ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ติแต่คนเขาพุ้นภายโตบ่เตื้องต่อ ติแต่คออึ่งเพ้าคอเจ้าผัดแฮ่งจน แปลว่า ติแต่คนอื่น ไม่ดูตัวเอง ติแต่คออึ่ง แต่ไม่ดูคอตัวเอง หมายถึง ก่อนจะบอกสอนคนอื่น พึงบอกสอนตัวเองก่อน


  ค้นหากระทู้ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่128) กรรมการผู้ตัดสินการประกวด      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ได้ทราบว่า กรรมการที่comment
ชื่อ ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ
เป็นที่ปรึกษาชมรมดนตรีนาฎศิลป์พื้นเมือง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาสารคาม ปี 2527 หรือวงแคนในปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นผู้ก่อตั้งวงแคน
เป็นผู้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง เซิ้งแคน ฟ้อนมหาชัย ระบะพนมรุ้ง(ของมศว)
และระบำจัมปาศรี
เป็นผู้เขียนหนังสือ เรื่อง ศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน เมื่อปี 2532
เป็นผู้อบรมนาฎศิลป์พื้นบ้านโครงการอีสานเขียว เมื่อปี 2535 ซึ่งเอกสารการฝึกอบรมเป็นต้นแบบของการเขียนผลงานของอาจารย์ 3 หลายท่าน
เป็นผู้เฝ้ามอฝพัฒนาการของการแสดงพื้นบ้านอีสาน ยังไม่เคยทำวิจัยเกี่ยวกับการฟ้อนภาคอีสาน
ไม่ได้จบนาฏศิลป์ ไม่ได้จบ IT แต่จบปริญญาเอก พัฒนศึกษาศาสตร์ หรือการพัฒนาประเทศ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 206 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 206 ครั้ง
 
 
  13 ม.ค. 2554 เวลา 18:49:16  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่130) การตัดสินการประกวดวงโปงลาง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
กรรมการประชุมกันแล้วว่า ไม่ว่าจะตัดสินอย่างไรจะมีวงที่ชนะชมวงเดียว นอกนั้นจะถูกวิพากษ์ทางลบเสียเป็นส่วนมาก เนื่องจากเป็นครูและต้องการพัฒนาวงการนี้ไปอีกยาวนาน ขอแนะนำไว้เป็นความรู้ของแฟนพันธุ์แท้วงโปงลาง และคณะครูที่สอนโปงลาง เกณฑ์ในการตัดสินกำหนดไว้กว้างๆ ซึ่งให้คะแนนยากมากว่าจะได้เท่าไร และได้เรียนคณะครูไว้แล้วว่าจะจำแนกคะแนนออกเป็น10 ข้อๆละ 5 คะแนนรวม 50 คะแนน เพื่อให้เกิดความแตกต่างของค่าคะแนน
1. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 2. การแต่งกาย ( costume) 3. Line (ระดับและความสวยงามของท่าฟ้อน) 4. Stage  (การใช้พื้นที่บนเวที) 5. ความต่อเนื่องของชุดการแสดง 6. การสื่อสารการแสดง 7. อุปกรณ์ประกอบ 8. การถ่ายทอดอารมณ์ได้ตามเนื้อหา  9. ความเป็นพื้นเมืองอีสาน   10. ความเป็น Unity ของชุดการแสดง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 228 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 228 ครั้ง
 
 
  13 ม.ค. 2554 เวลา 22:54:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่131) การตัดสินการประกวดวงโปงลาง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
Comment ชุดการแสดง
1. โรงเรียนศรีสงคราม นักร้องนำดีมาก แต่การแสดงยังใช้ขนบเดิมๆ แต่ถ้าเทียบกับเมื่อแสดงที่ขอนแก่นถือได้ว่ามีการพัฒนาการดีขึ้นมาก ศรีสงคราม Comment ให้อาจารย์ผู้ควบคุมฟังแล้ว เอาไว้แค่นี้

2. โรงเรียนเลยพิทยาคม ยังทำไม่ค่อยดีทั้งการฟ้อนรำและดนตรีเหมือนจะซ้อมน้อยไปหน่อย ชุดการแสดงยังไม่มีจุดขายที่เด่นๆ เพลงเซิ้งสวิงเนื้อร้องการฟ้อนไม่ไปด้วยกันแล้ว และเนื้อร้องบอกว่าจะใส่แพรวาไปเซิ้งสวิง ไม่มีใครเข้าใช้ผ้าแพรวาไปเซิ้งสวิง ส่วนใหญ่เพลงกับท่าฟ้อนรำไม่สอดคล้องกัน


3. โรงเรียนอนุกูลนารี ที่Comment บนเวทีเป็นเรื่องการแต่งกายผิดกลับหน้ากลับหลังเช่นผู้ไทสกลนคร แต่จริงที่อนุกูลนารีมีปัญหาตั้งแต่เทิดพระเกียรติคำร้องหมดแล้วยังฟ้อนรำอีกนาน
4. โรงเรียนหนองเรือ หลายคนว่า Comment แรง เพราต้องการให้เปลี่ยนวิธีการนำเสนอชุดการแสดง ไม่ใช่เน้น One man show เพราะถ้าเรียนหนังสือข้อสอบมี5 ข้อๆละ10 คะแนนรวมเป็น 50 คะแนน ทำได้ข้อ1 เขียนจนไม่มีคะแนนให้ก็อย่างมากก้ไม่เกิน 10 ถึงเขียนน้อยกว่านี้ก็ได้ 10 คะแนนเหมือนกัน แล้วอีก 4 ข้อทำพอเป็นพิธีก็อาจจะได้ 4,5 คะแนนบ้างชาตินี้ก็ไม่ได้ A เช่นเดียวกับหนองเรือ ถ้ายังไม่ปรับให้คะแนนส่วนอื่นเพิ่มก็ยากที่จะชนะในการประกวด รำเตี้ยน่าจะเปลี่ยนรูปแบบการแสดงไม่ใช่ให้ร้องอยู่คู่เดียวแล้วคนอื่นเป็นลูกคู่ ถ้าทำอย่างเต้นกำรำเคียวก็จะน่าดูขึ้น ไม่ใครเอาการละเล่นของเด็กมาประกอบเพราะเขาเกี้ยวกันเป็นการแสดงของหนุ่มสาว ไม่ใช่เด็กเล็กๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 326 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 326 ครั้ง
 
 
  13 ม.ค. 2554 เวลา 22:55:25  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่132) การตัดสินการประกวดวงโปงลาง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
5. โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ถือได้ว่าพัฒนากว่าการแสดงที่ขอนแก่น ชุดแรกเป็นการฟ้อนรำเทิดพระเกียรตินั้น ถึงจะเป็นเพลงใหม่ไปดู costume ไม่ค่อยไปด้วยกันเสื้อสีจืดเมื่ออยู่บนเวที ผ้าถุงก็เหมือนกับนุ่งซ้อนกันทำให้นักแสดงดูอ้วน  การแปรแถวทำได้ดีขึ้น แต่การใช้ชุดเหมือนกันเลยดูคนแน่นไปเติมเวทีเกินไป

ชุดเปิดวงมีนางไหออกมา ต้องถามก่อนว่านางไห ไหเป็นเครื่องดนตรีหรือเป็นชุดการแสดง

ถ้าไหเป็นเครื่องดนตรีทำไมวงแสดงแล้วไหจึงออกมาที่หลังและกลับก่อนการแสดงดนตรีจะเลิก

หรือการใช้ไหมีขนาดเท่ากันต้องมีการใส่น้ำไว้ในไหจึงจะใช้เป็นเครื่องกำกับจังหวะได้ หรือใช้ไหต่างขนาดกัน ตกลงใช้ไหเพื่ออะไร Comment นี้ไม่ใช่แต่กาฬสินธุ์พิทยาสรรพเท่านั้นเหมือนกันทุกโรงเรียน

เซิ้งเฮือส่วงควรใช้จังหวะเซิ้ง จะเป็นคำร้องก็ได้หรือดนตรีก็ได้แต่ไม่มีการใช้เลย การโชว์พายก่อนแล้วถึงวิ่งไปเอาเรือมาขาดความต่อเนื่อง น่าจะโชว์พร้อมกับเอาเรือมาตั้งแต่ต้น

การบูชาพระธาตุยาคู เป็นของสำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ไม่ทราบว่าทำไมสำคัญ มีความเป็นมาอย่างไร เกี่ยวข้องกับฟ้าแดดสูงยางอย่างไรเป็นต้น ชุดนี้เสียคะแนนตั้งแต่ขอนแก่นเพราะชุดการแสดงยังไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ชัดเจน จนคนรู้สึกว่าถ้าไปกาฬสินธุ์ต้องไปไหว้พระธาตุยาคู

ฟ้อนผู้ไทสามเผ่า ฟ้อนผู้ไทสกลนครไม่มีใครใช้ผ้าแพรวาของบ้านโพน ฟ้อนผู้ไทกาฬสินธุ์ไปเอาแพรฟ้อยของกุจฉินารายณ์มาใช้ ซึ่งชาวหนองห้าง,กุดหว้าจะแต่งชุดผู้ไทแตกต่างจากบ้านโพน ส่วนผู้ไทเรณูฯผู้แสดงคนที่สองจากซ้ายฟ้อนอ่อนเกินไปทำให้ Line ผิดไปในท่าฉาย ทำให้ขาดความสวยงาม ฟ้อนชุดสุดท้าย OK แต่การใช้ชุด earth tone ทั้งชุดพอแสดงบนเวทีไม่ขึ้นไฟถ้าใช้สไบอ่อนกว่าก็จะสวยมาก

การแข่งขันถ้าทำตามโจทย์อย่างเดียวอย่างมากก็ได้เพียงเสมอ ต้องมีไม้เด็ดที่จะเอาชนะ    คู่แข่ง เราจะเอาอะไรเป็นไม้ตายหรือจะเพียงฟ้อนรำให้ครบตามโจทย์เท่านั้น


การ comment เช่นนี้ไม่ใช่ตำหนิโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ แต่อยากให้เห็นข้ออ่อนเล็กๆน้อยๆเพื่อใช้ในการปรับปรุงต่อไป แต่ขอชื่นชมกับอาจารย์ของโรงเรียนนี้อย่างมากเพราะชมคราวใด ก็มีการพัฒนาการให้เห็นความก้าวหน้าเสมอ ขอชมเชยด้วยความจริงใจ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 229 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 228 ครั้ง
 
 
  13 ม.ค. 2554 เวลา 22:56:10  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่133) การตัดสินการประกวดวงโปงลาง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
6.โรงเรียนส่วางแดนดิน รับประกันว่าไม่เคยไป ไม่รู้จักครู ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนของประเทศไทยยกเว้นว่ารู้เพียงว่าอยู่จังหวัดสกลนครเท่านั้น

ผู้ชมรู้สึกว่ากรรมการแสดงออกนอกหน้าว่าเชียร์โรงเรียนนี้ เพราะการแสดงของสว่างแดนดินมีความต่อเนื่องมีความเป็นหนึ่งชุดการแสดง (Unity) ส่วนของโรงเรียนอื่นๆยังเห็นเป็นต่อนๆ ซึ่งเราก็ทำเป็นต่อนๆ มากว่า 20 ปีแล้วจึงตื่นเต้น

อันนี้ถือได้ว่าการนำพาให้การแสดงโปงลางต่างจากหางเครื่องของวงดนตรีลูกทุ่งหรือหมอลำ

การคัดเลือกนักแสดงได้ตัวเท่ากันมาก การฟ้อนสม่ำเสมออาจจะไม่เร้าใจของนักชมแฟนพันธ์แท้ที่ต้องการดูของใหม่ๆ เท่านั้น อีกอย่างการใช้กลอนลำบูชาบุรพาจารย์หลวปู่ชอบถือเป็นความฉลาดของโรงเรียนนี้ที่นำเสนอเข้ากับ event ได้ดี ถือเป็นการสร้างสรรค์อย่างหนึ่งเพราะลายสุดสะแนนเขาใช้ลำทางสั้น

การนำเสนอที่บอกว่าเอาดินสอเล็งแล้วช่องไฟเป๊ะเป็นการสะท้อนถึงการฝึกซ้อมของสว่างแดนดินคงทำงานหนักพอแปรแถวถึงได้ระดับ โดยเฉพาะช่องไฟระยะห่างของผู้แสดงแต่ละคนซึ่งต้องทำงานอย่างหนัก ถึงทำได้

ถามว่าสว่างแดนดินทำดีอย่างไร ตอบได้ว่ามีที่หักคะแนนน้อยมาก เช่น ทำไมไม่เอากลองกิ่งมาตีประกอบฟ้อนภูไทสกลนครซึ่งเคยใช้ที่ขอนแก่น

ต้องขอโทษในการ Comment แล้วพูดตรงเกินไปหรือไม่ได้พูดทั้งหมด ต้องขอชมนักแสดงที่แสดงเป็นพื้นเมืองไม่ใช่รำไทยเพลงอีสาน ถ้ามีพื้นรำไทยถึงจะรำสวยคิดผิดเพราะใช้ตัวการถ่วงน้ำหนักร่างกาย คนที่ไม่เคยเรียนนาฎศิลป์เลยแต่ฟ้อนสวยมากก็เช่นชาวบ้านผู้ไทที่เรณูนคร การเรียนรำไทยทำให้ลีลาอีสานหายไปหมด เช่น หลายมหาวิทยาลัยรวมกันส่งการแสดงไปแสดงที่เชียงใหม่เมื่อหลายเดือนแล้ว ทุกคนรำได้สวยหมดแต่ไม่ใช้ฟ้อนอีสานแต่เป็นรำไทยโดยใช้เพลงอีสาน

เด็กใหม่ๆอาจจะไม่เข้าใจ แต่พูดอย่างนี้กับครูสอนนาฎศิลป์พื้นบ้านจะเข้าใจดี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 269 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 269 ครั้ง
 
 
  13 ม.ค. 2554 เวลา 22:56:46  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่150) เล่าประวัติชัชวาลย์      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
หลายคนอยากให้ครูที่จบนาฎศิลป์มาเป็นกรรมการ เลยอยากเล่าประสบการณ์ให้ฟังหน่อย ธรรมดาก็เป็นนักเรียนที่ครูจับมารำเพราะตัวเล็กและเป็นโรงเรียนชาย จึงรำเป็นเป็นทั้งชายและหญิงมาตั้งแตปี พ.ศ. 2514

ไม่รู้ว่าพวกคนเก่งเกิดหรือยัง

พ.ศ. 2518-20 ก็สอนฟ้อนรำให้ลูกเสือชาวบ้าน พอเข้ามหาวิทยลัยขอนแก่น ก็เป็นสมาชิก เป็นรองประธานและเป็นประธานชมรมนาฎศิลป์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พ.ศ. 2521-2524 เป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆของอาจารย์แอ้ว ถ้าไปถามอาจารย์เรื่องนาฎศิลป์พื้นเมืองอีสาน อาจารย์จะบอกว่าต้องลูกศิษย์ฉันชัชวาลย์นะเก่ง

พอไปทำงานที่ มศว มหาสารคาม ก็เป็นคนทำวงแคน  ได้เงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยปีละ 2000 บาท เครื่องเสียง เครื่องดนตรีต้องขอเงินอาจรย์บุญถิ่น คิดไรซึ่งได้รับเงินโครงการอีสานเขียวมา แล้วพานิสิตรับงานแสดงใช้หนี้ เป็นคนสอนฟ้อนรำด้วยตัวเอง

พานิสิตทำโครงการนาฎศิลป์สัญจรทั้งภาคตะวันตก ภาคเหนือ และภาคใต้ เพราะฉนั้นจึงคุ้นเคยกับการฟ้อนมาตั้งแต่วิทยาลัยนาฎศิลป์ในภาคอีสานยังไม่ตั้ง

อยากจะบอกคุณโหวดฟ้าว่า “ศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน” เขียนเมื่อ20 ปีที่แล้วซึ่งครูจบปริญญาโทใหม่ๆ เป็นตำราที่นักเรียนนาฎศิลป์ต้องอ้าง และครูที่เขียนอาจารย์ 3 ทุกคนต้องอ้างอิงและคู่มือการฝึกอบรมนาฎศิลป์พื้นบ้านอีสานก็เป็นต้นแบบในการเขียนเอกสารประกอบการขออาจารย์ 3 ยืนยันได้จากอาจารย์เรณู โกสินนานนท์

พวกที่ไม่เห็นด้วยเคยเห็นการแสดงเก่าๆ หรือเปล่า เพราะมี VDO การฟ้อนตั้งแต่ปี 2525  อยากจะบอกผู้ชมจะรักใครชอบใครขอให้เก็บไว้ในใจ การแพ้หรือชนะไม่ใช่เรื่องสำคัญ ถ้าให้ความสำคัญเรื่งแพ้ชนะการแสดงพื้นบ้านของเราก็จะไม่พัฒนา ครูมองเห็นว่า 20 ปีแล้วที่วงโปงลางยังย่ำอยู่กับที่ เมื่อกลับมาสอนที่ขอนแก่นก็อยากพัฒนาให้ไปไกลกว่านี้

ครูไปเป็นกรรมการไม่ได้เสนอตัวไป แต่คนจัดงานเขามาเชิญไปเป็น  ไม่มีใครอยากเป็นกรรมการหรอกถ้ามีผู้ชมที่แพ้ไม่ได่เช่นนี้ การcomment มากแสดงว่าอยากให้พัฒนา คนที่มาเตือนหรือมาตำหนิต้องรู้จักขอบคุณเขา เพราะถ้าเขาไม่หวังดีเขาจะเตือนทำไม เขาอยู่เฉยๆไม่ดีกว่าหรือ ตอนนี้พวกอายุน้อยดูการแสดงไม่ถึง 20 ปีจะรู้หรือว่าอะไรที่เปลี่ยนแปลง เพราะไม่เคยเห็นของดีที่ไม่มีให้เห็นแล้ว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 237 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 237 ครั้ง
 
 
  19 ม.ค. 2554 เวลา 08:10:36  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่151) ถามมาตอบไป      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
1. ระบำจัมปาศรี ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ เป็นคนประดิษฐ์ชุดฟ้อนนี้ ส่วนวิทยาลัยครูมหาสารคามอาจารย์สุพรรณี ซึ่งตอนนี้สอนอยู่ที่ราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ เป็นทำชุด “ฟ้อนนครจำปาศรี” ซึ่งมีตัวเอก ที่เหมือนกันมีอย่าเดียวคือใช้ลายมโหรีอีสาน แต่การนำเสนอเพลงประกอบก็ต่าง สรุปถ้าใครได้ชมก็จะรู้ได้ว่าไม่มีความเหมือนกันเลย

2. นางไห ถ้าดู VCD การแสดงนางไหของวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ยุคแรก ไหซองเขาจะไว้ด้านข้างเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรี และนางไหก็แสดงพร้อมกับนักดนตรีคนอื่นๆ เลิกพร้อมๆกัน นางไหซองคนแรกน่าจะชื่อ อ.นิตยา รังเสนา  แต่วงโปงลางของสถาบันต่างๆก็ไม่ค่อยเห็นผู้ชายดีดไหนะ ยกเว้นวงชาวบ้านเล่นกันเอง

ตอนหลังขนบการแสดงเปลี่ยน เปิดวงต้องมีการโชว์นางไห แล้วส่งกลับก่อนเลิก นางไหต้องออกมาพร้อมกับคนตีกั๊บแก๊บซึ่งแต่ตัวเหมือนพวกรำมวยลาวหรือบางทีก็นุ่งเตี่ยวแบบพวกข่า หลายโรงเรียนพอแต่งแล้วผอมๆเหมือนเขียดน้อย ไม่สง่างาม ถ้านางไหแต่งเป็นพื้นเมืองอีสาน(ลาว) หมากกั๊บแก๊บแต่งตัวแบบข่านุ่งเตียวซึ่งนุ่งเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง  บางโรงเรียนยังเอาแพรวาบ้านโพนมาใช้อีก ซึ่งถ้าถามเรื่องนี้เป็นเรื่องผิดฝาผิดตัวเอามาประสมแล้วไม่ลงตัว ข่ากับลาว
หมอลำอุดมศิลป์เคยเล่าให้ฟังว่า คนแต่ก่อนเล่นกั้บแก้บก็นุ่งเสื้อใส่ผ้าขาวม้า ใส่กางเกงธรรมดา ไม่เห็นจำเป็นต้องแต่งแบบมวยลาว รู้สึกเรื่องนี้แม่ฉวีวรรณ ครูแอ๊ว อาจารย์วีณา วีสเพ็ญและครูเห็นตรงกันว่าไม่เหมาะสม

วงโปงลางส่วนใหญ่มักจะลืมไปว่า ไหซองกับกั้บแก้บ นั่นคือเครื่องดนตรี เมื่อเป็นเครื่องดนตรีก็ต้องทำหน้าที่ในวง  อย่างน้อยท่าฟ้อนของนางไหก็ควรจะมีท่าดีดไห ไม่ใช่เต้นเป็นโคโยตี้ หรือกั้บแก้บเองก็ควรจะตีให้มีเสียงดังไม่ใช่ควงกั้บแก้บเล้าโลมนางไห อันที่จริงถ้าอยากจะโชว์ฟ้อนเกี้ยวกันนั้น ให้ผู้ชายตีกั้บแก้บยาว ผู้หญิงเล่นกั้บแก้บสั้นก็ได้ สมัยก่อนก็มีการละเล่นแบบนั้นอยู่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 245 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 245 ครั้ง
 
 
  19 ม.ค. 2554 เวลา 09:09:59  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่152) ถามมาตอบไป      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
3. ฟ้อนเทิดพระเกียรติของอนุกูลนารีที่บอกว่าฟ้อนต่ออีกยาวนั้น (โรงเรียนอื่นๆก็เช่นกัน) การเทิดพระเกียรติโดยใช้คำร้องเป็นคำกล่าวถวายพระพร พอถวายพระพรเสร็จยังฟ้อนต่อไป ทำให้ไม่เข้าใจว่าจะถวายพระพรหรือจะฟ้อนสนุกสนารื่นเริง เพราะการให้เวลาตอนหลังมาก ทำให้เทิดพระเกียรติเป็นเรื่องรอง และจำไม่ได้โรงเรียนไหนที่ยกเท้าขึ้นสูงตลอดในการำถวายพระพรซึ่งไม่ค่อยเหมาะสม ส่วนการใส่เสื้อสีอะไรก็ได้ ไม่ได้หมายความว่าสมเด็จพระราชินีต้องสีนี้ แต่costume คือชุดการแสดงมีความสวยงาม สวมใส่แล้วเน้นความงามของผู้แสดง การเทิดพระเกียรติก็กล่าวโดยเนื้อเพลงอยู่แล้ว จริงๆแล้วการใช้การขับร้องประกอบก็เอาแบบอย่างนาฏศิลป์ภาคกลางแล้วรำตีบทก็ไม่มีข้อห้ามอย่างไร

4. เรื่องอื่นๆที่ศิษย์น้องถามนั้นจะไม่ตอบ เพราะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทุกเรื่องหรือดู VCDย้อนหลังได้

5. ผู้ตัดสินเป็นมนุษย์ทุกคนมีอารมณ์ดีใจ เสียใจ สุข ทุกข์ ไปตัดสินแล้วนั่งเป็นสากกะเบือก็แสดงว่าการแสดงนั้นไม่นาอภิรมย์เลย ถึงพวกนี้มีคำถามมากมายแลดงไม่ได้ตั้งใจดูแต่กลับมาคอยดูกรรมการเสียนี่

6. หากต้นแบบที่น่าจะนำไปเป็นแบบอย่างในการแสดงของวงโปงลางทำการแสดงออกมาผิดออกมาก็มีบ้าง ถ้าคิดว่าผิดก็แก้ไขเสียก็หมดเรื่อง เรื่องชุดไทพวนก็ต้องเคารพคนประดิษฐ์ชุดการแสดง ทั้งชมรมนาฏศิลป์หนองคายและวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ เขาก็มีหลักคิด เหตุผลของเขาอยู่เช่นกัน หากเราใจกว้างพอก็จะเห็นทั้งข้อดีและข้อด้อย ถ้าดีก็รับไว้ถ้าด้อยก็ปรับปรุง อีกอย่างพวนที่อยู่ในประเทศเราทั้งหาดเสี้ยว ใช้ผ้าตีนจก เสื้อคอกลมมีกระดุมหน้า ซึ่งภาคเหนือใช้กันมาก
อย่างพวนบ้านผือก็แต่งอีกแบบ พวนสิงห์บุรีก็แต่งอีกอย่าง สิ่งที่โอ๊ตเขียนมานั้นก็ดีแต่มันไม่ใช่งานวิชาการ ใครจะมาเชื่อเรา โอ๊ตเคยทำอะไรขนาดที่วิทยาลัยนาฏศิลป์เขาจะมาเปลี่ยนแปลงตาม ถ้าโอ๊ตเห็นว่าฟ้อนไทพวนที่ดี ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร แล้วทำออกมาเผยแพร่ ก็จะเป็นสิ่งที่ดีต่อวงการนาฏศิลป์

