ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 3 พฤษภาคม 2568:: อ่านผญา 
อดสงสารบักเลเถ้าควายเฮาไว้แด่ คันบ่บายหญ้าป้อนบักเลเถ้าส่วนสิตาย แปลว่า สงสารควายแก่ของตนไว้ หากไม่หาหญ้ามาป้อน ควายแก่ อาจจะตาย หมายถึง ควรเป็นคนกตัญญู รู้สำนึกในบุญคุณ


  ค้นหากระทู้ ปลาร้านอกไห  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   12) ขะลำ(ทั้งต้นฉบับและถอดความ)  
  Bumpkin    คห.ที่5)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 
คำขะลำทำให้                  ได้คึดตาม
สั่งสอนใจให้งาม               ปานแก้วใส
ห้ามอันโน้มห้ามอันนี้      ดีถมไป
ซิบ่ได้ซอกซ้ำ                    ทำแต่ดี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 30 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 30 ครั้ง
 
 
  30 เม.ย. 2551 เวลา 12:40:05  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่7)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 
อ้ายผู้บ่าวเฮิมครับ ผมกะคน นคร ผมอยู่ในเมือง อ้ายเป็นไทใดครับ

สงกรานต์ได้เมือเฮือนอยู่ติ ผมเมือไปเล่นสงกรานต์ม่วนคักขนาด

ผมอยู่จนฮอดมีงานบุญเดือนห้า อยู่หน้าวัดมหาธาตุ จัดงานอยู่หน้าริมโขง
เย็นดีแท้ๆ งานกะจัดแบบบ้านๆ  มีนักฮ้องมานำ กะคนบ้านเฮาฮันหละ
เสียงม่วนอีหลี เฮ็ดเทปขายนำใด๋

จั๋งใดก็ไทบ้านเดียวกัน กะขอทำความฮู้จักเอาไว้แหน่เด้อครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 528 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 528 ครั้ง
 
 
  29 เม.ย. 2551 เวลา 14:25:47  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่8)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 
เผ่าไทยในนครพนม
       จังหวัดนครพนม  ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ รวม  ๗  เผ่า  ได้แก่  ชาวผู้ไท (ภูไท) ไทยญ้อ  ไทยแสก  ไทยกะเลิง  ไทยโส้  ไทยข่า  ไทยลาว (ไทยอีสาน) แต่ละเป่าจะรวมกันเป็นกลุ่ม  กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ดังนี้

       ๑. ชาวผู้ไท (ภูไท) ผู้พิศมัย ความสุนทรีแห่งการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองผู้มาเยือนโดยเฉพาะการจัดการบายศรีสู่ขวัญ  เลี้ยงอาหาร  ขี่ช้างคู่ (ดูดอุคู่ชายหญิง) หรือเหล้าหมักแบบท้องถิ่นดื่มกัน  ทั้งไหโดยใช้หลอดไม้ซางดูดน้ำเหล้าจากไห  มีพิธีกรรมในรอบปีตามฮีตสิบสิง  มีนาฏศิลป์การฟ้อนภูไทที่ร่ายรำลีลาที่อ่อนช้อยประกอบวงแคน  ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เรณูนคร  มีบางส่วนที่อยู่ที่อำเภอนาแก  อำเภอธาตุพนม  อำเภอปลาปาก

     ๒. ไทยญ้อ เป็นกลุ่มไทย-ลาว อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมาจากเมืองหงสา  แขวงไชยบุรีประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ปากน้ำสงคราม  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๕๗  ส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอท่าอุเทน  อำเภอบ้านแพง  และบ้านขว้างคี  ตำบลบ้านค้อ  อำเภอโพนสวรรค์  ซึ่งได้ชื่อว่า "หมู่บ้านคอมโดมีเนียมผี"

     ๓.  ไทยแสก  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองแสก  เขตเมืองคำเกิด  ติดชายแดนญวน  ๒๐  กิโลเมตร อพยพมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ตอนที่ประเทศไทยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์  สมัยราชการที่ ๓ ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ตำบลอาจสามารถ  อำเภอเมืองนครพนม  และบางส่วนอยู่ที่อำเภอนาหว้า  มีประเพณีที่สำคัญคือ การเล่นแสกเต้นสาก

    ๔.  ไทยกะเลิง  มีภาษาพูดของเผ่าเช่นเดียวกับโส้  อพยพมาจากแขวงสุวรรณเขต  เขตคำม่วน  ไทยกะเลิง  ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านพระซอง  ตำบลพระซอง  อำเภอนาแก และที่ตำบลรามราช  อำเภอท่าอุเทน โดยมีศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเลิง  ที่โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา  อำเภอนาแก ในวันเปิดศูนย์ฯ "นายนาวิน  ขันธหิริญ" ได้เป็นประธานเปิดงานดังกล่าว  นอกจากนี้ยังมีบางส่วนได้ตั้งบ้านเรือยอยู่ที่ อำเภอโพนสวรรค์  อาศัยปะปนกับพวกข่าและโส้  และที่ตำบลนาถ่อน  อำเภอธาตุพนม  ก็มีจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่นั่น
    ศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเลิงแห่งนี้  ตั้งขึ้นตามนโยบายฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม  และภูมิปัญญาของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม  นายนาวิน  ขันธหิรัญ  ดังนั้น  อำเภอนาแกโดยการนำของนายยงยุทธ  นุกิจรังสรรค์  นายอำเภอนาแก  จึงได้ร่วมประสานกับ  อบต. โรงเรียน  จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น  โดยนำเอาเอกลักษณ์แท้ ๆ ของไทยกะเลิง  ส่งเสริมและพัฒนาให้มีสีสันและงดงามอลังการ  ศูนย์วัฒนธรรม "ไทยกะเลิง" แห่งนี้ได้ปลุกเร้าให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของผลผลิตอันเกิดจากกระบวนความคิดของบรรพบุรุษที่แยบยลและลึกซึ้ง
    ของดีอย่างนี้  "คนรุ่นใหม่" ควรที่จะศึกษาและอนุรักษ์ไว้  มิให้เสื่อมสลายตามกาลเวลาไปจากแผ่นดินไทยของเรา

    ๕. ไทยโส้  ถิ่นเดิมอยู่ที่เมืองมหาชัย ก่องแก้ว  และแขวงเมืองคำม่วน  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  อพยพเข้ามาอยู่ในภาคอีสาน  สมัยรัชกาลที่ ๓ หลังปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์  เป็นเผ่าที่มีความเชื่อ  และความศรัทธาในบรรพบุรุษ  มีพิธีกรรมที่สำคัญคือ  พิธีโส้ทั่งบั้ง  อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านพะทาย  หนองเทา  และบางส่วนที่อำเภอศรีสงคราม  และอำเภอโพนสวรรค์

    ๖.  ไทยข่า  เป็นชาวพื้นเมืองเผ่าหนึ่ง  ที่อาศัยปะปนอยู่กับไทยกะเลิง  ไทยโซ่ (โส้) และไทยลาว ซึ่งปัจจุบันนี้ถูกกลืนเกือบกะหมดแล้ว  เดิมไทยข่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแขวงสุวรรณเขต  แขวงสาละวันและแขวงอัตปือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  อพยพมายังประเทศไทยในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ชาวไทยข่าที่พอจะมีหลักฐานบ้างอาศัยปะปนกับไทยโซ่ (โส้) ในจังหวัดนครพนม  เช่น  หมู่บ้านคำเตย  ตำบลท่าจำปา  อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม

   ๗.  ไทยลาว  (ไทยอีสาน) เป็นประชากรกลุ่มใหญ่  พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสานป เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน  เช่น  ฮีต  คอง  ตำนาน  อักษรศาสตร์  จารีตประเพณี  นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม  บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ  อาศัยอยู่ทั่วไป


-  กลุ่มเผ่าอื่นๆ ที่เข้ามาอาศัยเป็นกลุ่มใหญ่ก็มีมากเช่น ชาวเวียดนาม ซึ้งมีบุคคลสำคัญคือ องโฮจิมินต์ ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านนาจอก และใช้เป็นที่วางแผนกับบรรดาชาวเวียดนามที่จะรบเพื่อเรียกร้องเอกราชคืนจากฝรั่งเศษ
ชาวเวียดนามจำนวนมากที่เข้ามาอาศัยและได้กลับไปทำสงคราม และมีกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มที่เลือกอยู่ที่ประเทศไทย และสืบทอดประเพณีมาจนทุกวันนี้  ชาวเวียดนามเป็นคนขยัน และเก่งในเรื่องค้าขาย ได้นำอาหาร การกินเข้ามา จนเป็นที่นิยมของชาวนครพนม สังเกตุได้จากตามตลาดจะมีอาหารเวียดนามมากมายให้เลือก

 
 
สาธุการบทความนี้ : 534 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 534 ครั้ง
 
 
  29 เม.ย. 2551 เวลา 14:54:29  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่10)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 
สวัสดีครับ บ่าวโดนิค ไทเรณู ยินดีที่ได้ฮู้จักเด้อครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 40 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 40 ครั้ง
 
 
  02 พ.ค. 2551 เวลา 15:20:08  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่12)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 
ผู้บ่าวเฮิม ลูกครึ่งครับ  ภูไท+ญ้อ  เกิดอยู่อ.นาหว้า จังแม่นคักขนาด

ผมกะลูกครึ่งคือกันครับ พ่อเป็น ไทพิษณูโลก แม่เป็นเวียดนามนครพนม
ผมเลยเกิดเป็นไทย เวียดนาม ลาว นครพนม จังแม่นลูกคึ่งครองเมืองนครพนม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 575 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 575 ครั้ง
 
 
  06 พ.ค. 2551 เวลา 09:58:18  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่13) ไหว้พระธาตุประจำวันเกิด นครพนม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 


พระธาตุพนม พระธาตุประจำวันอาทิตย์

"พระธาตุพนม" ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม ห่างจากตัวจังหวัด 53 กิโลเมตร เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอก ของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเมื่อราวพ.ศ.1200-1400 เป็นที่สักการะบูชาทั้งชาวไทยและลาว ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาเดียวกับปราสาทขอม

         พระธาตุแห่งนี้ผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง เคยทรุดลงมาทั้งองค์เมื่อพ.ศ.2518 และได้รับการบูรณะใหม่ตามแบบเดิม เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม สูง 53.60 เมตร ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลียม กว้างด้านละ 12.33 เมตร บนยอดพระธาตุเป็นฉัตรทองคำมีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม

         ตามคติความเชื่อ พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีวอก อีกทั้งยังเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ด้วย เชื่อกันว่าผู้ที่ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์มีบุญบารมี และมีคนให้ความเคารพนับถือ

สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีแดง ธูป 6 ดอก เทียน 2 เล่ม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 592 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 592 ครั้ง
 
 
  07 พ.ค. 2551 เวลา 10:11:03  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่14)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 


พระธาตุเรณู พระธาตุประจำวันจันทร์

"พระธาตุเรณู" ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุเรณู อ.เรณูนคร สร้างเมื่อปีพ.ศ.2463 เป็นพระธาตุคู่เมืองของชาวเรณูนคร องค์พระธาตุมีลักษณะสวยงาม จำลองมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า ภายในบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมืองสมัยก่อน เชื่อกันว่าคนที่เกิดวันจันทร์มักเป็นคนมีเสน่ห์ใครได้กราบไหว้จะมีรูปงามผ่องใส ตรงกับลักษณะของเทพประจำวันจันทร์

สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีเหลือง ธูป 15 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 638 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 638 ครั้ง
 
