

จังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ประมาณ 4,161 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตอีสานตอนล่าง จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธร คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ป่าติ้ว เลิงนกทา กุดชุม ค้อวัง ทรายมูล และไทยเจริญ


อาณาเขต
       ทิศเหนือ       ติดกับจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดนครพนม  
       ทิศใต้           ติดกับจังหวัดศรีสะเกษ
       ทิศตะวันออก  ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี  
       ทิศตะวันตก    ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด


ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1011 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 1010 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 11:55:45  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   10) ร้อยเอ็ด  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) ร้อยเอ็ด      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

ร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคอีสานมานานกว่า 200 ปี อดีตเคยเป็นเมืองใหญ่ที่รุ่งเรืองมาก ชื่อว่า สาเกตนคร มีประตูเข้าเมือง 11 ประตู เมืองขึ้น 11 เมือง แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ มากมาย เมืองร้อยเอ็ดเป็นเมืองแห่งบึงพลาญชัย และมีส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่ถึงสองล้านไร่เศษ ขณะนี้กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อให้เป็นแผ่นดินแห่งความอุดมสมบูรณ์จนแทบจะหาร่องรอยแห่งอดีตไม่พบ

ประวัติศาสตร์ของเมืองร้อยเอ็ดเริ่มปรากฏขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีเจ้าลาวจากนครจัมปาศักดิ์ได้เดินทางมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่เป็นอำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน ต่อมาได้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ย้ายเมืองใหม่มาตั้งที่บริเวณเมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน ส่วนเมืองสุวรรณภูมิเดิมก็ยังคงมีอยู่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์คิดกบฎต่อกรุงเทพฯ ได้ยกทัพเข้ามาตีหัวเมืองรายทางจนถึงนครราชสีมา แต่ก็ถูกทัพไทยตีแตกพ่ายไปในที่สุด

นอกจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีแสดงการอยู่อาศัยของคนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เช่นกันและรวมทั้งเคยเป็นดินแดนที่อยู่ในเขตอิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ เพราะพบโบราณสถานแบบขอมหลายแห่ง เช่น กู่พระโกนา อำเภอสุวรรณภูมิ กู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ อำเภอธวัชบุรี เป็นต้น

ร้อยเอ็ด มีเนื้อที่ 8,299 ตารางกิโลเมตร และแบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ  คือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอธวัชบุรี อำเภอพนมไพร อำเภอโพนทอง อำเภอเสลภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภออาจสามารถ อำเภอหนองพอก อำเภอเมืองสรวง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทราย อำเภอเมยวดี อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอหนองฮี และอำเภอทุ่งเขาหลวง

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดกับอำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
       ทิศใต้ ติดกับอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
       ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเมือง อำเภอเลิงนกทา อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
       ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอเมือง อำเภอวาปีปทุม และอำเภอพยัคฆภูมิ จังหวัดมหาสารคาม


ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม    

 
 
สาธุการบทความนี้ : 875 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 874 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:11:50  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   11) เลย  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) เลย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดเลย เมืองท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โอบล้อมด้วยภูเขาสลับซับซ้อนท่ามกลางสายหมอกปกคลุมเหนือยอดภู อุดมไปด้วยพืชพรรณป่าไม้นานาชนิดที่รู้จักกันดีคือ ภูกระดึง ภูหลวงและภูเรือ อากาศอันเย็นสบาย ภูมิประเทศที่งดงาม ประเพณีวัฒนธรรมอันแตกต่างไปจากถิ่นอื่นซึ่งได้แก่การละเล่นผีตาโขน ที่รอคอยนักเดินทางมาสัมผัสเมืองแห่งขุนเขาดินแดนมหัศจรรย์แห่งนี้

เลยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 520 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11,424 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในอดีตนั้นเป็นเพียงชุมชนเล็กๆของอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองควบคู่กับกรุงศรีอยุธยาของไทย ภายหลังอาณาจักรล้านช้างเริ่มอ่อนแอลง จึงมาขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชุมชนนี้ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเลยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จังหวัดเลยแบ่งการปกครองออกเป็น 14อำเภอ คือ อำเภอเมืองเลย วังสะพุง ปากชม เชียงคาน ท่าลี่ ภูเรือ ด่านซ้าย ภูกระดึง นาแห้ว นาด้วง ภูหลวง ผาขาว อำเภอเอราวัณ และอำเภอหนองหิน
  
อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
       ทิศใต้ ติดกับจังหวัดขอนแก่น
       ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู
       ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดพิษณุโลก


ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1106 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 1105 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:23:08  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) ศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

ศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานตอนล่างที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เคยเป็นชุมชนที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมานับพันปี นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ และมีชนเผ่าต่างๆ อพยพมาตั้งรกรากในบริเวณนี้ ได้แก่ พวกส่วย ลาว เขมร และเยอ

ศรีสะเกษเดิมเรียกกันว่า เมืองขุขันธ์ เมืองเก่าตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหินในปัจจุบัน ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเมื่อ พ.ศ. 2302 สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยมีหลวงแก้วสุวรรณซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาไกรภักดีเป็นเจ้าเมืองคนแรก ล่วงถึงรัชสมัยรัชการที่ 5 ได้ย้ายเมืองขุขันธ์มาอยู่ที่บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน แต่ยังคงใช้ชื่อว่าเมืองขุขันธ์จนถึง พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดศรีสะเกษตั้งแต่นั้นมา

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดยโสธร และร้อยเอ็ด
       ทิศใต้ ติดต่อประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย โดยมีเทือกเขาดงรัก เป็นแนวกั้นเขตแดน
       ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดอุบลราชธานี
       ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดสุรินทร์

ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 579 ครั้ง
จากสมาชิก : 3 ครั้ง
จากขาจร : 576 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:27:26  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   13) สกลนคร  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) สกลนคร      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

สกลนคร เป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุห้าแห่ง แหล่งอารยธรรมสามพันปี ตามตำนานเล่าว่า เมืองหนองหานหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า “เมืองเชียงใหม่หนองหาน” และเมื่อมาอยู่ในความปกครองของไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองสกลทวาปี” ต่อมา ในปี พ.ศ. 2373 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็น “เมืองสกลนคร”

ในปัจจุบัน จังหวัดสกลนครยังได้รับการขนานนามว่าเป็น"แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังเห็นหลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นถิ่นกำเนิดและพำนักของอริยสงฆ์ที่สำคัญเป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยหลายท่าน อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น

จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 647 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 9,605 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น  18   อำเภอ  คือ  อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอ พรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ อำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภออากาศอำนวย อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอภูพาน

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม
       ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร
       ทิศตะวันออก  ติดต่อกับจังหวัดนครพนม
       ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์

ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 575 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 575 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:30:47  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   14) สุรินทร์  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) สุรินทร์      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานจังหวัดหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอนว่ามีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร อาศัยเพียงข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ตลอดจนคำบอกเล่าของผู้สูงอายุที่เล่าต่อๆ กันมา โดยเชื่อกันว่าเมืองสุรินทร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมีอำนาจอยู่ในบริเวณนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าดงอยู่นาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2306 จึงปรากฏหลักฐานว่าหลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองที ได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที มาตั้งอยู่บริเวณบ้านคูประทาย บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2 ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย

ต่อมาหลวงสิรินทรภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านคูประทายเป็น “เมืองประทายสมันต์” และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดี เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง

ในปี พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “เมืองประทายสมันต์” เป็น “เมืองสุรินทร์” ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง

สุรินทร์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 457 กิโลเมตร และโดยทางรถไฟประมาณ 420 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด และมหาสารคาม
       ทิศใต้ ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา
       ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
       ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์

ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 554 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 553 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:33:06  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   15) หนองคาย  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) หนองคาย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

หนองคาย เมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมระหว่างสองประเทศ

จังหวัดหนองคาย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 615 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงมากที่สุดเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ สามารถเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้โดยสะดวก มีวัดวาอารามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจ โรงแรมที่พักที่สะดวกสบาย หลากหลายไปด้วยอาหารและสินค้าของฝาก ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเมืองริมโขงแห่งนี้

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ  ติดกับแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
       ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุดรธานี, สกลนคร
       ทิศตะวันออก  ติดกับจังหวัดนครพนม
       ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย  

ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 597 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 597 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:35:50  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   16) หนองบัวลำภู  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) หนองบัวลำภู      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

หนองบัวลำภู เป็นเมืองโบราณที่มีประวัติยาวนานไม่น้อยกว่า 900 ปี เดิมเป็นดินแดนที่ขึ้นต่อกรุงศรีสัตตนาคนหุต (เวียงจันทน์) มีชื่อว่า “เมืองหนองบัวลุ่มภู นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน” หนองบัวลำภู ได้รับแต่งตั้งเป็นจังหวัดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เดิมเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ประมาณ 3,859 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู โนนสัง ศรีบุญเรือง นากลาง สุวรรณคูหา และนาวัง

