มิตรไมตรีเลิศล้ำ วัฒนธรรมอลังการ สืบสานตำนานทรงคุณค่า อีสานจุฬาฯร่วมใจอนุรักษ์

กระดานสนทนา ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โสเหล่ เฮฮา กับสภาไนบักขามคั่ว

ตั้งกระทู้ใหม่
109) วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด
 คห.ที่21)
คุณบ่าวภูไท  นครฯ:
คุณวิท:
....ภูไทสามเผ่า...


ภูไททางเมิงฮ้อยเอ็ดเพิ้นเอ้สีเหลิงนำน้อ  มีเคยเห็นจักเท้อ  ผู้เลอฮู้ที่มาหองการเอ้แบบนี้กะหอความฮู้แด่เน้อ

    

อ้ายบ่าวภูไทคร้าบ  กระผมเป็นคนโง่นิดนึงครับ  ผมฟังภาษาภูไทไม่ออกอะครับ  วานช่วยแปลไว้ทุกครั้งด้วยนะครับ  ผมจะได้ความรู้ภาษาภูไทและลบล้างความงงในขมองด้วยเลย

"ภูไททางเมืองร้อยเอ็ดแต่งสีเหลืองด้วยเหรอ  ไม่เคยเห็นซักที  ใครรู้ที่มาของการแต่งแบบนี้ก็ขอความรู้หน่อยนะ"  ถูกรึเปล่าครับ  ลองๆ แปลดู
 คห.ที่22) วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด


...ผมเห็นเดี๋ยวนี้การแสดงฟ้อนดึงครกดึงสาก ของวศ.ร้อยเอ็ดการแต่งตัวของนางรำเปลี่ยนไปเรื่อยเลยครับ แต่ยังกระบวนท่ารำยังเหมือนเดิม ถามว่าสวยไหม ก็สวยครับ.. แต่อย่าหาว่าพูดแรงไปเลยนะครับ แลดูหา "จุดยืน" ไม่ได้ครับ อยากให้ทางวศ.อนุรักษ์ในแบบแผนและมาตรฐานเดิมไว้ครับ  
   ท่านใดมีความคิดเห็นว่าอย่างไรก็เสนอแนะกันได้นะครับ.. เพราะผมเองก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายตรงจุดนี้ซักเท่าไหร่นัก (บอกตามตรงครับได้ความรู้เพิ่มเติ่มหลายอย่างจาก คุณโหวดฟ้า, คุณโอ๊ต และน้องปังคุงครับ กล้าพูดได้เลยว่าสามท่านนี้มีความรู้ในด้านนี้มากครับ...)
 คห.ที่23) ฟ้อนดึงครกดึงสาก


....ฟ้อนดึงครกดึงสาก
 คห.ที่24) ฟ้อนดึงครกดึงสาก


...ฟ้อนดึงครกดึงสาก
 คห.ที่25) ฟ้อนดึงครกดึงสาก


....ฟ้อนดึงครกดึงสาก
 คห.ที่26)
คุณปังคุง:
คุณบ่าวภูไท  นครฯ:
คุณวิท:
....ภูไทสามเผ่า...


ภูไททางเมิงฮ้อยเอ็ดเพิ้นเอ้สีเหลิงนำน้อ  มีเคยเห็นจักเท้อ  ผู้เลอฮู้ที่มาหองการเอ้แบบนี้กะหอความฮู้แด่เน้อ

    

อ้ายบ่าวภูไทคร้าบ  กระผมเป็นคนโง่นิดนึงครับ  ผมฟังภาษาภูไทไม่ออกอะครับ  วานช่วยแปลไว้ทุกครั้งด้วยนะครับ  ผมจะได้ความรู้ภาษาภูไทและลบล้างความงงในขมองด้วยเลย

"ภูไททางเมืองร้อยเอ็ดแต่งสีเหลืองด้วยเหรอ  ไม่เคยเห็นซักที  ใครรู้ที่มาของการแต่งแบบนี้ก็ขอความรู้หน่อยนะ"  ถูกรึเปล่าครับ  ลองๆ แปลดู