การประดิษฐ์ชุดฟ้อนสมัยก่อนมีเงินจำกัดก็ทำไปตามมีตามเกิด เอาหัวซิ่นบ้านหนองเขื่อนมาทำเป็นสไบ เอาสร้อยม้งสองร้อยมาใส่ แต่ตอนนี้ Costume ต้องเริ่ด สวยงามปราณีตเพราะฉะนั้นจะสู้วงหมอลำไม่ได้ แต่ฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ (เช่นฟ้อนผู้ไท หรือเรือมต่างๆของเขมรถิ่นไทย)ก็ต้องรักษาไว้ให้ถูกต้อง แต่ไม่ใช่เห็นชาวบ้านเขาใส่ชุดไปดำนาแล้วก็จะเอาชุดนั้นมาเป็นชุดการแสดง ผู้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนก็ต้องปรับปรุงให้มีความสวยงามซึ่งอนุญาตให้ทำได้

ชุดฟ้อนไทพวนนั้น พวนที่ประเทศลาวกับประเทศไทยก็แต่งต่างกัน ถ้าคิดเสียว่าเป็นชุดฟ้อนประกอบทำนองขับลำก็จบไม่ต้องไปตามหาว่าไทพวนแต่งอย่างไร เพราะไปหาเขาๆก็ไม่ได้ร้องเพลงอย่างนี้ ฟ้อนแบบนี้  จากที่ศึกษามาเขาก็นั่งขับโต้ตอบชายหญิง มีแต่แคนเป้าคลอเวลาผู้ชายขับ ส่วนผู้หญิงขับแบบไม่มีแคน ไม่มีการฟ้อนประกอบด้วยซ้ำ

ดังนั้นเอาสักอันก็แล้วกันไม่ต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อันนี้ต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ชุดผู้ไทบ้านโพนกับกุดหว้า (หมายถึงคำม่วงกับกุดฉินารายณ์) ต่างกันจนเห็นได้ชัดเจน ถ้าจังหวัดอื่นเอาไปใช้ผิดยังพออภัยได้เพราะบอกว่าไม่รู้ แต่ถ้าวงจากจังหวัดกาฬสินธุ์บอกว่าไม่รู้ไม่ได้ ว่างๆขี่จักรยานไปเที่ยวหนองห้าง กุดหว้าหรือไปดูที่ทำการเทศบาลหรือ อบต.กุดหว้าจะมีหุ่นใส่ชุดโชว์ไว้ว่าแต่งตัวอย่างไร

 
 
สาธุการบทความนี้ : 288 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 288 ครั้ง
 
 
  19 ม.ค. 2554 เวลา 09:17:57  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่159) อ้ายโอ๊ตโดยเฉพาะ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
การแสดงเป็นวัฒนธรรม วัฒนธรรมคือความเจริญงอกงาม ดังนั้นถ้าโอ๊ดพิจารณาจากการแสดงหมอลำปัจจุบันว่ายังเหมือนหมอลำสมัยก่อนหรือไม่ ก็คงตอบได้ว่าไม่ใช่ ดังนั้นวัฒนธรรมก็คือการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นนั่นเอง

การแสดง (Performing Arts) ก็คือการแสดงที่มึผู้แสดงและผู้ชม ผู้ชมก็อยากเห็นที่สวยๆงามๆ ไม่ใช่ผู้แสดงใส่เสื้อผ้าเหมือนกับผู้ชม ถ้าอย่างนั้นก็ไม่เรียกว่าการแสดง การแสดงที่ไม่สวยงามไม่มีการสืบทอด (reproduction) ก็จะล้มหายตายจากไป การประดิษฐ์ชุดฟ้อนถือเป็นการรังสรรค์วัฒนธรรมของชาติให้เจริญงอกงามให้นานาอารยประเทศเห็นความอุดมสมบูรณ์และความเจริญงอกงามของชาติ ดังนั้นครูนาฏศิลป์จึงไม่มีใครไปจดลิขสิทธิ์ เพื่อบอกว่าเป็นของตน แต่ครูนาฏศิลป์ที่ประดิษฐ์ชุดฟ้อนมองว่าเป็นการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของชาติ เป็นของชาติเป็นของประเทศไม่ใช่ไว้ชื่นชมเพียงคนเดียว โดยอย่างยิ่งชุดการแสดงต่างๆที่ผระดิษฐ์ขึ้น โดยการแสดงทั้งหมดมีทั้งดี ไม่ดี สวยงามมาก สวยงามน้อยก็แล้วแต่ความชื่นชมของผู้ชม ผู้ชมก็มีรสนิยมต่างๆกัน ถ้าเป็นครูดูแล้วอิ่ม เต็มก็ใช้ได้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 199 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 199 ครั้ง
 
 
  19 ม.ค. 2554 เวลา 17:05:04  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่160) ถึงอ้ายโอ๊ด      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
1. การประดิษฐ์ชุดฟ้อนแล้วพยายามทำเครื่องแต่งกายให้เหมือนเดิม ก็เป็นความเชื่อของครูเช่นกัน แต่พอไปคุยกัยอาจารย์ลำทอง ศิลปินแห่งชาติของลาวเขาบอกว่าถ้าเอามาดิบๆ ไม่สามารถนำเสนอให้เป็นสากลได้ นาฏศิลป์คือทำให้มีความสวยงามทั้งการฟ้อนที่ประณีตและการแต่งกายให้สวยงามขึ้น ส่วนการแต่กายที่สะท้อนกลุ่มชนเผ่าต่างๆ แตกต่างกับการฟ้อนประเภทอื่นที่มีประเพณี ความเชื่อและLocation กำกับ ซึ่งต้องให้เหมือนกับของเดิมอันนี้ผิดแน่นอน ดังนั้นชุดไทพวน ถ้าจัดเป็นฟ้อนประกอบทำนองลำ(ขับพวน, ขับเชียงขวาง)ก็ถือเป็นฟ้อนเบ็ดเตร็ดไม่มีความเชื่อและวัฒนธรรมกำกับก็ขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ ถ้าฟ้อนไทพวนเป็นฟ้อนของชาติพันธุ์ไทพวนก็ต้องใส่ชุดให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม ตกลงฟ้อนไทพวนเป็นฟ้อนของลาวก็แต่งตามลาว แต่ถ้าเป็นฟ้อนของอีสานก็ไม่จำเป็นต้องแต่งตามประเทศลาว ตกลงฟ้อนไทพวนเป็นของไทยหรือลาว ชุดที่โอ๊ตโพสมา คณะละคอนสุดสะแนนก็มี เขาเคยเอาให้ดู ลืมบอกไปครูจบบรรณารักษ์เป็นบรรณารักษ์รุ่นบุกเบิกของศูนย์เอกสารอีสาน มศว มหาสารคาม หรือศูนย์สารสนเทศอีสานสิรินธรของ มมส. ในปัจจุบัน ก็มีคำถามว่าการนำชุดลาวมาใส่ถือเป็นชุดอีสานหรือไม่เหมาะสมหรือไม่ หรือต้องยกการประดิษฐ์ชุดฟ้อนชุดนี้ให้แก่ประเทศลาวไป ครูถึงบอกว่าเรื่องนี้จบง่ายถ้าถือว่าเป็นชุดฟ้อนประกอบทำนองลำซึ่งแต่งอะไรก็ไม่มีปัญหา

2. พอ comment ผ้าแพรวาแล้วทุกวงเลิกใช้แพรวาก็ไม่ใช่ฟ้อนอะไรก็ได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของชนเผ่าก็ใช้ได้ สมัยก่อนก็ใช้ฝ้ายหนุน ใส่สร้อยแม้ว เพราะมีเงิน 2,000 บาททำอะไรได้ เดียวนี้ดีขึ้นก็ควรปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น คนรุ่นใหม่มองคนรุ่นเก่าด้วยแว่นอันใหม่ แต่ไม่เคยเข้าใจเงื่อนไขของคนรุ่นเก่าว่าเขาทำด้วยความทุกข์ยากอย่างไร แล้วก็บอกว่าคนรุ่นก่อนทำไม่ได้นี่ห่างมาตั้ง 20 ปี ลองดูตัวเองอายุสัก5 ขวบกับปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปมากอย่างไรก็จะเข้าใจคนรุ่นก่อนที่เขาต่อสู้สร้างหลักปักฐานให้คนรุ่นใหม่ ถ้าไม่มีกลุ่มครูๆ หรือวิทยาลัยนาฏศิลป์ก็ไม่มีวงโปงลางเช่นปัจจุบัน

เรื่องผ้าแพรมนบ้านโพน กับหนองห้าง, กุดหว้าใช้ร่วมกันไม่ได้เพราะชุดผู้ไทมันไม่เหมือนกันแล้วก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะทำให้ถูกต้อง โอ๊ตคงไม่เข้าใจเรื่องทางมนุษยวิทยา คติชนวิทยา เธออาจไม่ได้เรียกกับอาจารย์จิ๋ม (จารุวรรณ ธรรมวัตร หรือวีณา วีสเพ็ญ)ถึงได้ไม่เข้าใจสิ่งที่อธิบาย ดังนั้นถ้าโอ๊ตอยากอธิบายว่าคนอื่นผิดหรือถูกควรศึกษาให้มากกว่านี้

3. การฟ้อนที่ไม่ได้มาตรฐานทั้งท่าฟ้อนและลีลาก็เห็นเหมือนกันดูแล้วปวดใจ รวมทั้งการรำไทยเพลงอีสาน ฟ้อนแล้วไม่เป็นอีสานเหมือนดูฟ้อนลำเพลินดูแล้วใช่ แต่"ไม่ใช่" มันไม่ได้ความรู้สึกเป็นลำเพลิน ครูกำลังจะเขียนโครงการกำหนดมาตรฐานการแสดงฟ้อนอีสานสำหรับชุดเก่าที่ครูมีความรู้เพื่อให้การสืบทอดไม่เลอะเลือน ไม่ต้องอื่นหรอกฟ้อนที่คิดก่อนไปเรียนปริญญาโทกลับมานักศึกษาก็ยังฟ้อนมั่วไปหมด พอแนะนำก็อวดรู้ดี เลยถามทราบไหมว่าฟ้อนนี้ใครคิด ตอบไม่รู้ก็เลยบอกไปว่า(กู)ครูเองถึงได้ยอมเชื่อ เด็กๆเก่งทุกคน เก่งกว่าครูที่คิดเองอีก แล้วอย่างเลิกเรียกนักฟ้อน,นางฟ้อน ว่าช่างฟ้อนเสียที่ นึกว่าคุยเรื่องการแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือภาคอีสานหรือลาวเองก็ไม่เรียกช่างฟ้อนกัน

4. โอ๊ตตื่นเสียที่เลิกวิจารณ์คนอื่นว่าดีไม่ดี แต่ต้องทำสิ่งที่ดีมาอวดคนอื่นเป็นคนพูดแล้วไม่ทำไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าเห็นเขาทำฟ้อนไม่ดีก็อย่าเอาชุดฟ้อนนั้นไปแสดงก็หมดเรื่อง การตอบเว็บนี้ก็เพื่อให้คนสนใจในเรื่องนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานและความรู้เรื่องนาฏศิลป์พื้นบ้านได้เข้าใจได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น แล้วอย่าคิดว่าคนรุ่นเก่าเขาทำชุดฟ้อนโดยไม่มีโดยไม่มีหลักการเขาทำวิจัยน้อยๆก่อนทำชุดการแสดงทั้งนั้น ชุดการแสดงจึงมีการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ครูเห็นการประดิษฐ์ชุดฟ้อนใหม่ๆ แล้วไม่เข้าใจมีแต่ท่าฟ้อนแต่ไม่รู้ว่าต้องการสื่อสารอะไรกับผู้ชม ทำเหมือนกับหางเครื่องวงดนตรีลูกทุ่งหรือลูกทุ่งหมอลำที่ออกมา ลองไปดูฟ้อนใหม่ๆ หลายชุดมีแต่ท่ารำสวยงามแต่ไม่สื่อสาร   การแสดงคือการสื่อสารเรื่องราวโดยใช้ Body language

 
 
สาธุการบทความนี้ : 456 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 454 ครั้ง
 
 
  19 ม.ค. 2554 เวลา 17:05:33  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่167) อ่านหนังสือแล้วจับประเด็นไม่ได้      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
1.ฟ้อนไทพวน ถ้าจัดอยู่ในกลุ่มของฟ้อนประกอบทำนองลำ ก็แต่งกายอย่างไรก็ได้ถือเป็นฟ้อนเบ็ดเตร็ด ถ้าฟ้อนไทพวนเป็นฟ้อนของกลุ่มชาติพันธ์ก็ต้องไปดูว่าเขาแต่งกายเป็นอย่างไร ถ้าพวกพวนที่เชียงขวางแต่งจะแต่งตามเขาตกลงเป็นฟ้อนอีสานหรือฟ้อนของประเทศลาว แสดงว่าเราไปเอาการแสดงของเขามาใช่หรือไม่ ตอบว่าไม่ใช่เพราะพวนเชียงขวางก็ไม่มีการแสดงลักษณะนี้ ซึ่งขับลำไทพวนก็เห็นร้องกันมานานพร้อมๆกับลำทำนองต่างๆ ถ้าให้พิจารณาจะจัดกลุ่มอยู่ในฟ้อนประกอบทำนองลำ เข้าใจไหม ไม่เคยบอกว่าถูกหรือผิด  การเป็นผู้ชมก็ต้องให้เกียรติคนคิดชุดฟ้อน เขาทำไม่ถูกก็อย่านำมาแสดงเดียวมันก็หายไปเอง

2. คุณคงไม่ใช่คนกาฬสินธุ์ เพราะไม่สามารถแยกแยะผู้ไทกลุ่มต่างๆได้ หลักการเดียวเรื่องชาติพันธุ์ผู้ไทมีหลายกลุ่มแต่ละกลุ่มก็แต่งกายแตกต่างกัน ฟ้อนผู้ไทกาฬสินธ์จะใส่บ้านโพนก็บ้านโพนให้หมด จะมาใส่ของหนองห้าง กุดหว้าก็ใส่ทั้งชุดเพราะเป็นเรื่องชาติพันธุ์ ถ้าใส่ไม่เหมือนกันก็ผิด ยังดันทุรังมาถามอีก จะให้การแสดงเป็นหัวมงกุฏท้ายมังกร อันนี้แหละความสำคัญของชาติพันธุ์เขาใส่ไม่เหมือนกัน ถ้าถามเรื่องนี้อีกลองไปให้คนอื่นอ่านแล้วตีความซิว่าครูต้องการบอกอะไร งั้นก็มาพบที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ ชัยภูมิกับขอนแก่นไม่ไกลนักใช่ไหม จะได้ให้ดูและอธิบายให้ชัดๆ

การแสดงของไทยแต่เดิมก็หยิบยืมมาประเทศอื่นๆ แต่ไม่ได้ลอกเขามาเอามาแล้วปรับเปลี่ยนให้เป็นของไทยเพราะเป็นมรดกของชาติ เมื่อเธอแต่งกายตามแขกเต้นตามแขกแล้วบอกว่าเป็นนาฏศิลป์ไทยคนก็บอกว่าไม่ใช่ ดังนั้นการแต่งกายก็ต้องปรับให้เป็นอีสานถึงจะมีโครงเค้าให้เขาใจว่ามาจากไหน แต่ต้องตระหนักให้ได้ว่าคุณกำลังประดิษฐ์ชุดฟ้อนอีสาน อีสานมีชนชาติพวนไหมมีที่บ้านเชียง แต่เขาก็กลายเป็นอีสานไปแล้ว อยากจะดูไทลื้อ ไปดูที่สิบสองปันนาก็กลายเป็นจีนใส่ผ้าเจ็กไปหมดแล้วเช่นกัน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 185 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 185 ครั้ง
 
 
  19 ม.ค. 2554 เวลา 22:29:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่172) เรื่องขำ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
อ้ายโอ๊ต  ไม่ต้องก๊อปปี้คำพูดของน้องฟายเฟือยฟ้อนมาให้ครูอ่านให้เข้าทำนองตีวัวกระทบคราดหรอก เพราะครูไม่ใช่ทั้งคราดและวัว หนูทีเองเขาก็เคารพนับถือครูดีอยู่ แถมเป็นเด็กดีน่ารักไม่ดื้อรั้น

มาที่เรื่องผ้าดีกว่า

ผ้าบางโรงเรียนสวยมาก ที่ชุดไม่สวยไม่ได้บอกว่าผ้าที่ใส่ไม่สวยแต่เป็นชุดการแสดงแล้วมันไม่ขึ้นไฟ สีจืดๆ ถ้าไม่รับฟังก็ไม่ว่าอะไร เพราะบางคนสอนไม่ได้บอกไม่ได้เป็นน้ำเต็มแก้ว ของตูดีกว่าคนอื่นทั้งหมด อันที่จริงการประกวดครั้งนี้ครูไม่เห็นอาจารย์ท่านเดือดร้อนเลย มีแต่คนอื่นเท่านั้นที่เดิอดร้อน เขารับฟังอาจจะพอใจมั่ง ไม่ตรงใจมั่งแต่ดูจากการแสดงที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและที่เชียงคานทุกโรงเรียนมีการพัฒนาที่ดีขึ้น แสดงว่าคำแนะนำมีประโยชน์ยกเว้นสองคนที่กำลังแถอยู่นี่


ถ้าออกแบบเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่าสวยก็เอาไว้ใส่อยู่ที่บ้าน ถ้านำมาแสดงต้องให้คนอื่นเขารู้สึกว่าสวยด้วย ชุดแสดงบางชุดสวยมากแต่พอขึ้นเวทีกับไม่งามเท่าที่ควร บางคนบอกว่าสีเดียวก็ดีอยู่แล้วพอขึ้นเวที่สิ่งที่ควบคุมไม่ได้คือแสง  ถ้าสั่งเกตนักแสดงที่นุ่งซื่นไหมดูใกล้ๆงามมากพอขึ้นเวทีจืดไปเลยเพราะลายละเอียดเกินไป บางโรงเรียนใช้ผ้าเจ๊กแต่เลือกลายใหญ่เห็นได้ชัดเจนกับเด่ดกว่า ดูมีราคาเหมือนบางคนใส่เพชรก็รู้สึกว่าใส่หุงคือใส่ของไม่จริงบางคนใส่ของไม่จริงแต่รู้สึกว่าเป็นของจริง
(ตอนนี้ผ้าถุงบ้านโพนก็เปลี่ยนไปไม่งามเท่าเดิม สมัยก่อนเป็นสีน้ำเงินออกแดง แต่ตอนนี้ออกน้ำตาลมาก

 
 
สาธุการบทความนี้ : 198 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 198 ครั้ง
 
 
  20 ม.ค. 2554 เวลา 10:23:21  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่181) ตอบเป็นครั้งสุดท้าย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
1.เรื่องไทพวน ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนคิด ต้องถามคนคิดว่าเขาทำในเป้าหมายใด

2. เมื่อไม่ได้เป็นคิดก็ต้องให้  "เกียรติ"  คนคิดประดิษฐ์ชุดฟ้อน เมื่อให้คำแนะนำหรือคำท้วงติ แล้วเขาไม่ทำก็เรื่องของเขาไม่ใช่เรื่องของเรา ไม่ใช่มาชวนทะเลาะเอาเป็นเอาตาย มันเป็นมารยาท  ถ้าไม่อยากใส่ชุดของเขาก็ทำใหม่ เหมือน ปี 2532 ครูจะจัดแสดงระบำโบราณคดีอีสาน ก็มีระบำพนมรุ้งของวศน. กาฬสินธิ์ ดนตรีเป็นทำนองอีสานใต้เพราะมาก แต่มีข้อเสีย วศน. กาฬสินธิ์ให้ผู้ชายแต่งชุดชาวบ้านแล้วมาแสดงศิวะนาฏราชคล้ายรูปจำหลักที่โคนประตูที่มีภาพศิวะนาฏราช ที่พนมรุ้ง ก็รู้สึกค่อยไม่ถูกต้อง/ไปดูของจังหวัดบุรีรัมย์มีระบำพนมรุ้งใช้เพลงเขมรขาวรำเป็นไทยเลยก็ไม่ชอบ /หันมาดูกรมศิลปากรก็มีอัปสรพนมรุ้งก็ใช้ขนบเดิมเหมือนระบำโบราณคดีทั่วไปก็รู้สึกซ้ำ / จึงประดิษฐ์ใหม่โดยพยามยามจะรวมทั้ง 3 ชุดเข้าด้วยกัน จึงใช้เพลงของ วนศ. กาฬสินธ์เป็นต้นแบบ ใช้ท่าของอัปสรพนมรุ้งเป็นท่าบวงสรวงอัญเชิญศิวะนาฏราช หลังจากแสดงศิวะนาฏราชแล้ว ใช้เพลงอีสานใต้ชาวบ้านแสดงการรื่นเริง น่าจะใช้แสดงครั้งเดียวต้องถามโหวดฟ้าว่ายังมีการแสดงอยู่หรือไม่

3. แต่อยากบอกว่าผู้ประดิษฐ์ชุดการแสดงที่ทำขึ้นใหม่ ให้เป็นสมบัติของภาคอีสานและเป็นของชาติต้องมีเอกลักษณ์มีความเป็นอีสาน ต้องมีการปรับไม่ให้เหมือนของประเทศลาว เพราะเรารังสรรค์การแสดงพื้นบ้านอีสาน เช่น ฟ้อนสาละวันของ มมส. อาจารย์วีณา ก็ใช้ชุดอีสานแสดง เพราะเราใช้ทำนองเพลงของเขาถ้าเอาชุดเขามาอีกแล้วบอกว่าของเราคงไม่ถูกต้อง โหวดฟ้าพูดถูก วัฒนธรรมมีการเลื่อนไหลเราสามารถใช้ทำนองเพลงทั้งสองฝั่งโขงมาทำฟ้อนได้อีกมาก ถ้าเราถือว่าเป็นเพลงประกอบทำนองลำก็ใส่เสื้อผ้าอีสาน

4. ทำไมต้องใส่ใจชุดแต่งกายภูไทเพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เรานำเอาวัฒนธรรมของเขามาเสนอให้ผู้ชม ซึ่งเป็นการสื่อสารให้ความรู้ทั้งชุดการแสดง และการฟ้อนจึงต้องมีความถูกต้อง ผู้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนก็ต้องให้เกียรติกับเจ้าของวัฒนธรรมเข้าด้วย และเท่ากับให้ความรู้ผู้ชมไปในตัว

5. ครูรู้ว่าโอ๊ตไม่สนใจคำตอบของครูหรอกเพราะโอ๊ตเชื่ออย่างฝังหัวแล้วต้องเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ก็ตามใจ  แต่ที่ครูเขียนเพื่อให้ความรู้สำหรับคนที่สนใจนาฏศิลป์พื้นบ้าน ซึ่งครูมีประสบการณ์กว่า 20 ปีแล้วก็เฝ้ามองความก้าวหน้าของการแสดงพื้นบ้าน ก็เอามาเล่าให้ฟัง ไม่ต้องเชื่อสิ่งที่ครูเขียน ต้องไปคิดเอาเองซึ่งขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญาของผู้อ่านว่าจะเข้าใจสิ่งที่เขียนหรือไม่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 219 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 218 ครั้ง
 
 
  21 ม.ค. 2554 เวลา 01:49:14  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่182) ขอแก้ไข      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ตอนวิจารณ์โรงเรียนอนุกูลนารีในเรื่องเซิ้งสวิง ที่จริงเป็นของเลยพิทยาคม

ต้องขอโทษโรงเรียนอนุกูลนารีด้วย รู้สึกว่าอนุกูลนารีแสดง ฟ้อนชุดแพรวากาฬสินธุ์

 
 
สาธุการบทความนี้ : 240 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 240 ครั้ง
 
