ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
เขาฮักเขาก็ย่อง เขาซังเขาก็ว่า คือดั่งบักเค้าเม้า หมาเฒ่าเห่าแต่เขา แปลว่า เขารักเขาก็ชม เขาชังเขาก็ว่า อุปมาเหมือนหมาเฒ่าไม่ดูตัวเอง คอยเห่าแต่ผู้อื่น หมายถึง นินทา สรรเสริญ เป็นเรื่องธรรมดา อย่าได้ใส่ใจ


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  ปิ่นลม    คห.ที่305) ผึ้งโกน ( เผิ่งโกน )  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,530
รวม: 5,444,710 สาธุการ

 



ชื่อพื้นบ้าน         เผิ่งโกน
ชื่อภาษาไทย     ผึ้งโพรง
ชื่อสามัญ          Asiatic honey bee
ชื่อวิทยาศาสตร์   Apis cerana indica Fabricius
Class: Insecta
Order: Hymenoptera
Family: Apidae
Genus: Apis

กล่าวนำ
        เผิ่งโกน (ภาษาถิ่น) หรือผึ้งโพรง ป็นแมลงพื้นบ้านของไทย  มีในถิ่นแผ่นดินอีสานมานาน
หลายล้านปี ตามที่มีบันทึกของนักวิทยาศาสตร์กล่าวไว้
เผิ่งโกน(ผึ้งโพรง) มี 3 สายพันธุ์
ได้แก่ ผึ้งโพรงฝรั่งดังโม ผึ้งโพรงญี่ปุ่น ผึ้งโพรงอินเดีย



เผิ่งโกน หรือผึ้งโกน บ้านเฮา อยู่ในวงษ์ของ ผึ้งโพรงอินเดีย
ตามหลักฐานตำรา มีการพบตั้งแต่ อินเดีย พม่า ไทย ลาว ไปจนถึงแถบอินโดจีน
บันทึกว่าในประเทศไทย  พบมากในแถบ ภาคใต้ ภาคเหนือ
สำหรับภาคอีสาน ตกสำรวจอีกแล้วไม่มีใครบันทึก จึงขอบันทึกไว้ว่า
ในภาคอีสาน ตามป่าโคก(ป่าแดง)  ป่าเบญจพรรณ ผู้เรียบเรียงพบเห็นเสมอ
ตอนเลี้ยงควายเลี้ยงวัว บางครั้งก็มีส่วนร่วมในการ “เจาะโกน” อูดเอาน้ำหวานประจำ




“เผิ่งโกน” เป็นผึ้งขนาดกลาง ตัวใหญ่กว่ามิ้ม  เป็นสัตว์ในระบบนิเวศน์ของท้องถิ่น
เป็นดัชชีบอกว่า สภาพแวดล้อมดี ปลอดภัยต่อสารพิษตกค้าง เมื่อบริเวณถิ่นใด
มีผึ้งชนิดนี้อยู่แสดงว่า สภาพแวดล้อมปลอดภัยต่อมนุษย์เช่นกัน

ลักษณะทั่วไป
เผิ่งโกน มีลำตัวเล็ก บินได้แคล่วคล่อง มีลำตัวสีเหลืองสลับดำเป็นปล้องๆ
มีปากแบบดูดเลีย มีตารวม 1 คู่ และมีตาเดี่ยวอยู่อีก 3 ตา
มีหนวดประมาณ 10 ปล้องขึ้นไป
มีปีก 2 คู่  ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า  ขาคู่หลังออกแบบให้เก็บเกสรดอกไม้
มีเอวคอดกิ่ว (แต่กิ่ว ไม่สู้เอวมดตะนอย)  มีเหล็กในเช่นเดียวกับผึ้งทั่วไป
ผึ้งเป็นสัตว์แบ่งชั้นวรรณะ (คล้ายสังคมมนุษย์ที่แบ่งชนชั้น )
1.ผึ้งนางพญา ( ผึ้งเพศเมีย)
2.ผึ้งงาน
3.ผึ้งเพศผู้