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดอุดรธานี
       ทิศใต้ ติดกับจังหวัดขอนแก่น
       ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดอุดรธานี
       ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย

ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 651 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 650 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:38:37  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   17) อำนาจเจริญ  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) อำนาจเจริญ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขึ้นอยู่กับนครเขมราฐ ต่อมาจึงได้ย้ายมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี จนกระทั่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536

อำนาจเจริญแม้จะเป็นเมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบ แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าชม ทั้งวัดวาอาราม ธรรมชาติที่สวยงาม และหัตถกรรมฝีมือชาวบ้านที่น่าซื้อเป็นของใช้ ของฝาก

จังหวัดอำนาจเจริญประกอบด้วย 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา และอำเภอลืออำนาจ

อาณาเขต  
       ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
       ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี  
       ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดต่อกับอำเภอเขมราฐ อำเภอกุดข้าวปุ้น และอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
       ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 446 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 446 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:41:22  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) อุดรธานี      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

อุดรธานี เป็นจังหวัดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการท่องเที่ยว ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และยังเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และมีหัตถกรรมผ้าขิตที่มีชื่อเสียงอีกด้วย

จังหวัดอุดรธานีมีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองวัวซอ อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ อำเภอบ้านดุง อำเภอกุมภวาปี อำเภอโนนสะอาด อำเภอเพ็ญ อำเภอน้ำโสม อำเภอกุดจับ อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอนายูง อำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอกู่แก้ว และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม

อาณาเขต  
      ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดหนองคาย
      ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์
      ทิศตะวันออก  ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร
      ทิศตะวันตก  ติดต่อกับจังหวัดเลย และหนองบัวลำภู

ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 586 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 586 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:43:28  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   19) อุบลราชธานี  
  อีสานจุฬาฯ    คห.ที่0) อุบลราชธานี      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  จอมยุทธน้อย

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 เม.ย. 2550
รวมโพสต์ : 235
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 649290
รวม: 649290 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

อุบลราชธานี เป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ที่มีประวัติความเป็นมากว่า 200 ปี เล่ากันว่า ท้าวคำผง ท้าวทิศพรหม และท้าวคำบุตร พระวอ พระตา หนีภัยสงครามจากพระเจ้าสิริบุญสาร เจ้าแห่งนครเวียงจันทน์ มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าตากสินมหาราช และต่อมา ได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณดงอู่ผึ้ง ใกล้กับแม่น้ำมูล ครั้นพ.ศ. 2323 พระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาราชสุภาวดี เชิญตราพระราชสีห์มาพระราชทานนามเมืองว่า “อุบลราชธานี” ทรงให้ท้าวคำผงเป็นเจ้าเมืองคนแรกซึ่งต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระปทุมวงศา” เมืองอุบลราชธานีมีเจ้าเมืองสืบกันมาถึง 4 คน ตราบจนถึงปีพ.ศ. 2425 จึงได้มีการแต่งตั้งข้าหลวงและผู้ว่าราชการจังหวัดมาปกครองดูแลจนถึงทุกวันนี้

อุบลราชธานี ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 629 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงและภูเขา มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ และมีหน้าผาหินทรายบริเวณชายฝั่งแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและลาว

จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ประมาณ 15,744 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ เดชอุดม บุณฑริก นาจะหลวย น้ำยืน พิบูลมังสาหาร โขงเจียม ศรีเมืองใหม่ ตระการพืชผล เขมราฐ ม่วงสามสิบ เขื่องใน กุดข้าวปุ้น ตาลสุม โพธิ์ไทร สำโรง สิรินธร ดอนมดแดง ทุ่งศรีอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอนาตาล อำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอสว่างวีระวงศ์และอำเภอน้ำขุ่น

อาณาเขต
       ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดอำนาจเจริญ
       ทิศใต้ ติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวเทือกเขาบรรทัด
       ทิศตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
       ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดยโสธรและจังหวัดศรีสะเกษ


ที่มา : เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนที่เหลือ เรียนเชิญสมาชิกโพสต์เพิ่มเติม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 959 ครั้ง
จากสมาชิก : 3 ครั้ง
จากขาจร : 956 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 15:46:04  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
อุบลราชธานี --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