    
จ้าวๆ  อัญญาปังคุง  เอาเว้นเท้อหน้าข้อยหละแปลเห้อเน้อ

ขอบเจออัญญาอ้ายโอ๊ตเพิ้นเน้อที่ได้เบาะที่มาหองการเอ้ภูไทแบบนี้  กะย้อนว่าข้อยนี้ปึกเส็งป่าคา  หนาเส็งป่าโก้ย  แนวเลอมีเคยพ้อมีเคยเห็นกะเลยถามเพื่อเห้อฮู้จักที่มาที่ไปหองวิถีทางแห่งการหาความฮู้

อันโตข้อยเองกะเป็นภูไทตะเกิด  เหมิดพ่อเหมิดแม่กะเป็นภูไท  สนเจอที่จะศึกษาเก่วกับภูไททุกแขนง  ซึ่งเห็นได้ว่าภูไทได้เอกลักษณ์หองโตเอง  เอ็ดเห้อหลายสถาบันการศึกษาได้มีการศึกษาเก่วกับภูไท  และมีการนำเสนอที่แตะต่างกันเอาะไปตามแต่องค์ความฮู้ที่หามาได้
................
แปล

จ้าวๆ  เป็นคำตอบรับ
อัญญา/อาญา  เป็นคำเรียกนำหน้าชื่อบุคคล  ผู้ที่ได้รับเรียกแบบนี้ถือได้ว่าคนเรียกให้เกียรติเป็นอย่างมาก
เอาเว้นเท้อหน้า  เอาไว้ครั้งต่อไป
เห้อ  แปลว่า  ให้
ขอบเจอ  แปลว่า  ขอบใจ
เบาะ  ตรงกับ  บอก
หอง  ตรงกับ  ของ
การเอ้  แปลว่า  การประดับ  ตกแต่ง
เก่ว  ตรงกับ  เกี่ยว
แตะต่าง  ตรงกับ  แตกต่าง
เอาะ  ตรงกับ  ออก

จบบั้นหองการแปลเว้นสาก่อน  ไหว้สา
 คห.ที่27)
ขอบคุณสำหรับคำชมครับ
คือ จริงๆแล้วก็พูดในส่วนที่รู้นะครับ ผิดพลาดอย่างไรก็ช่วยกันด้วยนะครับ หลายคน หลายฝ่าย หลายทรรศนะ ค่อยเว้า คอยจา การพัฒนามันก็จะเกิด

จริงๆแล้วแถบสีเหลืองในชุดผู้ไทนี้ ก็ไม่มีในวัฒนธรรมการแต่งกายแบบดั้งเดิมหรอกครับ (ไม่ปรากฏว่า มีการแต่งกายที่ใช้แถบสีเหลืองแบบนี้เลย) เข้าใจว่า วนศ ร้อยเอ็ด คงมองทีเอกลักษณ์ในทางการฟ้อนของ วนศ ร้อยเอ็ด ซึ่งน่าที่จะมีจุดประสงค์ที่จะทำให้มีความแตกต่างจาก วนศ กาฬสินธิ์ (กาฬสินธิ์ ทำชุดฟ้อนผู้ไทสามเผ่านี้ก่อนร้อยเอ็ด) ซึ่ง ลักษณะการฟ้อน เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ที่แตกต่างกันระหว่างวิทยาลัยทั้งสองนั้น ก็ยังคงมีปรากฏอยู่ในอีกหลายๆชุดฟ้อน เช่น เซิ้งกะโป๋ ดึงครกดึงสาก (ท่าทาง การนับไม่เท่ากัน) เป็นต้น นี่จึงอาจเรียกว่า ทางใครทางมัน นั่นเอง

คือ ผมคาดหวังกับ วนศ ทั้งสองแห่งเป็นอยางยิ่งว่า จะได้มีการพัฒนา วิจัย ปรับปรุง ให้การแสดงในชุดต่างๆนั้นมีความถูกต้องตามแบบ ตามขนบ ตามสังวาด แบบอีสานดั้งเดิม ที่งดงาม โดยจุดที่ผมคาดหวังนั้นก็คือ อยากให้ชุดการแสดงในแต่ละชุดนั้น เป็นแบบแผน เป็นระเบียบอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับ โขน