การแบ่งวรรณะภายในรังของผึ้ง แบ่งตามบทบาทหน้าที่
นางพญาคือสุดยอดนักวิทยาศาสตร์
ที่ตัดแต่งพันธุกรรมประชากร กำหนดจำนวนของผึ้งแต่ละชนิดในรัง
ตามสภาวะที่ผันแปร เพื่อความอยู่รอดของอาณาจักร
ไม่ได้ดัดแปรงตามผลประโยชน์ส่วนตน ผึ้งงานแต่ละตัวมีความเสียสละเป็นล้นพ้น
ทุ่มเทสุดกำลังเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ และผลประโยชน์ส่วนรวม

จำนวนประชากรของรัง อยู่ที่ 6,000 - 7,000 ตัว



วงจรชีวิต
เผิ่งโกน(ผึ้งโพรง)  มีการเจริญเติบโตแบบ “ถอดรูปสมบูรณ์แบบ”
ระยะการเจริญเติบโต มี 4 ระยะได้แก่
ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ และ ระยะโตเต็มวัย
มีช่วงเวลาในการเติบโตแต่ละวรรณะ ตามตารางด้านล่าง





ถิ่นที่อยู่อาศัย
ชอบที่อยู่ในสภาพที่เป็นปาโปร่ง มีความชื้นดี มีพืชที่ออกดอก
และออกผลปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็นพืชท้องถิ่น หรือผลไม้ที่ชาวสวนปลูก
ผึ้งประเภทนี้ชอบดอกของต้นไม้และดอกหญ้า
จึงทำให้เป็นแมลงที่ไวต่อสารเคมีในสภาพแวดล้อม
การทำรังนั้นอาศัยโพรงไม้ หรือโพรงในต้นไม้ในป่า จึงได้ชื่อว่า”เผิ่งโกน”
การแยกรัง หรือย้ายรัง ของผึ้งชนิดนี้ เกิดขึ้นบ่อยกว่าผึ้งชนิดอื่น
เหตุผลในการแยกรังทิ้งรัง คือ มีศัตรูรุกราน อาหารขาดแคลน
จำนวนประชากร เหมาะสมเป็นต้น

สภาพที่เหมาะในการทำรังของเขานั้น คือ
มีต้นไม้ยืนต้นที่ให้ดอกผล มีความชุ่มชื่น
อยู่ใกล้แหล่งน้ำ โพรงของไม้ยืนต้นจำเป็นมากสำหรับแมลงชนิดนี้


ภาพการอูดผึ่้งโกน หรือ เผิ่งโกน ของชาวบ้าน จาก สหายพี่ภูเพียง ฯ

บทบาทและประโยชน์ตามธรรมชาติ
เผิ่งโกน(ผึ้งโพรง) คือแมลงที่มีประโยชน์ต่อโลก ช่วยในการผสมเกสรต้นไม้ให้ติดผล
ให้ต้นไม้ได้ผลดี ขยายพันธุ์ได้บริบูรณ์ และยังเป็นอาหารของสัตว์ต่างๆในป่า
สร้างประโยชน์ให้แก่ มวลมหาประชาชนโดยไม่ต้องเลือกตั้ง
น้ำผึ้งจากผึ้งโพรงมีรสหวานหอม มีประโยชน์มากมาย

เกษตรไทยได้เจริญรุดหน้า ดัดแปลงธรรมชาติด้วยภูมิปัญญา
สามารถเลี้ยงผึ้งโพรงในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สร้างกล่องให้ผึ้ง
ทำรัง ในป่า ในสวน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเลี้ยงชีพได้


บทบาทหน้าที่ของชาวเราคือการเข้าใจธรรมชาติและความเกี่ยวข้อง
โยงใยกันเป็นเป็นระบบนิเวศน์ และหยิบเอาความเข้าใจนั้น
มาประยุกต์ดัดแปลงให้ดำรงอยู่ร่วมกัน

สิ่งสำคัญคือป่าโคก และพันธุ์ไม้ยืนต้นท้องถิ่น
หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ เผิ่งโกนก็อันตธานหายไปเช่นกัน




 
 
สาธุการบทความนี้ : 264 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  01 ส.ค. 2557 เวลา 10:30:42  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่306)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,700
รวม: 5,170,115 สาธุการ

 
เก็บน้ำหวานหน้าแล้ง มาแช่กล้วยน้ำว้า
ยาชูกำลังได๋ กะบ่อมีท้อ เด้อ อาวเอย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  14 ส.ค. 2557 เวลา 07:54:54  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่307)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,630
รวม: 12,656,775 สาธุการ

 
คุณป้าหน่อย:
เก็บน้ำหวานหน้าแล้ง มาแช่กล้วยน้ำว้า
ยาชูกำลังได๋ กะบ่อมีท้อ เด้อ อาวเอย


มันสิบ่ห่าวด่องๆติครับป้าหน่อย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 257 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  21 ส.ค. 2557 เวลา 05:42:47  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่308)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,250
รวม: 7,268,435 สาธุการ

 
คุณอีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}:
คุณป้าหน่อย:
เก็บน้ำหวานหน้าแล้ง มาแช่กล้วยน้ำว้า
ยาชูกำลังได๋ กะบ่อมีท้อ เด้อ อาวเอย


มันสิบ่ห่าวด่องๆติครับป้าหน่อย


อยากห่าวโด่งๆคือกันติทิดรุท

 
 
สาธุการบทความนี้ : 381 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  22 ส.ค. 2557 เวลา 17:57:36  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่309)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,630
รวม: 12,656,775 สาธุการ

 
คุณบ่าวหน่อ:


อยากห่าวโด่งๆคือกันติทิดรุท


คันว่าห่าวแล้วมันหม่วนกะพอห่าวอยู่เด้ผมหว่า  มาห่าวนำกันติหล่ะเฮา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 348 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  22 ส.ค. 2557 เวลา 20:20:45  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  จารย์เขียว    คห.ที่310)  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 08 ก.ย. 2558
รวมโพสต์ : 47
ให้สาธุการ : 20
รับสาธุการ : 27,340
รวม: 27,360 สาธุการ

 
กุดจี่เบ้า เคยก่นตอนเด็กน้อยครับ ลึกโพด กองก้นจูดกูด กว่าจะได้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  06 ก.พ. 2559 เวลา 11:32:38  
  ภาษาอีสาน เซฟวัน อาหารอีสาน www  วัดถ้ำผาแด่น ลาบเนื้อ แกงขี้เหล็ก MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่311) มิ้ม  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,530
รวม: 5,444,710 สาธุการ

 


ชื่อภาษาอีสาน  มิ้ม
ชื่อภาษากลาง ผึ้งมิ้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis florea Fabricius
ชื่อสามัญ  The Dwarf Honey Bee
อันดับ: Hymenoptera
สกุล:Apis

ถิ่นที่อยู่ แถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันตก เอเชียตะวันออก
ละเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
มิ้ม เป็นผึ้งที่มีขนาดเล็กที่สุด รวงผึ้งมีขนาดเล็ก
มีประชากรประมาณ 6,000 - 10,000 ตัว/รัง
เป็นรวงชั้นเดียวมีรูปร่างเกือบเป็นวงกลม บางครั้งก็เป็นรูปไข่ไก่
มีขนาดตั้งแต่ 10 ซม. ถึง 30 ซม.
รวงผึ้งจะทำติดอยู่กับกิ่งไม้ ในพุ่มไม้เตี้ย ๆ เช่น ในกอไผ่
พุ่มไม้หนาม  ต้นไม้ครึ้มขนาดกลาง มักจะปกปิดรังของมันอยู่ในซุ้มไม้
และกิ่งไม้เพื่อพรางตาป้องกันศัตรู ทำรังไม่สูงนัก
อีกสายพันธุ์หนึ่งของมิ้ม คือ A. andreniformis เรียกว่า มิ้มน้อย
บางท้องถิ่นเรียกว่า “ผึ้งม่าน”
พวกนี้มีสีดำสลับขาวและตัวเล็กกว่ามิ้มปกติ  ถือว่าพบได้ยากแล้วในปัจจุบัน