 
  21 ม.ค. 2554 เวลา 01:51:38  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่187) เรื่องกาปรับชุดการแสดง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
1. ฟ้อนมหาชัย ครูทำเองเพลงก็ไม่เหมือนกัน เนื้อเพลงก็ไม่เหมือน การแต่งกายก็ไม่เหมือนกันแต่ที่เหมือนกันคือทำนองลำมหาชัย และท่าฟ้อนบางส่วนแต่ขนบการนำเสนอเปลี่ยนทั้งหมด
2. สาละวัน ไม่มีการฟ้อนในประเทศลาวเพราะเอาเพลงนี้มาจากนักร้องชาวลาวในศูนย์อพยพ จริงๆแล้วเรื่องมากน้อยไม่ใช่ประเด็น แต่ชมการแสดงแล้วรู้สึกว่าเป็นประเทศลาวหรือเป็นของอีสาน
3. ต้องทำใจกับการแสดงชุดใหม่ครูอยากเห็นพัฒนาการอย่างเช่นอาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ทำฟ้อนเทวดา อย่างที่บอกตอนแรก วนศ. รับไม่ได้ ครูเพิ่งพานักศึกษาขอนแก่นไปดูงานที่เชียงใหม่ออกรถตี 4 แต่ตัดสินอยู่เชียงคานเกือบตี1 ดังนั้นหลายคนจึงรู้สึกว่า Commemt พูดไม่ดี จริงๆแล้วไม่อยากพูด เพราะต้องขับรถจากเชียงคานมาขึ้นรถตู้ที่ขอนแก่นตี 4.00 น. แล้วให้อาจารย์ผู้ใหญ่รอก็เสียมารยาทมาก
ไปเชียงใหม่พานักศึกษาไปกินขันโตก ร้านเบญจรงค์ขันโตก การตอนรับมีกลองยาวเหมือนสิบสองปันนา แล้วมีฟ้อนเทวดา อาจารย์ทรงศักดิ์ ปรางศ์วัฒนกูลอาจารย์ มช. ก็บอกว่า วนศ. ตอนแรกก็ต่อต้านก็หลังก็เอาไปแสดง ครูถึงบอกว่าแสดงถ้าดีก็มีคนเอาไปทำซ้ำ ถ้าไม่ดีเขาไม่เอาไปการแสดงก็หายไปเอง

ต่อไปถ้าเอาวงโปงลางประสมวงออเครสตร้า แล้วมีการแสดงคล้ายบันเล่ผสมฟ้อนคุณจะคิดอย่างไร อันนี้ก็เป็นแนวโน้มของประเทศลาวที่ใช้อยู่ครูก็ค่อนข้างเห็นด้วย งั้นจะยกการแสดงอีสานให้เป็นสากลได้อย่างไร ก็คงมาทะเลาะกันในเรื่องไม่เป็นเรื่อง เรามีคนเก่งๆหลายคนเช่น โอ๊ต โหวดฟ้า ช่วยกันคิดฟ้อนใหม่ให้เป็นสมบัติของชาติในขณะที่เรามีชีวิตอยูดีกว่า

4. ศิลปะอาจจะไม่มีถูกไม่มีผิด  แต่การแสดงมีถูกมีผิดถ้าคนเอาฟ้อนมหาชัยที่ครูคิดไปทำมั่วๆ หรือระบำจัมปาศรีไปแต่งกายบ้าๆบอๆ อันนี้ผิดเพราะผิดจากต้นฉบับ

โอ๊ตถามเรื่องภูไท

  4.1 ภูไทสกลนคร แต่เดิมมีเพลงประกอบ อันนี้ไม่มีผู้ชายแสดง แน่นอน หลายคนพอทำภูไทสามเผ่าก็ตัดเอาเฉพาะเนื้อท่อนแรกมาใช้ แล้วรำตีบทเราก็รู้สึกอย่างไรไม่รู้ แต่ไม่มีผู้ชายแน่นอน

4.2 ภูไทกาฬสินธ์ ไม่มีผู้ชายแสดงเหมือนกันส่วนใหญ่เอาท่าฟ้อนโปงลาง ของ มศว. มหาสารคาม รุ่นปี 2525 และท่านั่งของฟ้อนศรีโครตบูรณ์ ซึ่งก็ไม่ค่อยชอบ เพราะบางท่าเป็นท่าเอกลักษณ์ของแต่ละชุด อยากให้แต่ละชุดมีท่าที่เป็นเอกลักษณ์ของเขา การประดิษฐ์ท่าใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก สรุปว่าไม่มีผู้ชาย

  4.3 ภูไท เรณู มีผู้ชายแน่นอนขาดไม่ได้เพราะมี่ท่าเกี้ยว ภูไทเรณูดูเมื่อประมาณ ปี 30 ที่พระธาตุพนมสวยงามมาก แต่เดี๋ยวนี้ดูไม่ได้เหลือสวยๆไม่กี่คู่ และหลายท่าก็เปลี่ยนไป

จะให้ Comentเรื่องชุดใช่ไหม ภูไทเป็นเรื่องชาติพันธ์ก็น่าจะให้สอดคล้องกับกลุ่มชาติพันธ์ อย่างเรณูครูว่าไม่มีใครใส่ชุดนี้อยู่บ้านแน่นอนสำหรับชุดผู้หญิงนะ ถ้าเขาไปเอาเสื้อผ้าชาวเรณูในตู้มาแสดง ก็คงไม่ใช่ฟ้อนภูไทเรณู แสดงว่าชาวเรณูได้ประดิษฐ์ชุดแต่งกายที่ใช้ฟ้อนขึ้นมาจนเป็นเอกลักษณ์ของเขาแล้ว เราเห็นชุดสามารถสื่อสารได้ว่าเป็นเรณู ส่วนสกลนครก็เช่นเดียวกันกรมศิลป์นำไปทำจนคนรับรู้ทั้วไปว่าเป็นชุดภูไทสกลนคร แต่กาฬสินธ์นะไม่ใช่เพราะการสินธ์มีภูไทหลายกลุ่ม ดังนั้นจะเอาของกลุ่มไหนก็ได้ แต่ไม่ใช่เอามาปนกัน

5. สมัยทำชุดฟ้อนประมาณปี 2527-32 ชุดการแสดงยังมีไม่มากก็ถือชุดฟ้อนศรีโครตบูรณ์และฟ้อนภูไทเรณู ฟ้อนโปงลาง ฟ้อนบั้งไฟ ตังหวายของอุบลเป็นแบบฉบับและฟ้อนของอีสานใต้พวกเรือมอันเร ในความคิดของครูความเป็นอีสานก็คือดูทีลีลาการฟ้อนจะเห็นว่าทำไม่ในการประกวดจึงไม่พูดท่าฟ้อนเลยเพราะเด็กๆเขาเก่งฟ้อนดีทุกคน แต่จะดูลีลา ดู Line ตรงกันไหมถ้าซ้อนกันมือเท่ากันไหมก็ความเป็นระเบียบ ช่องไฟเพราะเรื่องพวกนี้สะท้อนการฝึกซ้อมว่าทำจนเกิดความชำนาญหรือเปล่า หมุนตัวแล้วต้องยืนให้ช่องไฟเท่ากันมันไม่ง่ายจึงชื่นชมสว่างแดนดินแสดงว่าเขาฝึกหนักถึงทำได้อย่างนั้น สมัยที่สอนรำเอาไม้คอยตีมือเช่นถ้าฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำพอซ้อนกันจะต้องให้เห็นมือในระดับเดียวกันเท่านั้น ครูก็เป็นมือใหม่ในการตัดสินแต่หลักที่นำมาตัดสินก็คือประสบการณ์ในการสอนนักศึกษานั่นเอง แล้วก็ดูของฝรั่งเขาเต้นเตะเท้าเท่ากันเป็นระเบียบ ดังนั้นการฟ้อนเป็นหมู่จึงต้องใส่ใจกับการจัดระเบียบ บางคนบอกว่าเอาไม้วัดระยะช่องไฟเว่อร์ เพราะตอนเราสอนรำเองเด็กก็ทำไม่ได้จึงทึ่งที่สว่างแดนดินทำได้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 255 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 255 ครั้ง
 
 
  21 ม.ค. 2554 เวลา 10:14:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่193) ไทพวน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
1. ถ้าต้องการทำชุดไทพวน ก็ลองดูพวนในประเทศไทย เช่น การแต่งกายของไทพวนที่ลับแล- อุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย-สุโขทัย เสาไห้-สระบุรี คูบัว-ราชบุรี บ้านไร่-อุทัยธานีซึ่งเป็นผ้าตีนจกราคาค่อนข้างสูงแต่สวยแน่นอนเพราะเราทำไทพวน ไม่ได้ทำลาวพวน แล้วบอกให้เลย ชนเผ่าต่างๆในประเทศไทย ดำรงเอกลักษณ์ความเป็นชนเผ่าได้ดีกว่าต้นกำเนิด เช่น ลาวโซ่ง-เพชรบุรียังดำรงชีวิตใกล้เคียงกับสมัยร้องกว่าปีที่อยู่เมืองแถง ซึ่งไปหาไทยลื้อที่สิบสองปันนา ก็ไม่ใส่ชุดลื้อแล้ว ใส่ผ้าเจ็กหมดไม่มีการใส่ชุดลื้อเลย แต่ที่ยังคงวัฒนธรรมไว้  กลายเป็นไทลื้อที่จังหวัดน่าน เดือนหน้าจะไปเชียงขวาง     ซำเหนือ หัวพัน จะลองดูว่าชุดลาวพวนยังใส่ชุดที่ว่านั่นอยู่หรือขายให้ฝรั่ง ญี่ปุ่นหรืออยู่ในตลาดเช้าของลาว กาดหลวงที่เชียงใหม่หมดแล้ว ส่วนตัวเองใส่ผ้าถุงตลาดของลาวแทน
2. คำถามสไบภูไทเรณู ไว้ข้างนอกหรือทับในเข็มขัด ลองพิจารณาถ้าเราผาดผ้าสไบเราคงไม่ยัดเข้าไปในเข็มขัด(บางคนบอกว่าผ้าสีแดงๆเป็นหัวซิ่น) แต่ทำไม่การฟ้อนภูไทเรณูจึงเอาผ้าแดง(เข็มขัด=ผ้าคาดเอว) ทับสไบ เพราะสไบของเรณูจะยาวกว่าชุดการแสดงอื่นๆ ถ้าแสดงชุดเดี่ยวก็ไม่เป็นไร ถ้าไปสัญจรต้องมีการเปลี่ยนชุดอย่างรวดเร็ว คงไม่มีเวลามาประดิบประดอย ถ้าไม่กลัดเข็มกลัดจะฟ้อนไม่ได้ จึงยัดเข้าไปในผ้าคาดเอวหรือเข็มขัดเสียเพื่อความสะดวกในการแสดง จะเห็นว่าหลักการก็มีความยืดหยุ่นไม่ต้องยึดติดมากจนเกิน (ไป BiG C Marco ยังมีช่องทางด่วนเลย) กฏเกณฑ์ต่างๆก็มีข้อยกเว้น ถ้าไม่ผิดจนให้ความจริงคลาดเคลื่อนก็อนุโลมได้

3. เดี๋ยวมาถามอีกว่าสไบเป็นผ้าพื้นหรือไหมพรมถัก ก็ลักษณะเดี๋ยวกันแต่เดิมก็ใช้ผ้าพื้นๆสีขาว แต่ตอนหลังมีคนถักไหมพรมเป็นก็ลองมาใช้จนเป็นที่นิยมเพราะมีน้ำหนักมากกว่า ฟ้อนภูไทนี้ผู้หญิงใช้สไบยาวกว่าชุดอื่นๆ จึงเปลี่ยนมาใช้ไหมพรมถักเพราะมีน้ำหนักสามารถควบคุมได้ง่ายกว่า

 
 
สาธุการบทความนี้ : 329 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 329 ครั้ง
 
 
  22 ม.ค. 2554 เวลา 09:07:56  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่194) ระบำจัมปาศรี      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
1. ระบำจัมปาศรี ท่าเพี้ยนไม่มาก แต่ลีลาไม่ได้เพราะตอนออกแบบท่าฟ้อน ท่าเคลื่อนไหวจะเป็นท่าฟ้อนอีสาน ท่าหยุดเป็นท่าโบราณคดี การแปรแถวบางโรงเรียนหายไป แต่ถ้าใครรำโบราณคดีได้ก็จะรู้ว่าเอาการแปรแถวของทวารวดีมาใช้เพื่อสื่อสารว่าอาณาจักรจัมปาศรีครอบคลุมสมัยทวารวดี และท่าหยุดเป็นวงของลพบุรี ส่วนท่าท้ายๆของชุดฟ้อนจะเป็นลาวเมื่อเจ้าฟ้างุ้มมาตีเมืองนี้ก็จะใช้ท่าตังหวาย ภูไท โกยมือเพื่อสะท้อนยุคสมัย
ดังนั้นต้องเข้าใจ Concept ว่าถ้าหยุดต้องตั้งวงแบบโบราณคดี ท่าเคลื่อนไหวต้องใช้ทั้งตัวเหมือนกับฟ้อนอื่นๆของอีสาน ดังนั้นยุคหลังแสดงแล้วไม่ได้ความรู้สึกที่ต้องการเพราะไม่มีใครบอกความเป็นมา
2. ครูมีเอกสารประกอบการสอนนาฏศิลป์พื้นบ้านโครงการอีสานเขียวปี 2535 นาน 19ปีแล้ว ตอนที่ทำเป็น DVD พร้อมสะแกนคู่มือทั้งเล่มไว้ ยังไม่รู้จะทำอย่างไรอาจจะแจกให้โรงเรียนที่ต้องการเอาไปดู จะมีฟ้อน 6 ชุดได้แก่ 1. บายศรีสูขวัญ 2.ตังหวาย   3.แถบลาน  4. ศรีโครตบูรณ์   5.สังข์ศิลป์ชัย(ปรับไม่เหมือนของร้อยเอ็ด) 6. จัมปาศรี
ที่จริงมีเทปเสียงประกอบการฟ้อนของทุกชุด แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่าเอามาจากกรุงเทพหมดทุกชุดหรือเปล่า(ตอนทำนั้นมีคู่มือการฟ้อนทกชุด มีVCD มีแถบเสียงประกอบ) ยังมีความชัดเจนเหมือนถ่ายทำเมื่อวาน เพราะถ่าย VDO เสร็จไม่เคยเปิดเลย ลองโทรมาคุยถ้าโรงเรียนอยากได้ 081 -3736576    ผศ. ดร. ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 225 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 225 ครั้ง
 
 
  22 ม.ค. 2554 เวลา 09:36:23  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่197) อาจารย์somภูโอบ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ถึง อาจารย์Som เห็นผลงานของอาจารย์ในเว็บไซต์นี้ก็น่าภาคภูมิใจ ที่ได้ใช้ความรู้ในการสืบทอดวัฒนธรรมของชาติ อาจารย์ทำดีแล้วจบนาฏศิลป์โดยตรง เพื่อนครูก็จบ ราชภัฏทั้งนั้น  ราชภัฏมหาสารคาม มีพี่โมฬี อาจารย์จิราภรณ์ (ครูแอ๊ว) ม. ขอนแก่นก็จบสวนสุนันทาน่าจะรุ่น 2 หลังพี่โมฬีปีหนึ่ง แล้วรุ่นพีเหล่านี้ ก็ยังสืบทอดทั้งนาฏศิลป์ไทยและพื้นเมืองอยู่ รุ่นน้องก็อาจารย์จู๊ด ราชภัฏมหาสารคามวันก่อนก็ทำละครสินไซ เพื่อนซี้ อยู่จันทรบุรี ซื่อวิฑูรย์ก็สวนสุนันทา จะเห็นได้ว่าแวดล้อมครูนั้นคนราชภัฏทั้งนั้น แล้วก็มีเพื่อนพวกศิลปกรรม จุฬาบ้าง กรมศิลป์บ้าง แต่พวกเรียนราชภัฏ ซี 8 ซี 9 กันหมดแล้ว จงภาคภูมิใจที่จบราชภัฏ ส่วนครูเป็นลูกศิษย์อาจารย์จิราภรณ์ซึ่งจบราชภัฏอีกที่หนึ่ง ฉะนั้นครูSom เก่งกว่าครูแน่นอนเพราะสายตรง ไม่ว่าราชภัฏไหนก็ทำนาฏศิลป์มานาน ดังนั้นถ้าเข้าใจหลักของนาฏศิลป์อีสานก็จะมีความสุขกับการประดิษฐ์ชุดฟ้อนชุดใหม่ หวังว่าจะมีกำลังใจมากขึ้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 254 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 254 ครั้ง
 
 
  28 ม.ค. 2554 เวลา 21:38:09  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่199) ถึงโอ๊ต      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
การที่โอ๊ตจะตั้งประเด็นใหม่เรื่องไทพวน หรือชุดภุไทก็ตั้งไป แต่ไม่ใช่เอาคนอื่นไปอ้างให้เสียหาย เธอเป็นคนตอบปัญหาเรื่องอีสานเกือบทุกเรื่อง
ครูว่าในเว็บนี้ไม่มีใครไม่รู้จักโอ๊ต เขารู้ทั้งนั้นว่าเธอสนใจเรื่องอีสาน และตอบกระทู้เกือบทุกกระทู้
        เธอเวอร์ไปหรือเปล่าที่บอกว่าคนสนใจประเด็นที่เราคุยกัน เพราะคนที่ใกล้ชิดครูไม่เคยมีใครกล่าวถึงเรื่องนี้เลย เธอจะอวดว่าเก่งถูกต้องก็อย่างเอาครูไปเกี่ยวข้อง

โดยเฉพาะเรื่องฟ้อนไทพวน ครูให้หลักการกว้างๆไว้เป็นแนวคิดเท่านั้น เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นคนประดิษฐ์ ถ้าเธอรู้เธอก็ไปถามเขาให้รู้แล้วรู้เรื่องไป ก็จะเข้าใจว่าเขาประดิษฐ์ชุดฟ้อนบนความเชื่อใด หรือถ้าเขาตอบว่าเขาต้องการประดิษฐ์อย่างนี้แหละ เมื่อไม่ถูกใจก็ไม่ต้องเอาของเขาไปแสดง
เธอทำอย่างนี้เพราะต้องการให้ครูฟันธงว่าผิดหรือถูกใช่หรือไม่ ถึงผิดหรือถูก เธอก็ไม่มีสิทธิไปละเมิดความคิดสร้างสรรค์ของเขา ครูบอกแล้วว่าต้องให้เกรียติผู้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนเขา มันตลกที่เธอตำหนิการออกแบบชุดการแสดง แต่ต้องการเอาการฟ้อนนี้ไปแสดง เหมือนสำนวนไทยที่ว่าเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ครูมาตอบในเว็บไซต์นี้เพราะเชื่อว่าคงไม่มีกรรมการตัดสินการประกวดวงโปงลางมาชี้แจงให้ฟัง

ครูเขียนเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานให้เจริญรุ่งเรือง ไม่ใช่ตอบเพื่อเอาชนะใคร เพราะครูอ่านเว็บก็รู้ว่าทุกคนที่ไปชมการแสดงหรือฟังเขามาตัดสินแพ้ชนะบนความคิดของตัวเอง แต่อาจจะไม่สอดคล้องกับกรรมการ จะได้รู้ว่าคณะกรรมการเขาคิดอย่างไร

โดยเฉพาะครูเป็นคนพูดตรงไปตรงมา พูดไม่เพราะ ด่าเป็นอย่างเดียว และจะไม่มาประดิษฐ์ประดอยคำจนรู้สึกว่าดี แต่ผู้ชมงง ว่าทำไมได้รับคำชมเยอะมากแต่ไม่ได้รางวัล ครูจะชี้ข้อบกพร่องให้เห็นว่าทำไมไม่ชนะเพราะอะไร และจะเน้นรางวันที่ 1 กับ 2 เท่านั้น

เพราะในสายตาของผู้ชมรางวัลอื่นๆ ผู้ชมสามารถแยกแยะได้ด้วยตัวเองอยู่แล้วและไม่ค่อยผิดคาด ยกเว้นที่หนึ่งกับที่สองซึ่งแต่ละกลุ่มมีกองเชียร์มาเต็มไปหมด กรรมการจึงต้องตัดสินให้ชัดเจนไม่มีข้อกังขา บทบาทครูมีเท่านี้

และเรื่องอธิบายกับโอ๊ตก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัว แต่หลักการนั้นน่าจะถูกต้อง แต่ไม่ควรเอาการสนทนาของเราในเว็บไปยกตัวเองให้รู้สึกยิ่งใหญ่ ถ้าเธอเคยอยู่วงแคน มมส. ก็ถือว่าเป็นลูกศิษย์เพราะได้รับการสืบทอดการแสดงมาจากครูซึ่งเป็นคนเริ่มต้นตั้งวงแคน เพราะครูก็ถือว่านักศึกษาวงแคนก็เป็นลูกศิษย์ และรู้จักครูไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งโอ๊ตบอกว่าฟ้อนหลายชุดหายไป ครูก็รู้สึกเสียดายที่ชุดการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของ มมส.ขาดการสืบทอด สมัยก่อนจะไปแสดงจะเลือกเอาเฉพาะการแสดงของมหาสารคามไปแสดงซึ่งได้รับการต้อนรับทั้ง 4 ภาคเป็ฯอย่างดี วันก่อนอาจารย์วีณายังบอกให้ไปช่วยดูหน่อยเพราะการแสดงเพี้ยนไปมาก  แต่ตอนนี้ครูมาอยู่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็เลยไม่แน่ใจว่าวงแคนยังยินดีต้อนรับให้ไปสอนให้หรือเปล่า

 
 
สาธุการบทความนี้ : 254 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 254 ครั้ง
 
 
  02 ก.พ. 2554 เวลา 00:48:12  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่205) การแสดงพื้นบ้าน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
การประกวดแต่ก่อนจะเห็นได้เลยว่าใครจะชนะ ใครแพ้ แต่สมัยนี้ไม่ได้เพราะทุกวงที่แข่งมีความสามารถสูงๆทั้งนั้น ดังนั้นถ้าพิจารณาวงดนตรีอย่างเดียวก็ตัดสินยาก เพราะจะมีความสามารถใกล้เคียงกัน ไม่มีวงใดที่เล่นดีเลิศจนวงอื่นๆสู้ไม่ได้และยังมีข้อผิดพลาดมีปัญหาตั้งแต่การตั้งเครื่องเสียงถ้ารีบเกินไปเสียงดนตรีไม่ออกก็เสียคะแนน เสียงดังก็เสียงคะแนน ดังนั้นจึงต้องดูภาพรวม แต่พอคะแนนดนตรีไม่ต่างกัน คะแนนชี้ขาดจึงมาอยู่ที่การแสดงนาฏศิลป์ ผู้ตัดสินจึงต้องสร้างเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อความเป็นธรรมหรือเพื่อมาหักคะแนนคือมานั่งคอยจับผิด ถ้าไม่เช่นนั้นก็ตัดสินไม่ได้ การแสดงจึงต้องยกระดับ การนำเสนอใหม่ๆ คิดหากลยุทธ์เพื่อชนะวงอื่นๆ การออกแบบท่าฟ้อน การแปรแถว Stage การบริหารการแสดง(organization) จึงมีความสำคัญมากขึ้น

ตอนนี้ก็มีชุดการแสดงเพิ่มขึ้นอีกมากมาย แต่เมื่อไม่มีการถ่ายทอดก็จะสูญไปบางชุดก็น่าเสียดายเพราะเป็นสมบัติของชาติ  วงดนตรีลูกทุ่ง วงหมอลำ ก็มีการฟ้อนเช่นเดียวกันกับวงโปงลาง คำถามก็คือการแสดงพื้นบ้านควรจะเดินไปทางไหน ดังนั้นการฟ้อนก็ต้องพัฒนาขึ้นให้ทัดเทียมกับการแสดงประเภทอื่นๆ แล้วเชื่อได้เลยว่าการแสดงพื้นบ้านอีสานเน้นการสื่อสาร วัฒนธรรมอีสาน มีคว่ามถูกต้องสูงกว่าภาคอื่นๆ

ทำไมต้องมีความถูกต้องเรื่องเสื้อผ้า หน้า ผม เพราะเราเป็นเจ้าของถิ่น ถ้าทำผิดเสียเองภาคอื่นๆเอาไปแสดงก็จะผิดเพี้ยนกันไปใหญ่ เพราะเขาไม่รู้ซึ่งต้องให้อภัย แต่โรงเรียนต่างๆก็ทำได้ดี ถ้าดูผ้าซิ่นที่ใช้ฟ้อนก็มีความสวยงามมาก เกือบทุกวงสั่งทอเป็นพิเศษ อันนี้ก็เป็นเผยแพร่วัฒนธรรม สมัยก่อนไปแสดงอุษา บารส งานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงครั้งที่ 2 ที่พนมรุ้ง มีแขกผู้ใหญ่กินพาแลงอยู่ข้างล่าง ยังไม่ได้ขึ้นมายอดเขา ครูให้นักศึกษาฟ้อนตรงช่วงกลางของบรรไดขึ้นพนมรุ้ง พอแขกผู้ใหญ่เดินขึ้นมา เดินผ่านนักศึกษาที่กำลังฟ้อนอยู่ แต่ละคนก็ไม่เคยเห็นผ้าอีสานสวยๆ มีแต่สอบถามกันเป็นเรื่องใหญ่ ตอนนั้นยังรู้สึกภาคภูมิใจที่เอาผ้าซิ่นอีสานไปเผยแพร่ให้คนภาคอื่นๆได้เห็นความสวยงามของผ้าอีสาน ดังนั้นชุดการแสดงก็คงไม่เหมือนชุดใส่อยู่บ้าน จะต้องมีความประณีตในการคัดสรรด้วย

ครูทำชุดฟ้อนมากว่า 20 ปีแล้วก็พยายามใช้ผ้าพื้นเมือง สั่งทอจากบ้านหนองเขื่อนช้าง ยายไรขายผ้าตอนนี้มีบ้านหลังใหญ่ ปัจจุบันเราก็ยังสั่งยายไรทอผ้าอยู่เหมือนเดิม แต่ตอนนั้นชมรมก็ไม่ค่อยมีเงิน จึงใช้ผ้าถูกๆแทนก็สวยไปตามมีตามเกิด

การละเล่น การฟ้อนในอดีตทุกคนมีส่วนร่วมใครก็ออกมาร่วมแสดงได้ เช่นแห่งบั้งไฟ งานบวชนาคในภาคกลาง ยังไม่เรียกว่าการแสดง แต่ปัจจุบันการแสดงกลับแยกผู้แสดงกับผู้ชมคนละบทบาทกัน อันนี้ก็มีผลให้การละเล่นพื้นบ้านหรือการแสดงโดยชาวบ้านค่อยๆสูญหายไปซึ่งก็น่าเสียดาย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 180 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 180 ครั้ง
 
 
  05 ก.พ. 2554 เวลา 00:22:52  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่211)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ตอบไม่กระจ่างในเรื่องใดให้เขียนมาเป็นข้อๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  16 ก.พ. 2554 เวลา 22:05:47  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่219)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ในอันที่จริงก็พยายามตอบในเรื่องที่รู้เท่านั้น อย่างไทยพวน เกิดขึ้นหลังจากครูไปอยู่กรุงเทพฯแล้ว และไม่เคยเจอะคนคิดเลย ก็เลยไม่สามารถบอกแบบฟันธงได้ ก็เลยให้หลักในการวิเคราะห์ว่า

1. ถ้าใช้ประกอบทำนองลำก็แต่งอย่างใดก็ได้ แต่ก็ควรเป็นชุดพื้นเมืองอีสาน
2. ถ้าเป็นชนเผ่า อันนี้ตอบไม่ได้ว่าเอาแบบมาจากไหน คนเอาไปแสดงก็ออกแบบชุดเองได้ถ้าคิดว่าทำได้ดีกว่าก็ลองทำดู ถ้าคนอื่นยอมรับเขาก็เปลี่ยนมาใช้เองแหละ ลูกศิษย์ก็เอาผ้าไทยพวนและถ่ายรูปไทยพวนบ้านผือ บ้านเชียงมาให้ดูครูว่าสวยสู้ชุดเก่าที่เขาทำไม่ได้ ในวงการเรามีแต่คนวิจารณ์ ให้เลิกวิจารณ์และทำให้มากก็จะดี

    แต่สิ่งที่อยากบอกเด็กๆก็คือไม่ควรทำให้ใครจนหนทาง ให้ไม่มีหนทางถอย อยู่ในวงการเดียวกันต้องให้เกียรติกัน รู้จักมารยาท รู้ว่าพูดแค่ไหนพอ รู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ การมีความคิดไม่เหมือนกันมันเป็นปกติของโลก ถ้าคิดเหมือนกันก็เป็นหุ่นยนต์ แต่ไม่ใช่เอาเป็นเอาตาย ถ้าคิดอะไรใหม่แล้โดนวิพากษ์วิจารณ์จนท้อ ใครจะคิดชุดการแสดงใหม่
ก็ไม่กล้าทำ  นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานเป็นสิทธิ์ของทุกคนเพราะไม่มีใครเก่งกว่าใคร ยังไม่มีใครบอกว่าใครเป็น Authority นาฏศิลป์อีสานยังไม่ได้สร้างแนวคิดเชิงทฤษฎีจนเป็นข้อสรุปที่ทุกคนยอมรับกันเป็นสากล แต่กำลังพัฒนา ครูดูจากคนสนใจที่จะอ่านกระทู้แสดงว่ามีคนสนใจจำนวนมาก ซึ่งครูไม่ตอบในกระทู้อื่นเลย(อันที่จริงเรื่องการประกวดมันหมดเรื่องไปนานแล้ว) แต่เรากำลังคุยกันในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานที่เรารัก เราสนใจที่จะศึกษา ครูไม่รู้สึกอะไรที่คนคิดไม่เหมือนนะ เพราะสอนเด็กก็จะให้หลัก แล้วไปคิดเอาเอง ใครที่คิดว่าครูตอบไม่กระจ่ายต้องกลับไปอ่านกระทู้เดิมๆ ถ้าถาม ครูตอบกระจ่างแล้วทุกเรื่อง การตอบกระจ่างไม่ใช่ฟันธงว่าอะไรถูกอะไรผิด แต่ครูก็จะให้หลักมากกว่า แล้วคิดเอาเอง ดังนั้นคนที่อ่านไม่เข้าใจต้องอ่านทบทวนหลายๆครั้ง จึงจะเข้าใจสิ่งที่พูด (ไม่ใช่ดูถูกคนอ่าน สอนปริญญาเอกยังมีนักศึกษาไปอ่านเพิ่มเติม 6 เดือนกลับมาบอกว่าอาจารย์คะหนูเข้าใจสิ่งที่ครูอธิบายแล้วคะ)
     ดีใจสิ่งที่ปังคุงเข้าใจสิ่งที่ครูพูด อย่างเอาเป็นเอาตายการแสดงทุกอย่างเป็นของ
อุปโลกย์ทั้งนั้น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (social construct) แล้วอย่าคิดคิดว่ามนุษย์ใส่เสื้อชุดเดียวที่เขาถ่ายไว้เท่านั้น ลองถามตัวเองก็ได้ว่ามีกีชุด เราประดิษฐ์ใหม่ก็ได้แล้วเราก็ช่วยกันยอมรับ เช่นชุดไทยพวน ถ้าจะอธิบายก็คงจะเหมือนชุดภูไทสกลนคร ก็ไม่เห็นเขาใส่ในชีวิตประจำวันเลยก็จบ แสดงว่าเราให้เกียรติผู้ประดิษฐ์ชุดนั้นๆ พอใครเห็นว่าเป็นชุดฟ้อนไทพวน มันก็ไม่เป็นสิ่งผิดอีกต่อไปหรือก็เหมือนชุดภูไทเรณูนครเขาก็ไม่ได้ใส่ในชีวิตประจำวันเขาใช้แสดงเน้นอยู่บ้านอาจจะนุ่งกางเกงขาสั้นด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่ได้บอกว่าถ้าเป็นชนเผ่าแล้วใส่อะไรก็ได้นะ เพราะหลายคนบอกว่าเหมือนชุดไทลื้อ ครูตรวจสอบจากหนังสือของอาจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนกูล เรื่องมรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ ก็ไม่เหมือนเสียที่เดียว

ที่เข้ามาตอบในเว็บไซต์ เพราะครูหายจากวงการนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานไปเกือบ 20 ปีก็อย่ารู้ว่าเด็กๆคิดอย่างไร มีอะไรใหม่ๆ มีเว็บไซต์นี้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็รู้สึกดี มีอะไรที่ตอบได้ก็จะตอบตามที่รู้และครูยังไม่รู้ก็มีอีกมากซึ่งก็อย่างได้ ความคิดเห็นของเด็กๆ เช่นกัน ตอบเว็บไซต์ไม่ได้เขียนไว้ก่อนจำกระทู้ได้บางไม่ได้บาง ถ้าตอบไม่ครบก็ถามใหม่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 219 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 219 ครั้ง
 
 
  18 ก.พ. 2554 เวลา 23:28:04  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่221) เห็นด้วยกับโอ๊ด      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ดังนั้นก็ระบุว่าฟ้อนไทพวน เป็นฟ้อนไทยพวนอุดรธานี เช่นเดียวกับที่ครูอธิบายเรื่องภูไทบ้านโพน กับภูไทหนองสูง หรือกุดหว้าง ก็จะแต่งกายแตกต่างกันไป เอาแบบอย่างของใครก็ใช้ของเขาทั้งชุดก็ OK อย่างใช้สับกัน ทำให้คนไม่รู้เรื่องก็จะเข้าใจผิด

1. ไทพวนดูจะเป็นประเด็นในเรื่องเครืองแต่งกาย
ครูไม่สามารถบอกได้ว่าแนวความคิดของโอ๊ดถูกหรือผิด เพราะถ้าเป็นครูจะให้เกรียติผู้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนว่า ถ้าเขามีเหตุผล สามารถอธิบายได้ว่าคิดบนพื้นฐานอะไร ก็ต้องให้เกียรติเขาแค่นั้นเอง อุดรเอาไปฟ้อนก็ต้องบอกว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์ชุดฟ้อน และอุดรเป็นผู้ปรับแต่งชุดให้สอดคล้องกับไทยพวนอุดร ก็ไม่เสียหาย

2. ตอนนี้มีปัญหาว่าชนชาวพวนทั้งหลายในประเทศไทย ไม่ได้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนนี้ แต่เป็นกลุ่มนาฏศิลป์หนองคายและวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธ์เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น ชุดฟ้อนนี้น่าจะเป็นลิขสิทธิ์ของกลุ่มนาฏศิลป์หนองคายและวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธ์มากกว่าชนชาวพวนทั้งหลาย

3. ถ้าผู้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนบอกว่าชุดฟ้อนนี้เป็นชุดประกอบทำนองลำ ก็เลิกหาที่ลงของชุดเสียที่
สมมุติว่า....ถ้าหากว่าเป็นกลุ่มชาวไทพวนในจังหวัดหนองคายเป็นผู้คิดเสื้อผ้าชุดนี้แล้ว ดังนั้น จึงไม่เกี่ยวข้องกับไทพวนอุดรเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นไทพวนคนละกลุ่ม อุดรกับหนองคายจึงไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าในการแสดงที่เหมือนกัน

ครูมีคำถามว่า
กลุ่มชาวไทพวนในจังหวัดหนองคายจะเป็นคนคืดท่าฟ้อนเองใช่หรือไม่ ถ้าใช่ไม่เอาท่าฟ้อนของวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธ์ไปใช้ก็ OK

ถ้าจะเอาท่าฟ้อนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ประดิษฐ์ ก็ต้องขออนุญาติการใช้ท่าฟ้อนก่อนว่าจะไปปรับชุดให้เป็นชาวไทพวนในจังหวัดหนองคาย

เรื่องฟ้อนไทพวน วันก่อนไป Comment ศิปลนิพนธ์ของคณะศิลปศึกษาและคณะศิลปนาฏดุริยางค์ก็ลืมถามผู้ประดิษฐ์ชุดนี้มีความเป็นมาเช่นใด ว่างๆจะถามให้ชัดอีกที่ขอติดไว้ก่อน

4. ฟ้อนตังหวาย การฟ้อนประกอบลายตังหวาย เช่น วนศ.ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ม.ราชภัฏอุบล หรือแม้แต่ตังหวายบ้านเจียด การฟ้อนที่บ้านเจียดเองก็ฟ้อนไม่กี่ท่าเท่านั้น ฟ้อนตังหวายก็ต้องให้เครดิตกับ ม.ราชภัฏอุบล แต่ตอนหลังๆ ม.ราชภัฏอุบล ก็เพี้ยนเอง

อันนี้ตามความคิดของครูต้อง set ท่ามาตรฐานฟ้อนที่นิ่งแล้วไม่ให้คนรุ่นหลังไปทำเลอะเทอะ สวยแค่ไหนก็เอาแค่นั้น (ดีที่สุดในอดีต) แล้วคนที่ประดิษฐ์ชุดฟ้อนก็ทำตามไม่ใช่ไปแก้ไขปรับเปลี่ยนของเดิมเขา แล้วเด็กๆ รุ่นใหม่ก็คิดประดิษฐ์ชุดใหม่ๆขึ้นมาก็จะดีกว่า

