|
โพสต์โดย |
|
1100) นฤมิตกฤตนาฏ ศาสตรศิลป์ถิ่นภูไท ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
|
|
ลูกหลานคำหว้า
|
|
คห.ที่48) [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้] |
|
|
ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์
ภูมิลำเนา : กาฬสินธุ์
เข้าร่วม : 25 ก.พ. 2554
รวมโพสต์ : 1
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 2660
รวม: 2660 สาธุการ
|
|
ส่วนการแสดงฟ้อนมาลัยวิจัยศิลป์นี้ยังมิเคยเห็น กะอยากเห็นคือเด๋วว่าเพิ่นเอ็ดอกมาแนวเลอ ในความคิดผมนี้อยากให้กล่าวฮอดก่อนที่จะมาเป็นมาลัยวิจิตรศิลป์
ย้อนอดีตที่เล่าขานกันมา จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่หลายๆท่าน หลายท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2456 ทุกวันพระ หนุ่ม สาว จะพากันลงมาฟังเทศน์ ฟังธรรมในวัดตอนกลางคืน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา (เดือน 9 ดับ เดือน 10 เพ็ง) ผู้บ่าว ผู้สาว ฟังเทศน์ ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก จึงได้จัดทำต้นกัลปพฤกษ์ถวายพระ โดยแขวนของที่จะถวายไว้ที่ปลายของไม้ไผ่ บางคนใช้ต้นหม่อนบ้าง ใบมะพร้าวบ้าง มาทำเป็นลวดลายเหมือนดอกไม้ แล้วแขวนด้วยของทาน เช่น พริก ยาสูบ ขนมต่างๆ กระดาษ ดินสอ เข็ม ฯลฯ แล้วแขวนไว้กับต้นกัลปพฤกษ์ ใช้เป็นปัจจัยถวายพระ ในช่วงนั้นได้มีพ่อค้าเดินทางมาจากเมืองบก เมืองเวท (ประเทศลาว) มาขายสินค้าแล้วได้แวะพักที่วัด จึงได้ขอร่วมทำบุญด้วย แต่ไม่ได้เตรียมสิ่งของมาทำบุญ มองเห็นแต่ไม้ไผ่ไร่ ที่อยู่ข้างๆวัด จึงได้นำไม้ไผ่มาจักสานเป็นพวงมาลัยเพื่อใช้แขวนปัจจัยร่วมทำบุญกับชาวบ้านกุดหว้า ชาวบ้านกุดหว้าเห็นว่า แปลกดี และมีความสวยงาม ก็เลยทำเรียนแบบ วิธีการทำโดยการนำไม้ไผ่ไร่มาตัดตามขนาดความยาวที่ต้องการ เก็บไว้ประมาณ 15 วัน จะทำให้ไม้ไผ่เหนียวขึ้น และดัดได้ง่าย เมื่อนำไม้ไผ่มาทำเป็นเส้นตามขนาดที่ต้องการ แล้วจึงจักสานเป็นพวงมาลัยไม้ไผ่ได้อย่างสวยงาม ตั้งแต่นั้นมา พระ เณรในวัด หรือแม้แต่ ทิดจาน ก็ได้จัดทำกันเรื่อยมา โดยในแต่ละครั้ง แต่ละรุ่น ก็มีการดัดแปลงลวดลายต่างๆของพวงมาลัย ให้มีความสวยงามมากขึ้น จากความคิดที่แตกต่างกันออกไป ทำให้พวงมาลัยไม้ไผ่มีหลายขนาด หลายแบบ วิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น จนมาถึง ปี พ.ศ. 2511 มีการทำบุญในคืนวัน แรม 13 ค่ำ เดือน 9 และ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 (9 ลับ 10 เพ็ง) เริ่มมีการทำบุญจัดเฉลิมฉลอง โดยการนำเอาวงดนตรีมาแสดง มีการจัดประกวดร้องเพลง และให้มีการจัดทำพวงมาลัยไม้ไผ่เข้าถวายพระในวัดด้วย จนมาถึง พ.ศ.2526 ชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันทำพวงมาลัยไม้ไผ่ โดยจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์หัตกรรมมาลัยไม้ไผ่ โดยให้ นายพาราม แย้มไสย เป็นประธานกลุ่มคนแรก จนมาถึง พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนแปลงประธานกลุ่มคนใหม่ คือ นายทองเส็ง กาฬหว้า ต่อมาในช่วงเทศกาลงานบุญก็มีการจัดประกวดพวงมาลัยไม้ไผ่(มาลัยไม้ไผ่วิจิตรศิลป์) และการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง การประกวดลำผู้ไทย มีผู้ที่มีความสามารถด้านดนตรี ศิลปิน ศิลปะหัตกรรมจำนวนมากส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทุกปี ต่อมา ปี พ.ศ.2551 มีการเปลี่ยนแปลงประธานกลุ่มอนุรักษ์หัตกรรมมาลัยไม้ไผ่วิจิตรศิลป์ คนใหม่ คือ นายชูมา แสงชมภู จนมาถึงปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
|
|
|
25 ก.พ. 2554 เวลา 23:57:07 |
|
|
|