เนื่องจากมิ้ม เป็นผึ้งขนาดเล็กและบินหาอาหารได้ไม่ไกล
ทำให้มีน้ำผึ้งน้อย และมีการอพยพทิ้งรังบ่อย  ๆ  อาหารของเขาคือ
น้ำหวานเกสรดอกไม้ ดอกหญ้า ในนิเวศ
-ขนาดของผึ้งมิ้ม ขนาดลำตัวยาว 7 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง 2.60 มิลลิเมตร
ความยาวของลิ้น 3.40 มิลลิเมตร
โดยปกติ ไม่มีเหล็กใน แต่จะมี “มิ้มทหาร” จำนวนหนึ่ง ที่มีเหล็กใน  
ซึ่งผึ้งมิ้มอาศัยแลกเปลี่ยนตัวอ่อนกับผึ้งป่า
นำมาเลี้ยงไว้ในรัง ทำหน้าที่ปกป้องรังเท่านั้น  เรื่องนี้ ยังเป็นปริศนา
ว่ามิ้มทำได้อย่างไร หรือด้วยวิธีการใด
บางรังไม่มีมิ้มทหาร เพราะแลกเปลี่ยน หารังผึ้งป่าผูกมิตรไม่ได้  
จึงถูกมนุษย์ตัดรังเอาน้ำผึ้งได้ง่ายกว่าชนิดอื่น



ลักษณะนิสัย
- ไม่ดุร้าย ชอบร่มไม้เย็นๆ สงบ ๆ ไม่มีเสียงรบกวน ชอบอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
- หากินในช่วงสาย ถึงบ่าย
- ชอบระบบนิเวศที่สมดุล อากาศดี พื้นบริเวณไม่มีสารพิษ
- อพยพบ่อยบ่อย เพื่อตามหาแหล่งน้ำและอาหารตามฤดู



อายุของมิ้ม
ตัวนางพญา มีอายุ  3  ปี
ผึ้งงาน   3 เดือน
ผึ้งเพศผู้  4 สัปดาห์ (จะมีเฉพาะต้นฤดูฝน)
ถ้าอ่านแล้วไปเทียบกับตำราผึ้งฝรั่ง อย่าตกใจเด้อ ผึ้งไทยนั้น อายุยืนกว่าผึ้งฝรั่ง  
แต่จะว่าไป เจอมนุษย์เข้าไปก็ อายุสั้นทุกรัง  

วงจรชีวิต
ชีวิตน้อย  ๆ ของมิ้มนั้น น่ารัก ไม่ก่อมลพิษ มีวงจรชีวิต อยู่ 4  ขั้นคือ
ระยะไข่  ระยะหนอน  ระยะตัวอ่อน  และ ตัวเต็มวัย  รายละเอียดตามภาพฉายด้านล่าง


ประโยชน์ของมิ้ม
ช่วยในการผสมเกสร ให้พืชพันธุ์ขยายพันธุ์  ระบบนิเวศสมดุล  โลกใบนี้ขาดแมลงจำพวกนี้ไม่ได้
ไม่งั้นจะ ฉิบหายภายในปีเดียวเชียวแหละ  เขามีความสำคัญมาก โดยที่เราไม่ค่อยใส่ใจนัก
ว่าโลกสร้างผึ้งมาไว้ทำไม ?  สายใยแห่งธรรมชาตินั้นลึกซึ้งเกินปัญญามนุษย์
เขาช่วยให้เรา มีอาหาร  มีผลไม้  มีดอกไม้ มีพืชพันธ์ มีความอุดม
ในยุโรปนั้น บางประเทศขาดแคลนผึ้งไว้ผสมเกสร แอฟเปิล อง่น ลูกพีช พลัม ทานตะวัน
แอลมอ่น  ฯลฯ  ทำให้เดือดร้อนหนัก ผึ้งสูญพันธุ์  ต้องนำเข้าผึ้งไปเลี้ยงทดแทนธรรมชาติ
ใครตีรังผึ้งในธรรมชาติ หล่ะก็  ผิดกฏหมาย  พุ้นเด้อ