เหมือนเรารำเทพบันเทิง กฤษดาภินิหาร ไม่ว่าใครรำในภาคไหนก็ตามรำเหมือนกันหมด

ถ้าเราไม่หยุดที่จะคิดแต่จะแก้ของเดิม แล้ว set ให้เป็นมาตรฐานแล้ว คงจะสับสนนี่ขนาดในผู้เกี่ยวข้องในภาคอีสานยังไม่ลงลอยกันแล้ว ภาคอื่นที่เขาเอาการแสดงอีสานไปแสดงไม่รู้จะมั่วมากแค่ไหน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 222 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 222 ครั้ง
 
 
  20 ก.พ. 2554 เวลา 12:19:56  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่226)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ลองทำออกมาดูก็ได้ ถ้าคนส่วนใหญ่ยอมรับเขาก็ทำตามเอง ส่วนในความคิดของครูลำไทยพวน ครูได้ฟังจากเทปของบานเย็นรากแก่นที่เอาทำนองลำต่างๆ มาเป็นเพลง แต่ก็เคยฟังของคนอื่นร้องบ้าง แต่จำไม่ได้

โอ๊ตลองทำชุดออกมาดูก็ได้ เพราะการพัฒนาชุดฟ้อนใหม่ๆ ครูก็ต้องการให้มีการพัฒนา costume ให้มีความงดงามมากขึ้น

อันนี้เป็นแนวคิดของอาขารย์ลำทอง ประเทศลาว อาจารย์คิดชุดฟ้อน ร้อยกว่าชุด พอถามว่าพวกชนเผ่าต่างๆในลาวเก็บหมดหรือยัง อาจารย์บอกว่ายัง แต่เอามาต้องมาปรับปรุงทั้งการแสดงและชุดการแสดง งั้นไม่สามารถทำเป็นสากลได้

จะเห็นว่าการเอาการแสดงพื้นถิ่นมาต้องมีการปรับปรุงทั้งการแปรแถว การออกแบบท่าต่างๆให้มีความวิจิตร มากขึ้น ดังนั้นถ้าไทยพวนปรับชุดฟ้อนแล้วสวยงามกว่าเดิมพอแสดงก็กล่าวตอนอธิบายชุดการแสดงว่าท่าฟ้อนมาจากไหน ส่วนชุดได้มีการปรับปรุงใหม่โดยใครก็จะดี

ส่วนที่อีสานลมโชยเสนอ ก็ทำได้ แต่ลำไทยพวนมันเป็นทำนองลำ ไม่มีการฟ้อนประกอบมาก่อน ดังนั้นต้องมีคนคิดท่าฟ้อนประกอบก็ทำได้

แต่ถ้าพิจารณาภูไท เขามีดนตรีและเพลงเฉพาะของแต่ละกลุ่ม ซึ่งครูก็ไม่รู้ว่า
ลำไทยพวนมีทำนองแตกต่างกันหรือไม่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 187 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 187 ครั้ง
 
 
  21 ก.พ. 2554 เวลา 00:52:17  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1042) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(วงโปงลาง)ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งที่3  
  ชัชวาลย์    คห.ที่228)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
อ้ายโอ๊ต
รูปฟ้อนสุโขทัยที่ทำชุดใหม่ทำได้
แต่มีคนยอมรับมากหรือไม่ มีใครเห็นการสืบทอดชุดนั้นๆหรือไม่
จะเห็นได้ว่าชุดที่ครู หม่อมแผ้ว(ใช่หรือไม่)ทำตอนนั้นก็คงทำได้แค่นั้น
ตอนหลังชุดศรีไชยสิงห์ก็สวยกว่าชุดแรกๆ
ชุดสมัยก่อนมีเงินน้อยก็ทำตามเงินน้อย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 219 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 219 ครั้ง
 
 
  24 ก.พ. 2554 เวลา 00:03:40  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   214) ข้อผิดพลาดในข้อมูลฟ้อนรำอีสานชุดรำสาละวัน  
  ชัชวาลย์    คห.ที่0) ข้อผิดพลาดในข้อมูลฟ้อนรำอีสานชุดรำสาละวัน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  13 ม.ค. 2554 เวลา 18:22:21  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   214) ข้อผิดพลาดในข้อมูลฟ้อนรำอีสานชุดรำสาละวัน  
  ชัชวาลย์    คห.ที่6) สาละวันแบบอ.วีณาเป็นต้นแบบของรำสาละวัน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  30 ม.ค. 2554 เวลา 23:09:38  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1112) ฟ้อนอีสาน ใช้มือสูงเหนือศรีษะส่วนใหญ่เป็นฟ้อนเซ่นสรวงบวงพลี  
  ชัชวาลย์    คห.ที่0) ฟ้อนอีสาน ใช้มือสูงเหนือศรีษะส่วนใหญ่เป็นฟ้อนเซ่นสรวงบวงพลี      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ปัจจุบันมีการฟ้อนที่ใช้มือสูงเหนือศรีษะมากขึ้น
ไม่ค่อยเห็นฟ้อนในอดีตยกเว้นฟ้อนเซ่นสรวงบวงพลี
ผู้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนใหม่ๆ ต้องระวังขนบเดิม ไม่ใช่เอาแต่ท่าแปลกๆ
มีความซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 209 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 209 ครั้ง
 
 
  24 ก.พ. 2554 เวลา 00:08:13  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   253) ฟ้อนภูไทสกลนคร(ดั้งเดิม)  
  ชัชวาลย์    คห.ที่5)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  15 มี.ค. 2556 เวลา 07:47:53  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   267) ขออนุญาตเรียนถามครับ ทำไมรำภูไทต้องมีแยกจังหวัด  
  ชัชวาลย์    คห.ที่8)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  12 ม.ค. 2556 เวลา 11:18:08  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   267) ขออนุญาตเรียนถามครับ ทำไมรำภูไทต้องมีแยกจังหวัด  
  ชัชวาลย์    คห.ที่10)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 

ขออภัยครับ

ห้องโสกันฉันพี่น้อง สำหรับสมาชิก เท่านั้นครับ
กรุณาล็อกอินเข้าระบบ หรือสมัครสมาชิกก่อนครับ



 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  15 มี.ค. 2556 เวลา 07:29:19  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1302) ผลการประกวดโปงลางชิงแชมป์ภาคอีสาน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระราชินีนาถ ณ เชียงคาน  
  ชัชวาลย์    คห.ที่5)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ไม่ต้องคาใจ ถามมาจะตอบให้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  12 ม.ค. 2556 เวลา 11:41:30  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1302) ผลการประกวดโปงลางชิงแชมป์ภาคอีสาน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระราชินีนาถ ณ เชียงคาน  
  ชัชวาลย์    คห.ที่6)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
การประกวดวงโปงลาง มีการตั้งโจทย์ให้โรงเรียนต่างๆปฎิบัติ ดังนั้นการประกวดที่เชียงคานเป็นการเอาชนะด้วยการนำเสนอชุดการแสดงที่ตอบคำถามตามโจทย์ มากว่ามาฟ้อนให้สวยงานเท่านั้น เป็นการจัดการแสดงหนึ่งชุด 30 นาทีที่มีความต้องเนื่องและมีเหตุผลในการนำหรือไม่นำอุปกรร์ประกอบการแสดงนั้นๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 267 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 267 ครั้ง
 
 
  12 ม.ค. 2556 เวลา 11:44:31  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1302) ผลการประกวดโปงลางชิงแชมป์ภาคอีสาน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระราชินีนาถ ณ เชียงคาน  
  ชัชวาลย์    คห.ที่10)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ดนตรีในการประกวดเล่นดีทุกวง ดังนั้นจึงให้กรรมการพิจารณาแต่ละเครื่องดนตรี ตรงนี้ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากความชื้นของอากาศ วงที่เล่นดึกๆก็จะมีปัญหาความเพี้ยโดยธรรมชาติ การฟังดนตรีทั้ง 6 วงก็มีข้อจำกัดของคณะกรรมการเหมือนกัน หูมันก็มีปัญหา อันนี้เป็นข้อจำกัดของคณะกรรมการ ครูให้พงษ์จากวงโปงลางสะออน ซึ่งเขาทำงานหนักค่อนข้างละเอียด พอcomment มันยาวมาก จึงพูดกลมๆ แต่ตอนตัดสินก็ให้พูดยาวขึ้น ซึ่งต่างจากการแสดงมันดูด้วยตาจะง่ายกว่ามาก กรรมการมีหน้าที่จับผิดแต่ละอย่างไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การแสดง การสื่อสารการแสดง แต่การแต่งกายและเครื่องประดับจะพิจารณาน้อย ยกเว้นชุดการแสดงนั้นเป็นของกลุ่มชาติพันธ์ เพราะโรงเรียนที่นำเสนอการแสดงมีขนาดไม่เท่ากัน ทุนไม่กัน เช่นโรงเรียนประจำจังหวัด โรงเรียนประจำอำเภอ โรงเรียนประจำตำบลทำให้มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบกัน ในความคิดเห็นของครู ถ้าดูแล้วทักษะนักแสดง กาฬสินธ์พิทยาสรรค์ดีกว่าทุกวง การสร้างสรรค์ก็เป็นชุมแพ ส่วนสว่างแดนดินรอบคัดเลือกไม่เด่นเลย ไม่อยู่ในสายตา แต่พอโดน comment ทุกวงฝึกซ้อมกันอย่างหนักตั้งแต่เช้น อิ๊ดวงโปงลางสะออนยังบอกเลยควรให้รางวันทุกโรงเรียนเพราะเด็กๆซ้อมกันไม่สนใจแดดซึ่งร้อนมากในตอนกลางวัน ต้องขอบคุณผู้ไปชมอยากให้ไปทุกปีเพราะจะเห็นพัฒนาการของการแสดงวงโปงลางของโรงเรียนต่างๆ หลายคนถามว่าวงสว่างแดนดินได้ 3 ปีแล้วควรไปไหม ทางวัดคงขอถ้วยพระราชทานใหม่ และโรงเรียนสว่างแดนดินก็ถูก comment เยอะ แลดงการแสดงสามารถพัฒนายกระดับให้ดีขึ้นได้ จึงต้องการเห็นทุกโรงเรียนที่มีวงโปงลางประจำโรงเรียนเข้าร่วมนำเสนอความก้าวหน้าของการพัฒนาการแสดงพื้นบ้านอีสานให้ดียิ่งๆขึ้นไป

 
 
สาธุการบทความนี้ : 318 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 318 ครั้ง
 
 
  14 ม.ค. 2556 เวลา 10:12:21  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1311) นาฏยประดิษฐ์ร่วมสมัย(Contemporary dance) มีกรอบในการประดิษฐ์หรือไม่  
  ชัชวาลย์    คห.ที่0) นาฏยประดิษฐ์ร่วมสมัย(Contemporary dance) มีกรอบในการประดิษฐ์หรือไม่      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : เพชรบุรี
เข้าร่วม : 13 ม.ค. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 69450
รวม: 69450 สาธุการ

 
ตอนนี้ไปดูนักศึกษานำเสนอผลงาน การแสดงแบบสร้างสรรค์ทุกคนก็ทำแปลกๆ แล้วบอกว่าเป็นคอนเท็ม เมื่อมีการสอบถามก็บอกว่ามันเป็นคอนเท็ม คอนเท็มกลายเป็นข้ออ้าง สำหรับชุดการแสดงที่ไม่มีที่มาที่ไป ตามธรรมดาการแสดง หรือการประดิษฐ์ชุดการแสดงใหม่ๆ ใช้ Approach ใหม่ๆ ไม่ใช่ความผิดที่จะนำเสนอ เช่น พัฒนศิลป์ทำชุดแม่นาคในการประกวด แต่ถ้าทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับกลุม่ชาติพันธ์ต้องมีการ Research ให้ลึกซึ้งมากหน่อย และต้องแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธ์นั้นๆ ดังนั้นการประดิษบ์ชุดการแสดงสร้างสรรค์ต้องสามารถสื่อสารการแสดงให้ผู้ชมรู้เรื่องว่าต้องการเล่าอะไร อยากรู้ว่าคนอื่นๆคิดอย่างไร แชร์ให้หน่อย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 282 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 282 ครั้ง
 
 
  15 มี.ค. 2556 เวลา 08:01:32  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
นาฏยประดิษฐ์ร่วมสมัย(Contemporary dance) มีกรอบในการประดิษฐ์หรือไม่ --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