ซึ่งนั่นก็คือการยกระดับ การฟ้อน การรำ ของอีสานนั้นให้ได้มีมาตฐาน และการสืบสานต่อก็จะได้มีความถูกต้อง แม่นยำ ไม่ใช่แบบที่ ยี่สิบวง รำชุดเดียวกัน ก็ไม่เหมือนกัน เช่นในปัจจุบัน ความเพี้ยนันก็มีไปเรื่อยๆ (บางท่านเคยบอกว่า แบบนี้ละคือการพัฒนา ซึ่งผมไม่เห็นด้วย)
 คห.ที่28)
ขอบคุณสำหรับคำชมของพี่วิทนะครับ

จะว่าไปผมเองไม่ค่อยทราบอะไรมากจนกระทั่งผมช่วยอาจารย์ทำวิทยานิพนธ์เรื่องอารยธรรมแอ่งสกลนครและทำประวัติศาสตร์อุดรธานีกับความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมสังคมของความเป็นอีสาน

ผมเลยพลอยได้ศึกษามาบ้าง  ทำให้ได้ความรู้มานิดหน่อย  แต่โดยส่วนตัวผมเองก็ชอบอะไรแบบอีสานนะครับ  แต่จะหนักไปด้านประวัติศาสตร์แล้วก็สถาปัตยกรรม  แต่ด้านการแสดงก็พอมีความรู้บ้างเล็กน้อย  ได้มาอาศัยพี่ๆ ที่นี่แหละครับ  ทำให้ได้ทราบอะไรต่างๆ ที่นอกเหนือจากการแสดงอีสานเท่านั้นด้วย

ผมเองก็ได้แสดงทัศนคติเกี่ยวกับหลายๆ เรื่องไว้  หลายคนก็โต้เเย้ง  หลายคนก็สนับสนุน  ทำให้ผมได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้น  เข้าใจถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็นอีสานได้พอสมควร

อย่างไรก็ดี  ที่นี่ก็ถือเป็นสังคมอีกแห่งที่ผมรักและให้ความเคารพ  เสมอห้องสมุดโรงเรียนผมเลยแหละครับ
 คห.ที่29) ฟ้อนดึงครกดึงสาก
คุณวิท:
....ฟ้อนดึงครกดึงสาก


ในภาพนี่เป็นชุดแบบมาตรฐานของฟ้อนดึงครกดึงสากชุดนี้ครับ แต่เสื้อผ้าจะมีการออกแบบให้แตกต่างกันไปในแต่ละงาน เช่น หากไปแสดงประกอบในงานวิมายะ ที่โคราช ก็สวมชุดเป็นผ้าเกาะอกเพื่อให้บรรยากาศเป็นแบบชาวโคราช



แต่เมื่อจะแสดงทางวิชาการจริงๆก็จะใช้ชุดดังภาพเป็นหลักครับ
 คห.ที่30) .


เรื่องชุดการแสดงฟ้อนดึงครกดึงสาก ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับโอกาสที่ใช้แสดงมากกว่านะครับ  ประมาณว่า ที่ใส่เกาะอกอยู่นั้น จะต้องเปลี่ยนผ้าพันอกจากดึงครกดึงสากไปเป็นฟ้อนตังหวาย ก็เลยต้องสวมใส่เกาะอกกันไว้ทุกคนน่ะครับ เพื่อที่จะสะดวกต่อการแสดง  แต่เวลาแสดงงานใหญ่ๆที่ไม่ได้เปลี่ยนชุดหลายชุด ก็จะสวมใส่ตามแบบแผนเป็นปกติน่ะครับ

หรือพี่ๆคิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ ผมจะได้นำไปบอกครูห้องเครื่องแต่งกายเพื่อเป็นแนวทาง
ตอบกระทู้


Creative Commons License