ในความเกี่ยวพันธ์กับวิถีชีวิตคนอีสาน    
เผิ่งมิ้ม หรือ ผึ้งมิ้ม เป็นแมลงถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นระบบนิเวศ น้องนา ป่าโคก
สุภาพบุรษ เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ตามเดิ่นดอน  มักพบเห็น
และ อูดมิ้ม โดยใช้ควันยาสูบ หรือควันไม้
ไล่มิ้ม แล้วตัดเอารังมาชิมน้ำหวาน ตุ้ยคำข้าวเหนียว  
หรือก็เอาไปดองสุราเป็นยาชูกำลัง
ว่ากันว่า มีคาถาถาษี ในการกันเผิ่ง กันมิ้มตอด ขณะเอารังแมลงชนิดนี้ว่า
โอม ! สะ หัม ดำมิ้ม หิม สะ ฮี  บินหวี่ ๆ  บน โบ้น...!  ขะโย้ม..
อย่างใดก็ตาม การเอามิ้ม ล่ามิ้ม บ่มีการนำมาขายค้า เอาแค่กิน
รังไหนยังไม่มี “หัวน้ำ”  พวกเขามักจะปล่อยไว้ ไม่ระราน
ไม่ได้ล่าตั้งจิตตั้งใจ ขนาดนั้น
ถือแค่ว่า หยิบฉวยมาใช้ประโยชน์ตามกะเยิม
เป็นบรรณาธิการจากธรรมชาติมากกว่า



กล่าวสรุป
   ผึ้งมิ้ม  เป็นผึ้งที่จำเป็นต้องอนุรักษ์  เพราะมีเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยในประเทศไทย  
เนื่องจากเป็นผึ้งที่ไม่ดุร้ายถูกล่าตีหรือเผารังเพื่อนำน้ำผึ้งมากินได้ง่ายๆ  
ถูกนักล่าผึ้งมิ้มทำลายเพื่อนำน้ำผึ้งมาขาย ซ้ำป่าท้องถิ่นก็ถูกทำลาย
พื้นที่การเกษตรต่างๆ ก็ เปื้อนปนสารพิษ กลายเป็นผึ้งที่ใกล้สูญพันธุ์ไปในที่สุด
  แมลงจำพวกผึ้ง จำเป็นมากต่อระบบนิเวศของโลก มีคุณประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุษย์
หากชอบตีผึ้ง ชอบน้ำหวานผึ้ง ปัจจุบันก็สามารถเพาะเลี้ยง เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนได้แล้ว
ไม่จำเป็นต้องไปกอบโกย รังแก จากธรรมชาติที่เหลือน้อย กระทั่งสาบสูญหายไปในท้องถิ่น

ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่าน ขะรับ จาก ปิ่นลม พรหมจรรย์ ผู้เรียบเรียง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 72 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  16 ก.ย. 2565 เวลา 14:53:25  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่312) มดเดียด  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,530
รวม: 5,444,710 สาธุการ

 


ชื่อท้องถิ่น   มดเดียด , มดลิ้น (อีสาน) มดตะนอย(ภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Dolichoderus thoracicus
สปีชี่ย์     Dolichoderus sp

เป็นมดขนาดใหญ่ ชนิดหนึ่งของไทย ลำตัวยาว 12- 15  มิลลิเมตร
ลำตัวสีดำเป็นมัน เอวคอด หนวดและขาสีน้ำตาลอมเหลือง
เป็นมดที่มีเหล็กใน พิษร้ายกาจ เจ็บแสบคักขนาด พะนะ
สาเหตุที่คนอีสานตั้งชื่อให้มันว่า มดเดียด “เดียด”
คืออาการเหมือนโดนน้ำร้อนลวกเจ็บจี๊ด..สะเดิดโด่งไปเลย



ถิ่นอาศัย
สายพันธุ์นี้มักพบในเขตร้อน เช่น ไทย มาเลย์  ลาว เขมร พม่า อินโด
ชอบอาศัยตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า ที่ราบ  ไม่ชอบป่าทึบ  ทำรังบนพื้นดิน
โดยรังจะมีพลเมืองไม่มาก 20- 30 ตัวเท่านั้น



