ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
บาดยามเป็นสาวจ้อยควายตมบ่อยากขี่ บาดว่าได้ลูกน้อยบายขี้ก่อนงาย แปลว่า ตอนเป็นสาวแรกรุ่น ควายเปื้อนขี้โคลน ไม่อยากขี่ พอมีลูกแล้ว จับขี้ลูกก่อนกินข้าว ก็ทำได้ หมายถึง ไม่ควรเป็นคนเย่อหยิ่ง


  ค้นหากระทู้ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   )  
  miniming    คห.ที่0) ประเพณีภาคอีสาน และวัฒนธรรมประเพณีภาคอีสาน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือ และตะวันออกของภาค โดยทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสาน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูลอีสาน มีเนื้อที่ประมาณ 170,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ กว่า  20 จังหวัด ดังนี้

          - จังหวัดนครราชสีมา
          - จังหวัดกาฬสินธุ์
          - จังหวัดขอนแก่น
          - จังหวัดชัยภูมิ
          - จังหวัดนครพนม
          - จังหวัดบุรีรัมย์
          - จังหวัดบึงกาฬ
          - จังหวัดมหาสารคาม
          - จังหวัดมุกดาหาร
          - จังหวัดยโสธร
          - จังหวัดร้อยเอ็ด
          - จังหวัดเลย
          - จังหวัดสกลนคร
          - จังหวัดสุรินทร์
          - จังหวัดศรีสะเกษ
          - จังหวัดหนองคาย
          - จังหวัดหนองบัวลำภู
          - จังหวัดอุดรธานี
          - จังหวัดอุบลราชธานี
          - จังหวัดอำนาจเจริญ

          ทั้งนี้ในเรื่องของภาษาที่ใช้ในภาคอีสานนั้น อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อาทิ ภาษาหลักที่ใช้คือ ภาษาอีสาน ซึ่งถือว่า เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง แต่ในตัวเมืองใหญ่ ๆ มักนิยมใช้ภาษากลาง ขณะที่บริเวณอีสานใต้นิยมใช้ภาษาเขมร และยังมีภาษาถิ่นอื่น ๆ เช่น ภาษาผูไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 74 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 74 ครั้ง
 
 
  13 พ.ค. 2563 เวลา 15:54:07  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1450) งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง (Khao Phanom Rung Festival)  
  miniming    คห.ที่0) งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง (Khao Phanom Rung Festival)      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง (Khao Phanom Rung Festival)
        ตั้งอยู่บ้านตาเป็ก ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร ซึ่งคำว่า "พนมรุ้ง" หรือ "วนํรุง" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "ภูเขาใหญ่" นั่นเอง
โดยตัวปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ตั้งเรียงรายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธานบนยอด อันเปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพัง (สระน้ำ) สามชั้นผ่านขึ้นมาสู่พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะ ๆ ถนนทางเดินนี้ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่าโรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท      

จัดขึ้นช่วง : วันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือน เมษายน
      ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นศาสนสถาน ในลัทธิพราหมณ์และ ได้รับการแปลงเป็นพุทธสถานในสมัยหลัง ช่วงที่ถูกทิ้งร้างอยู่มีผู้นำพระพุทธบาทจำลองไปประดิษฐานไว้ที่ปรางค์น้อยบนเขา กลายเป็นประเพณีของชาวบ้านรอบ ๆ บริเวณนั้นพากันขึ้นไปนมัสการปิดทองรอย พระพุทธบาทนี้รวมทั้งไหว้พระทำบุญในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี เนื่องจากปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นโบราณสถานที่ยี่งใหญ่สวยงามและเป็นประเพณีแต่ดั้งเดิม จังหวัดจึงได้ส่งเสริมให้มีงานประเพณีในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนเมษายน โดยจัดกิจกรรมต่างๆ อันเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณ ได้แก่ ขบวนแห่ราชประเพณีขอมโบราณ การแสดงแสง-เสียง ย้อนรอยอดีตพนมรุ้ง และการแสดงระเบิดภูเขาไฟจำลอง
      เดือนเมษายนทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า)ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยความคิดริเริ่มของท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณ จากวัดท่าประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเดินทางมาเพื่อปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีทางขึ้นสู่ตัวปราสาท ผู้ที่สนใจอยากขึ้นชมปราสาทต่างคนต่างขึ้นมาเองโดยไม่กำหนดเวลาประกอบกับจังหวัดสุรินทร์มีประเพณีขึ้นเขาสวายในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกๆ ปี ท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณเห็นว่าประเพณีขึ้นเขาเป็นสิ่งดี เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันทำบุญพบปะสังสรรค์ สร้างความสามัคคีและมีโอกาสได้พักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย จึงริเริ่มให้จัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญเดือน ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งก็ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกระทั่ง ปัจจุบันเป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ทุกปีจะมีปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี คือในช่วงเวลานั้นเราจะมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงตามความยาวของปราสาทเราสามารถมองลอดประตูทางด้านทิศตะวันตกฝ่ากรอบประตูต่างๆ กว่า ๑๐ กรอบ ทะลุผ่านประตูปรางค์ประธาน และทะลุออกซุ้มประตูหน้า ความยาว ๘๘ เมตร มองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกรอบประตูพอดี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 132 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 132 ครั้ง
 
 
  14 พ.ค. 2563 เวลา 12:13:05  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1454) เทศกาลผีตาโขน  
  miniming    คห.ที่0) เทศกาลผีตาโขน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
เทศกาลผีตาโขน

ประเพณีแห่ผีตาโขนจัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า "งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์ มหาชาติ ประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีชื่อเสียงและขึ้นชื่อของจังหวัดเลย โดยมีกระบวนแห่ผีตาโขนโดยแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์มีลวดลายที่งดงามแตกต่างกันไป แสดงการละเล่นเต้นรำกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่งที่แห่ยาวไปตามท้องถนน

กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดา ผีป่าหลายตน และสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสอง พระองค์ กลับ เมือง "ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน
ชนิดของผีตาโขน
ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
- ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่าง
- ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำ และเข้าร่วมสนุก ได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน
การแต่งกายผีตาโขน
ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากกาบมะพร้าวแกะสลักและสวมศีรษะด้วย
การละเล่นผีตาโขน
เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมี การละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติมีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวมๆกัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน
- วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้ เกิดความสุข สวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถา และให้อีกคนลงไปในน้ำงมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถาม ว่า "ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่" ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า "ไม่ใช่" พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า "ใช่ นั่นแหละ พระอุปคุตต์ที่แท้จริง" เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พานแล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการ ทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัดซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรือ อยู่ตามที่ต่างๆก็จะมาร่วมขบวนด้วย ความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้เสียงดัง
- วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย เจ้าพ่อกวนนั่งอยู่บน กระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดินตามเสด็จไปรอบ เมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออก ให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่ แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่
- วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์ มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัยเพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิตแก่ชีวิต

อ่านเพิ่มเติม >> สล็อต

 
 
สาธุการบทความนี้ : 102 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 102 ครั้ง
 
 
  15 พ.ค. 2563 เวลา 12:30:31  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1458) เพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี  
  miniming    คห.ที่0) เพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
เพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี

  การเทียนพรรษาเป็นประเพณีวันเข้าพรรษาของชาวพุทธที่ได้กระทำต่อเนื่องกันมาแต่พุทธกาลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา ก่อนสมัยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลในสมัยนั้น ในการทำเทียนพรรษาและการแห่เทียนของชาวเมืองอุบลยังไม่มี ซึ่งเมื่อสมัยนั้นเมื่อถึงวันเทศกาลเข้าพรรษา ชาวบ้านจะฟั่นเทียนพันรอบศรีษะนำไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษาพร้อมทั้งหาน้ำมัน เครืองไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝน ไปถวายพระ

     ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบลซึ่งในครั้งนั้นได้มีการจัดขบวนแห่บั้งไฟขึ้นที่วัดกลาง โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมขบวนแห่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการจัดขบวนแห่ในครั้งนั้นได้มีการทำร้ายร่างกายกันจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ดังนั้นเมื่อทราบถึงเสด็จในกรมจึงทรงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีจึงขอให้เลิกการแห่บั้งไฟตั้งแต่บัดนั้นโดยให้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน

    การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้ใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนแล้วนำเทียน มาติดกับลำไม้ไผ่ ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อ หากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาติดปิด รอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียน ไปมัดติด กับปี๊บ น้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป็น ชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการ แห่นำไปถวายวัด ซึ่งพาหนะที่ใช้ในสมัยนั้นนิยมใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง ในสมัยแรกๆนั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษาแต่ชาวบ้านจะกล่าวร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวยต่อมาผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาก่อนแล้วแห่รอบเมืองก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด

อ่านเพิ่มเติม >> สล็อต

 
 
สาธุการบทความนี้ : 106 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 106 ครั้ง
 
 
  17 พ.ค. 2563 เวลา 14:20:29  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1460) ประเพณีไหลเรือไฟนครพนม  
  miniming    คห.ที่0) ประเพณีไหลเรือไฟนครพนม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
ไหลเรือไฟ เป็นพิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณโดยมีความเชื่อว่าการไหลเรือไฟเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์ประทับไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทานที ครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมในพิภพของนาคใต้เมืองบาดาล รวมทั้งความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญานาคในลำน้ำโขง การระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา ขอขมาลาโทษต่อแม่น้ำ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในแม่น้ำ และยังถือเป็นการลอยเคราะห์ลอยโศก ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข มีโชคมีลาภไหลเรือไฟ นครพนม 2562

    ไหลเรือไฟ นครพนม 2562 นอกจากนั้นในตำนานยังเล่าขานกันว่า ในแม่น้ำโขงเป็นที่สิงสถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่น พญานาค เจ้าพ่อเหล็กซีด้ามแตก เจ้าพ่อคำแดง เจ้าพ่อหมื่น เจ้าพ่อสัมมะติ เจ้าพ่อสิบสอง ต้องทำการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อให้ท่านปกปักรักษาบ้านเมือง ประชาชนให้มีความสงบสุขร่มเย็น ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และขอให้มีโชคลาภ การทำมาหากินให้มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง

    ประเพณีไหลเรือไฟจังหวัดนครพนมประจำปี 2562 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นทุกวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยในปี พ.ศ. 2562 ตรงกับวันที่ 6 -14 ตุลาคม 2562 มหกรรมไหลเรือไฟ วันที่ 13 ตุลาคม 2562 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) รวม 9 วัน 9 คืน จัดให้มีกิจกรรมในงาน

- การไหลเรือไฟโชว์วันละ 2 ลำ และปล่อยกระทงสาย (ไข่พญานาค )
- การจัดนิทรรศการวิถีคนทำเรือไฟ ,ศิลปะวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ หน้าสถานที่จะทำเรือไฟของแต่ละอำเภอริมฝั่งแม่น้ำโขง
- การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน,ดนตรีโปงลาง,การประกวด B Boy ,การแสดงดนตรีของเด็กเยาวชน,การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง กำนัน ผู้ใหญ่ บ้านผู้บริหาร อปท.การประกวดธิดาเรือไฟ ณ เวทีกลางหน้าศาลากลางจังหวัดนครพนม
- การออกร้านของส่วนราชการ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดนครพนม
- การออกร้านและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ณ บริเวณถนนหน้าศาลากลางจังหวัดนครพนม
- กิจกรรมตักมัจฉากาชาดกาชาด บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด หลังเดิม
- การจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดบริเวณถนนอภิบาลบัญชาและถนนราชทัณฑ์โดยรอบศาลากลางจังหวัดนครพนม
- กิจกรรมวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พิธีรำบูชาพระธาตุพนม ณ บริเวณลานหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร พิธีอัญเชิญไฟพระฤกษ์ จากบริเวณถนนนิตโยมายัง บริเวณหน้าศาลหลักเมือง พิธีทางศาสนาก่อนไหลเรือไฟ และกิจกรรมแห่ขบวนเรือไฟบก พิธีเปิดมหกรรมไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม หลังพิธีเปิด ชมการปล่อยกระทงสาย การไหลเรือไฟจากอำเภอต่างๆ
- พิธีทำบุญตักบาตรเทโว หน้าลานพญาศรีสัตตนาคราช ถนนสุนทรวิจิตร เทศบาลเมืองนครพนม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 105 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 105 ครั้ง
 
 
  18 พ.ค. 2563 เวลา 13:31:31  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1462) เที่ยวหน้าฝน ยลทะเลหมอก หยอกดอกกระเจียว งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวบาน  
  miniming    คห.ที่0) เที่ยวหน้าฝน ยลทะเลหมอก หยอกดอกกระเจียว งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวบาน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
เที่ยวหน้าฝน ยลทะเลหมอก หยอกดอกกระเจียว งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวบาน




ททท. ชวนเที่ยวหน้าฝน ยลทะเลหมอก หยอกดอกกระเจียว  “งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวบาน ประจำปี 2562”  ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม และ อุทยานแห่งชาติไทรทอง  จังหวัดชัยภูมิ

จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเอกชน  
และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา กำหนดจัดงาน “เทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวบาน” จังหวัดชัยภูมิ ประจำปี 2562 ในห้วงระหว่างเดือน มิถุนายน – สิงหาคม 2562 ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต
และ อุทยานแห่งชาติไทรทอง อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ รวมทั้งทำให้ราษฎรในพื้นที่มีรายได้จาการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน

กิจกรรมภายในงาน เช่น นั่งรถรางชมทุ่งดอกกระเจียว ผาสุดแผ่นดิน สวนหินงาม ป่าหินล้านปี
การแสดงและจำหน่ายสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยภูมิ อาทิ ต้นกระเจียวประดิษฐ์ ผ้าฝ้ายและผ้าไหมพื้นเมือง รวมถึงผลไม้ต่าง ๆ ตลาดชุมชนคนญัฮกุร จัดขึ้นทุกวันศุกร์และเสาร์ตลอดการจัดงาน ถึง 31 สิงหาคม 2562
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปชมทุ่งดอกกระเจียวได้ 2 จุด คือที่ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต และอุทยานแห่งชาติไทรทอง อำเภอหนองบัวระเหว ซึ่งระยะทางอยู่ห่างกัน 60 กิโลเมตร

และนอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่สวยงามของจังหวัดชัยภูมิ ให้เดินทางท่องเที่ยวต่อได้อีก
เช่น ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านหนองใหญ่ (ซับสะเลเต) อำเภอเทพสถิต และเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างอำเภอเมืองชัยภูมิกับอำเภอแก้งคร้อ สักการะศาลเจ้าพ่อพญาแล-ชมพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนคำมุ-น้ำตกตาดโตน–มอหินขาว-ผาหัวนาค–เขื่อนลำปะทาว- พระธาตุชัยภูมิ

เส้นทางท่องเที่ยวระหว่างอำเภอเมือง-อำเภอหนองบัวแดง-อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ชมน้ำตกผาเอียง –วัดผาเกิ้ง -ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง –ล่องเรือชมสวนส้มโอบ้านบุ่งสิบสี่

เส้นทางท่องเที่ยวระหว่างอำเภอภูเขียว-อำเภอคอนสาร ไหว้พระธาตุหนองสามหมื่น อ.ภูเขียว-ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัติวิถีบ้านฝายดินสอ ต.ดงบัง อ.คอนสาร -พระพุทธรูป 700 ปีวัดเจดีย์ –สะพานไม้หมาก-น้ำผุดทับลาว-ทุ่งกะมัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-เขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นต้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 97 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 97 ครั้ง
 
 
  19 พ.ค. 2563 เวลา 14:13:11  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1464) Cool I San งานบุญที่ยิ่งใหญ่ “แห่นาคโหด” จังหวัดชัยภูมิ  
  miniming    คห.ที่0) Cool I San งานบุญที่ยิ่งใหญ่ “แห่นาคโหด” จังหวัดชัยภูมิ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
Cool I  San งานบุญที่ยิ่งใหญ่ “แห่นาคโหด” จังหวัดชัยภูมิ



“Cool I San” พิธีแห่นาคที่นี่…แปลก…ประหลาด…และโหดที่สุดในโลก!! ในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2562 ณ วัดตาแขก ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ บททดสอบความอดทนอดกลั้นของลูกผู้ชาย สำหรับ ปี 2562 มีจำนวน 7 นาค เพื่อทดแทนพระคุณของ “แม่” ที่ต้องอดทนอดกลั้นกับความเจ็บปวดเมื่อตอนคลอดลูกออกมา และต้องอดทนกับความทรมานในการ “อยู่ไฟ” บนแคร่ไม้ไผ่ ฉะนั้นนาคที่นี่จะสามารถบวชได้ ต้องอดทนกับความเจ็บปวดและครองตัวให้มั่นบนแคร่ไม้ไผ่ที่ถูกเซิ้ง ถูกโยนและถูกหามแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน

สำหรับ ประเพณีแห่นาคโหด ที่บ้านโนนเสลานี้ ถือเป็นประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปี โดยชาวบ้านจะร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มหรือบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี เพื่อให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจที่จะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ โดยผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาสวัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือ วัดตาแขก (วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบด้วย เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณี

งานบุญเดือนหกเริ่มต้นด้วย พิธีการตัดและโกนผมนาคกันก่อนตามพิธีบวชปกติ แต่ก่อนจะเข้าพิธีสู่ขวัญ นาคทุกคนจะต้องพากันออกจากวัดไปกราบศาลปู่ตาซึ่งเป็นศาลประจำหมูบ้านกันก่อน เมื่อเสร็จแล้วนาคทุกคนค่อยกลับวัดเพื่อทำพิธีสู่ขวัญนาคต่อไป จากนี้ไปเป็นความเชื่อที่นับถือกันต่อมาด้วยการแห่นาค จากบ้านตนเองรอบหมู่บ้าน โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้าน มาช่วยกันหามแคร่ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่าโยนนาค ถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่า ผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนที่จะบวชแทนคุณบิดามารดาหรือไม่

โดยผู้บวชจะต้องมีสมาธิและสติในการประคองตัวเองไม่ให้ตกลงมาจากแคร่ หากใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช โดยจะเป็นเช่นนี้ตลอดระยะทางที่แห่รอบหมู่บ้านกว่า 3 กิโลเมตร ซึ่งตั้งแต่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาใน พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ใดตกลงมาถูกดินเลยสักราย ความศรัทธามหามงคลยังดำเนินต่อไปตามความเชื่อและความรู้สึกในเส้นทางศาสนา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 118 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 118 ครั้ง
 
 
  20 พ.ค. 2563 เวลา 12:48:59  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1469) ชวนไปดู ประเพณีบุญบั้งไฟ ยโสธร สืบสานตำนานวิถีอีสาน  
  miniming    คห.ที่0) ชวนไปดู ประเพณีบุญบั้งไฟ ยโสธร สืบสานตำนานวิถีอีสาน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
ชวนไปดู ประเพณีบุญบั้งไฟ ยโสธร สืบสานตำนานวิถีอีสาน

งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของชาวอีสาน ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และ ความเชื่อทางศาสนาของชาวอีสานมาช้านาน โดยก่อนถึงฤดูทำนา จะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปเพื่อบูชาพญาแถน เทพเจ้าแห่งฝน ให้ปล่อยฝนตกลงมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการทำเกษตรกรรม

ภายในงาน นักท่องเที่ยวจะได้พบกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม, การประกวดแห่กาพย์เซิ้งบั้งไฟ,
การสาธิตและร่วมการแกะลายบั้งไฟ, การแสดงรถบั้งไฟโบราณ, การประกวดเวทีกองเชียร์บั้งไฟ, การประกวดธิดาบั้งไฟโก้,
การแสดงแสงสีสื่อผสม ตำนานพญาคันคาก (ตำนานบุญบั้งไฟยโสธร), การจุดบั้งไฟปฐมฤกษ์และบั้งไฟเสี่ยงทาย การจุดโชว์บั้งไฟแฟนซี (บั้งไฟติดร่มมีควันสี), การแข่งขันบั้งไฟติดร่มแฟนซี และบั้งไฟขึ้นสูง, ตลอดจนจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ของดียโสธร

วันที่ 10 พฤษภาคม
        
          15.30 น. ชมการตกแต่งบั้งไฟสวยงาม

          18.00 น. ประกวดกองเชียร์

          18.30 น. ประกวดธิดาบั้งไฟโก้ , ชมต้นไฟตูมกา ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร

วันที่ 11 พฤษภาคม

          09.30 น. พิธีเปิด

          09.45 น. ขบวนมเหศักดิ์หลักเมือง

          10.00 น. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม

          13.30 น. การประกวดขบวนบั้งไฟโบราณจาก 9 อำเภอ

วันที่ 12 พฤษภาคม 2562

          จุดบั้งไฟ ณ สวนสาธารณะพญาแถน จังหวัดยโสธร

 
 
สาธุการบทความนี้ : 111 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 111 ครั้ง
 
 
  24 พ.ค. 2563 เวลา 12:56:29  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1475) ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่  
  miniming    คห.ที่0) ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
ประเพณียี่เป็ง

   ทุกวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนสอง) ของล้านนา ภาพโคมนับร้อย ๆ ดวงค่อย ๆ ลยละลิ่วส่องแสงสว่างเจิดจ้าอยู่บนท้องฟ้าเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนั่นเป็นสัญลักษณ์ของ "ประเพณียี่เป็ง" หรือประเพณีเดือนยี่ หรือประเพณีลอยกระทงแบบล้านนา ซึ่งประเพณีนี้งดงามจนใครที่อยากไปสัมผัสกับความตระการตาเหล่านี้สักครั้ง


       ดังนั้น จังหวัดเชียงใหม่ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จังหวัดเชียงใหม่จึงขอเชิญนักท่องเที่ยวสัมผัสเทศกาลงาน "ประเพณียี่เป็ง เชียงใหม่ 2556" ที่จะมีขึ้นในวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2556 ณ ถนนช้างคลาน ย่านไนท์บาซาร์ อำเภอเมือง ซึ่งภายในงานจะมี การแสดงแสง สี เสียง การปล่อยโคมลอย การแสดงศิลปวัฒนธรรม ล้านนา และขบวนแห่ กระทงขบวนโคมยี่เป็ง


       งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว


       การปล่อยโคมลอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในประเพณียี่เป็ง เป็นที่รวมแห่งศรัทธาสามัคคีของชาวบ้านกับชาววัด นอกจากนี้การทำโคมลอยยังถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หากทำไม่ถูกสัดส่วนจะปล่อยไม่ขึ้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 109 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 109 ครั้ง
 
 
  31 พ.ค. 2563 เวลา 14:59:22  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   )  
  miniming    คห.ที่0) ประเพณีลอยเรือชาวเล      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 10400
รวม: 10400 สาธุการ

 
ประเพณีลอยเรือชาวเล

ชาวประมง หรือ ทางภาคใต้เรียกว่า ชาวเลนั้น พวกเขาเชื่อว่า เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ จะต้องมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการประกอบพิธีบูชาเจ้าแห่งทะเล เป็นการสะเดาะเคราะห์กรรมที่พวกเขาต้องจับสัตว์น้ำจากทะเลมาเป็นอาหาร

ประเพณีลอยเรือชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล เป็นประเพณีที่มีการสืบทอดมานานแล้ว จะมีการจัดขึ้นพร้อมกันในหลายๆ พื้นที่ริมชายฝั่งทะเลอันดามัน ทั้งที่เกาะลันตา จังกระบี่ และเกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต โดยชาวอูรักลาโว้ยในเกาะหลีเป๊ะ จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือช่วงเดือนพฤษภาคมและเดือนพฤศจิกายน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการลอยบาป และยังเป็นการเสี่ยงทายในการประกอบอาชีพประมงของชาวเกาะอีกด้วย คือ ถ้าเรือลอยออกไปไกลไม่ถูกซัดกลับมายังฝั่ง แสดงว่า เป็นเคราะห์ดี มีโชคลาภ จะจับปลาได้มาก มีความเจริญรุ่งเรืองในอาชีพ แต่ถ้าหากลอยเรือไปแล้วถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง แสดงว่า เป็นเคราะห์ร้าย จะเกิดอุปสรรคในการทำมาหากิน โชคร้าย จะประสบภัยจากธรรมชาติ และโต๊ะอีหลี ซึ่งชาวเลถือว่าเป็นบรรพบุรุษคนสำคัญ เพราะเป็นผู้บุกเบิกเกาะนี้เป็นคนแรก เมื่อโต๊ะอีหลีถึงแก่กรรม ชาวบ้านจึงได้สร้างศาลให้เป็นที่สถิตวิญญาณไว้ในหมู่บ้าน ชาวเลเชื่อกันว่าวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลให้เกิดเป็นสิริมงคลและอำนวยความสะดวกในการทำมาหากิน จึงมาบนบานเพื่อขอพรเป็นประจำก่อนจะออกจับปลา

วันขึ้น 13 ค่ำ ชาวเลจะหยุดงานทุกอย่าง เตรียมขนม นมเนย ข้าวตอก ดอกไม้ ไหว้ทวด ปัดกวาดบริเวณบ้านให้สะอาดเรียบร้อย พอบ่าย 3 โมงเย็น ชาวเลพร้อมกับพิธีกรรมไปยืนล้อมศาลาโต๊ะหมอ นำของที่เตรียมมาไปตั้งที่หลาทวด จุดธูปอธิษฐาน ขอพร มีการเสี่ยงเทียน โดยหากเทียนสว่างไสว หมายถึง อนาคตของตนเองจะรุ่งเรืองมีความสุข เมื่ออธิษฐานเสร็จ มีการเต้น “ลงปง” เต้นรูปวงกลม มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ พอสมควรเวลาก็แยกย้ายกันกลับบ้าน พอขึ้น 14 ค่ำ จะทำการเตรียมทำเรือรอยในวันขึ้น 15 ค่ำ ผู้หญิงแต่งตัวสวย ๆ ผู้ชายช่วยทำเรือจากไม้ระกำ เตรียมสถานที่ ร้องรำทำเพลง เมื่อประกอบเสร็จแล้วมีการหาบเรือไม้ระกำรอบหมู่บ้าน มีการรำวงสนุกสนานกัน จนใกล้สว่าง ประมาณตี 4-5 ชาวเลจะไปพร้อมที่ชายหาด หมอประจำหมู่บ้านก็จะทำพิธีจุดเทียน พร้อมกับลูกบ้านอธิษฐานกับเทียนที่ปักไว้ในเรือของแต่ละครอบครัว มีการตัดเล็บ ตัด ดอกไม้ อธิษฐาน และปล่อยเรือลงทะเล พอหลังจากลอยเรือแล้ว ตอนเช้าจะมีชาวบ้านไปตัดไม้ทำคล้ายกับไม้กางเขน และเอาไม้กางเขนนี้มาปิดบริเวณงาน ชาวบ้านก็จะรำรองเง็งและรำวงจนตกเย็น พอค่ำจะเปลี่ยนเป็นรำมะนารอบไม้กางเขน และชาวบ้านก็จะนำน้ำใส่ภาชนะมาตั้ง หมอประจำหมู่บ้านก็จะใช้เทียนจุดบริเวณน้ำที่ชาวบ้านมาวางไว้เพื่อว่าน้ำนี้ จะเป็นน้ำมนต์ เอาไว้ล้างหน้าล้างตาตอนเช้า เมื่อเสร็จพิธี
เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นตามความเชื่อของชาวเล เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตน และยังแสดงถึงความสามัคคีของชาวบ้านที่ช่วยกันจัดงาน เตรียมงานต่างๆด้วยความเต็มใจ

- พิธีลอยเรือจะมีการจัดขึ้นขึ้นปีละ ๒ ครั้ง คือ ในคืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ และเดือน ๖ หรือ เดือน ๑๒ และ คืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และเดือน ๑๒

 
 
สาธุการบทความนี้ : 86 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 86 ครั้ง
 
 
  14 มิ.ย. 2563 เวลา 12:58:05  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาฯ www.isan.clubs.chula.ac.th --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