ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
คันได้กินลาบก้อย อย่าลืมแจ่วแพวผัก ได้กินภาช์เงินภาช์คำ อย่าสิลืมกะเบียนฮ้าง แปลว่า ถ้าได้กินอาหารดีๆ อย่าลืมน้ำพริกจิ้มผัก ได้กินด้วยถาดทองคำ ก็อย่าลืมถาดกระด้งเก่าๆ หมายถึง ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว อย่าลืมผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ


  ค้นหากระทู้ ปลาร้านอกไห  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   112) กลอย  
  ดุกอุย    คห.ที่0) กลอย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : เพชรบูรณ์
เข้าร่วม : 22 มิ.ย. 2555
รวมโพสต์ : 6
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 8030
รวม: 8030 สาธุการ

 




กลอย  มีตำนานเล่าขานกันมาว่า กลอย เป็นอาหารที่มีคุณค่าและประโยชน์สามารถนำมาทานแทนข้าวได้ ในสมัยสงครามโลกที่ผู้คนได้อพยพไปซ่อนตัวกันอยู่ในป่านอกจากข้าวแห้งที่เตรียมไปแล้วยังมี กลอย" เป็นอาหารที่สามารถหาได้ภายในป่านำมาต้มมาหุงกินแทนข้าวได้

กลอยจัดเป็นพืชล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมบริโภคมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในประเทศไทยมักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างโปร่ง หัวกลอยฝังอยู่ใต้ดินตื้น ๆ หัวใหญ่ ๆ โตได้เท่ากับไหกระเทียม กลอยมีอาหารจำพวกแป้ง ( Starch ) อยู่มาก คนในชนบทหรือชาวป่าจึงขุดหัวกลอยมาต้มกิน หรือในบางทีก็จะหุงรวมกับข้าว ส่วนคนเมืองนิยมทำเป็นอาหารได้หลายรูปแบบเช่น กินกลอยคลุกน้ำตาลกับมะพร้าว หรือนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูล ทำเป็นข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยาหรือโรยน้ำตาลป่นปนกับงาก็อร่อย หรือจะหั่นกลอยเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปชุบแป้งทอดกินแบบกล้วยแขกอาบน้ำตาลหรือจะทำเป็นกลอยบด กลอยแผ่น ข้าวเกรียบกลอย และบัวลอยกลอยก็น่าอร่อย ทั้งนี้ในประเทศไทยมีกลอยประมาณ 32 ชนิด พบมากในภาคเหนือ ช่วงฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว ในต่างประเทศสามารถพบกลอยได้ทั่วในเขตป่าฝน ในเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัย


หัวกลอย ก่อนนำมากินจะต้องล้างสารพิษออกให้หมด โดยฝานหัวกลอยเป็นชิ้นบางๆ นำมาแช่ในน้ำเกลือแล้วถ่ายน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง หรือแช่ในน้ำไหลเพื่อให้น้ำชะล้างสารพิษออกให้หมด เพราะ dioscorine เป็นแอลคาลอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำ ชาวป่าบางเผ่านำน้ำที่คั้นจากหัวกลอยมาผสมกับยางของต้นน่อง (Antiaris toxicaria Lesch.) อาบลูกดอกเพื่อใช้ยิงสัตว์  


ชาวบ้านจะแบ่งง่ายๆตามลักษณะของลำต้นและตามสีในเนื้อหัวกลอยกล่าวคือกลอยข้าวเจ้าจะมีลักษณะของ เถาและก้านใบสีเขียวส่วนกลอยข้าวเหนียวมีเถาสีน้ำตาลอมดำ ลักษณะใบของกลอยทั้งสองชนิดมี3 แฉกคล้ายใบถั่ว เส้นใบถี่ส่วนเถาจะมีหนามแหลมตลอดเถาดอกออกเป็นช่อมีดอกย่อยดอกเล็กๆสีขาวจำนวนมากหัวกลอยจะฝังในดิน ตื้นๆ มีหลายหัวติดกันเป็นกลุ่ม เท่าที่พบมีตั้งแต่3หัวถึง14หัวใน1กอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกลอยวัด ได้ตั้งแต่2.5ซมถึง25ซม.


มีชื่อพื้นเมืองต่างๆเช่นกลอยมันกลอยกลอยข้าวเหนียวกลอยหัวเหนียวก๋อยนกกอยหัวกลอยและกลอยนก เป็นต้น เมื่อนำหัวกลอยมาปลอกเปลือกและหันเป็นแว่นบางๆ จะพบว่ากลอยข้าวเจ้าจะมีเนื้อสีขาวนวลและเนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียวซึ่ง มีสีเหลืองอ่อมถึงเหลืองเข้ม(สีทอง)เนื้อเหนียวและรสชาดดีกว่ากลอยข้าวเจ้า ซึ่งมีเนื้อร่วยซุย ฉะนั้นชาวบ้านหรือเกษตรกรจึงนิยม รับประทานกลอยข้าวเหนียวมากกว่ากลอยข้าวเจ้า


เนื่องจากกลอยเป็นพืชแป้งที่มีพิษอย่างแรงเพราะในเนื้อแป้งมีสารไดออสคอรีน(Dioscorine)ฉะนั้นถ้านำมารับประทานโดยไม่ทำลายสารพิษก่อนจะทำให้เกิดอาการเบื่อเมาเพราะสารนี้จะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้เป็นอัมพาตถ้ารับประทานสดๆ ขนาดเท่าผลมะม่วงอกร่องจะทำให้ตายภายใน6ชั่วโมง วิธีเอาสารพิษ(Dioscorine)ออกจากกลอย ก่อนนำไปบริโภควิธีการทั่วๆไปคือปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น แต่ละแว่นหนาประมาณ1-1.5ซม.นำหัวกลอยที่ หั่นแล้วใส่ในภาชนะ ใส่ชิ้นกลอยที่หั่นแล้วลงไปในภาชนะหนาประมาณ10ซม. โรยเกลือให้ทั่วหน้า1-2ซม.แล้วใส่ชิ้นกลอยลงไปทำสลับกับเกลือ จนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืนวันรุ่งขึ้นนำกลอยที่หมักออกมาล้างน้ำ ให้สะอาดใส่ชิ้นกลอยที่ล้างแล้วลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง นำของหนักทับไว้เพื่อไล่น้ำเบื่อเมาของกลอยออกให้หมดหลังจากนั้นนำชิ้นกลอยจากถุงผ้าเทกลับลงไปในภาชนะเดิมใส่น้ำให้ท่วมเนื้อกลอย ทิ้งไว้ค้างคืนรุ่งเช้าจึงนำชิ้นกลอยมาล้างให้สะอาดและทำเช่นเดิม ประมาณ5-7วันจึงจะปลอดภัยจากสารพิษและนำมาบริโภคหรือ ปรุงอาหารได้หรือจะผึ่งแดดให้แห้งเก็บตุนไว้เมื่อจะบริโภคจึงนำ ชิ้นกลอยมาแช่น้ำนำไปนึ่งหรือปรุงอาหารอื่นรับประทานได้


ทั้งหมดนี้ บ่งบอกให้เห็นถึงความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมาอย่างช้านาน ซึ่งกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ากรรมวิธีแบบนี้จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์และบริโภคได้ต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์วิจัยทดลองมาหลายชั่วอายุคนหรือมีการทดสอบทดลองโดยใช้ชีวิตมากี่สิบคนแล้ว...

ขอบคุณข้อมูลและภาพบางส่วนจากศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทยสวทช. และจากงานประจำปี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 513 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 512 ครั้ง
 
 
  05 ก.ค. 2555 เวลา 15:57:46  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   113) มากไม้ อีสาน อันได๋เป็นตาแซ่บแน่ บอกได้บ่ หาจากได๋  
  ดุกอุย    คห.ที่0) มากไม้ อีสาน อันได๋เป็นตาแซ่บแน่ บอกได้บ่ หาจากได๋      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : เพชรบูรณ์
เข้าร่วม : 22 มิ.ย. 2555
รวมโพสต์ : 6
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 8030
รวม: 8030 สาธุการ

 
ผลไม้อิสาน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  06 ก.ค. 2555 เวลา 11:06:03  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
มากไม้ อีสาน อันได๋เป็นตาแซ่บแน่ บอกได้บ่ หาจากได๋ --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