ลักษณะนิสัย
มดเดียด ชอบออกล่าเดี่ยว ๆ  ไม่ไปเป็นฝูง เพราะเป็นมดขนาดใหญ่
มีพิษร้าย ล่าเหยื่อได้เพียงลำพัง  ดังแล้วแยกวง  
เป็นพฤติกรรมที่เลียบแบบมาจากมดเดียดนี่เองพี่น้อง
อาหารของพวกเขาคือ แมลง หนอน และสัตว์เล็ก อื่น ๆ ในระบบนิเวศ
คอยกำจัดศัตรูพืช หน้าที่ของเขาเป็นตัวห้ำ ที่คอยรักษาสมดุล
เป็นมดไม่ดุร้าย จะทำร้ายคนก็ต่อเมื่อ เราไปนั่งทับ
โดนตัวมันโดยไม่รู้ตัว  มันมีนิสัยใจกล้า ชอบผจญภัย ชอบสำรวจ

มดเดียด มดลิ้น เป็นมดนักล่า ไม่มีนิสัยเพิ่มจำนวนเท่าทวี
เพื่อก่อสงครามยึดพื้นที่  กุมอำนาจในอาณาบริเวณ เหมือนมดชนิดอื่น
ปกติ รังนึงจะมีแค่ 20 ตัว เป็นมดไร้เพศทั้งหมด ทำหน้าที่เป็นมดงาน
คือทำมาหากิน เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ จึงมีมดเพศผู้ ซึ่งตัวเล็กกว่าเพศเมีย

อนึ่งเมื่อนางพญาในรัง มดลูกแห้ง  มีอายุเยอะ ออกไข่ได้ไม่ดี
มดในรังก็จะคัดเลือกนางพญาใหม่ โดยการต่อสู้กันในรัง
ตัวไหนมีผู้สนับสนุนมาก ก็จะเป็นนางพญาในรังนั้นแทนตัวเก่า



การทำรัง
มดชนิดนี้ ทำรังบนพื้นดิน โดยจะขุดรู แล้วนำเม็ดดินละเอียด
มาปั้นเป็นรูปถ้วยบริเวณทางเข้ารัง
เหมือนดังคำอีสานโบราณว่าไว้
“ ผู้กางมองอยู่ห้วย  ผู้ปั้นถ้วยอยู่โคก”
รังของมดประเภทนี้ จำแนกได้ 2 ประเภท
1.รังในที่ดอนดินทราย
   ปั้นเป็นรูปถ้วยด้วยกองดินทรายละเอียด
2. รังในที่ราบลุ่ม
    ปั้นเป็นรูบแท่งกระบอก ทางเข้ารังอยู่ยอดบนสุด เพื่อป้องกันน้ำท่วม
    ในรังในรู แยกเป็นห้องเก็บอาหาร(ไว้กินตอนแล้ง)  ห้องนางพญา
    ห้องเอนกประสงค์  และห้องหลบภัยฉุกเฉิน



ประโยชน์
ช่วยรักษาสมดุลระบบนิเวศ กำจัดการแพร่ระบาดของตั๊กแตนและหนอน
กำจัดหอยทากกินพืช และปลวก



ความเกี่ยวพันธ์ในวิถีชีวิตอีสาน
มดเดียด หรือ มดลิ้น เป็นมดที่พบได้ตาม ท้องนา เดิ่นดอน
ทุ่งหญ้า คันนา ทั่วไป เป็นแมลงประจำถิ่น พบเห็นประจำ
ทั้งตัวผู้เขียนเองก็ เคยถูกมันกัดตั้งแต่เด็กจนโต
เป็นเรื่องปกติ เจ็บๆ คันๆ  จนกระทั่งร่างกาย
มีภูมิต้านทาน  บ่ย้าน   ถึกตอดก็แทบไม่รู้สึกเจ็บ
มีนิทานเรื่องเล่าถึงมดตะนอย หรือแม้กระทั่ง
กลอนลำ บทเพลงที่พูดถึง  แอวกิ่วมดตะนอย
ด้วยชีวิตชาวอีสานส่วนใหญ่อยู่กับท้องทุ่ง
ทำนา บริบทชีวิตจึงเกี่ยวข้องพบเจอสิ่งเหล่านี้ประจำ

กล่าวสรุป
สัตว์และพืชในท้องถิ่นล้วนมีประโยชน์
ทั้งในทางตรงทางอ้อม ล้วนทำหน้าที่ไผมัน
กุมสมดุลชีวิตแห่งโลกใบนี้ไว้ แม้ตัวเล็กขนาดไหนก็ตาม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 100 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  18 ก.ย. 2565 เวลา 13:25:51  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่313) แมงน้อย  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,530
รวม: 5,444,710 สาธุการ

 


ชื่อท้องถิ่น    แมงน้อย (อีสาน)   , ขี้ตัง (เหนือ ) , อุงน้อย (ใต้)

ชื่อวิทยาศาตร์  Lisotrigona furva ( L. furva Engel)
วงศ์  Apidae

แมงน้อย เป็นผึ้งตระกูลชันโรง เป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุด หายากยิ่ง พบได้เฉพาะในประเทศไทย
กล่าวกันว่า  สายพันธุ์  Lisotrigona มีอยู่แค่ 2 ชนิดคือ L. cacciae และ L. furva
มีลักษณะคล้ายกันแตกต่างเพียง ขนาดเพศผู้เท่านั้น

คนอีสานเรียกแมลงชนิดว่า  แมงน้อย เนื่องจากมีขนาดเล็ก เพียง  2 มม. – 3 มม.
มีสีดำ เรียบมัน  ถือว่ามีขนาดเล็กที่สุดในสายพันธุ์ผึ้งชันโรง


ขนาดน้อยปานใด เบิ่งเทียบกับเล็บมือโลด

ลักษณะนิสัย
ชอบดอกไม้ป่า ดอกหญ้า และดอกของไม้ยืนต้น  อาหารของเขาคือ
น้ำหวานและเกสรของพืช พืชบางชนิดมีดอกเล็ก แมลงขนาดใหญ่
เข้าไม่ถึง จำต้องอาศัยแมลงจำพวกนี้ช่วยในการผผสมพันธุ์

แมงน้อย ไม่มีเหล็กใน  ไม่ทำร้ายมนุษย์  รักสงบ ชอบ ตอมหู ตอมตา  ตอมเหงื่อ
ถึงขนาดฝรั่งมาเดินป่า ถูกแมงน้อยตอมตา ตอมหู บันทึกภาพลงเวปไซต์
แต่พี่ไทยไม่ค่อยจะรู้จัก ไม่ใส่ใจไฝ่รู้
ส่วนทำไมแมงน้อยชอบตอมบริเวณตากับหู  
ผมได้บรรยายไว้แล้วในเรื่อง แมงขี้นาก




การทำรัง
แมงน้อย ชอบทำรังตามโพรงไม้  หลืบไม้ รอยแตกของต้นไม้เนื้ออ่อน
ทางเข้ารังมีขนาดเล็ก ถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็น  
แม้รอยแยกธรรมดาแมงน้อยก็สามรถทำรังได้ ขอให้เย็นและสงบ  
หากในต้นไม้มีโพรงข้างในใหญ่ รังของแมงน้อยก็จะมีขนาดใหญ่ตามด้วย
รังที่เก็บอาหารและน้ำหวาน มีลักษณะเป็นกระเปาะ “เอ๊าะเจ๊าะ “
ตะมุตะมิ คล้ายโถขนาดเล็กๆ  ไม่ได้เป็นทรง 6 เหลี่ยม
สารเหนียวในรัง ชาวอีสานมักเอาไปทำอุดเครื่องดนตรี เช่นแคน
ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับ ขี้สูด  เรียกว่า ขี้สูดแมงน้อย

บ้างก็เอาไปเสกคาถาทำเป็น “นวด” หรือ ขี้ผึ้งสีปาก
เอาไว้ทาเวลาไปจีบ “แม่ฮ้างน้อย”  เพิ่มเสน่ห์ พะนะ
อันนี้ต้องถาม คูบาต้องแล่ง  ได้ผลดีบ่


ประโยชน์ของแมงน้อย
แมงน้อย ชมเก็บเกสรดอกไม้ มากกว่าการสะสมน้ำหวาน  เกิดเป็นขี้สูดแมงน้อย
หรือที่เรียกว่า “ชัน (propolis)
แต่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง กล่าวกันว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง
- มีสรรพคุณทางยา มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สมานแผล และช่วยบำรุงสมอง
องค์ประกอบส่วนใหญ่ของชันเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids)
ซึ่งปัจจุบันนิยม เอามาผสม ใน ยาสีฟัน สบู่ เครื่องสำอาง

ในทางระบบนิเวศ เนื่องจากการผสมเกสรของแมงน้อย
ไม่มีความเฉพาะเจาะจงกับชนิดของดอกไม้
ผสมเกสรพืชได้หลากหลายชนิดมากกว่าผึ้ง
อีกทั้งมีระยะทางในการบินไปหาอาหารไม่ไกลจากรังมากนัก
จึงเกิดประสิทธิภาพต่อบริเวณอย่างสูง
พืชหลากหลายชนิด อาศัยแมลงเหล่านี้
หากท่านปลูก ผลไม้  ปลูกผักพืชผล แมงน้อยคือ ฮีโร่มัยซิน




ความเกี่ยวพันในชีวิตอีสาน
ตามทุ่งนา ป่าโคก เดิ่นดิน หัวไร่ปลายนา หรือแม้แต่เถียงนา
มักจะมีแมงน้อยอาศัยอยู่ บางครั้งก็เห็นมันทำรังในเสาเถียงนา
เดินป่าหาเห็ด นั่งเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย มันก็มาตอมหูกระซิบ
บางครั้ง ชาวอีสานก็เจาะแมงน้อยตามโพรงไม้เอาน้ำหวาน
และเอารังมันมาทำประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน
เอามาประกอบเครื่องดนตรี  ยาคุ  ยากาละมัง
เอามาทำเป็นยาสมุนไพรทั่วไป
เขาเป็นแมลงประจำถิ่น มีประโยชน์ทั้งทางตรงทางอ้อม
มีคุณต่อระบบนิเวศ ต่อสรรพสัตว์

ปัจจุบัน ป่าไม้ ป่าท้องถิ่น ป่าโคก ถูกทำลายหลายแล้ว
ระบบนิเวศเสื่อมโทรม การเกษตรเคมีบันเทิงศิลป์
ส่งผลให้แมงน้อยกลายเป็นแมลงหายากมาก
นักวิทยาศาสตร์ด้านแมลงบันทึกไว้ แมงน้อย
มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งในอนาคตไม่ไกล
อาจจะมีแค่ยุงเท่านั้นที่อนุชนของเรารู้จัก และใช้ชีวิตร่วม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 65 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  19 ก.ย. 2565 เวลา 16:46:39  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  Panterix    คห.ที่314) แมงน้อย  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ชัยนาท
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 25 พ.ค. 2566
รวมโพสต์ : 1
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 0
รวม: 0 สาธุการ

 
ฮ่าๆ มันดูน่ากลัวทีเดียว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  25 พ.ค. 2566 เวลา 01:24:31  
  www  MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

  Quick Reply  
       
  เรื่อง:   
 
รายละเอียด*: 

ใช้ html ได้ 
(เฉพาะที่กำหนดให้) 

ใช้ bbcode ได้  
ใช้ space bar ได้  
(เฉพาะรายละเอียด) 



โดยคุณ*:
อีเมล์:

คุณต้องสมัครสมาชิก
และล็อกอินเข้าระบบ
จึงจะโพสต์ได้ครับ

   
 
     กฏกติกา มารยาท
 1. ขอความกรุณา ไม่โพสต์ข้อความประกาศโฆษณาขายของ หรือชักนำในเชิงธุรกิจ
 2. ขอความกรุณา ไม่โพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ขัดแย้งต่อศีลธรรมอันดี หรือนำไปสู่การทะเลาะวิวาท
 3. ขอความกรุณาไม่โพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงบุคคลอื่น หรือหมิ่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
 4. การคัดลอกบทความของบุคคลอื่นมาโพสต์ กรุณาอ้างอิงที่มา เพื่อเป็นการให้เกีียรติ และเคารพในภูมิปัญญาของเจ้าของบทความ

 
       
   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)