ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
แนวผู้ฮ้ายลี้อยู่คือกบ เห็นคนมาหลูบลิลูลงลี้ แปลว่า คนขี้เหร่ แอบอยู่เหมือนกบ เห็นคนเดินมา รีบกระโจนหลบซ่อน หมายถึง คนทำผิด รู้ตัวว่าทำผิด ไม่กล้าสู้หน้าผู้คน มักหลบๆซ่อนๆ

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...ขุนศรีฯซื้อของนายฮ้อย (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นปลาย

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๗๐.ขุนศรีฯซื้อของนายฮ้อย


มีพ่อค้าผู้นึง (เอ้นเลาว่านายฮ้อย ซะเนาะ) เลามักสิเอาของใส่เกวียน ไปหาขายเด้ มื้อนึง นายฮ้อยเอาพวกเครื่องปั้นดินเผา ถ้วย โถ โอ ชาม แจกัน ฯลฯ ซุมนี้ล่ะ มาจอดเกวียนขายของอยู่ตลาด ทางสี่แยก...

"ถ้วย งามๆ แจกันงามๆ ขายถืกๆ เด้อ มาเลือกซื้อ เลือกเบิ่งเด้อ"

มื้อนั่น ขุนศรีฯ ย่างผ่านมาทางนั่น เห็นนายฮ้อยขายของ คึดอยากได้ กะเลยแวะไปเบิ่ง.. เลือกแจกันมาอันนึง ถามว่า

"อันนี้ ราคาท่อได๋"

นายฮ้อยกะตอบว่า "อันละบาท"

จากนั้น ขุนศรีฯ กะเลือกแจกันอันใหญ่กว่าเก่า มาอีกอันนึง ถามว่า

"อันนี้ ล่ะ"

"อันนี้ หนึ่งบาท สองสลึง"

ขุนศรีฯ เลือกมาอีกอันนึง ถามว่า

"แล้วอันนี้ล่ะ"

"อั่นนี้ กะหนึ่งบาทสองสลึง"

จากนั้นขุนศรีฯ ในมือหอบแจกันไว้สามอัน ถามต่อว่า

"แล้ว ทั้งเหมิดนี้ล่ะ ราคาท่อได๋"

"เทิงเหมิด....ราคาสี่บาท"

"ราคาสี่บาท??"

"แม่นล่ะ"

"ตกลง ข้อยเอาเทิงเหมิด" จากนั้นขุนศรีฯ กะจ่ายเงินให้นายฮ้อยสี่บาท แล้วกะว่า

"ของเทิงเหมิดนี้ เจ้าขายให้ข้อยแล้ว เป็นของข้อยเหมิดแล้ว" จากนั้น กะโดดขึ้นเทิงเกวียน ขับเกวียนหนีกลับบ้านเสย...

นายฮ้อย บ่ฮู้ว่าสิเฮ็ดจั่งได๋ กะเลยไปฟ้องศาล ให้ศาลซ่อยตัดสินคดีให้ ศาลกะเอิ้นขุนศรีฯ มาสอบถาม ขุนศรีฯกะว่า "กะตกลงราคากันแล้ว ว่าเทิงเหมิด ราคาสี่บาท ข้อยกะจ่ายเงินครบสี่บาทแล้ว ข้อยผิดหม่องได๋"

ศาลเองกะฮู้อยู่ ว่าขุนศรีฯเฮ็ดบ่ถืก แต่จากหลักฐานแล้ว บ่สามารถสิเอาผิดขุนศรีฯได้

ในที่สุด ศาลกะตัดสินให้ขุนศรีฯ ชนะคดี นายฮ้อยกะเลยเสียเทิงเกวียน เทิงงัว เทิงของทั้งหลาย เหมิดตนเหมิดโต สะล่ะล่ะ

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน