มิตรไมตรีเลิศล้ำ วัฒนธรรมอลังการ สืบสานตำนานทรงคุณค่า อีสานจุฬาฯร่วมใจอนุรักษ์

กระดานสนทนา ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โสเหล่ เฮฮา กับสภาไนบักขามคั่ว

ตั้งกระทู้ใหม่
847) ชาติพันธุ์และชนเผ่าต่างๆใน 19 จังหวัดอีสาน
 คห.ที่40)
คุณอ้ายโอ๊ต:
ชนเผ่าในอุบลราชธานี ได้แก่

ไทลาว
กุลา(ไทใหญ่) ที่ยังคงรูปแบบวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่
เขมร(ฝั่งกัมพูชา)

    

อุบลยังมี ส่วย(กูย)

ข่าบรู  ภูไท บ้างเล็กน้อยๆ
 คห.ที่41)
ผมก็ลืมไปว่าอุบลฯติดกับศรีสะเกษเนาะ เลยมีชาติพันธุ์แบบอีสานใต้อยู่ด้วย

ลองแนะนำมาอีกนะครับ ว่าจังหวัดต่างๆมีชาติพันธุ์แบบไหนกันบ้าง
 คห.ที่42)
คุณอ้ายโอ๊ต:
ร้อยเอ็ดมี 5 เผ่า คือ

ลาว ภูไท เขมร กูย(ส่วย) กุลา

เพราะเป็นอีสานกลางเลยมีเผ่าที่แตกต่างกันเยอะหน่อย

    

เพิ่มเผ่าที่ 6 คือ ไทเบิ้งหรือไทเดิ้งหรือไทโคราช
ที่บ้านม่วงไทหรือบ้านม่วงลาด อำเภอจังหาร และบ้านเทอดไทย อำเภอทุ่งเขาหลวง เป็นเชื้อสายเดียวกับคนบ้านหม้อ สารคาม มีอาชีพปั้นหมอขาย อาศัยตามฝั่งลำน้ำชี

***บ้านที่มีคนไทโคราชอาศัยอยู่ ชาวร้อยเอ็ดจะเรียกว่า บ้านไท หรือมีคำว่าไทลงท้ายเช่น บ้านม่วงลาด หมู่6ที่เรียกสั้นๆ ว่าบ้านไท และบ้านเทอดไท เป็นต้น
 คห.ที่43)
เป็นข้อมูลใหม่ ที่ไม่มีอยู่ในหนังสือเอกสารข้อมูลจังหวัดร้อยเอ็ด อยากให้จังหวัดเราเน้นเรื่องศิลปวัฒนธรรมแต่ละชาติพันธุ์

หรือไม่ก็ให้วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดออกสำรวจทำข้อมูล หรือเป็นชุดการแสดงก็ดีนะครับ
 คห.ที่44)
ถ้าหากจะนับกันจริงๆๆ คงมี

ไทย-จีน (ฟ้อนเฮือส่วงที่บึงพลาญชัยสมัยก่อน ยังมีลูกสาวไทย-จีน ฟ้อนบนเรือมังกร)

ไทย-ญวณ

ไทย-เเขก

ไทญ้อ ที่อำเภอโพธิ์ชัย
 คห.ที่45)
ในปัจจุบันการศึกษาเรื่องชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ทำได้ยากลำบากมากขึ้น    เหตุผลที่สำคัญคือ  ยุคสมัยแห่งโลกาภิวัตร์  ทำให้มีการติดต่อสื่อสารและผสมผสานทางวัฒนธรรมกันอย่างแพร่หลาย  แต่ละชาติพันธุ์ก็ไม่อาจดำรงความเป็นอัตลักษณ์แห่งตนเองไว้ได้   อีกเหตุผลหนึ่งก็คือประชากรแฝงมีมากขึ้น  หรือการตั้งรกรากไม่นานพอที่จะถ่ายทอดอัตลัษณ์ไปสู่  Generation  ต่อๆ ไปได้  การนับจำนวนชาติพันธุ์จึงทำได้ยาก   โดยเฉพาะการจำกัดขอบเขตให้แคบลงในระดับจังหวัด
 คห.ที่46)

