มิตรไมตรีเลิศล้ำ วัฒนธรรมอลังการ สืบสานตำนานทรงคุณค่า อีสานจุฬาฯร่วมใจอนุรักษ์

กระดานสนทนา ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โสเหล่ เฮฮา กับสภาไนบักขามคั่ว

ตั้งกระทู้ใหม่
550) ภาพถ่ายอีสาน(และลาว)เมื่อร้อยกว่าปีก่อน
 คห.ที่233) ภาพถ่ายอีสานโบราณ


ภาพถ่ายอีสานโบราณ สตรีชาวผู้ไท มณฑลอุดร    


 คห.ที่234) ภาพถ่ายอีสานโบราณ




ภาพถ่ายอีสานโบราณ สตรีในวงศ์เจ้าเมืองนครพนม ถ่ายภาพที่สกลนคร มณฑลอุดร ปีค.ศ. 1907



ภาพลงสีจากเพจ  https://www.facebook.com/COLORBYPUNGKUN/
 คห.ที่235) ภาพถ่ายอีสานโบราณ


ภาพถ่ายอีสานโบราณ ญาแม่เมืองนครพนม    
ต้นฉบับภาพจากเพจ กลางทุ่งมหาวิทยาลัย    https://www.facebook.com/ktu.in.th/
 คห.ที่236) ภาพถ่ายอีสานโบราณ





ภาพถ่ายอีสานโบราณ บุตรีเจ้าเมืองหนองคายสวมเสื้อปั๊ด ผ้าสไบอัดจีบ    

ภาพลงสีอ้างอิงจากเพจ : https://www.facebook.com/COLORBYPUNGKUN/
 คห.ที่237) ภาพถ่ายอีสานโบราณ
ภาพชายคนชั้นสามัญ มณฑลอุดร








ภาพลงสีอ้างอิงจากเพจ : https://www.facebook.com/COLORBYPUNGKUN/

#ภาพถ่ายอีสานโบราณ
 คห.ที่238) ภาพถ่ายอีสานโบราณ
ภาพถ่ายอีสานโบราณ หญิงชาวบ้านนั่งเรียงบนราวบันไดไม้ระหว่างรับเสด็จ



ภาพลงสีอ้างอิงจากเพจสยามพหุรงค์ : https://www.facebook.com/pg/noomrattana3

https://www.facebook.com/noomrattana3/photos/a.780955428607931.1073741828.780950968608377/886748328028640/?type=3&theater
 คห.ที่239) ร้อยเอ็ดในอดีต


งานบุญกฐิน ในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อประมาณ ๗๐ ปีที่แล้ว (ขอบคุณภาพถ่ายจาก คุณพ่อวีระ วุฒิจำนงค์)

งานบุญกฐินนี้แตกต่างกับสมัยปัจจุบัน ที่สมัยก่อนเขาจะขนธรรมมาสน์จากวัดมาตั้งที่บ้านเจ้าภาพ และนิมนต์พระมาเทศน์มาสวดมนต์กันถึงบ้านเจ้าภาพ
แต่สมัยปัจจุุบัน นิยมจัดงานกินเลี้ยงอย่างอึกทึก ให้พระท่านรออยู่ที่วัด นิมนต์มาเพียงช่วงที่มีพิธีกรรมเท่านั้น ทำให้คนยุคนี้ไม่ค่อยมีโอกาสนั่งฟังเทศนากันเหมือนเมื่อก่อน
 คห.ที่240) ร้อยเอ็ดในอดีต


ภาพต้นฉบับจากเฟซบุค : Poom Jup Roiet Vuttichamnong

บัวแก้ว สัจจวาณิชย์ ในพิธีโกนจุก ของจังหวัดร้อยเอ็ด

ภาพเมื่อปี ค.ศ.1933 (พ.ศ.2476) เมื่ออายุ 10 ขวบ ถือได้ว่าเป็นตระกูลคหบดีผู้มีลาภยศสูง ด้วยความที่ตระกูลนี้สร้างสิม(โบสถ์)บำรุงวัดมาแต่ช้านาน
ปัจจุบันนางบัวแก้ว สัจจวาณิชย์ คือมารดาของ สุรพล สัจจวาณิชย์ สถาปนิกชื่อดังที่ปัจจุบันพำนักในสหรัฐอเมริกา
"เบญจา"ทำจากกาบกล้วยแทงลาย(งานสลักหยวกหรือแทงหยวก) ประดับด้วยธงชาติไทย ม่านปักลายหงส์ของจีน พวงมะโหตร มาลัยกระดาษ บายศรีต้น ๕ ชั้น มีวงมโหรีบรรเลงในพิธีกรรม

เหล่าคหบดีและอัญญาในเมืองร้อยเอ็ดนิยมแต่งกายประหนึ่งชาวพระนครหรือกรุงเทพฯ ด้วยความที่นุ่งโจงกระเบน แลดูแตกต่างจากชาวบ้านทั่วไปที่นุ่งซิ่นมัดหมี่
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่นุ่งซิ่นเสียเลย เพราะผ้าซิ่นของเหล่าคหบดีและอัญญาเมืองร้อยเอ็ด จะทอด้วยการวิธีการทอขิด สอดด้วยดิ้นเงินดิ้นทองที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีลวดลายซับซ้อนกว่าซิ่นของชาวอีสานทั่วไป
บ้างก็ใช้การสอดดิ้นเงินดิ้นทอง ทอสลับลงไปในผืนผ้าซิ่นมัดหมี่ที่สอดผสมขิดลายเล็กๆ ต่อด้วยตีนช่อ(ตีนซิ่นลายขิด)ลวดลายสวยงาม แลดูล้ำค่าและสง่างามกว่าชาวบ้านทั่วไป
 คห.ที่241) ร้อยเอ็ดในอดีต


ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจาก : คุณพ่อวีระ วุฒิจำนงค์

พระยาขัติยวงศาเอกธิกะสตานันท์ (ท้าวสุวรรณเหลา ณ ร้อยเอ็ด) ต้นสกุล ณ ร้อยเอ็ด
เป็นภาพสุดท้ายที่เหลืออยู่ และเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนระบบการปกครองจากเจ้าเมือง สมุหเทศาภิบาลมณฑล และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป
 คห.ที่242) ร้อยเอ็ดในอดีต


ขอขอบคุณ ภาพถ่ายและข้อมูลจาก : Suwat Leekajon (สุวัฒน์ ลีขจร)

พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ)
อดีตเจ้าเมืองร้อยเอ็ด ผู้ริเริ่มให้มีการขุดลอกบึงพลาญชัยครั้งแรก
ชื่อของท่านถูกนำมาตั้งเป็นชื่อถนนรอบบึงพลาญชัย ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ว่า "ถนนสุนทรเทพ"
ตอบกระทู้


Creative Commons License