ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
อันว่าเสือสางช้างกวางฟานอาศัยป่า ป่าอาศัยสิ่งฮ้ายหนาแน่นมืดมุง แปลว่า เสือ ช้าง กวาง ฟาน อาศัยป่า และต้นไม้ในป่าก็อาศัยสัตว์ร้าย จึงรอดพ้นการถูกทำลาย หมายถึง พึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันอยู่เสมอ

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...บทส่งท้าย (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นปลาย

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
บทส่งท้าย


ฟังนิทานเรื่องเซียงเมี่ยง สำนวนของผู้ข้าฯ จบแล้ว ฮู้สึกจั่งได๋น้อนอ... พากันเห็นว่า เซียงเมี่ยงเป็นคนจั่งได๋น้อนอ... กะจั่งว่าล่ะเนาะ ฮ่าลังคน อาจสิเห็นว่า เซียงเมี่ยง เป็นคนไหวดี เอาเปรียบผู้อื่น ฮ่าลังคนอาจสิว่า เป็นคนฉลาด มีปัญญา สามารถแก้ไขปัญหาได้...ฯลฯ

แต่จั่งได๋กะตามเนาะ เซียงเมี่ยง เลากะเป็นโตละคอนโตนึง ที่มีเทิงด้านดี ด้านบ่ดี นั่นล่ะ แล้วแต่ผู้ได๋สิเก็บเกี่ยวเอาแนวคิด วิธีการ มาประยุกต์ใช้กับเจ้าของเนาะ

เท่าที่ผู้ข้าฯ สังเกตเบิ่งแล้ว ส่วนใหญ่ เซียงเมี่ยง สามารถเอาชนะผู้อื่นได้ ย่อนคำเว้าที่กำกวม นั่นล่ะ... คำเว้าที่คนเฮาเว้าออกไป บางเทื่อ มีความหมาย หรือว่าสามารถตีความหมายได้หลายอย่างหลายประการ อย่างเช่น

"เก็บหมากพริก"

"กินข้าวกับไก่"

"มาก่อนไก่"

"เทิงเหมิดนี้ ราคาท่อได๋"

"ทองพันชั่ง เงินพันบาด" ...

แล้วกะอีกหลายๆ คำเว้าที่กำกวม.... อีหลีแล้ว กะบ่ได้กำกวมอีหยังดอก แต่มันหั่งสามารถตีความหมายไปได้ ต่างๆ นานา เอาโลด... จั่งคำที่ออกเสียงว่า

" เงินพันบาด " อาจสิหมายความว่า

»เงินพันบาตร...

 

(๑) เอาใบเงินที่เป็นพืชไปพันรอบบาตรพระ
(๒) เอาใบเงินที่เป็นพืชยัดใส่บาตรพระ จนเต็มจำนวนพันบาตร
(๓) เอาเงินยัดใส่บาตรพระจนเต็มจำนวนพันบาตร
(๔) เอาโลหะเงินยัดใส่บาตรจนเต็มจำนวนพันบาตร
(๕) เอาเงินไปพันรอบบาตร
(๖) เอาโลหะเงินไปพันหุ้มบาตร …

»เงินพันบาด...

 

(๗) เอาใบเงินที่เป็นพืชไปพันรอบบาดแผล
(๘) เอาเงินไปพันรอบบาดแผล …

»เงินพันบาท...

 

(๙) เงินจำนวนพันบาท
(๑๐) โลหะเงินน้ำหนักพันบาท
(๑๑) เอาใบเงินที่เป็นพืชไปพันรอบบาท - บาทา - ตีน
(๑๒) เอาเงินไปพันรอบบาท - บาทา – ตีน ...

ฯลฯ

สิเห็นว่า แค่คำเว้าคำเดียว สามารถตีความหมายไปได้ อย่างน้อยถึง สิบสองความหมาย

ช่องโหว่เกี่ยวกับคำเว้านี้ล่ะ ที่เซียงเมี่ยง เอาไปอ้าง เพื่อเอาโตรอด

เซียงป่องเลาจับจุดเซียงเมี่ยงได้ กะเลยใช้จุดแข็งของเซียงเมี่ยงนี้ล่ะ เฮ็ดให้เป็นจุดอ่อนซะ เพราะ ถ้าสิเอาชนะคนที่มักเล่นคำ กะต้องใช้วิธีเล่นคำคือกัน จั่งที่เคยชนะมาแล้วกะคือ

"สองเดือน"

"เอาทั้งเหมิดที่เจ้ามี"

"ทางในแตงโม" .... เป็นต้น

ดังนั้น ขอให้ท่านผู้ฟัง/ผู้อ่านทั้งหลาย สำรวมระวังคำเว้าให้ดี...

ความฉลาดนั่น หากเอาไปใช้ในทางบ่ดี กะสิเป็นฉลาดแกมโกง หรือภาษาบ้านเฮาเอิ้นว่า "ไหวดี" นั่นล่ะ

แต่หากนำความฉลาดไปใช้ในทางที่ดี สร้างสรรค์ ผดุงคุณธรรม รักษาความยุติธรรม จั่งสิเอิ้นว่า มี "ปัญญา" อย่างแท้จริง เด้เนาะ.....

ท้ายสุด สุดท้ายนี้ ผู้ข้าฯ กะต้องขอขอบคุณผู้อ่านทั้งหลาย ที่ให้กำลังใจ ติดตามอ่านมาโดยตลอด จนเฮ็ดให้ผู้ข้าฯ เขียนนิทานเรื่องเซียงเมี่ยง ออกมาจนจบ (พอกำก่า ??? )...

โชคดีซุคู่ซุคนเด้อ

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน