ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
นกหนูบ่ห่อนหนีไกลห้วยหากินไกลถิ่น ควายบ่ห่อนหนีบวกน้ำกินหั้นพร่ำนอน แปลว่า นกหนู ไม่หนีไกลห้วยหากินไกลถิ่น ควายไม่หนีไกลปลัก กินน้ำและนอนในปลัก หมายถึง ไม่พึงลืมบ้านเกิดเมืองนอน


  ค้นหากระทู้ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1 2  
  โพสต์โดย   416) การแสดงฟ้อนรำแดนอีสานใต้  
  ต้นครับผม    คห.ที่8)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
อันเร จริงๆอ่านว่า อองแร
เขียนว่า องฺแร บางเรียกเรียกรำนี้ว่า รำโกะอองแร โกะ แปลว่า เคาะ

เรือมจับกรับ ภาษาเขมรอ่านว่า โรบำวายกราบ
วาย วา ออกเสียง เอียนิดๆเพราะ ว เป็นเสียงโฆษะ
กรับ เขมรสะกดว่า กฺราบ

ระบำร่ม
ร่ม ภาษาเขมรอ่านว่า ตังยู เขียนว่า ตำงยู แปลว่า ร่ม
ในประเทศกัมพูชา รำตังยู เดิมเป็นรำของชาวกุลา(เขียนว่า กูฬา อ่าน โก-ลา)

ผมโพสยูทูบไม่เป็นหน่ะครับ

แต่ที่ผมนึกออกมี

รำเคาะกะลา หรือ ระบำโกะตฺรอโฬก
ภายหลังดัดแปลงเป็นเซิ้งกะโป๋

แล้วก็รำปันโจลมะม็วต(เมมต่) หรือ รำแม่มด
ปัญโจล จริงๆออกเสียงว่า บ็อนโจล สะกดว่า บญฺจูล แปลว่า ทำให้เข้า
โจล แปลว่า เข้า เติม บัญ เป็นคำอุปสรรค เป็นว่า ทำให้...
เม แปลว่า แม่ แต่เดิมก็ไม่ได้รำมีแบบแผนอะไร ก็รำแบบรำผีฟ้าอะไรแบบนี้ เพราะเป็นรำที่มาจากคติทรงเจ้า

กะโน้บติงตอง ผมไม่รู้เป็นสำเนียงอีสานใต้รึเปล่า แต่ภาษาเขมรเรียกตั๊กแตนตำข้าวว่า "ก็อนโดบ โบก ซโรว" แปลตรงๆว่า ตั๊กแตนตำข้าว
ก็อนโดบ เขียนว่า กณฺฎูบ แปลว่า ตั๊กแตน    

...

รวมแล้วกัน ของอีสานใต้

รำกระทบสาก
รำเคาะกะลา
รำกรับ
กันตรึม
เพลงอาไย หรือเพลงปฏิพากย์
รำมะม็วตหรือแม่มด
รำแกลมอ(รำของชาวส่วย)
รำอัปสรา เลียนแบบรำอัปสราของเขมร
รำตั๊กแตนตำข้าว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 630 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 630 ครั้ง
 
 
  08 ธ.ค. 2554 เวลา 07:30:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   416) การแสดงฟ้อนรำแดนอีสานใต้  
  ต้นครับผม    คห.ที่11)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
จนอง ไม่รู้แปลว่าอะไร แต่คิดว่ามาจาก จ็อมนอง เขียนว่า จํณง แปลว่า การผูก สิ่งที่ผูก ปม ฯลฯ ไทยใช้ จำนอง
คำเดิมคือคำว่า จอง

จนองโฮล แปลว่า การผูกผ้า

 
 
สาธุการบทความนี้ : 229 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 229 ครั้ง
 
 
  20 ธ.ค. 2554 เวลา 06:49:06  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   496) ไทพวน-ลาวพวน  
  ต้นครับผม    คห.ที่41)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ต้องเข้าใจว่าวัฒนธรรมพวนเป็นวัฒนธรรมเกิดใหม่ วัฒนธรรมคือประดิษฐกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากบ้านเมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นแล้ว ผู้คนต้องมีการสร้างวัฒนธรรม มีเสื้อผ้าใส่ มีการตัดเย็บ รวมไปถึงสร้างเอกลักษณ์ต่างๆ สมัยโบราณไม่ได้แยกวัฒนธรรมมากมาย พวนสมัยก่อนคือคนในพื้นที่ลาวเชียงขวาง คนธรรมดาคงเดินโชว์นมไปมา อย่างภาคกลางเองสมัยร.4 ร.5 ชาวบ้าน ภาพถ่ายผู้หญิงตอนนั้นเดินโชว์นม อันนี้ไม่ถึง200ปี วัฒนธรรมเปลือยท่อนบนยังแพร่หลายอยู่ ไทพวนก็เป็นแบบนั้น การสวมเสื้อป้ายก็สวมในวันสำคัญๆ ที่น่าสังเกตว่าเสื้อแบบพวนเป็นเสื้อที่มีลักษณะเก่าแก่ อย่างน้อยเก่าแก่กว่าเสื้อแบบผู้ไท เป็นเสื้อที่ได้รับอิทธิพลจีนมากพอสมควร เสื้อผ้าเป็นของมีค่า นานๆใส่ที สมัยโบราณชาวพวนคงสวมเกาะอกมากกว่าใส่เสื้อ อย่างในรูปถ่ายชาวพวนในยุคหลัง ก็เป็นยุคที่ผู้คนเริ่มใส่เสื้อ เพราะคนที่สามารถใส่เสื้อได้บ่อยๆคือชนชั้นสูง อย่างน้อยเป็นพวกเจ้าขึ้นไป ดังนั้นชาวพวนสมัยก่อนที่มีเสื้อใส่จะเป็นพวกกลุ่มเชื้อเจ้า ส่วนการแต่งกายไม่ต่างกับหลวงพระบาง เวียงจันทน์ มากมายนัก จะต่างก็แต่ลวดลายผ้าซิ่น ชาวพวนเพิ่งเริ่มมีการสร้างเอกลักษณ์ไม่นาน ไม่น่าถึง200ปี เหมือนพม่าสมัยก่อน ที่มีเมืองแปร อังวะ การแต่งกายชาวอังวะ กับคนแปร ก็ไม่มีอะไรต่างกัน กรณีชาวพวนสมัยโบราณก็แต่งกายปนๆกับคนเวียงจันทน์ หลงพระบาง เพราะสมัยก่อนไม่มีคำว่าประเทศ ไม่มีการแยกชนเผ่า จะแยกก็มีคำว่า อยุธยา ลาว ล้านนา อะไรแบบนี้มากกว่า

อย่างชุดไทพวนที่เห็น เสื้อพื้นสีดำ มีลวดลายเล็กน้อยหรือแทบไม่มี จะสวยแค่ผ้าซิ่นเท่านั้น เพราะเป็นเสื้อผ้าแบบชาวบ้าน ภายหลังมีการประดิษฐ์รำพวนขึ้นมา ต้องเอาเสื้อผ้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกับพวน นั่นคือไทลื้อ ตามประวัติรำพวนบอกชัดเจนว่าเสื้อปั๊ดพวนดัดแปลงจากไทลื้อ เคยเห็นรูปหนึ่งเป็นรูปไทพวนเก่ามากๆ ตามปีที่บอกใต้รูปคือช่วงร.4 ชาวไทพวนที่ว่าแต่งตัวแบบคนเวียงจันทน์อะ แต่ใต้ภาพก็บอกว่าเป็นไทพวน

ส่วนเสื้อผ้าไทพวนที่เป็นสีดำ เข้าใจว่าดูจากการใส่เสื้อผ้าแบบเก่า เสื้อสมัยโบราณจะเน้นสีดำ อาจจะดูจากลักษณะของชาวพวนโดยทั่วไป ว่าเสื้อพวนสมัยก่อนเป็นสีดำ ภายหลังทำให้ดูวิจิตรอลังการมากขึ้น เอาไว้เป็นการแสดง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 443 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 443 ครั้ง
 
 
  22 พ.ค. 2555 เวลา 13:08:37  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   49) ซุดแต่งกาย อีสาน  
  ต้นครับผม    คห.ที่86)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  21 ม.ค. 2555 เวลา 16:34:39  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   49) ซุดแต่งกาย อีสาน  
  ต้นครับผม    คห.ที่88)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  22 ม.ค. 2555 เวลา 21:03:37  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   33) ฟ้อนไทพวน-เรือมจับกรับ-ฟ้อนตังหวาย  
  ต้นครับผม    คห.ที่7)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
คุณอ้ายโอ๊ต:

เรือมจะกรับ(จับกรับ) บรรเลงโดยวงดนตรีอีสานใต้

    
ผมนึกถึงรำนึง คือรำหมากกั๊บแก๊บของอีสาน ผมสงสัยว่ามีวิวัฒนาการมาจากรำกรับของอีสานใต้และฝั่งเขมรรึเปล่าไม่แน่ใจ แต่ข้อมูลบางส่วนของรำจับกรับแบบเขมรอ้างว่ามาจากการร้องเพลงโต้ตอบที่เรียกว่า"อาไย" อาไยเขมรมันจะมีจับกรับแบบนี้เปล่าก็ไม่รู้ครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 302 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 302 ครั้ง
 
 
  09 ธ.ค. 2554 เวลา 13:41:21  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   550) ภาพถ่ายอีสาน(และลาว)เมื่อร้อยกว่าปีก่อน  
  ต้นครับผม    คห.ที่215)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
งามมากเลยครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  30 ส.ค. 2554 เวลา 13:09:55  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   550) ภาพถ่ายอีสาน(และลาว)เมื่อร้อยกว่าปีก่อน  
  ต้นครับผม    คห.ที่219)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
คุณอ้ายโอ๊ต:
คุณอ้ายโอ๊ต:
คุณปังคุง:
โอโห

เจ๊แรงงงงงง  มากกกก

แล้วทำไมเรียกสาวศรีเหรอครับพี่โอ๊ต


บอกตรงๆ ไม่รู้ครับ

อ่านเอาจากหัวข้อในภาพ

    


อ่อ...ได้คำตอบแล้วครับ คุณโหวดฟ้า เป็นคนบอก

สาวศรี คือ แม่จ้าง(ภาษาอีสาน)  หรือภาษาไทยก็ว่า โสเภณี นั่นเองครับ  
++++++++++++++++++++++++++++++

สาวศรี หรือ สี มาจาก สีเพโน โสเภณี รึป่าวครับ
ขำๆนะ 5555555+

 
 
สาธุการบทความนี้ : 329 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 329 ครั้ง
 
 
  24 ธ.ค. 2554 เวลา 12:28:12  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   640) ชุดแต่งกายสวยๆของคณะละคอนสุดสะแนน  
  ต้นครับผม    คห.ที่48) ล็อกอินนึงเข้าไม่ได้      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ชี้แจงนะครับ
อยากบอกว่าสมัยโบราณโน้น ภาคอีสานกับลาวเป็นแผ่นดินเดียวกัน เรียกล้านช้าง
แล้วแผ่นดินในส่วนภาคอีสานส่วนใหญ่มันแห้งแล้ง จะอยู่เป็นชุมชนก็น้อยมากๆ มันเลยเป็นที่ร้างๆ ไม่ค่อยมีชุมชน ชุมชนจะอยู่จริงๆในพื้นที่ใกล้แม่น้ำ ลาว อีสาน ต่างกันแค่มีอักษรใช้ เจ้าเมืองในอีสานก็ส่งคนจากสยามไปปกครอง
เหมือนนกับคนเกิดมามีพ่อมีแม่ แล้วพ่อแม่ตัวเองพลัดบ้านเมืองไปอยู่ที่อื่นและตายอยู่ที่นั่น แล้วลูกก็มาเติบโตในอีกดินแดนนึง ได้รับสิ่งใหม่ๆมา
..........เราจะลืมสิ่งที่พ่อแม่ตนเองให้มาตั้งแต่เกิด จะอยู่กับสิ่งใหม่ๆจนลืมของเดิม ลืมพ่อแม่ตนเอง ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพ่อแม่ตนเองเป็นอย่างไร
อย่างการแต่งกายอีสาน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนลาวหรอก ต่างกันก็เล็กๆน้อยๆ ไม่ต้องไปดัดแปลงอะไรให้มันพิสดารเกินควร

 
 
สาธุการบทความนี้ : 317 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 317 ครั้ง
 
 
  03 พ.ค. 2554 เวลา 11:53:26  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   640) ชุดแต่งกายสวยๆของคณะละคอนสุดสะแนน  
  ต้นครับผม    คห.ที่56)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ขออนุญาตแสดงความเห็น ในฐานะที่ศึกษาประวัติศาสตร์ และขอตอบในแง่ของประวัติศาสตร์เรื่องความเป็นอีสานเอาไว้ก่อน
อีสาน ลาว มันก็มีแค่เส้นแบ่งเท่านั้นโดยมีเรื่องการเมือง วัฒนธรรมอีสานเป็นสิ่งเกิดขึ้นมาในยุคหลัง สมัยก่อนมีแต่คำว่าวัฒนธรรมล้านช้างอะไรแบบนั้น ภาคอีสานบางจังหวัดก็เป็นจังหวัดเกิดใหม่ทั้งนั้น วัฒนธรรมก็เป็นวัฒนธรรมชาวบ้าน อีสานเมื่อหลายร้อยปีก่อนคนไม่ได้เยอะแบบในปัจจุบัน ความเป็นชุมชนไม่ได้แน่นหนา ไม่มีไทพวนไม่มีผู้ไทอะไรทั้งสิ้น ตามสภาพภูมิศาสตร์ภาคอีสานเองจริงๆเหมาะแก่การยกทัพทำศึกอะไรพวกนี้มากกว่า ยิ่งยุคหลังๆภาคอีสานก็ส่งคนจากกรุงเทพไปปกครองหัวเมืองเมืองต่างๆ วัฒนธรรมในดินแดนนี้ไม่ได้เข้มแข็งแบบเมืองทางล้านนา วัฒนธรรมโคตรเข้มแข็งตรงนี้ยอมรับ แต่ในดินแดนแถบนี้ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ที่มีความแห้งแล้งทุพภิกขภัยยังมีเรื่องสงคราม ประวัติศาสตร์ไม่น่าจดจำ สมัยที่ล้านช้างปกครองก็มีขยายอิทธิพลมาถึงถึงดินแดนแถบนี้เพราะสมัยนั้นคนอยู่กันน้อย วัฒนธรรมในภาคอีสานส่วนใหญ่คือวัฒนธรรมแบบชาวบ้านๆ
วกกลับมาเรื่องวัฒนธรรมอีสานและความเป็นอีสานเป็นสิ่งเกิดมาไม่นาน ต้องบอกว่าเป็นของใหม่ในประวัติศาสตร์ไทย จะถามหาศิลปวัฒนธรรมอีสานแบบบริสุทธิ์ผมมองว่ามันเป็นสิ่งที่-เพ้อฝัน-แล้วก็-โลกสวย-มากๆ ผมถึงแนะนำว่าอยากให้มันบริสุทธิ์จริงคงต้องข้ามแม่น้ำโขงมานั่นแหละ
เพราะวัฒนธรรมอีสานจริงๆก็ไม่ได้บริสุทธิ์มาแต่แรก เมื่อหลายร้อยปีก็ไม่ได้บริสุทธิ์ผุดผ่อง วัฒนธรรมล้านนายังรับความเป็นพม่ามาเยอะ แม้แต่สถาปัตยกรรมล้านนายังมีเค้าแบบพม่ามาผสมผสาน แบบอยุธยาก็มีบ้าง แบบสุโขทัยเองยังมีวัฒนธรรมจากชาติอื่นมาผสมผสานมีทั้งลังกาล้านนาหรือไม่ก็ขอม พอมาถึงอยุธยาก็รับเอาขอมมาผสมผสานกับความเป็นอยุธยาและรับจากสุโขทัยมาบ้าง
ทีนี้ถ้าภาคอีสานจะหาจุดยืนทางวัฒนธรรมก็คงเป็นเรื่องยาก เก่ากว่านั้นก็เป็นทวารวดีขอมจนมาถึงล้านช้าง แล้ววัฒนธรรมมันไม่บริสุทธิ์มาแต่แรกแล้ว ขอย้ำว่าไม่มีที่ไหนที่มันบริสุทธิ์ ล้านนา สุโขทัย อยุธยา ก็ไม่บริสุทธิ์ อาณาจักรทางใต้ ศรีวิชัย ตามพรลิงค์ ยังมีความเป็นอินเดียใต้และชวามาผสมผสานในวัฒนธรรมแถบนี้ ความเป็นอีสานแท้ๆคือแบบชาวบ้านๆไม่ใช่แบบเจ้านายเชื้อพระวงศ์
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าพิจารณาคือภาคอีสานไม่มีเจ้าไม่มีเชื้อพระวงศ์ที่จะมาคอยฟื้นฟูสนับสนุนเรื่องศิลปะและวัฒนธรรม ไม่มีอิทธิพลความเป็นราชสำนักมาวุ่นวายกับวัฒนธรรมอีสาน ถ้าเปรียบเทียบกับจีน เหมือนภาษาจีนทางใต้แถวไต้หวันกวางตุ้ง มาเทียบกับภาษาจีนกลางทางเหนือแถบปักกิ่งหรือภาษาในราชสำนักซึ่งคนสมัยนั้นก็มองว่าภาษาจีนกลางแบบปักกิ่งดูไฮโซเป็นภาษาจีนกลางแบบราชสำนักเป็นภาษาขุนนางอะไรพวกนี้
ตรงกันข้ามถ้าหากภาคอีสานมีเจ้านายหรือมีเชื้อพระวงศ์ประทับสักแห่ง วัฒนธรรมอีสานจะออกมาเป็นอีกแบบหนึ่งและจะไม่ใช่แบบนี้แน่นอน เหมือนเจ้าดารารัศมีสมัยที่ท่านประทับที่กรุงเทพท่านก็เอาขนบแบบกรุงเทพมาผสมผสานกับนาฏศิลป์ล้านนาจนเกิดท่ารำใหม่ๆ

ส่วนเรื่องชุดโปงลางผมว่าไม่ต้องสรรหาชุดอะไรให้ยุ่งยากเพราะอย่างไรก็ตามวงดนตรีนี้ก็เป็นของใหม่ในวัฒนธรรม กายแต่งกายไม่จำเป็นต้องไปอ้างอิงเก่าๆ หรือหาลายผ้าซิ่นแบบเก่าๆ ก็แต่งกายแบบใหม่ๆไปนั่นแหละครับ  

คุณโอ๊ตคงไม่ว่าผมนะที่ผมแสดงความเห็นแบบนี้ เพราะความคิดผมค่อนข้างออกแนวหัวสมัยใหม่ เกิดและโตที่กรุงเทพ ความคิดความอ่านผมเลยไม่ได้โลกสวยงามแบบคนส่วนใหญ่
ส่วนเรื่องต้นๆกระทู้ที่มีคนมาพูดแขวะว่า"ลาวฟีเวอร์" อยากถามกลับว่าถ้ามันลาวฟีเวอร์แล้วมัน"หนักหัวใคร" ต้องตอบโจทย์ของความเป็นอีสานหรือหาคำว่าอีสานฟีเวอร์มาแทน เหมือนเป็นพูดเหยียดเชื้อชาติอื่นว่าทำไมต้องเอาแบบลาว เพราะผมมองว่าไม่เห็นเป็นเรื่องเสียหาย ในเมื่อตอบโจทย์ถิ่นเองไม่ได้ก็ต้องใช้ชาติอื่นมาตอบโจทย์แทน เหมือนกับคนที่บอกว่านั่นไม่ใช่นี่ไม่ใช่ แต่พอมีคนถามว่าแบบไหนถึงใช่กลับไม่มีคำตอบมาอธิบาย

ขอยืมคำพูดคุณคำผกาบอกว่า แขกว่ามันไม่ใช่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 484 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 484 ครั้ง
 
 
  30 ส.ค. 2554 เวลา 11:30:00  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   640) ชุดแต่งกายสวยๆของคณะละคอนสุดสะแนน  
  ต้นครับผม    คห.ที่58)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
เพราะวัฒนธรรมอีสานในแง่ที่ผมศึกษามามันให้คำตอบมาแบบนั้น คือผมอาจได้รับการศึกษามาแบบกรุงเทพอะไรพวกนี้ ความคิดผมเลยค่อนข้างแหวกแนวจากส่วนใหญ่ เพราะสมัยที่ผมเรียนจนจบ นศ.ชาวอีสานยังไม่ชอบหน้าอ.เท่าไร นศ.ทนเรียนด้วยความอคติ เพราะท่านพูดมาแบบหมดเปลือก ผมก็ทนเรียนและทนฟังและคิดตาม
ให้ความจำกัดความของวัฒนธรรมอีสาน ต้องเข้าใจความเป็นอีสาน เพราะสิ่งที่เรียกว่า"อีสาน"รวมไปถึงความเป็นอีสาน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ อะไรหลายๆอย่างเลยดูเป็น-จับฉ่าย-ซะหมด ไม่มีแบบแผนตายตัว การที่บางครั้งจะใช้ผ้าจากลาว ผมไม่เห้นว่าเป็นเรื่องเสียหาย หรือต้องมาแซวว่าเป็นลาว จนเกิดกระแสต่อต้าน ประเทสกัมพูชาสมัยก่อนยังรับขนบหลายๆอย่างจากอยุธยาจนถึงรัตรโกสินทร์ แบบแผนนาฏศิลป์ราชสำนักกัมพูชาเลยค่อนข้างดูโบราณไร้ซึ่งความแปลกใหม่ ทั้งได้ต้องยกความดีความชอบให้ราชสำนักสยาม แม้แต่สถาปัตยกรรมกัมพูชาสมัยที่เมืองหลวงอยู่พนมอุดงค์ ก็มีอิทธิพลศิลปะแบบอยุธยาเต็มที่ ทางนั้นก็ไม่รังเกียจที่รับความเป็นอยุธยาเข้ามา เพราะอะไรเห็นว่าดีงามก็รับมา ไม่ใช่เรื่องที่ต้องน่าอาย
แม้แต่ล้านช้างเองก็ยังรับอะไรจากเพื่อนบ้านมาเยอะ รัตนโกสินทร์ก็รับจากรากสำนักสยามมาเยอะ ทุกวันนี้วงดนตรีแบบลาวก็ใช้วงดนตรีไทยแบบภาคกลางบรรเลง ระนาด ฆ้องวง ขลุ่ย ซอ ก็ยังใช้สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ได้รังเกียจว่าเป็นวัฒนธรรมต่างถิ่นหรือมองว่าเป็นวัฒนธรรมสยาม
ส่วนอีสานถ้าบางครั้งจะรับอะไรจากนอกแม่น้ำโขงผมว่ามันไม่แปลกครับ ราชสำนักล้านนายังเอาผ้าซิ่นลายพม่ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแต่งตัวได้อย่างกลมกลืน กรณีการแต่งกายแบบภาคอีสาน ถ้าบางทีจะใช้ป้าจากนอกฝั่งแม่น้ำโขงมาใส่บ้าง ผมกลับมองว่าเป็น"ภูมิปัญญา"อันชาญฉลาดของคนในท้องที่นั้นๆครับ
กรณีโปงลางหรือการแสดงอื่นๆ ผมกลับมองว่าท้องถิ่นเยอะเกินไปมันก็ไม่ดี บางทีออกสื่อภายนอกเขาก็ไม่เข้าใจ เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือวัฒนธรรมอีสาน บางทีต้องสร้างกรอบให้กับการแสดงนั้นๆ ไม่ใช่ว่าของมหาวิทยาลัยก.ออกแบบเครื่องแต่งกายอีกแบบ มหาวิทยาลัยข.ออกแบบเครื่องแต่งกายอีกแบบ การแสดงเดียวกัน แต่ชุดออกมาแตกต่างกันสุดๆ ผมกลับเห็นว่าควรจัดให้เป็นมาตรฐานไปเลย จะดัดแปลงชุดสามารถทำได้แต่ต้องอยู่ในกรอบและขอบเขตการแต่งการการแสดงนั้นๆครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 325 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 325 ครั้ง
 
 
  30 ส.ค. 2554 เวลา 17:07:19  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   640) ชุดแต่งกายสวยๆของคณะละคอนสุดสะแนน  
  ต้นครับผม    คห.ที่61)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ผมมองว่าวัฒนธรรมอีสานที่เกิดขึ้นในยุคหลัง เป็นวัฒนธรรมจับฉ่าย เอาลักษณะความเป็นชนเผ่าต่างๆที่อพยพมาในภาคอีสานเป้นเอกลักษณ์ เลยทำให้ลักาณะความเป็นอีสานคือความผสมผสานจากชาติพันธุ์อื่นที่อพยพมา ภาคอีหลายพอหมดยุคขอมก็ไม่มีกล่าวถึงอีก ยิ่งสมัยอยุธยาภาคอีสานไม่มีวามสำคัญอะไร การแสดงในภาคอีสานแทบทุกอย่าง ผ้าซิ่นจะเอาผ้าแบบไหนมาสวมก็ได้ มีตัวเลือกเยอะ ตั้งแต่ พวน ผู้ไท ย้อ เยอ ส่วย เขมร ลาว เพราะต้องเข้าในว่าเมื่ออพยพมาแล้วถือว่าเป้นคนอีสานเหมือนกัน รำโปงลางจะสวมผ้าซิ่นแบบเขมร ผู้ไท พวน บลาๆ ก็ไม่ผิดตรงไหน เพราะก็เป็นวัฒนธรรมอีสานเหมือนกัน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 210 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 210 ครั้ง
 
 
  11 ธ.ค. 2554 เวลา 20:25:26  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   640) ชุดแต่งกายสวยๆของคณะละคอนสุดสะแนน  
  ต้นครับผม    คห.ที่64)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ถ้าไม่ใช้คำว่าจับฉ่ายจะใช้อธิบายยังไงดีครับ ผู้ไท พวน ย้อ เยอ ไม่ใช่คนในพื้นที่ภาคอีสานทั้งนั้น แต่อพยพมาจากที่อื่นทั้งนั้น สมัยพระเจ้าตากอพยพมากันเกลื่อน หลายร้อยปีก่อนภาคอีสานไม่ได้มีประชากรหนาแน่นแออัดแบบในปัจจุบัน ไม่มีคำจำกัดความคำว่าวัฒนธรรมอีสานหรือเมืองอีสาน ตั้งแต่ที่อพยพเทครัวพวกเผ่าไทลาวมาอยู่ภาคอีสานปัจจุบัน ที่แน่ๆคนอีสานบางกลุ่มยังคิดว่าวัฒนธรรมตนเองเก่าแก่มีมานานมากๆเป็นคนท้องถิ่นที่อยู่กันมานานไม่ได้อพยพมาจากไหน ตรงนี้มันก็จริงบางส่วน สรุปได้สั้นๆว่าพื้นที่ภาคอีสานสมัยก่อนประชากรน้อย

สุโขทัยเองจนถึงอยุธยานี่ก็จับฉ่าย ศาสนาพุทธเจริญก็จริงแต่ไม่เท่ากับล้านนาเท่าไร ยังมีเค้าของวัฒนธรรมเขมร ศาสนาพุทธจากลังกา จะบอกว่าจับฉ่ายคงไม่ผิดนัก สมัยอยุธยานี่ก็จับฉ่าย ตอนยกทัพไปตีเขมรก็เอาพวกคนเขมรมาอยู่อยุธยาความรู้แบบขอมเดิมก็มาอยุธยาหมด ยังมีพราหมณ์จากเมืองเพชรบุรีและนครศรีธรรมราชอีก เทวรูปฮินดูสมัยอยุธยาเองยังมีเค้าสุโขทัยผสมเขมร แต่อยุธยาก็ดังเรื่องเครื่องรางของขลังอาจเป็นอิทธิพลของเขมรที่มาอยู่อยุธยาแล้วผสมปนเปกับคนพื้นเมือง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 251 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 251 ครั้ง
 
 
  13 ธ.ค. 2554 เวลา 10:12:07  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   640) ชุดแต่งกายสวยๆของคณะละคอนสุดสะแนน  
  ต้นครับผม    คห.ที่65)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ผมถึงบอกว่าการแสดงหลายอย่างในอีสานไม่ต้องไปกำหนดกฏเกณฑ์การแต่งกายให้มากนัก เว้นแต่เป็นการแสดงในของเขตของชนเผ่า เช่น ฟ้อนผู้ไท ฟ้วนพวน อะไรแบบนี้ ตรงนี้ก็อนุโลม แต่สำหรับการแสดงอีสานทั่วไป กระติ๊บ โปงลาง ฯลฯ จะใช้ผ้าซิ่นอะไรก็ใช้ไปเถอะครับ ขอเพียงเป็นผ้าซิ่นที่เป็นเอกลักษณ์อีสานก็เป็นพอ สมมติว่าใช้ผ้าซิ่นโฉลในวงโปงลาง ถามว่าผ้าซิ่นโฮลไม่นับเป็นผ้าคนอีสานหรอครับ? ไทยโคราช ไทล้านนา หรือคนไทยเชื่อสายเขมรในภาคอีสานไม่นับเป็นคนอีสานหรอครับ? ไม่นับวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายเขมรดป็นวัฒนธรรมอีสานบ้างเหรอครับ? เช่น อาไย กันตรึม ระบำกรับ ระบำร่ม ระบำสาก ระบำเคาะกะลา ผมถือว่าคนกลุ่มนี่เป็นคนไทยและเป็นคนอีสาน ผมไม่ต้องการให้คนนึกถึงวัฒนธรรมอีสานว่ามีแค่ โปงลาง หมอลำ เท่านั้น หรือคิดว่าภาษาอีสานต้องมีคำว่า ข้อย อ้าย เด้อ ฯลฯ เท่านั้น แล้วภาษาอีสานมีคำว่า ฉัน เธอ บอง มวย โอว เม ฯลฯ ไม่ได้เหรอครับ? สิ่งที่ผมพยายามจะบอก คือต้องการให้ยอมรับรับวัฒนธรรมอื่นเป็นวัฒนธรรม"ร่วม"กับอีสาน ภาคอีสานก็มีชาวไทยวนจากล้านนาก็อยากให้นับเขาเป็นคนอีสานด้วยครับ
  
เหมือนการนำเสนอชุดไทยในเวทีโลก บางครั้งนำเสนอโดยชุดชนกลุ่มน้อย อีก้อ กะเหรี่ยง คนไทยก็นับเป็นชุดไทย นั่นหมายความว่าคนไทยบางคนให้การยอมรับในความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตรงนี้น่ายินดีไม่ใช่เหรอครับที่เรานับวัฒนธรรมแบบชาวเขาเป็นวัฒนธรรมไทย หรือการแสดงของภาคใต้หลายอย่างก็นุ่งผ้ายกSongket หรือโสร่งผ้าปาเต๊ะ นี่ก็เป็นวัฒนธรรมมลายูรวมไปถึงชวา แต่คนไทยก็นำมาใช้ในการแสดงภาคใต้หมายความว่าคนไทยยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมมลายูหรือชวา ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยยังมีรำชวาเลยครับ รำโบราณคดียังมีรำลพบุรี ลพบุรีสมัยโบราณก็เป็นขอมซะส่วนใหญ่ สมัยรัชกาลที่5ผู้หญิงสวมเสื้อแขนหมูแฮมซึ่งเป็นเสื้อฝรั่ง แต่มีการนุ่งซิ่นนุ่งโจงกระเบนผสมผสานกับวัฒนธรรมอื่น ตรงนี้ผมกล้าบอกว่าชุดพวกนี้เป็นชุดไทยที่เกิดขึ้นด้วย"ภูมิปัญญา"ของคนสมัยโบราณครับ    

จับฉ่าย แปลว่า ผสมปนเป ไม่ได้มีความหมายแบบที่คุณเข้าใจครับ
เพราะต้มจับฉ่ายคือต้มที่ใส่ผักหลายๆอย่างมารวมกัน เอาผักอะไรก็ได้มาต้มรวมกัน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 209 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 209 ครั้ง
 
 
  13 ธ.ค. 2554 เวลา 10:34:44  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   640) ชุดแต่งกายสวยๆของคณะละคอนสุดสะแนน  
  ต้นครับผม    คห.ที่66)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
รูปชุดแต่งงานของลาว ทำไมเสื้อปั๊ดสั้นมากๆ    

ความเห็นหน้าก่อนๆที่บอกว่าเจ้านาย(นาง)เมืองอุบลไม่ควรนุ่งผ้าซิ่นแบบนี้ มันจะดูชาตินิยมเกินไปหน่อยรึเปล่า ขนาดเจ้านาย(นาง)ทางเหนือยังสวมผ้าแบบพม่าแบบไทยใหญ่ ถ้ามีการวิจารณ์การแต่งกายในรูป ควรให้ความสนใจเรื่องภาพลักษณ์การแต่งกายโดยรวม เช่น ชุดแบบผู้ไทคือผู้ไทรึเปล่าอะไรแบบนี้ มากกว่าให้ความสนใจเรื่องผ้าลาวผ้าไทย ตรงนี้เป็นการคิดต่างของผมครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 195 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 195 ครั้ง
 
 
  16 ธ.ค. 2554 เวลา 08:41:40  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   640) ชุดแต่งกายสวยๆของคณะละคอนสุดสะแนน  
  ต้นครับผม    คห.ที่67)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
คุณ( เทพสุราน้อย ):
คุณปังคุง:
คุณ( เทพสุราน้อย ):
สุดสะแนนนี้เป็นละครเเนวใหนครับ
ใช่ที่  จุฬา  เล่นบ่ครับ

    

ไม่ใช่จุฬาครับผม  เป็นของมนุษยศาสตร์ ม.ข.  เป็นคณะละคอนที่ทางนักศึกษาของม.ข.ร่วมกันทำขึ้น

สไตล์จะออกแนวอีสานเชิงวัฒนธรรมล้านช้างกับลาวครับสำหรับสายตาผม  ไม่ค่อยนำเสนอส่วนของ"อีสาน"เท่าไรนัก

แต่ก็ถือว่าเป็นการเปิดตัวที่บูมพอสมควร  จากการเอาชุดแต่งกายแนววิจิตรลาวกับแบบชนเผ่าลาวมานำเสนอ

นอกจากนี้ก็ยังทำงานประสานกันกับวนศ.กาฬสินธุ์ด้วย  อย่างตอนกฐินพระราชทานวัดพระธาตุพนมแล้วทำการแสดงแสงสีเสียง  ก็ใช้นักศึกษาวนศ.กาฬสินธุ์หลายคนเช่นกันครับ

อยากให้คณะละคอนนี้นำเสนอความเป็นไทอีสานมากกว่าชาวลาวล้านช้างให้มากขึ้นนะครับ  แล้วอะไรที่ไม่มีในอีสานอยากให้ลด ๆ ระดับลงหน่อย

อย่างชุดชาวไทดำนี่ก็ล่อซะไทดำเมืองแถงเมืองเดียนเบียนฟูมาเลย  แบบนี่ก็ไม่ค่อยแล้วนะครับ  เข้าใจว่าปรับให้เหมาะกับการแสดงบางชุดที่กล่าวถึงพญาแถน...    

ในเมื่อเราคือชาวไทอีสาน  ดังนั้น  การโปรโมทควรเน้นวัฒนธรรมอีสานให้มาก  ถึงแม้ว่าชาวลาวกับชาวอีสานมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันมาก  แต่จุดยืนของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันก็ย่อมมี  ดังนั้นพยายามอย่าไปคุ้ยเอาของของเขามานำเสนอเลยนะครับ  ของของเรามีผมก็ว่าควรปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นดีกว่า  เพราะการพัฒนาโดยไปเอาวัฒนธรรมอื่นมานำเสนอผมก็ว่ามันมาไม่ถูกทางแล้วล่ะครับ
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล


ตรงนี้ก็ขออนุญาตเห็นต่างคิดต่างเช่นกัน ความตั้งใจของผู้จัดทำอาจไม่ได้เน้นเรื่อง"ชาติ"หรือ"เขตแดน"มากนัก แล้วรู้ได้อย่างอย่างไรว่าไทดำเอามาจากเดียนเบียนฟู ผมกลับมองว่าทางผู้จัดทำนำเสนอในแบบไทยๆมากกว่า เพราะภาพลักษณ์ส่วนใหญ่ของการแสดงแบบไทยหรือนาฏศิลป์ไทย(ขอไม่เจาะจงถึงภาคอีสาน)คือความอลังการ ถ้าไม่ได้นำเสนอในเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดีจะเสนอการแต่งกายแบบนี้ไม่ผิดครับ แต่ดูโดยรวมผู้จัดทำต้องการให้ออกมาแบบอลังการงานสร้างมากกว่า แต่ไม่ได้คิดว่าเอาไทดำจากเดียนเบียนฟูมานำเสนอ อย่างการแสดงชุมนุมเผ่าไทย ไทยอาหมก็ไม่ได้แต่งกายอาหมแต่แต่งกายแบบคนอินเดียสวมส่าหรีแบบอินเดียทั่วๆไป ไม่ได้ไปเน้นเรื่องวัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทยอาหม ตรงนี้อยู่ที่การรับรู้ของแต่ละคนด้วย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 252 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 252 ครั้ง
 
 
  16 ธ.ค. 2554 เวลา 08:56:24  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   640) ชุดแต่งกายสวยๆของคณะละคอนสุดสะแนน  
  ต้นครับผม    คห.ที่69)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
แต่คนภาคกลางชอบเอาคำว่า"ลาว"มาเรียกแบบดูถูกไงครับ คนอีสานที่มีพื้นเพเป็นคนลาวมาก่อน สมัยก่อนรวมถึงดินแดนภาคอีสานด้วย แต่มันมาแยกเป็นประเทศลาวในยุคหลัง ในเมื่อลาวมีความหมายในเชิงดูถูก จะให้คนอีสานยอมรับวัฒนธรรมตนเองว่าเป็นวัฒนธรรมลาวได้ไงครับ?

จะยอมรับได้อย่างเต็มปากต่อเมื่อคนภาคกลางเลิกเอาคำว่าลาวมาใช้เป็นคำดูถูก

 
 
สาธุการบทความนี้ : 178 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 178 ครั้ง
 
 
  16 มี.ค. 2555 เวลา 23:08:25  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   643) ชุดการแต่งกายที่ไม่พึงควรและไม่ควรนำมาใช้สำหรับการแสดง  
  ต้นครับผม    คห.ที่156)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
กระทู้สาระครับ ขออนุญาตดัน

ผมนึกออกอย่างหนึ่ง ผมคิดว่าควรจัดการแต่งการของการแสดงต่างๆให้เป็นมาตรฐาน เช่นรำแบบชาวบ้าน ก็แต่งแบบชาวบ้าน แต่งกายแบบท้องถิ่น อย่างน้อยเพื่อใช้อ้างอิงเวลาท้องถิ่นอื่นจัดงานแบบอีสาน มีการแสดงรำอีสาน จะได้แต่งกายให้ถูกต้องตามแบบฉบับครับ

ส่วนเรื่องความเป็นอีสาน ต้องเข้าใจว่าความเป็นอีสานตั้งแต่สมัยก่อนมีลักษณะความเป็น"ไพร่"สมัยก่อนคนก็น้อยมากๆ ไม่ได้เป็นชุมชนแบบปัจจุบัน แล้วภาคอีสานสมัยก่อนก็ไม่มีเจ้านายเจ้านางอะไรทั้งนั้น ส่วนใหญ่ไปกระจุกๆแถมแม่น้ำโขงและฝั่งเมืองหลวงล้านช้างซะมากกว่า ถ้าอธิบายลักษณะของความเป็นอีสาน ต้องออกมาในลักษณะของวัฒนธรรมแบบชาวบ้าน แต่งกายแบบชาวบ้าน การแสดงบางอย่างเป็นการแสดงแบบชาวบ้านต้องแบบกายด้วยชุดธรรมดาที่ไม่ได้ผ่านการแต่งองค์ทรงเครื่องราวกับลิเกหรือเซิงกระติ๊บติดดอกไม้ไหวดอกโตๆก็ดูขัดแย้งกัน
ยกตัวอย่างระบำพื้นบ้านแบบเขมร ก็ไม่ได้แต่งกายสวยงามแต่สื่อออกมาให้ดูเป็นท้องถิ่น น่าสังเกตว่ารำพื้นบ้านเขมรไม่มีการนุ่งผ้าไหมหรือนุ่งผ้ามัดหมี่(หรือมีแต่ผมไม่รู้) มีแต่การทอผ้าฝ้าย ในบันทึกโบราณว่าคนเจนละสมัยก่อนไม่รู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมส่วนผ้าไหมนำเข้าจากที่อื่น คาดว่าพวกผ้าไหมเขมรที่มีลวดลายพวกมัดหมี่คงเป็นอิทธิพลคนลาวครับ ผมคิดว่าพวกรำอัปสราหรือละครโบราณที่แต่งกายแบบเขมร คงนุ่งผ้ายกหรือไม่ก็ผ้านำเข้าจากที่อื่นมากกว่า(ที่ไม่ใช่ผ้ามัดหมี่หรือลายใหญ่ๆ)

บางครั้งการแต่งกายในการแสดงภาคอีสานบางอย่าง ซึ่งเป็นการแสดงวิถีชีวิตชาวบ้านเช่นกัน แต่งตัวเยอะจัดเกินไปจนเกินพอดี เช่นเซิ้งแหย่ไข่มดแดง แต่งกายได้สวยอลังการมากผ้าซิ่นอย่างดี เข็มขัดสีเงินแวววาว สวมสร้อยเงินห้อยสารพัด ทั้งที่เป็นการแสดงวิถีชีวิตการหาไข่มดแดงมาทำอาหาร ต้องเข้าใจว่าการแสดงแดงที่อ้างอิงวิถีการดำรงชีวิตหรือาชีพ เช่น กำรำเคียว ก็แต่งกายแบบชาวนา แต่งกายแบบคนไปทำนา เมื่อต้นเดือนที่แล้วดูงานสี่ภาคที่สถาบันแห่งหนึ่ง ขออภัยชาวอีสานนะครับ แต่ดูแล้วรู้สึกขัดๆมาก ภาคอื่นผมดูแล้วโอเค แต่ภาคอีสานสื่อออกมาได้ตลก และหลายที่ก็ทำตลกมาก เช่นจัดนิทรรศการในห้าง พิธีกรที่ออกมาพูดอีสานแต่งกายแบบโปงลางสะออน อธิบายว่าการแต่งกายอีสานต้องสวมเกาะอก ต้องนุ่งซิ่นสั้นๆ แล้วที่ผมเห็นแล้วกาแฟที่ผมกินอยู่แทบพุ่ง พิะีกรผู้หยิงใช้ผ้าขาวม้ามาทำเป็นเกาะอก ผ้าซิ่นแบบภาคกลางไม่มีลวดลายอะไรมานุ่งแล้วสั้นเหนือเข่า ประดับผมแบบภาคเหนือดอกไม้ไหวดอกโตๆ คุณน้องพิธีกรบอกว่าเป็นคนนครพนม(น้องเขาบอกมา) แสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่าไม่มีการประชาสัมพันธ์เรื่องวัฒนธรรมที่ถูกต้องโดยเฉพาะวัฒนธรรมการแต่งกายแบบอีสาน ผมมองว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการปฏิวัติวัฒนธรรมอีสานได้แล้ว ไม่ใช่ว่าอุปโลกน์สิ่งใหม่ๆที่ดูอย่างไรก็ไม่ใช่วัมนธรรมอีสาน แล้วสมอ้างว่านี่คือวัฒนธรรมอีสาน ผมมองว่าการนำเสนอศิลปะการร่ายรำควรให้มีมาตรฐานและถูกต้อง
เหมือนในละครปัจจุบันนำเสนอการตำส้มตำ ซึ่งวิธีการตำส้มตำดูอย่างไรก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ดูแล้วเหมือนเป็นการสร้างภาพมากกว่า หรือละครอื่นๆที่เป็นอีสาน ต้องนำเสนอแบบผิด เช่นตำส้มตำปลาร้า ซึ่งผิดตั้งแต่การใส่มะละกอลงไปอย่างแรกแล้ว แสดงให้เห็นว่าไม่มีการทำการบ้านมาก่อน หรือนำเสนอวัฒนธรรมอีสาน ก็แต่งกายให้ดูตลกๆ ผมคิดว่าคนภาคอื่นเขาคงมองว่าตลกเหมือนกันครับ

ถ้าผมแสดงความเห็นอะไรที่ไม่เหมาะสม พี่โอ๊ตบอกได้นะครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 480 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 480 ครั้ง
 
 
  13 ก.ย. 2554 เวลา 19:52:08  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   643) ชุดการแต่งกายที่ไม่พึงควรและไม่ควรนำมาใช้สำหรับการแสดง  
  ต้นครับผม    คห.ที่157)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
คุณปังคุง:


ภาคเหนือมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางอารยธรรม

ภาคกลางมีอยุธยา  กรุงเทพ  เป็นศูนย์กลางอารยธรรม

ภาคใต้มีเมืองนครศรีฯ  สุราษฎร์  เป็นศูนย์กลางอารยธรรม

ภาคอีสานมี....เป็นศูนย์กลางอารยธรรม

จะให้ผมใส่อะไรลงตรง...ครับ

    
ผมว่าใช้คำว่า อารยธรรม คงไม่เหมาะสมเท่าไร ควรใช้คำว่า วัฒนธรรม จะดูแคบและเข้าใจง่ายกว่าครับ
สำหรับศูนย์กลางแต่ละภาค ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ ภาคเหนือมันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา วัฒนธรรมค่อนข้างชัดเจน มีความเป็นตัวของตัวเอง จุดยืนทางวัฒนธรรมชัดเจน สามารถคิดการแสดงได้โดยอาศัยคำว่า"ล้านนา" เพราะกรมศิลปากรก็ไม่ได้เข้าไปวุ่นวายกำชับทางนั้นให้คิดการแสดงงามๆที่ดูเป็นล้านนา แต่ทางนั้นคิดเองได้ เพราะภาคเหนือมีสิ่งบ่งบอกความเป็นวัฒนธรรมชัดเจน อีกอย่างที่ต้องเข้าใจคือภาคเหนือหรือสมัยก่อนที่เรียกอาณาจักรล้านนามีอิทธิพลของราชสำนักล้านนา วัฒนธรรมที่สวยงามมักจะมาคู่กับวัฒนธรรมเจ้าและวัฒนธรรมศักดินา ชาวบ้านมักเห็นขบวนเสลี่ยงผ่านบ่อยๆ สังเกตว่าละครอะไรที่เกี่ยวกับเจ้าๆหรือมีเจ้านางเยอะๆ ต้องเน้นเรื่องภาคเหนือเอาไว้ก่อน ที่เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม เพราะเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ล้านนาสมัยก่อน

ภาคกลางก็มีอยุธยาและกรุงเทพฯ(เน้นๆแถวพระนคร) วัฒนธรรมอยุธยาค่อนข้างหลากหลาย

ภาคใต้มีนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี 2เมืองนี้เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์แถบภาคใต้ นครศรีธรรมราชเป็นเมืองสำคัญสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ และเมืองนี้สำคัญมากในประวัติศาสตร์ไทย พบเทวรูปรุ่นเก่าจำนวนมากในนครศรีธรรมราชและมีโบสถ์พราหมณ์และเสาชิงช้าและเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองท่าในสมัยโบราณ ส่วนสุราษฎร์ธานีเป็นเมืองสำคัญสมัยอาณาจักรศรีวิชัย

ส่วนภาคอีสานผมนึกออกสองจังหวัด คือ นครพนม และ สกลนคร
การจะหาศูนย์กลางวัฒนธรรมต้องดูว่าสมัยก่อนมันมีพื้นที่ไหนเมืองไหนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือมีเมืองโบราณเก่าๆสมัยล้านช้างที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน(มันก็ต้องโยงไปฝั่งโน้นแบบเลี่ยงไม่ได้ครับ) หรือจังหวัดในภาคอีสานที่ยังมีความเป็นอีสาน มีวัดเก่าๆอายุมากกว่า200ปี หรือเป็นเมืองที่บ่งบอกว่ามีช่างฝีมือที่มีความชำนาญทางด้านศิลปะ จนเมืองนั้นกลายเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรมเก่าๆ อย่างภาคเหนือก็มีวัดบวกครกหลวง ก็เป็นวัดเล็กๆแต่ก่อนสร้างได้สวยงามมีความเป็นล้านนาถึงแม้เป็นวัดใหม่ก็ตาม

ถ้าสมัยนั้นไม่มีฝรั่งเศสมาล่าอาณานิคม คนไทยคงตอบได้เต็มปากว่าศูนย์กลางวัฒนธรรมอีสานอยู่ที่เวียงจันทน์และหลวงพระบาง...ถ้าไม่ตกเป็นของฝรั่งเศสนะครับ    

ผมขออนุญาตนำบทความและรูปภาพไปโพสในเว็บอื่นนะครับ และผมจะให้เครดิตพี่โอ๊ตครับ    

เรื่องปิ่นจ้องผมไม่เห็นด้วยที่การแสดงภาคอีสานนำมาใส่นะครับ เพราะปิ่นแบบนี้รับอิทธิพลมาจากการแต่งกายเจ้านางทางเหนือ เจ้านางเชียงตุงก็ติดปิ่นจ้องแบบนี้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 317 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 317 ครั้ง
 
 
  23 ก.ย. 2554 เวลา 18:24:52  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   742) ชุดแต่งงานภาคอีสาน  
  ต้นครับผม    คห.ที่40)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
จะว่าไป ชุดแต่งงานแบบอีสาน ที่สวมผ้าซิ่นยาวๆ ผ้าขิด ผ้ามัดหมี่ ไม่มีใครเขาสวมกันแล้ว
ถ้าพิจารณาตามจริง ชุดแต่งงานแบบลาว ชนชั้นไพร่ ก็แต่งคล้ายๆคนอีสาน คือสมัยก่อนมันไม่มีคำว่า"อีสาน" ไม่ได้ชาตินิยมอะไรกันขนาดนั้น คนลาวสมัยก่อนก็ไม่ได้มาสวมผ้าซิ่นปักดิ้นทองแบบในปัจจุบัน แค่เปลี่ยนจากเสื้อปั๊ด เป็นเสื้อคอกลม สรุปจากภาพรวมคือชุดแต่งงานแบบอีสานแต่งกายแบบบ้านๆ ภาพสไบแบบในรูปชุดแต่งงานแบบอีสาน คืออิทธิพลการแต่งกายภาคกลาง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 249 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 249 ครั้ง
 
 
  23 พ.ย. 2554 เวลา 08:38:11  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   742) ชุดแต่งงานภาคอีสาน  
  ต้นครับผม    คห.ที่43)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
อันนี้ถ้าผมอธิบายเอง อาศัยความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ การเมือง คงต้องโยงไปฝั่งโขง ชุดแต่งกายมันไม่ต่างกัน อาจมีเหตุผลเรื่องการเมืองบางอย่าง ทำให้วัฒนธรรมการแต่งกายแบบอีสาน เพราะสมัยโบราณ ภาคอีสานเลือกอยู่ข้างสยาม หลังจากที่ฝรั่งเศสเอาดินแดนอีกฝั่งไป แต่ถ้าพิจารณาหลายๆอย่างในเรื่องการแต่งกาย เหมือนเป็นการกลบเกลื่อนปมด้อย คนธรรมดาคงไม่ชอบให้ใครมาเรียกว่า"ลาว" รวมไปถึงคนอีสานเองก็อยากบอกว่าเป็นคนสยามมากกว่าคนล้านช้างหลวงพระบางอะไรแบบนั้น ภายหลังการแต่งกายเลยต้องเอาวัฒนธรรมภาคกลางมาผสม เพราะวัฒนธรรมเดิมมันออกแนวล้านช้าง สมัยก่อนไม่มีคำว่า"อีสาน" แต่ปรากฎในสมัยที่มีการแบ่งมณฑลสมัย ร.5    

อย่างชุดแต่งงานที่เจ้าสาวอีสานสวม เป็นชุดไทยประยุกต์ ถ้าโบราณหน่อยก็เป็นพวกชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยจักรี ชุดไทยจักรพรรดิ พวกชุดไทยตระกูลนี้ครับ ถ้าพิจารณาในเรื่องวัฒนธรรม อาจเป็นการกลบเกลื่อนคำว่า"ลาว" เพราะคนไทยชอบเอาคำนี้มาเรียกแบบดูถูก

ถ้าคำๆนี้คนไทยเลิกเอามาพูดแบบดูถูก ผมว่าต่อไปการแต่งกายแบบอีสานดั้งเดิมอาจมีให้เห็นก็ได้ครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 334 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 334 ครั้ง
 
 
  28 พ.ย. 2554 เวลา 12:12:13  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   742) ชุดแต่งงานภาคอีสาน  
  ต้นครับผม    คห.ที่45)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ไม่รู้สิ ถ้าอธิบายเรื่องผ้าภูษาต่างๆ ผมไม่มีความรู้ แต่ถ้าอธิบายเรื่องประวัติศาสตร์ ผมพอถนัดบ้างครับ เหมือนเอาประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาอธิบายความเชื่อศาสนา ถึงมันเข้ากันไม่ได้ แต่ก็ต้องอาศัยเชื่อมโยงแนวคิดอื่นด้วยครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 434 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 434 ครั้ง
 
 
  28 พ.ย. 2554 เวลา 21:00:39  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   146) ผู้มาใหม่มาเก่า เชิญรายงานตัวทางนี้ก่อน  
  ต้นครับผม    คห.ที่478)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  31 ส.ค. 2554 เวลา 09:10:12  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   847) ชาติพันธุ์และชนเผ่าต่างๆใน 19 จังหวัดอีสาน  
  ต้นครับผม    คห.ที่75)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
คุณอ้ายโอ๊ต:
ชนชาวเขมร



เขมรถิ่นไทย เป็นชื่อทางวิชาการได้กำหนดขึ้นเพื่อเรียกผู้ที่พูดภาษาเขมรซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย

โดยทั่วไปชาวเขมรถิ่นไทยเรียกตัวเองว่า “คแมร์” หรือ “คแมร์-ลือ” แปลว่าเขมรสูง

เรียกภาษาเขมรและชาวเขมรในกัมพูชาว่า “คแมร์-กรอม” แปลว่า เขมรต่ำ

และเรียกคนไทยว่า“ซีม”ซึ่งตรงกับคำว่า“สยาม”ในภาษาไทย เมื่อพิจารณาเขตการปกครอง นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งภาษาเขมรเป็น ๓ กลุ่ม คือ

๑) ภาษาเขมรเหนือ หรือ เขมรสูง (เขมรถิ่นไทย)
๒) ภาษาเขมรกลางเป็นภาษาของผู้ที่อยู่ใน กัมพูชา
๓) ภาษาเขมรใต้ เป็นภาษาของคนเวียดนามเชื้อสายเขมร

ปัจจุบันพบชาวเขมรถิ่นไทยอาศัยอยู่ใน จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว

นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี สันนิษฐานว่าบริเวณที่ราบสูงโคราช เคยเป็นที่อยู่ของชาวขอมหรือชาวเขมรโบราณ ดูจากกลุ่มปราสาทโบราณ ศิลาจารึก ประติมากรรมที่พบมากในบริเวณดังกล่าวเช่น ปราสาทภูมิโปน ปราสาทพนาวัน ปราสาทหินพิมาย เป็นต้น ชาวเขมรถิ่นไทยน่าจะอพยพมาสมัยหลังในช่วง พ.ศ.๒๓๒๔-๒๓๒๕

ชาวเขมรสูงได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตภาคอีสานตอนใต้ มาแต่โบราณกาลแล้ว และได้สืบเชื้อสายต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในปี พ.ศ.๒๓๒๔ เมืองกัมพูชาเกิดจลาจล จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปปราบ ในสงครามครั้งนี้ เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ ได้ร่วมยกกองทัพไปตีเมืองเสียมราฐ กำพงสวาย บันทายเพชร บันทายมาศ และได้นำชาวเขมรจำนวนมากมาไว้ที่สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ชาวเขมรรุ่นสุดท้าย ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศีรษะเกษ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๐

ครอบครัวของชาวเขมร มีความคล้ายคลึงกับครอบครัวไทยพื้นเมือง คือ พ่อบ้านเป็นหัวหน้าครอบครัว แม่บ้านดูแลภายในบ้าน ให้เกียรติแก่เพศชายในการดำเนินกิจกรรม หรือ ตัดสินเรื่องต่าง ๆ   และมีการอยู่รวมกันหลายครอบครัว อาจประกอบด้วยปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา พ่อแม่ ลูกหลาน พี่น้องจำนวนมากครอบครัวใดที่มีลูกสาวหลายคน สมาชิกก็มีแนวโน้มขยายมากขึ้น การแต่งงานของชาวเขมรถิ่นไทย ฝ่ายชายต้องเสียเงินและบรรณาการให้ฝ่ายหญิงโดยต้องจัดขันหมากไปให้ฝ่ายหญิง ประกอบด้วยหมู เหล้า ขนม ข้าวต้ม ผลไม้และเงินทอง ฝ่ายหญิงต้องล้างเท้าให้ฝ่ายชายก่อนขึ้นบ้าน ชาวเขมรสูง ส่วนมากอยู่ในชนบทมีชีวิตเรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่ว่างจากการทำนา ทำไร่ จะเดินทางไปรับจ้างในตัวเมือง และในกรุงเทพ ฯ เมื่อถึงฤดูเพาะปลูกก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนา ประกอบอาชีพหลักของตน
    
                  พิธีกรรมการโจลมะม๊วด หรือมอม๊วด กลองกันตรึม

ชาวเขมรถิ่นไทยนับถือศาสนาพุทธ ช่วงเข้าพรรษาจะมีประเพณี “กันซง” ซึ่งเป็นประเพณีการถือศีลนำอาหารไปทำบุญ ที่วัด ๘ วัน หรือ ๑๕ วัน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ จะมีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ เรียกว่า ประเพณีเบ็น หรืองาน แคเบ็น ซึ่งตรงกับสารทไทย พิธีมงก็วลจองได เป็นพิธีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน นิยมจัดในงานมงคล เช่น งานมงคลสมรส ขวัญนาค โกนจุก ยกเสาเอก ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น เมื่อบรรพบุรุษเสียชีวิต ชาวเขมรจะตั้งโกศบรรจุกระดูกผู้ล่วงลับไว้ในบริเวณบ้าน ระยะหลังจะไว้ที่วัด

การแต่งกาย ของชาวเขมรถิ่นไทย

ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุง ซึ่งเป็นผ้าไหมพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง คือ ผ้าโฮล ผ้าอำปรุม ผ้าอัลลุยซีม ผ้าซาคู ส่วนผู้ชายนุ่งโสร่ง สำหรับเสื้อ ผู้หญิงใส่เสื้อแขนกระบอก ผู้ชายใส่เสื้อคอกลม เครื่องประดับจะเป็นเครื่องเงิน เรียกว่า ประเกือม (ประคำ) นำมาร้อยเป็นสร้อย ต่างหู เป็นต้น
พิธีมอม็วด เป็นพิธีที่ทำเพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย โดยผู้เข้าทรงจะเชิญวิญญาณมาเข้าสู่ร่าง และ
จะมีผู้คอยซักถามว่าเหตุใดถึงได้เจ็บป่วย นอกจากนั้นชาวเขมรถิ่นไทยยังเชื่อเรื่องโชคราง ของขลัง ฤกษ์ยาม
เครื่องรางของขลังบางอย่างสามารถป้องกันภัยและรักษาโรคได้

เขมรถิ่นไทยมีการละเล่นพื้นบ้าน ได้แก่ จเรียง เป็นการขับร้อง หรือแหล่กลอนสด เนียะจเรียง หมายถึง ผู้ขับร้อง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาเขมร จเรียงมีด้วยกันหลายประเภท เช่น จเรียงนอรแกว เป็นการร้องโต้ตอบระหว่าง ชายหญิง
จเรียงอาไย มีการรำประกอบการร้อง
จเรียงซันตูจ เป็นการสนุกสนานของหนุ่มสาวซึ่งไปช่วยแต่งงาน และงานมงคลในยามค่ำคืน จเรียงตรัว จะเป็นการร้องประกอบเสียงซอ
จเรียงจรวง เป็นการร้อง ประกอบเสียงปี่
นอกจากนั้นยังมีกันตรึม รำตรุษ เล่นในเทศกาลสงกรานต์


รำสาก เป็น การรำประกอบเสียงดนตรี และเสียงกระทบสาก ผู้รำประกอบด้วยชายหญิงรำเป็นคู่ ๆ รอบวงกระทบสาก



เรือมตร๊ด (รำตรุษ)

เป็นการรำของชาวเขมรถิ่นไทย นิยมเล่นในเทศกาลออกพรรษา งานกฐิน และเดือนห้า(แคแจ๊ด)โดยตระเวนเล่นไปตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อบอกบุญขอบริจาคทรัพย์สมทบกองทุนผ้าป่า กองดอกไม้ กองกฐิน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีคือ กลอง ปี่อ้อ ขลุ่ย ฆ้องใหญ่ กระพรวนวัว ซออู้ ผู้เล่นชายร้องเพลงคนหนึ่ง ฝ่ายหญิงคนหนึ่ง มีลูกคู่ช่วยกันร้องประกอบ นางรำแล้วแต่เหมาะสม ประมาณ ๑๐-๑๒ คน ร่ายรำตามจังหวะเพลง มีนาฎลีลาอ่อนช้อยเนิบนาบ นักร้องชายหญิงร้องสลับกัน
ผู้รำจะเดินเป็นแถว จำนวน ๑๕ - ๒๐ คน เดินไปตามบ้านเหมือนกับการเซิ้งแผ่เงิน(เรี่ยไร)

การแต่งกายสวมชุดพื้นเมืองเช่น ผ้าโสร่ง สวมเสื้อหลากสี เมื่อไปถึงหน้าบ้านผู้ใดก็จะเริ่มตีกลอง ผู้ร้องนำก็จะเริ่มร้องขับแล้วผู้ร้องตามก็จะร้องพร้อมกันพร้อมกับจังหวะการรำไปทางซ้ายทีขวาที กระทุ้งด้วยไม้ผูกกระพรวนให้ได้ยินถึงเจ้าของบ้านเมื่อ คณะรำตร๊ดไปถึงบ้านใครก็จะหาน้ำให้ดื่ม ให้สุราและถวายจตุปัจจัยเพื่อร่วมทำบุญ หลังจากนั้นคณะรำตร๊ดก็จะร้องเพลงอวยพรให้มีความสุขความเจริญ

เรียมอายัย(รำอายัย)

ที่เป็นการร้องโต้ตอบกันทำนองเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาวชาวเขมรถิ่นไทยในเทศกาล งานรื่นเริงสนุกสนาน โดยผู้รำนั้นจะไหว้ครูพร้อมกัน เสร็จแล้วเดินออกมาโต้ตอบกันเป็นคู่ๆ มีลูกคู่รองรับ เมื่อร้องจบในแต่ละวรรคดนตรีก็จะบรรเลงรับ ผู้แสดงทั้งหญิงและชายจะรำเกี้ยวพาราสีกัน ลูกคู่จะปรบมือสนับสนุน เมื่อดนตรีจบคู่ใหม่ก็ออกมาร้องทุกคู่จนครบ และร้องบทลาในตอนจบ การรำไม่มีแบบแผนตายตัว เป็นการฟ้อนรำให้เข้ากับจังหวะดนตรี ท่ารำส่วนใหญ่เป็นท่าจีบ และแบมือเรียกว่า อายัย รำแบบในท่าฟ้อนเกี้ยว ท่ารำของฝ่ายหญิงจะเป็นท่าที่คอยปัด หรือท่าปกป้องระวังการถูกเนื้อต้องตัว

การแต่งกาย ใช้ผ้าทอพื้นบ้าน นุ่งผ้าถุง สวมเสื้อแขนกระบอก มีผ้าสไบคล้องคอ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าไหมคาดที่เอว


เครื่องดนตรี มีกลอง (สก็วล)  ๑ คู่ ปี่อ้อ ๑ เลา ซอ ๑ - ๒ คัน ฉิ่ง ฉาบ กรับ ทำนองที่บรรเลงเร้าใจ สนุกสนาน



นาฎศิลป์และดนตรี นาฎศิลป์และดนตรีของชาวศรีสะเกษ แยกไม่ออก จากนาฎศิลป์และดนตรีของชาวอีสานทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นลาว เขมร ส่วย เยอ ดนตรีหลักของชาวลาว คือพิณ แคน ให้จังหวะด้วยกลอง ดนตรีหลักของชาวเขมรคือ ซอ ปี่ ระนาด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนชาวส่วยและเยอ ยึดเอาดนตรีของชนเผ่าที่ตนอยู่ใกล้มาใช้ โดยเฉพาะพิณ แคน

ประเพณีแซนการ์”(การแต่งงาน)

พิธีแต่งงานชาวเขมร จะจัดพิธีแซนการ์จะกำหนดงาน ๒-๓ วัน โดยแบ่งเป็นวันรวมญาติพี่น้อง หรือวันสุขดิบ วันแต่ง และวันส่งตัว เป็นประเพณีที่สำคัญที่สุด ของทุกคนเพราะเป็นวันแห่งการสร้างสถาบันครอบครัว สร้างอาชีพ สร้างทายาทของวงศ์ตระกูล หนุ่มสาวไทยเขมรในปัจจุบัน มีอิสระในการเลือกคู่ เมื่อรักใคร่กันแน่นอนแล้ว พ่อแม่ฝ่ายชายก็จะมาเยี่ยมเยียน ทำความคุ้นเคยจากนั้นก็จะส่งเฒ่าแก่ไปทำการ "ซูร์"(หมั้น) เริ่มด้วยการทาบทาม ด้วยเหล้า ๑ ขวด
หมากพลู ๑ พาน เทียน ๑ คู่ ฝ่ายหญิงจะเรียกค่าสินสอดตามแต่จะพอใจ ถ้าตกลงก็จะนัดวันแต่งงาน

ไงแซน (วันแต่งงาน) ที่บ้านเจ้าสาว ต้องมี "อาจารย์" เจ้าพิธี จัดเตรียม บายศรี หรือ บายแสร็ย พร้อมเครื่องบริวาร มีดอกไม้ เทียน ข้าวต้มมัด กล้วย ขนมตามความพอใจ มีด้ายผูกข้อมือ  ในปะรำพิธี มีเสากลางตกแต่งด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย และดอกไม้ สำหรับเซ่นสรวงเทพ มี "ปะต็วล" แขวนหัวเสา ด้านหน้ามี ฟูกสำหรับกราบบนฟูกวางหมอนหันไปทาง"ปะต็วล"วางเครื่องบริวารที่เตรียมไว้โดยรอบ เช่นพานผ้าไหม เงิน หมากพลู กรวย ดอกไม้ ขันข้าวขวัญ (ข้าวสุกปั้น) ไข่ต้ม มีกรวยใบตองคว่ำไว้ ขันน้ำมนตร์ เป็นต้น

การแห่ขันหมาก มีมโหรีนำหน้าขบวน แห่พานบายศรี เครื่องเซ่นผีบรรพบุรุษพร้อมบริวาร ถาดขนม สินสอด ขันหมาก เข้าสู่ปะรำพิธี ฝ่ายหญิงจะมารับ นำเข้าสู่ปะรำพิธี เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว เจ้าสาวจะออกมามอบหมากพลูให้เจ้าบ่าว จากนั้นเฒ่าแก่ฝ่ายชายจะมอบ "เฮ็บ" และ "ท็อง" คือ พานหมากพลู พ่อแม่เจ้าสาวก็จะแก้ห่อผ้าออกหยิบกิน เป็นการยอมรับ  บ่าวสาวลงนั่งบนฟูก กราบอาจารย์ แล้ววางมือคว่ำลงบนเต้าปูนเหนือหมอน เจ้าบ่าววางทับบนหลังมือเจ้าสาว  การเซ่นผี อาจารย์เป็นผู้ทำพิธีจุดเทียน เชิญผีบรรพบุรุษมารับเครื่องเซ่น ผู้เฒ่าจะมารินน้ำรินเหล้าใส่เครื่องเซ่นแล้วยกออกไป

การส่งตัวเจ้าสาว เจ้าสาวหาบน้ำ เจ้าบ่าวแบกฟืน หางขบวนช่วยกันแบกฟูก หมอน และผ้าไหว้ แห่ไปบ้านเจ้าบ่าว มอบหมากพลูขอทางผ่าน ฝ่ายเจ้าบ่าวจะรับน้ำ และฟืนไป เจ้าบ่าวเกี่ยวก้อยเจ้าสาวขึ้นเรือน ญาติฝ่ายชายจะนำน้ำขมิ้นมาล้างเท้าให้คู่บ่าวสาว แล้วให้เหยียบบนกระเชอใส่ข้าวเปลือก เหล้า ผ้าขาว และขวาน เป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรือง พอขึ้นเรือนผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะนำน้ำขมิ้น และหม้อข้าวเก่ามาให้เจ้าสาวล้างก้นหม้อ แสดงความพร้อมใจจะเป็นแม่ศรีเรือน แล้วมอบฟูกหมอนให้พ่อแม่เจ้าบ่าว นำน้ำที่เจ้าสาวหาบมาจากบ้านมาอาบให้พ่อแม่ฝ่ายชาย แล้วมอบผ้าสมมาให้ผลัดเปลี่ยนนุ่งห่มใหม่ไหว้และมอบผ้า สมมาให้ญาติเจ้าบ่าว ซึ่งจะได้รับเงินของขวัญตอบแทนจนคุ้ม จากนั้นจึง ไหว้เจ้าบ่าว ด้วยโสร่ง เสื้อขาวคอกลม สไบสองผืน เจ้าบ่าวจะมอบของขวัญให้เมื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าเสร็จ เจ้าสาวจัดขนม ผลไม้ น้ำ เหล้าให้กิน

การเสี่ยงทาย จะมีสำรับอาหารตั้งไว้ให้บ่าวสาวตักป้อนกันและกัน ใครตักข้าวก่อนตักกับข้าว แสดงว่ารู้จักอดออม ประหยัด ใครตักกับก่อนแสดงว่าฟุ่มเฟือย ญาติจะเตือนฝ่ายหญิงให้รู้จักอดออมให้มากการแต่งงานของชาวสุรินทร์ เน้นการขอบคุณ และระลึกถึงเทพ ผีบรรพบุรุษจะพบว่าปะต็วล เป็นสัญลักษณ์เด่นที่สุดในปะรำพิธี เป็นเครื่องเซ่นผีบรรพบุรุษ ที่จะลืมไม่ได้ในพิธีแซนการ์

ประเพณีงานเดือนห้า

เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณที่ประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ยังคงยึดถือปฏิบัติอยู่ ในวันขึ้น ๑ ค่ำของเดือนห้า ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ ทุกครัวเรือนจะพากันหยุดงานโดย

พร้อมเพรียงกัน มีกำหนด ๓ วันเพื่อพักผ่อน และไปนมัสการพระพุทธบาทจำลองเขาสวาย ซึ่งได้จำลองจากพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี พอถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ จะมีพิธีก่อเจดีย์ทรายตามวัดวาอารามทั่ว ๆ ไป มีพระสงฆ์สวดมนต์ฉลองเจดีย์ทราย และมีการ ละเล่นต่าง ๆ เช่น รำกระทบสาก เป็นต้น พอรุ่งเช้าในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ มีการทำบุญตักบาตรอย่างพร้อมเพรียงกัน และจากวันแรม ๑ ค่ำเป็นต้นไป ตามประเพณีให้หยุด

งานเดือนสิบ

โดยทั่วๆ ไป เรียกว่า "วันสารท" มี ๒ ระยะ ในระยะแรกตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ประชาชนจะพากันไปทำบุญตักบาตรที่วัด ในระยะหลังตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ สำหรับในวันนี้ทุกครัวเรือนจะทำพิธีเซ่นไหว้เรียกวิญญาณของญาติพี่น้องที่ได้ล้มตายไปแล้วให้มารับของทาน เป็นต้นว่า ขนมนมเนยและสิ่งของต่าง ๆ พิธีอย่างนี้ชาวบ้านเรียกว่า "แซนโดนตา" กลางคืนไปฟังพระสวดที่วัด มีการทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลผลบุญต่าง ๆ ให้ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว รุ่งเช้าในวันแรม ๑๕ ค่ำ ไปทำบุญตักบาตรที่วัดโดยพร้อมเพรียงกัน
…………………………..

    
ไงแซน ผมว่าเป็นคำว่า ถฺไงแซน มากกว่าครับ เพราะ ไถฺง แปลว่า วัน

ส่วนการแต่งกาย ผมว่าจริงๆรับการแต่งกายมาจากวัฒนธรรมเผ่ากวยหรือส่วยมากกว่า เพราะคนเขมรก็แต่งกายคล้ายๆคนภาคกลาง เพราะยุคหลังคนไทยสื่อวัฒนธรรมเขมรในรูปแบบวัฒนธรรมชาวส่วนมากกว่า ถ้าบอกว่าชาวส่วยคือชาวเขมรก็ไม่ผิด แต่ที่แน่ๆผมว่าการแต่งกายของชาวส่วยรวมถึงเขมรรับอิทธิพลจากเผ่าลาวมากกว่าจะเป็นวัฒนธรรมในแบบเขมรโบราณ

เพราะคนส่วนใหญ๋นำเสนอภาพพจน์ชาวเขมร(ในไทย)และชาวส่วยในแบบที่คนไทยต้องการให้เป็น เช่น สวมเครื่องเงินเยอะๆ หรือสวมผ้าซิ่นลายโตๆ ภาพชาวเขมรในไทยในความคิดคนส่วนใหญ่ มีการใส่วัฒนธรรมส่วย วัฒนธรรมลาว ไปในวัฒนธรรมกายแต่งกายเขมร แต่ที่แน่ๆคนไทยส่วนใหญ่สับสนกับ ชาวส่วย และ ชาวเขมร เข้าใจว่าการแต่งกายของชาวส่วยคือการแต่งกายของคนเขมรทั้งหมด ตรงนี้อาจเป็นอิทธิพลนาฎศิลป์ส่วนหนึ่ง ทำให้คนเข้าใจว่าชาวเขมรต้องแต่งกายตามแบบนาฏศิลป์ ต้องสวมเครื่องเงินเยอะๆ แต่คนไทยภาคกลางเองโดยเฉพาะสตรีผู้ดีก็ยังไม่สวมเครื่องประดับเยอะแยะแบบชาวเขมรหรือชาวส่วย

...

เรื่องชาวกุลา ผมว่าชาวกุลาเป็นชาวอะไรก็ได้ที่มาจากพม่า อาจเป็นชาวพม่ามาจากรัฐฉาน อาจเป็นไทใหญ่ มอญ กะเหรี่ยง
ส่วนต้องสู้ คือชาวกะเหรี่ยงพวกหนึ่ง คือกะเหรี่ยงดำ คนส่วนใหญ่เรียก"ปะโอ"
ในกัมพูชาก็มีชาวกุลา อยู่ที่เมืองไพลิน คำว่าชาวกุลาในความหมายคนเขมรคือ"ชาวพม่า"
เหมือนที่ชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยง ชาวไทใหญ่ ถูกคนไทยเรียกเหมารวมว่าชาวพม่า เพราะว่ามาจากประเทศพม่า

 
 
สาธุการบทความนี้ : 665 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 665 ครั้ง
 
 
  08 ธ.ค. 2554 เวลา 09:23:01  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   847) ชาติพันธุ์และชนเผ่าต่างๆใน 19 จังหวัดอีสาน  
  ต้นครับผม    คห.ที่76)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
เอกสารจีน มีชนกลุ่มน้อยเผ่าว้า佤族 สมัยก่อนคนจีนก็เรียก เผ่าข่า佧族 ภายหลังเปลี่ยนเป็น ว้า

 
 
สาธุการบทความนี้ : 304 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 304 ครั้ง
 
 
  08 ธ.ค. 2554 เวลา 10:41:24  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   847) ชาติพันธุ์และชนเผ่าต่างๆใน 19 จังหวัดอีสาน  
  ต้นครับผม    คห.ที่77)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
คุณอ้ายโอ๊ต:
คนไทยเชื้อสายจีน
ภาษากลุ่มซิโน-ทิเบตัน
(บางคนรวม ไท-กะได กับ หม่อง-เมียน กับภาษากลุ่มซิโน-ทิเบตัน)
  




คนไทยเชื้อสายจีน คือ คนจีนที่เกิดในประเทศไทย และ เป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือ ชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ ๘ ล้านคนในประเทศไทย หรือ ๑๔% ของประชากรทั้งประเทศ
ส่วนมากจะเป็นเชื้อสายแต้จิ๋ว ประมาณ ๕๖% รองลงมา ได้แก่ แคะ ๑๖% ไหหลำ ๑๑% กวางตุ้ง ๗% ฮกเกี้ยน ๗% และอื่นๆ ๑๒% ยังมีอีกมากที่ไม่สามารถนับได้ เพราะกลมกลืนโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ



ประวัติศาสตร์ของการที่ชาวจีนอพยพมาประเทศไทย ต้องย้อนกลับไปหลายร้อยปี เริ่มตั้งแต่

สมัยสุโขทัย ชาวจีนเริ่มเดินเรือสำเภา มาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย แต่หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อชาวจีนมาสอนการทำเครื่องถ้วยชาม โดยเฉพาะเครื่องสังคโลก

สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวจีนที่เดินทางมาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยมากขึ้น โดยส่วนมากจะมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีน เพื่อมาตั้งรกรากและทำการค้า

สมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๖๐๙ - ๒๓๑๒ จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดยพม่าที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีน ในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง ๔ ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่า ในอาณาจักรอยุธยา ซึ่งกำลังถูกพไม่ึดครอง ขุนพลครึ่งไทยจีนนาม "สิน"ซึ่งมีบิดานาม ไหฮอง เป็นชาวจีนแต้จิ๋วและมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวสยามได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้สยามได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ เป็น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงขึ้นครองราชย์ แล้วชาวจีนแต้จิ๋วได้เข้ามาทำการค้า และอพยพมายังกรุงธนบุรี จำนวนมาก ทำให้ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในไทยเพิ่มจาก ๒๓๐,๐๐๐ คนใน พ.ศ.๒๓๖๘ เป็น ๗๙๒,๐๐๐ คนใน พ.ศ. ๒๔๕๓ และใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ประชากรไทยถึง ๑๒.๒% เป็นชาวจีนโพ้นทะเล

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การอพยพของชาวจีนยุคแรก ส่วนมากเป็นผู้ชาย เมื่อมาตั้งรกรากแล้วก็จะแต่งงานกับผู้หญิงไทย ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่าลูกจีน แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นี้ กระแสการอพยพเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจีนอพยพเข้ามาในสยามมากขึ้น จึงทำให้การแต่งงานข้ามเชื้อชาติลดลง

การคอรัปชั่นในรัฐบาลราชวงศ์ชิง และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศจีน ประกอบกับการเก็บภาษีที่เอาเปรียบ ทำให้ชายชาวจีนจำนวนมากมุ่งสู่สยาม เพื่อหางานทำ และส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในประเทศจีนขณะนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องจำยอมขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีเพาะปลูกของทางการ

ในรัชสมัยปลายรัชกาลที่ ๓ ประเทศไทยต้องระวังผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และอังกฤษได้มลายูเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจากมณฑลยูนนาน ก็เริ่มไหลเข้าสู่ประเทศไทย กลุ่มชาวไทยชาตินิยม จากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีน ขึ้น หลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ และยังได้รับอำนาจผูกขาดการค้า รวมถึงการเป็นนายอากรเก็บภาษีซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ ๓ ด้วย ในขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของโรงสี และพ่อค้าข้าวคนกลางชาวจีน ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยาม กินเวลาเกือบ ๑๐ ปี หลังปี พ.ศ. ๒๔๔๘

ชาวไทยเชื้อสายจีนทำมาค้าขายและตั้งรกรากในไทย ในภาคอีสานเรียกได้ว่าพบได้แทบทุกอำเภอเลยทีเดียว ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนได้มีการสืบทอดและดำรงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนตลอดมา เช่น การตั้งศาลเจ้า การสืบทอดทางด้านประเพณีต่างๆ ขนบธรรมเนียม และวิถีชีวิตที่มีรูปแบบเฉพาะ

ภาษาและวัฒนธรรม
ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาจีนในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาจีนของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาจีนกับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาจีนกับลูกหลาน



อย่างไรก็ตามประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติได้ ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ปัจจุบัน กระแสความนิยมภาษาจีนกลาง กำลังมีสูง เนื่องจากเป็นภาษาที่สำคัญในการติดต่อธุรกิจระหว่างไทย-จีน และสำหรับลูกหลานจีนที่เป็นวัยรุ่นก็ได้รับสื่อต่างๆ จากไต้หวัน มาก ทั้งละคร และเพลง ทำให้ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดสอนอยู่มากขึ้นตามเพื่อสนองความต้องการ


ศาสนาและความเชื่อ
ชาวไทยเชื้อสายจีนนับถือทั้งความเชื่อดั้งเดิม ได้แก่ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ เช่น การไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าต่างๆ และพระพุทธศาสนา นิกายมหายานแบบจีน แต่ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะยึดถือความเชื่อดั้งเดิมดังกล่าวน้อยลง โดยพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบไทยจะมีอิทธิพลเหนือกว่า ดังนั้น ชาวไทยเชื้อสายจีนจึงไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าตามประเพณี และเข้าวัดไทยเหมือนชาวไทยทั่วไป ส่วนเรื่องงานศพ ชาวไทยเชื้อสายจีนยึดถือแบบจีนดั้งเดิม เช่น การทำกงเต๊กและฝังศพ น้อยลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงมาก และนิยมการเผาศพแบบไทยมากขึ้น



ขณะเดียวกันมีชาวจีนฮ่อบางส่วนในภาคเหนือที่นับถือศาสนาอิสลามตามบรรพบุรุษอยู่แล้ว พวกเขามีการรวมกลุ่มที่หนาแน่นกว่าชาวจีนฮ่อที่ไม่ใช่มุสลิม ในจังหวัดเชียงใหม่มีมัสยิดของชาวจีนมากถึงเจ็ดแห่ง หนึ่งในมัสยิดที่สำคัญที่สุดคือมัสยิดบ้านฮ่อ

วัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเลในไทยนั้นจะต่างกับชาวจีนโพ้นทะเลในสิงคโปร์และมาเลเซียบางส่วน ซึ่งจะหันไปนับถือศาสนาคริสต์ และพูดภาษาจีนกลาง ชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนกลับไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนมากนักและนิยมวัฒธรรมที่กลมกลืนไปกับคนไทย


    
ชาวจีนกลุ่มแรกที่ค้าขายกับไทยคือชาวจีนฮกเกี้ยน เครื่องสังคโลกรับมาจากเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ซ่ง ภายหลังชาวจีนแต้จิ๋วก็อพยพตามมา

พระบิดาพระเจ้าตากจริงๆไม่ได้ชื่อ ไหฮอง แต่ชื่อ เจิ้งหยง ไหฮองหรือไห่ฟงเป็นชื่อสถานที่ในมณฑลกวางตุ้ง แล้วคนไหฮองหรือชาวไหฮองไม่ใช่ชาวแต้จิ๋ว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 451 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 451 ครั้ง
 
 
  08 ธ.ค. 2554 เวลา 10:50:17  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   852) ผ้าซิ่นผืนเก่าๆ - ความงามของแพรพรรณแห่งวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง  
  ต้นครับผม    คห.ที่964)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
งดงามมากเลยครับ โดยเฉพาะผ้าฝั่งลาว
ขอบคุณสำหรับรูปภาพสวยๆครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  05 ต.ค. 2554 เวลา 08:18:10  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   852) ผ้าซิ่นผืนเก่าๆ - ความงามของแพรพรรณแห่งวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง  
  ต้นครับผม    คห.ที่981)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ผมสังเกตอย่างหนึ่งว่าวัฒนธรรมการทอผ้าไหมของคนเขมร อาจเป็นความรู้มาจากเผ่าไทลาว เพราะในบันทึกโจวต้ากวนบอกว่าคนพื้นเมืองไม่รู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไม่รู้จักการทอผ้าไหม ภายหลังมี"ชาวเสียม"มาให้ความรู้เรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ชาวเสียมในที่นี้ผมคิดว่าไม่ใช่ชาวสยามแบบที่ปัจจุบันเข้าใจ ในบันทึกไม่ได้บอกว่ามาจากเมืองไหน แต่ผมคิดว่าเป็นเผ่าไทลาวที่เดินทางมาจาก"เสียมก๊ก"ตามความเข้าใจของคนจีน ในบันทึกจีนกล่าวถึงชาวต่างชาติ3ชาติ คือ ชาวจีน ชาวจาม และชาวเสียม(อาจรวมไปถึงล้านช้างและไทยปัจจุบัน) ชาวเสียมหมายถึงคนที่พูดภาษาเสียม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 239 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 239 ครั้ง
 
 
  17 ม.ค. 2555 เวลา 12:09:00  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   852) ผ้าซิ่นผืนเก่าๆ - ความงามของแพรพรรณแห่งวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง  
  ต้นครับผม    คห.ที่985)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
สงสัยอย่างหนึ่งว่าชุดไทลื้อและผ้าซิ่นแบบไทลื้อ ไม่พบในไทลื้อเชียงรุ้งบ้างเลยครับ หรือการแต่งกายแบบไทลื้อมันหายไปจากเชียงรุ้งสิบสองปันนาแล้วครับ

ที่เห็นโบราณจริงๆ จะกระจุกๆแถวภาคเหนือพะเยาน่านแล้วก็ลาวมากกว่า ที่ยังแต่งชุดแบบโบราณอยู่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 309 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 309 ครั้ง
 
 
  10 ก.พ. 2555 เวลา 17:16:52  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   852) ผ้าซิ่นผืนเก่าๆ - ความงามของแพรพรรณแห่งวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง  
  ต้นครับผม    คห.ที่987)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ผมไม่เคยไปเที่ยวสิบสองปันนา เคยไปแต่กวางตุ้งและกวางสี ไม่ทราบว่าพี่โอ๊ตเคยไปสิบสองปันนารึเปล่า อยากทราบว่าชุมชนไทลื้อในสิบสองปันนายังมีการทอผ้าลวดลายแบบรูปข้างบนอยู่รึเปล่า แล้วเมืองไหนในสิบสองปันนาที่ยังรักษาความเป็นไทลื้อแบบจังหวัดน่าน พะเยา แล้วบางจังหวัดในประเทศลาวที่มีชุมชนไทลื้อ
ถ้าเป็นไปได้อยากมีการนำเสนอวัฒนธรรมไทลื้อแบบเก่าๆในชุมชนน่านพะเยารวมไปถึงไทลื้อฝั่งลาว นำไปฟื้นฟูวัฒนธรรมไทลื้อในสิบสองปันนาบ้าง เผื่อคนไทลื้อที่นั้นจะได้เห็นการแต่งกายแบบไทลื้อโบราณจากประเทศไทย    

บอกตรงๆว่าผมเห็นรูปชุดประจำเผ่า"ไต่"ที่ทางประเทศจีนนำเสนอเห็นแล้วรับไม่ได้ มันห่างไกลจากไทลื้อในไทยและลาวอย่างมากถึงมากที่สุด

http://news.xinhuanet.com/audio/2008-06/26/xinsrc_262060526085290629971.jpg
ชุดชาวไต่ที่ทางจีนนำเสนอ

ผมไม่รู้ว่าชาวไต่ในสิบสองปันนาคือชาวไทลื้อรึเปล่า แต่ไทลื้อที่คนส่วนใหญ่ทราบคือคนไทยที่มีฐิ่นฐานอยู่ที่สิบสองปันนา พูดภาษาไทลื้อ เสื้อผ้าการแต่งกายเหมือนไทยวนเขินลาวยองอะไรพวกนี้

ผมยังคิดเอาเองว่าไทลื้อที่แต่งกายแบบชุมชนไทลื้อในน่านพะเยาและลาวอพยพมาจากสิบสองปันนามากกว่า ส่วนไทลื้อในสิบสองปันนาก็อพยพมาไทยและลาวหมดเพราะลี้ภัยการเมือง(คิดเอาเอง) ส่วนชาวไต่ในสิบสองปันนาจะเป็นชาวไทลื้อโบราณรึเปล่าไม่รู้ แต่คิดว่าเป็นคนจีนฮั่นรุ่นหลังๆที่อพยพเข้ามามากกว่าแล้วมีการเรียนภาษาไทลื้อ ผมก็ไม่ทราบว่าภาษาไทลื้อในสิบสองปันนาและภาษาไทลื้อในน่านพะเยาและลาวจะเหมือนกันรึเปล่า แต่วัฒนธรรมไทลื้อบางอย่างไม่เห็นแล้ว เช่น การแต่งกาย

จริงๆเผ่าอื่นผมก็ไม่ค่อยเห็นมีปัญหาเท่าไรเรื่องการแต่งกาย เช่น เผ่าเฉาเซียนหรือเผ่าเกาหลีทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ตรงนี้วัฒนธรรมแข็งมาก หรือเผ่าอื่นๆ เช่น เผ่าลาฮูก็แต่งกายเหมือนเผ่าลาฮูของไทย(มูเซอ) ชายแดนจีนพม่ามีเผ่าคะฉินแต่งกายเหมือนกันเป๊ะๆ

แต่สำหรับเผ่าไทลื้อเห็นรูปแล้วผมพูดไม่ออก หรือว่าวัฒนธรรมไทลื้อแถวนั้นมันอ่อนแอ?

 
 
สาธุการบทความนี้ : 723 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 723 ครั้ง
 
 
  11 ก.พ. 2555 เวลา 16:02:31  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   886) ลำภูไทเทิดพระเกียรติออนซอน 60 ปี ครองราชย์องค์พระบาทภูมิพล  
  ต้นครับผม    คห.ที่4)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
งดงามมากครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  30 ส.ค. 2554 เวลา 12:33:58  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1004) ผ้ามูลแต่พ่อแต่แม่ แพรโบราณ ภูษาแพรพรรณ ประชันความงาม  
  ต้นครับผม    คห.ที่390)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
งามหลายๆครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  01 ก.ย. 2554 เวลา 09:48:01  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   159) ฟ้อนเต้ยเกี้ยว - สุพรรณิการ์โปงลาง  
  ต้นครับผม    คห.ที่15)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ผมสงสัยว่าทำไมทรงผมและเครื่องประดับผมเป็นทรงผมแบบลาวครับ?

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  23 พ.ย. 2554 เวลา 11:34:22  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   159) ฟ้อนเต้ยเกี้ยว - สุพรรณิการ์โปงลาง  
  ต้นครับผม    คห.ที่18)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ขออภัยมากๆครับ
ผมลืมไปว่าฟ้อนเต้ยเกี้ยว มาจากลาว ก็ต้องแต่งตัวแบบคนลาว    

อีกอย่างหนึ่ง ผมอยากให้ใช้วงดนตรีแบบภาคกลางมาผสมด้วย การที่มีเต้ยเกี้ยว หมายความว่ายอมรับในความหลากหลายวัฒนธรรม รับการแสดงของฝั่งลาวมาใช้ แต่ทำไมไม่เอาวัฒนธรรมดนตรีมาด้วยละครับ? ประเทศลาวเองก็ใช้วงดนตรีภาคกลาง มีแคนผสมวง ยังรับอิทธิพลจากภาคกลางเยอะมากๆ ส่วนดนตรีพื้นบ้านก็วงดนตรีหมอลำ ผมเลยอยากเสนอความคิดว่าฟ้อนเต้ยเกี้ยวควรเอาดนตรีภาคกลางมาใช้โดยการผสมวง ซึ่งหมายถึงยอมรับวัฒนธรรมภาคกลาง หรือไม่ก็ใช้วงดนตรีพื้นบ้านที่ไม่ใช่วงโปงลางซึ่งเป็นวงที่เกิดใหม่

ตรงนี้เป็นอีกความเห็นนะครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 203 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 203 ครั้ง
 
 
  26 พ.ย. 2554 เวลา 10:32:45  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   159) ฟ้อนเต้ยเกี้ยว - สุพรรณิการ์โปงลาง  
  ต้นครับผม    คห.ที่20)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
นั่นแหละครับ ผมถึงต้องการให้ลองเครื่องดนตรีภาคกลางไปผสม ซึ่งหมายถึงการยอมรับวัฒนธรรมแบบภาคกลาง ในเมื่อรับวัฒนธรรมฝั่งโขงได้ การรับรัฒนธรรมศูนย์กลางจากภาคกลางไปประยุกต์กับวัฒนธรรมอีสาน ไม่ใช่เรื่องดีหรอกหรือ?

ฝั่งโขงเองก็ยังเอาการแสดงต่างๆมาจากภาคกลางของไทยมาเยอะ ฟ้อนนางแก้วนี่ชัดเจนครับ แล้วก็การแสดงพระลักษมณ์พระราม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 234 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 234 ครั้ง
 
 
  28 พ.ย. 2554 เวลา 12:01:58  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   159) ฟ้อนเต้ยเกี้ยว - สุพรรณิการ์โปงลาง  
  ต้นครับผม    คห.ที่22)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ก็โปรโมทให้มีความนิยมสิครับ สมัยโบราณไม่มีวงโปงลาง มีแต่เครื่องดนตรีบ้านๆ แคน ซอ พิณ กลอง ฉิ่ง ก็ยังได้รับความนิยม ภายหลังมีคิดค้นดนตรีแบบอีสานขึ้น มี โปงลาง ไหซอง โหวด เอามาประยุกต์ให้เป็นอีสานได้ แล้วการที่นำเครื่องดนตรีแบบภาคกลางไปผสมวง ผมเชื่อว่าถ้าบรรเลงให้ดีความเป็นอีสานก็ผสมความเป็นภาคกลางได้อย่างลงตัว วงมโหรีภาคกลางอาจเพิ่มเครื่องดนตรีบางชิ้น เช่น แคน หรือซออีสาน หรือไม่ก็ใช้พิณมาแทนกระจับปี่

ต้องมีการนำเสนอให้มีความน่าสนใจ แรกๆอาจไม่ได้รับความนิยม เพราะไม่ใช่ความเป็นท้องถิ่น แต่ถ้ามีการนำเสนอให้ถูกต้องและน่าสนใจอาจได้รับความนิยมมากขึ้นก็ได้ ต่อไปคงเห็นเครื่องดนตรีระนาดมาอยู่ในวงดนตรีอีสาน คนข้างๆเป่าโหวด ด้านหน้ามีคนดีดกระจับปี่ ก็ดูงามดีนะครับ

วงปี่พาทย์ล้านนาเองมีเครื่องดนตรีภาคกลสงไปผสมวงเลยครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 229 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 229 ครั้ง
 
 
  29 พ.ย. 2554 เวลา 09:36:29  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   159) ฟ้อนเต้ยเกี้ยว - สุพรรณิการ์โปงลาง  
  ต้นครับผม    คห.ที่24)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ผมคิดว่าไม่ลองไม่รู้นะครับ
วงดนตรีอีสานลองเปลี่ยนโปงลาง เป็นระนาดเอก เปลี่ยนไหซองเป็นฆ้องวง เปลี่ยนพิณเป็นกระจับปี่ แลดูสร้างสรรค์ครับ แบบที่รายการคุณพระช่วยนำเสนอบ่อยๆ ถ้ายังไม่เคยมีการผสมวงแบบนี้ ผมเลยขอแนะนำหน่ะครับ อย่างน้อยถ้าไม่นิยม ก็สามารถหาฟังในยูทูบได้ ว่าดนตรีอีสานไม่ได้มีแค่โปงลาง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 268 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 268 ครั้ง
 
 
  29 พ.ย. 2554 เวลา 16:01:18  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1084) วิธีการนำภาพลงเว็บโดยใช้การแปะลิงค์ภาพ  
  ต้นครับผม    คห.ที่11)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ขอบคุณมากๆเลยครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  20 ธ.ค. 2554 เวลา 13:30:46  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1118) คุณคิดยังงัยกับนักแสดงฝ่ายชายหรือนายรำใช้ผ้าโพกหัว  
  ต้นครับผม    คห.ที่5) ต้นครับผม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
ผมขออนุญาตคิดต่างนะครับ ผมกลับมองว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ แต่ผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับกาลเทสะ ถ้าแสดงเล่นๆไม่ได้จริงจังไม่ได้ออกสื่อ ก็ไม่ผิดอะไร
ส่วนการที่ผู้ชายโพกหัวในวัฒนธรรม สังเกตว่าผู้ชายส่วนใหญ่ทำผมมัดเป็นจุก ไม่รู้ศัพท์เขาเรียกว่าอะไรนะครับ คือมัดเป็นมวยผมข้างบน บางครั้งก็เอาผ้าโพก ผมว่าเป็นลักษณะนี้ครับ เพราะวัฒนธรรมภาคกลางยุคที่ผู้ชายตัดผมไว้ปีกตรงกลางหัวผมเรียกชื่อทรงผมไม่ถูก แต่ผมลักษณะแบบนี้ไม่ต้องโพก ที่เห็นโพกหัวมีอินเดีย พม่า ล้านนา ล้านช้าง กัมพูชา เมืองทางภาคใต้ มลายู ชวา หรือบางครั้งเวลาถือของก็เทินของไว้บนศีรษะโดยมีผ้าโพกมารองรับน้ำหนัก    

ในประเทศกัมพูชามีรำปลูกข้าว โพกหัวทั้งชายและหญิงครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 253 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 253 ครั้ง
 
 
  30 ส.ค. 2554 เวลา 12:51:29  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   251) อยากทราบว่าวัฒนธรรมเขมรในอีสานใต้ มีการนุ่งโจงกระเบนรึเปล่า  
  ต้นครับผม    คห.ที่0) อยากทราบว่าวัฒนธรรมเขมรในอีสานใต้ มีการนุ่งโจงกระเบนรึเปล่า      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  31 ส.ค. 2554 เวลา 16:47:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   251) อยากทราบว่าวัฒนธรรมเขมรในอีสานใต้ มีการนุ่งโจงกระเบนรึเปล่า  
  ต้นครับผม    คห.ที่3)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  31 ส.ค. 2554 เวลา 17:40:46  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   188) ยุคที่ไม่มีพริกสดเข้ามาในดินแดนนี้ อาหารอีสาน-ลาวใส่อะไรในอาหารให้มีรสเผ้ดครับ  
  ต้นครับผม    คห.ที่0) ยุคที่ไม่มีพริกสดเข้ามาในดินแดนนี้ อาหารอีสาน-ลาวใส่อะไรในอาหารให้มีรสเผ้ดครับ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
พริก หมายถึงพวกพริกแดงๆเขียวๆ พวกพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า เข้ามาในประเทศไทยสมัยอยุธยาตอนปลายๆ เรียกพริกพวกนี้ว่าพริกเทศ
อยากทราบว่าอาหารอีสานอาหารลาวสมัยก่อนใช้เครื่องปรุงอะไรแทนพริกพวกนี้ หรือเป็นเครื่องเทศในภาคอีสานที่ให้รสเผ็ดสำหรับใส่อาหารให้มีรสเผ็ดจัดจ้าน มีเครื่องเทสอะไรที่ให้ความเผ็ดบ้างครับ

แต่สำหรับภาคกลางคือพริกไทย
ขอบคุณครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 277 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 276 ครั้ง
 
 
  31 ส.ค. 2554 เวลา 18:18:20  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   188) ยุคที่ไม่มีพริกสดเข้ามาในดินแดนนี้ อาหารอีสาน-ลาวใส่อะไรในอาหารให้มีรสเผ้ดครับ  
  ต้นครับผม    คห.ที่2)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
แล้วมีอาหารอีสานอะไรบ้างครับ ที่มีประวัติ มีการกินมานานกว่า200ปี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  01 ก.ย. 2554 เวลา 08:08:03  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   188) ยุคที่ไม่มีพริกสดเข้ามาในดินแดนนี้ อาหารอีสาน-ลาวใส่อะไรในอาหารให้มีรสเผ้ดครับ  
  ต้นครับผม    คห.ที่4)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
แล้วสมัยก่อนชาวอีสานที่ฐานะดีๆหน่อย ทำอาหารอะไรกินกันในงานสำคัญครับ
เป็นอาหารที่ทำแล้วเป็นอาหารที่ดูดี ต้องนั่งโขลกเครื่องเทศอะไรแบบนี้อะครับ ไม่ต้องเป็นอาหารเก่ามากก้ได้ แต่ประมาณว่าเป็นอาหารอีสานที่มีมานาน
อย่างภาคกลางมีแกงเลียง แกงเลียง แกงบอน แกงบวน แกงป่า ต้มโคล้ง
ถ้ากรรมวิธีแบบโบราณและมีความเป็นท้องถิ่น ก็ไม่ใส่น้ำปลา(จีน) ไม่ใส่พริกเทศ(อเมริกา) ใส่ผักต้นเล็กๆขึ้นตามป่า
ถ้าเป็นอาหารอีสาน มีอาหารอะไรบ้างครับที่เป็นอาหารโบราณ(ไม่เจาะจงอายุอาหาร) แบบว่าบอกชื่ออาหารแล้วคนอีสานจะบอกว่าเป็นอาหารโบราณ

ขอบคุณครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 443 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 443 ครั้ง
 
 
  01 ก.ย. 2554 เวลา 13:12:31  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   188) ยุคที่ไม่มีพริกสดเข้ามาในดินแดนนี้ อาหารอีสาน-ลาวใส่อะไรในอาหารให้มีรสเผ้ดครับ  
  ต้นครับผม    คห.ที่6)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
แล้วในปัจจุบันมีอาหารอีสานอะไรบ้างครับ ที่วิธีการทำยังเป็นใกล้เคียงกับสมัยโบราณอยู่ เช่น แกงเลียง ใส่กะปิไม่ใส่พริกขี้หนูและไม่ใส่น้ำปลา ผมคิดว่าแกงเผ็ดอีสานสมัยโบราณจะใส่พริกไทย กระชาย ขิง ดีปลี ด้วยรึเปล่าไม่แน่ใจ เพราะเครื่องเทศพวกนี้ให้รสเผ็ด อาหารเผ็ดไทยสมัยก่อนรสชาติจะร้อนๆท้อง ไม่ใช่เผ็ดปากแดงแบบปัจจุบัน    

อาหารในวังหลากหลายแน่นอน และอิทธิพลต่างชาติเยอะมาก เหมือนอาหารเวียดนามแบบชาววังมีอิทธิพลอาหารจีนปน แต่อาหารเวียดนามธรรมดาบ้านๆใกล้เคียงอาหารลาวมากกว่า แต่ในราชสำนักเวียดนามก็เป็นอาหารจีนมีอิทธิพลอาหารลาวมาผสมครับ หรืออาหารเกาหลีแบบบ้านๆ ก็ไม่มีอะไร ชาวบ้านส่วนใหญ่กินผักดอง ปลูกผักกินเอง ปุ๋ยก็มาจากห้องส้วม กินพวกสัตว์4เท้า แต่ถ้าอาหารเกาหลีแบบรสชาติอร่อยลิ้น จัดจานสวยงาม เป็นพวกอาหารสำหรับชนชั้นสูงและในราชสำนักเกาหลี แน่นอนว่าความรู้เรื่องอาหารก็มาจากอาหารจีนแน่นอน อาหารราชสำนักเกาหลีอิทธิพลอาหารต่างชาติอีกแล้วครับ

อาหารไทยเอง แกงมัสมั่น ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ เป็นอาหารดัดแปลงจากชาติอื่นทั้งนั้นครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 276 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 276 ครั้ง
 
 
  29 พ.ย. 2554 เวลา 12:48:47  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   188) ยุคที่ไม่มีพริกสดเข้ามาในดินแดนนี้ อาหารอีสาน-ลาวใส่อะไรในอาหารให้มีรสเผ้ดครับ  
  ต้นครับผม    คห.ที่8)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
แล้วเครื่องเทศอีสานอะไรบ้างที่ให้รสชาติเผ็ดบ้างครับ ที่ไม่ใช่พริกแดงๆที่มาจากอเมริกา นอกจากพริกไทย ดีปลี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 261 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 261 ครั้ง
 
 
  30 พ.ย. 2554 เวลา 08:12:30  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1192) ฝากเนื้อฝากโตนำเด้อครับ  
  ต้นครับผม    คห.ที่1)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 
คร้าบผม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  18 ก.ย. 2554 เวลา 09:51:28  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   255) ***อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการแต่งกายนาฏศิลป์อีสานที่ถูกต้องครับ(โดยเฉพาะคนภาคอื่น)***  
  ต้นครับผม    คห.ที่0) ***อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการแต่งกายนาฏศิลป์อีสานที่ถูกต้องครับ(โดยเฉพาะคนภาคอื่น)***      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 1 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  18 ก.ย. 2554 เวลา 07:57:38  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   255) ***อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการแต่งกายนาฏศิลป์อีสานที่ถูกต้องครับ(โดยเฉพาะคนภาคอื่น)***  
  ต้นครับผม    คห.ที่5)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  06 ต.ค. 2554 เวลา 15:57:06  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   256) คนไทยไม่รู้จักอาหารไทย! หากเป็นเช่นนี้ต่อไป อาหารไทยคงหายไปจากโลก  
  ต้นครับผม    คห.ที่0) คนไทยไม่รู้จักอาหารไทย! หากเป็นเช่นนี้ต่อไป อาหารไทยคงหายไปจากโลก      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วม : 03 พ.ค. 2554
รวมโพสต์ : 107
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 277980
รวม: 277980 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 1 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  19 ก.ย. 2554 เวลา 14:26:33  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1 2

   

Creative Commons License
คนไทยไม่รู้จักอาหารไทย! หากเป็นเช่นนี้ต่อไป อาหารไทยคงหายไปจากโลก --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