มิตรไมตรีเลิศล้ำ วัฒนธรรมอลังการ สืบสานตำนานทรงคุณค่า อีสานจุฬาฯร่วมใจอนุรักษ์

กระดานสนทนา ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โสเหล่ เฮฮา กับสภาไนบักขามคั่ว

ตั้งกระทู้ใหม่
555) ช่างฟ้อนวงโปงลางเลยพิทยาคม ในคาบต่างๆ ในงานกาชาดจังหวัดเลย
 คห.ที่10)


แม่เป้ง
 คห.ที่11)


พี่ๆนางรำรุ่นใหญ่ ในคาบรับจ้างถือป้าย
 คห.ที่12)


พระเวสสันดร+นางมัททรี
 คห.ที่13)


พระเวสสันดร รับบทโดย อิอิ ผมเองคับ บาส ช่างฟ้อน+พิธีกรประจำวง+ประสานงานวง
นางมัททรี รับบทโดย พี่เนยคับ ช่างฟ้อนรุ่นใหญ่+พิธีกรประจำวง
 คห.ที่14)
ขอคำเสนอแนะจากผู้รู้ในการเรียกระหว่าง  "ช่างฟ้อน"  กับ "นางรำ"

ที่เคยได้ยินมานั้น  คำว่า  "ช่างฟ้อน" เป็นการใช้เรียกนางรำของทางล้านนาหรือการแสดงของคนเมือง  (ภาคเหนือ)  เพราะตอนที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นมีเพื่อนๆหลายคนก็เป็นนางรำของชมรมพื้นบ้านล้านนา(ไม่ใช่ของคณะวิจิตรศิลป์)  เขาเรียกพวกนางรำว่า  "ช่างฟ้อน"
แต่สำหรับอีสานบ้านเรานั้นผมไม่เคยได้ยินพื้นที่ไหนเรียก  "นางรำ"  ว่า  "ช่างฟ้อน" อันนี้ก็เลยไม่แน่ใจและเริ่มจะสรุปไม่ได้ว่าอีสานเองเรียกนางรำว่าเช่นไร  แต่บ้านผมเรียก  "นางรำ"  
อันที่จริงความหมายไม่แตกต่าง  แต่ไม่อยากให้เข้าใจผิดและใช้คำผิด  เพราะเรามีวัฒนธรมของเรา  ไม่แตกต่างกับคำว่า  "ทุง"  กับ  "ตุง"  ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน  แต่เรามีวัฒธรรมทางด้านภาษาพูดแตกต่างกัน(ล้านช้างกับล้านนา)  ปัจุบันคนทั่วไปก็จะเรียกว่า  "ตุง"  แทนคำว่า  "ทุง"  ซึ่งเป็นคำพื้นเพอีสานบ้านเฮา  หรืออาจเป็นเพราะผมเป็นภูไทหรือเปล่าที่ทางบ้านผมเรียก  "ทุง"  แล้วกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่อยู่ในภาคอีสานหละครับเขาเรียกว่าอย่างไร
 คห.ที่15)


ในความคิดของผมนะครับ คือ

คำว่านางรำเป็นนาฏยศัพท์ทางภาคกลางซึ่งนำมาเรียกใช้ผู้ที่ฟ้อนรำในภายหลัง บ้างก็เรียกว่า นาฏศิลป์ชาย-นาฏศิลป์หญิง ซึ่งเกิดจากการที่เรารับเอาแนวความคิดแบบภาคกลางมาใช้ครับ

เพราะถ้ามีผู้ชายเป็นคนฟ้อนบางแห่งก็เรียกว่า นายรำ............มันฟังดูแหม่งๆยังไงไม่รู้

ในภาษาอีสาน คำว่า รำ ไม่มีความหมายในภาษาไทลาว มีเพียงคำว่าลำหรือขับลำ
เพราะตัว ร ในภาษาอีสานหรือภาษาลาวจะออกเสียงเป็น ฮ
เช่น รำข้าว ก็ออกเสียงเป็นฮำข้าว เป็นต้น

ในประเทศลาวก็จะเรียกนาฏศิลป์ว่า ช่างฟ้อน เช่นเดียวกันครับ
เพราะจะทำให้สื่อให้เห็นภาพของนาฏศิลป์ได้ง่ายกว่า
และเป็นคำเรียกใช้ในภาษาอีสานที่ชัดเจน
คือ นักดนตรี หมอลำ หมอแคน ช่างฟ้อน
 คห.ที่16)
ขอบคุณรูปภาพสวยๆ จากพี่บาสคับผม  สุดยอดไปเลย  นางรำโรงเรียนพี่สวยดีนะครับ

งามสมเป็นสาวเลยจริงๆ  55+


พี่โอ๊ตก็ช่างสรรหารูปจริงๆ เลยนะครับ  รู้สึกว่ารูปที่พี่แกเก็บมาโพสแต่ละรูปมีแต่สวยๆ หายาก  แล้วก็มีคุณค่าด้วยครับ  อย่างรูปด้านบน


ผมชอบมากก  เอ  แล้วทำไมเขาบ่มิเอิ้นว่านางฟ้อนล่ะคับ


555+  ล้อเล่นๆๆ
 คห.ที่17) สวยมากเลย แต่ไม่จริง


คัพ สวยมากเลยคัพ

สงสัยนาง ช่าง ฟ้อน ช่างเอ่ยของเลยพิทยาคมนะ
คนมาหน้าตาเหมือน ช่างฟ้อน  หรือ นางรำของ รร.ศรีสงรักษ์วิทยา
จากวงโปงลาง มุจรินโปงลาง ของด่านซ้ายมากเลยนะคัพ

งั้นถ้าไม่เวื่อวันหลังว่างๆๆ จะเอามาโชละกานนะ
 คห.ที่18)
พอเหอะ  .. . มั่วทั้งสองแหละ .. .

พี่ทีว่า ช่างฟ้อนอ่ะ ชื่อเจมส์ เปนนางไห คนเก่าของ ร.ร.ศรีงครามวิทยา

ไม่อายบ้างรึไง หุหุ ...
 คห.ที่19)
คำว่า ช่างฟ้อนนั้น ถูกต้องแล้วครับ
เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกันมาแต่โบราณแล้ว มีปรากฏอยู่ในกาพย์เซิ้งในวรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่ และเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่องอย่างชัดเจนครับ
ส่วนคำว่า รำ ในภาษาอีสานนั้น ออกเสียงเป็น ฮำ ที่หมายถึง รำข้าว ครับ
และคำว่า ลำ นั้น ถ้าเป็นกิริยาศัพท์นั้น จะหมายถึง การร้อง เช่นเดียวกับคำว่า ซอ ในภาคเหนือ ที่แปลว่า การขับร้องเหมือนกันครับ

กระจ่างแจ้ง
ตอบกระทู้


Creative Commons License