เห็นด้วยกับ อ้ายต้องแล่ง ครับ  
พิธีกรรม  คำสอน  และอัตตลักษณ์  มีรูปแบบมาจาก ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
ของชาติพันธุ์ที่อาศัยในภูมิภาค  สมัยก่อน การสืบทอดอัตตลักษณ์ ทำได้โดย
สถาบันครอบครัวสอนสั่ง
สถาบันทางสังคม อบรม ได้แก่ วัดวา  พิธีกรรมทางสังคม
องค์ประกอบอื่นๆ   เรื่องเล่าข้างกองไฟ  ผู้นำชุมชน  และการสื่อสารในชุมชน
แต่องค์ประกอบโดยรวม คือธรรมชาติครับ
 คห.ที่47)
ปัจจุบันนี้ ลูกหลานชาวเผ่า ชาวไท กลุ่มต่างๆ เริ่มละทิ้งฮีต คอง เดิม ภาษาถิ่นก็เริ่มสูญหาย มนุษย์เริ่มก้าวเข้าไปสู่ความเป็นสากลที่เหมือนๆกัน สิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมเดิม กลายเป็นสิ่งล้าสมัย หรือกลายเป็นสิ่งน่าอาย ทั้งที่ในอดีตนั้น บรรพบุรุษของแต่ละกลุ่มชน ต่างก็เรียกขานนามของความเป็น เผ่าพันธ์ของตน อย่างภาคภูมิ

แนวกกไม้ แตกไปหลายง่า
ฮากกะแยก กกจั่งตั้งเที่ยง
เพียงเสมอดังด้าม มนุษย์นั้นนามประสงค์
คงสิเอิ้นไทพ้อง พวกเผ่าต่างกัน
 คห.ที่48)
ความงดงามแห่งผืนป่า  มาจากความหลากหลายทางชีวภาพฉันใด   ความงดงามแห่งมนุษยชาติก็มาจากความหลากหลายแห่งชาติพันธุ์ฉันนั้น
 คห.ที่49) ชาวไทยเชื้อสายจีน
คนไทยเชื้อสายจีน
ภาษากลุ่มซิโน-ทิเบตัน
(บางคนรวม ไท-กะได กับ หม่อง-เมียน กับภาษากลุ่มซิโน-ทิเบตัน)
  




คนไทยเชื้อสายจีน คือ คนจีนที่เกิดในประเทศไทย และ เป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือ ชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ ๘ ล้านคนในประเทศไทย หรือ ๑๔% ของประชากรทั้งประเทศ
ส่วนมากจะเป็นเชื้อสายแต้จิ๋ว ประมาณ ๕๖% รองลงมา ได้แก่ แคะ ๑๖% ไหหลำ ๑๑% กวางตุ้ง ๗% ฮกเกี้ยน ๗% และอื่นๆ ๑๒% ยังมีอีกมากที่ไม่สามารถนับได้ เพราะกลมกลืนโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ



ประวัติศาสตร์ของการที่ชาวจีนอพยพมาประเทศไทย ต้องย้อนกลับไปหลายร้อยปี เริ่มตั้งแต่

สมัยสุโขทัย ชาวจีนเริ่มเดินเรือสำเภา มาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย แต่หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อชาวจีนมาสอนการทำเครื่องถ้วยชาม โดยเฉพาะเครื่องสังคโลก

สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวจีนที่เดินทางมาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยมากขึ้น โดยส่วนมากจะมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีน เพื่อมาตั้งรกรากและทำการค้า

สมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๖๐๙ - ๒๓๑๒ จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดยพม่าที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีน ในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง ๔ ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่า ในอาณาจักรอยุธยา ซึ่งกำลังถูกพไม่ึดครอง ขุนพลครึ่งไทยจีนนาม "สิน"ซึ่งมีบิดานาม ไหฮอง เป็นชาวจีนแต้จิ๋วและมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวสยามได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้สยามได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ เป็น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงขึ้นครองราชย์ แล้วชาวจีนแต้จิ๋วได้เข้ามาทำการค้า และอพยพมายังกรุงธนบุรี จำนวนมาก ทำให้ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในไทยเพิ่มจาก ๒๓๐,๐๐๐ คนใน พ.ศ.๒๓๖๘ เป็น ๗๙๒,๐๐๐ คนใน พ.ศ. ๒๔๕๓ และใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ประชากรไทยถึง ๑๒.๒% เป็นชาวจีนโพ้นทะเล

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การอพยพของชาวจีนยุคแรก ส่วนมากเป็นผู้ชาย เมื่อมาตั้งรกรากแล้วก็จะแต่งงานกับผู้หญิงไทย ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่าลูกจีน แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นี้ กระแสการอพยพเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจีนอพยพเข้ามาในสยามมากขึ้น จึงทำให้การแต่งงานข้ามเชื้อชาติลดลง

การคอรัปชั่นในรัฐบาลราชวงศ์ชิง และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศจีน ประกอบกับการเก็บภาษีที่เอาเปรียบ ทำให้ชายชาวจีนจำนวนมากมุ่งสู่สยาม เพื่อหางานทำ และส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในประเทศจีนขณะนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องจำยอมขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีเพาะปลูกของทางการ

ในรัชสมัยปลายรัชกาลที่ ๓ ประเทศไทยต้องระวังผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และอังกฤษได้มลายูเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจากมณฑลยูนนาน ก็เริ่มไหลเข้าสู่ประเทศไทย กลุ่มชาวไทยชาตินิยม จากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีน ขึ้น หลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ และยังได้รับอำนาจผูกขาดการค้า รวมถึงการเป็นนายอากรเก็บภาษีซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ ๓ ด้วย ในขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของโรงสี และพ่อค้าข้าวคนกลางชาวจีน ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยาม กินเวลาเกือบ ๑๐ ปี หลังปี พ.ศ. ๒๔๔๘

ชาวไทยเชื้อสายจีนทำมาค้าขายและตั้งรกรากในไทย ในภาคอีสานเรียกได้ว่าพบได้แทบทุกอำเภอเลยทีเดียว ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนได้มีการสืบทอดและดำรงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนตลอดมา เช่น การตั้งศาลเจ้า การสืบทอดทางด้านประเพณีต่างๆ ขนบธรรมเนียม และวิถีชีวิตที่มีรูปแบบเฉพาะ

ภาษาและวัฒนธรรม
ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาจีนในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาจีนของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาจีนกับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาจีนกับลูกหลาน



อย่างไรก็ตามประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติได้ ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ปัจจุบัน กระแสความนิยมภาษาจีนกลาง กำลังมีสูง เนื่องจากเป็นภาษาที่สำคัญในการติดต่อธุรกิจระหว่างไทย-จีน และสำหรับลูกหลานจีนที่เป็นวัยรุ่นก็ได้รับสื่อต่างๆ จากไต้หวัน มาก ทั้งละคร และเพลง ทำให้ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดสอนอยู่มากขึ้นตามเพื่อสนองความต้องการ


ศาสนาและความเชื่อ
ชาวไทยเชื้อสายจีนนับถือทั้งความเชื่อดั้งเดิม ได้แก่ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ เช่น การไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าต่างๆ และพระพุทธศาสนา นิกายมหายานแบบจีน แต่ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะยึดถือความเชื่อดั้งเดิมดังกล่าวน้อยลง โดยพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบไทยจะมีอิทธิพลเหนือกว่า ดังนั้น ชาวไทยเชื้อสายจีนจึงไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าตามประเพณี และเข้าวัดไทยเหมือนชาวไทยทั่วไป ส่วนเรื่องงานศพ ชาวไทยเชื้อสายจีนยึดถือแบบจีนดั้งเดิม เช่น การทำกงเต๊กและฝังศพ น้อยลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงมาก และนิยมการเผาศพแบบไทยมากขึ้น



ขณะเดียวกันมีชาวจีนฮ่อบางส่วนในภาคเหนือที่นับถือศาสนาอิสลามตามบรรพบุรุษอยู่แล้ว พวกเขามีการรวมกลุ่มที่หนาแน่นกว่าชาวจีนฮ่อที่ไม่ใช่มุสลิม ในจังหวัดเชียงใหม่มีมัสยิดของชาวจีนมากถึงเจ็ดแห่ง หนึ่งในมัสยิดที่สำคัญที่สุดคือมัสยิดบ้านฮ่อ

วัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเลในไทยนั้นจะต่างกับชาวจีนโพ้นทะเลในสิงคโปร์และมาเลเซียบางส่วน ซึ่งจะหันไปนับถือศาสนาคริสต์ และพูดภาษาจีนกลาง ชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนกลับไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนมากนักและนิยมวัฒธรรมที่กลมกลืนไปกับคนไทย

ตอบกระทู้


Creative Commons License