 
  07 พ.ค. 2551 เวลา 10:34:15  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่15)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 


พระธาตุศรีคุณ พระธาตุประจำวันอังคาร

"พระธาตุศรีคุณ" ประดิษฐานอยู่ที่วัดธาตุศรีคุณ อ.นาแก พระธาตุองค์นี้ถูกค้นพบเมื่อประมาณปีพ.ศ.2340 และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปีพ.ศ.2486-2490 มีลักษณะคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันที่ชั้น 1 มี 2 ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม ภายในบรรจุดพระอรหันตสารีริกธาตุของพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พระอัครสาวกซ้ายขวาของพระพุทธเจ้า และพระสังกัจจายนะ

ตามตำนานของพระธาตุองค์นี้ มีกษัตริย์นักรบเป็นผู้ก่อสร้าง คนที่เกิดวันอังคารจะเป็นนักต่อสู้ มีน้ำอดน้ำทนเป็นเยี่ยม เชื่อว่าหากใครได้ไปสักการะจะได้อานิสงส์ มีศักดิ์ศรีทวีคูณ และจะเสริมพลังนักสู้ให้มีจิตใจเข้มแข็งขึ้นห่างจากตัว จ.นครพนม ไป 39 กิโลเมตร

สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีชมพู ธูป 8 ดอก เทียน 2 เล่ม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 531 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 531 ครั้ง
 
 
  08 พ.ค. 2551 เวลา 12:11:20  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่16)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 


พระธาตุมหาชัย พระธาตุประจำวันพุธ

"พระธาตุมหาชัย"  ที่วัดพระธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก  ก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ.2495 องค์พระธาตุเป็นรูปแปดเหลี่ยมสูง 40 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตสารีริกธาตุของพระอัญญาโกณฑัญญะ พระภิกษุสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา พระสารีบุตร และพระอนุรุทร อีกทั้งบริเวณใกล้เคียงกันยังมีพระพุทธรูปสลักจากไม้ต้นสะเดา และภาพเขียนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปะที่งดงามหาดูได้ยากยิ่ง
         เชื่อกันว่าผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุมหาชัย จะประสบแต่ชัยชนะในชีวิต จะเป็นนักประสานสิบทิศ โอภาปราศรัยดี ค้าขายคล่อง พูดจามีคนเชื่อถือ

สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกบัว ธูป 17 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1131 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 1131 ครั้ง
 
 
  08 พ.ค. 2551 เวลา 12:21:37  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่17)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 


พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุประจำวันพฤหัสบดี

"พระธาตุประสิทธิ์"  ถ้าหากอยากจะประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงานให้ หาโอกาสไปนมัสการพระธาตุประสิทธิ์
ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ อ.นาหว้า แต่เดิมเป็นเจดีย์โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด
         กระทั่งเมื่อปีพ.ศ.2436 บูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ โดยจำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตสารีริกธาตุรวม 7 องค์ พระพุทธรูปเก่าแก่ ดินจากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย 4 แห่ง และพระพุทธบาทจำลองที่อัญเชิญมาจากกรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ.2500
         มีตำนานบอกไว้ว่าพระธาตุแห่งนี้มีพระเป็นผู้สร้าง ที่สำคัญพระประธานของวัดอยู่ประจำทิศตะวันตก ตรงกับพระพฤหัสบดี ที่อยู่ทิศตะวันตกเช่นกัน เชื่อว่าผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุประสิทธิ์ จะได้รับอานิสงส์ส่งผลให้สัมฤทธิผลในการปฏิบัติงาน

สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีส้ม ธูป 19 ดอก เทียน 2 เล่ม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 661 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 661 ครั้ง
 
 
  09 พ.ค. 2551 เวลา 12:18:09  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่19)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 


พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุประจำวันศุกร์

"พระธาตุท่าอุเทน" ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุอุเทน อ.ท่าอุเทน สร้างเมื่อปีพ.ศ.2455 เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม จำลองมาจากพระธาตุพนม แต่มีขนาดเล็กและสูงกว่าพระธาตุพนม ภายในบรรจุดพระพุทธสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า รวมทั้งพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบรรจุถวายเอาไว้
         เชื่อกันว่าผู้ที่เกิดวันนี้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักอิสระ รักสวยรักงาม พระธาตุองค์นี้มีสิ่งที่ตรงกับเทพประจำวันศุกร์ คือพระธาตุหันไปทางทิศเหนือของพระธาตุพนม ตรงกับทิศประจำของพระศุกร์ ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้จะได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์ เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ

สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีน้ำเงินหรือฟ้า ธูป 21 ดอก เทียน 2 เล่ม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 624 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 624 ครั้ง
 
 
  13 พ.ค. 2551 เวลา 09:06:11  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่20)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 


พระธาตุนคร พระธาตุประจำวันเสาร์

พระธาตุนคร" ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ถนนสุนทรวิจิตร อ.เมืองนครพนม พระธาตุมีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อสร้างเสร็จในวันเดือนเพ็ญของปีพ.ศ.2465 มีรูปแบบตามพระธาตุพนมองค์เดิม

         ภายในบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำ และของมีค่าต่างๆ จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาถวายบรรจุเอาไว้ในองค์พระธาตุ เชื่อกันว่าผู้มาสักการะจะได้อานิสงส์ส่งผลให้มีบุญวาสนา เป็นเจ้าคนนายคน พระธาตุแห่งนี้มีเทวดานพเคราะห์ประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ปกปักษ์รักษา

สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ธูป 10 ดอก เทียน 2 เล่ม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 288 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 288 ครั้ง
 
 
  13 พ.ค. 2551 เวลา 09:08:56  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่21) พระคู่บ้าน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 


ประวัติ พระติ้ว - พระเทียม ณวัดโฮกาส(ศรีบัวบาน)


     พระติ้ว พระเทียม เป็นพระปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 39 ซม. สูง 60 ซม.แกะสลักด้วยไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ.1328 (มีอายุถึง1,207ปี) ในสมัยศรีโคตรบูร เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นไป ประวัติพระติ้ว พระเทียมนั้น ตามตำนานเล่าว่าในสมัยศรีโคตรบูร ซึ่งมีราชธานีตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง ระหว่างเทือกเขาหินปูน (ประเทศลาว) และเทือกเขาภูพาน มีเจ้าผู้ครองนครพระนามว่า "พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวง" เนื่องจากว่าการคมนาคมในสมัยนั้น ทางบกใช้ช้าง ม้า ล้อ เกวียน เป็นยานพาหนะ ทางน้ำใช้แพ เรือเป็นยานพาหนะ พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวง จึงได้รับสั่งให้นายช่างชาวบ้านกองลย อยู่ในประเทศลาว ไปดำเนินการ

     เมื่อช่างทำเรือจากบ้านกองลยได้ครับคำสั่งแล้วก็ได้ข้ามน้ำของ(แม่น้ำโขง) มาทางตะวันตก เพื่อแสวงหาไม้มาทำเรือ พบไม้แคน (ไม้ตะเคียน) ในดงเซกา (ปัจจุบันคือบ้านนากลาง ต. นาทรายป จึงขุดเป็นรูปเรือ***น แล้วเตรียมชักลากลงสู่ฝั่งน้ำโขง การชักลากในสมัยนั้นต้องใช้ไม้หมอนกลมตัดเป็นท่อน ๆ เป็นลูกล้อหมุนท้องเรือนายช่างจึงให้พลกำลังไปหาไม้หมอนมาหหนุนท้องเรือ ที่ดงติ้ว (ปัจจุบัน บ้านดงติ้ว ต.บ้านกลาง)เมื่อได้มากพอสมควรแล้วจึงใช้ไม้หมอนนั้นหนุนห้องเรือชักลากลงสู่แม่น้ำโขง ตรงท่าน้ำบ้านโพธิ์ (ปัจจุบัน คือ บริเวณหน้าวัดโอกาส อ.เมือง จ.นครพนม) ขณะชักลากเรือนั้น

     มีไม้ท่อนหนึ่งกระเด็นออกมาข้างนอกไม่ยอมให้เรือทับเมื่อนำเอาไม้ท่อนนั้นมาใช้เป็นหมอนรองท้องเรืออีกและชักลากเรือครั้งใด ไม้ท่อนนั้นก็กระเด็นออกมาถูกพวกลากเรือเจ็บไปตาม ๆ กัน แม้จะพยายามเท่าไรก็ไม่สำเร็จ แต่ก็สามารชักลากเรือลงแม่น้ำได้สำเร็จ พวกร่างเรือเห็นว่า ไม้ท่อนนั้นเป็นไม้อัศจรรย์ จึงได้กราบทูลเรื่องราวให้พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวงทรงทราบ เมื่อพระเจ้าศรีโคตรบูรหลวงทรงพิจารณาแล้วทรงเห็นว่า ไม้ท่อนนี้เป็นพญาไม้ จึงไม่ยอมให้เรือทับ พระองค์โปรดให้นายช่างนำไปแกะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง 30 ซม. สูง 60 ซม. แล้วองค์รักปิดทอง เมื่อจุลศักราชได้ 147 ตัว ปีเป้า ตรงกับวันอังคาร เดือน 7 แรม 8 ค่ำ ปีกุน พ.ศ.1328 โปรดให้มีพิธิพุทธภิเษกสมโภชนเป็นพระพุทธรูปมิ่งบ้านมิ่งเมืองของนครศรีโคตรบูร ต่อมาในสมัยพระเจ้าขัตติยวงศาบุตรมหาฤาชัยไตรทศฤาเดชเชษฐบุรีศรีโคตรบูรหลวง เป็นเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร ขณะนั้น

     พระติ้วประดิษฐานอยู่วัดธาตุ บ้านสำราญ ครั้งหนึ่งได้เกิดเพลิงไหม้หอพระและวิหารวัดธาตุ ชาวบ้านไม่สามารนำพระติ้วออกมาได้จึงพร้อมกันเข้ากราบทูลรายงานการเกิดเพลิงไหม้หอพระและวิหารวัดธาตุ ให้พระเจ้าขัตติยวงค์ทรงทาบ พระเจ้าขัตติยวงศา ทรงทราบดังนั้น มีรับสั่งให้ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีประชาชนเคารพนับถือ มาแกะเป็นองค์พระแทนองค์เดิม ชาวบ้านจึงหาไม้ได้ที่ดอนหอเจ้าปู่ตา ให้ช่างแกะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเท่าองค์เดิม ลงรักปิดทองแล้วสมโภชเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแทนพระติ้ว ที่เข้าใจว่าถูกไฟไหม้ไปแล้ว ครั้ง 2-3 ปีต่อมา ชาวบ้านสำราญจำนวนหนึ่ง ไปทอดแหหาปลากลางน้ำโขง บริเวณหัวดอนโดน ขณะนั้นเกิดลมบ้าหมู (ลมหมุน) ขึ้นกลางแม่น้ำโขง จึงนำเรือไปหอบลมที่หัวดอนพร้อมกับ เฝ้าดูเหตุการณ์ และได้เห็นวัตถุหนึ่งลอยหมุนวนในน้ำที่ถูกลมบ้าหมูพัดเมื่อลมสงบลงจึงพากันออกเรือไปดูและพบว่า วัตถุนั้น คือองค์พระติ้ว ที่เคยสำคัญว่าถูกเพลิงไหม้ไปแล้ว พวกชาวบ้านต่างมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงอัญเชิญเข้าไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าขัตติยวงค์ พระเจ้าขัตติยวงศา ทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงมีพระศัรทธาประทานทองคำหนัก 30 บาท ให้ช่างบุทองทั่วทั้งองค์พระ จารึกตัวอักษรธรรมที่ลานเงิน บอกวัน เดือน ปี พร้อมทั้งนามผู้สร้าง รอบเอวองค์พระและได้ประทานนามพระองค์เดิมว่า "พระติ้ว" ประทานนามพระองค์ที่สร้างใหม่ว่า "พระเทียม" พระติ้ว พระเทียม จึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของนครศรีโคตรบูรตลอดเวลา

     พระติ้ว พระเทียมนี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของนครศรีโคตรบูรหลวง หากมีเหตุโรคภัยเกิดที่บ้านใดเมืองใด เมื่ออัญเชิญไปบ้านนั้นเมืองนั้น เหตุร้ายภัยร้ายทั้งหลายในที่นั้นหายไป ด้วยอำนาจบารมีความศักดิ์ของพระติ้วพระเทียม ดังนั้น พระติ้วพระเทียมจึงเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนมาจนถึงบัดนี้ ต่อมาพระบรมราชาพรหมา (พรหมา บุตรเ***่แก้ว) ได้เป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครบุรีศรีโคตรบูร มีพระราชศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์สำนักสงฆ์วัดศรีบัวบาน (วัดโอกาส) ขึ้น และได้อัญเชิญพระติ้วพระเทียม ซึ่งเป็นพระคู่เมืองของอาณาจักรศรีโคตรบูรจากบ้านสำราญ มาประดิษฐานที่วัดศรีบัวบาน พ.ศ.2281 และรับส่งให้ชาวบ้านสำราญ เป็น "ข้าโอกาส" คอยปรนนิบัติรักษาพระติ้วพระเทียม พร้อมกับเปลี่ยนนามวัดใหม่จากวัดศรีบัวบานเป็นวัดโอกาส ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พระติ้ว พระเทียม จึงประดิษฐานอยู่ทีวัดโอกาสตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

     และชาวเมืองนครพนมจะจัดงานนมัสการสรงน้ำพระติ้วพระเทียม ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6

คำบูชาพระติ้ว-พระเทียม
      ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ อิมัง พุทธปะฏิมัง อะภิปูชะยามิ ยะถิจฉิตัง เม อะธิกัจฉะตุ สัพพะทา หิตายะ เจวะ สุขาวะ สุขายะ นิพพานัสสะ สังวัตตะตุฯ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 385 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 385 ครั้ง
 
 
  28 พ.ค. 2551 เวลา 09:14:00  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่23) วันไหลเฮือไฟ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 
วันออกพรรษาของทุกปี
ชาวนครพนมจะมีงานไหลเฮือไฟเพื่อ
เฉลิมฉลองการเสด็จกลับมาของพระพุทธเจ้าจากสวรรค์(ตามความเชื่อ)
และเป็นการขอบคุณรวมทั้งขอขมาแม่น้ำโขง

แต่ปีนี้ผมอดดูเพราะติดงานครับ

ได้กลับก็ไปฉลองวันเกิด ร.ร. ปิยะมหาราชาลัย ครบ 99 ปี ครับ
ใครไปก็เจอกันนะครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 577 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 577 ครั้ง
 
 
  14 ต.ค. 2551 เวลา 09:26:37  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  Bumpkin    คห.ที่25) กลับบ้านเที่ยวงานพระธาตุพนม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : นครพนม
เข้าร่วม : 04 ก.พ. 2551
รวมโพสต์ : 40
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 101580
รวม: 101580 สาธุการ

 
เริ่มต้นเดือนมา กะซิมีงานพระธาตุพนม ซึ่งจัดฉลองทุกปี
ปีนี้กะซิเมือเฮือนกลับไปไหว้ขอพรก่อนเด้อครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 13 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 13 ครั้ง
 
 
  02 ก.พ. 2552 เวลา 12:47:45  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
นครพนม --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