ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
แม่นสิบินเทิงฟ้าเวหากะตามช่าง แม่นสิหออยู่ฟ้ากะลงม้วนแผ่นดิน แปลว่า ถึงจะสามารถบินบนฟ้า หรือจะเหาะเหินเดินอากาศได้ สุดท้ายร่างกายก็ต้องกลับลงสู่ดิน หมายถึง ไม่มีใครหนีพ้นจากความตายได้

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...เณรป่องสะสางคดีขี้กะโมย (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นปลาย

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๖๘.เณรป่องสะสางคดีขี้กะโมย


บักป่อง ใหญ่ขึ้นแหน่จักหน่อย หลวงพ่อ กะมาขอให้ไปบวช บักป่อง กะเลยได้บวชเป็นเณร ได้ชื่อว่า "เณรป่อง" ร่ำเรียน เขียนอ่าน เรียนโตธรรม เรียนบาลี ฯลฯ เลากะเรียนเก่งของเลาอยู่เด้ล่ะ

ช่วงที่เป็นเณรนี่กะดายเนาะ กะมีคนมาขอความช่วยเหลืออยู่เรื่อยๆ อยู่ตั้วล่ะ..

มีอยู่ช่วงนึงน้อ... เศรษฐีเมืองทวาลี ที่เป็นอุปฐากหลวงพ่อ มีปัญหาให้เณรป่อง ซ่อยหาขี้กะโมยให้ ว่าซั่นเถาะ... เรื่องราวกะมีอยู่ว่า ...

เมียของเศรษฐี เลาเข้าไปอาบน้ำในห้องน้ำ แล้วกะถอดสร้อยคอทองคำ ออกแขวนไว้ข้างฝาห้องน้ำ พออาบน้ำแล้วแล้ว ผัดลืมสร้อยซั่นตี้ล่ะ...

ฮอดยามมื้อเซ้ามา สวยๆ จักหน่อย นั่นล่ะว๋า เลาหาสร้อยคอบ่พ้อ... คึดทบทวนแล้วกะฮู้ว่า ลืมไว้ห้องอาบน้ำมื้อแลงวาน กะไปหาอยู่ห้องอาบน้ำ กะบ่เห็นสร้อยคอ เลาเลยคึดว่า น่าสิมีคนรับใช้ผู้ได๋ผู้นึง เอาไปเก็บไว้ให้ล่ะมั้ง จากนั้น กะเอิ้นคนรับใช้เหมิดทุกคนมาถาม กะบ่มีผู้ได๋เก็บไว้จักคน กะยังว้ากะยังว่า.... แล้วสร้อยคอมันหายไปไสล่ะ หรือว่ามันเหาะหนี ???

เมียเศรษฐี ปรึกษาเศรษฐี... เศรษฐีกะว่า สงสัยคนรับใช้ในบ้าน ต้องมีคนได๋คนนึง เป็นขี้ขะโมย คักๆ เศรษฐี กะเอิ้นมาถามอีก กะบ่มีผู้ได๋ยอมรับสารภาพ.... ระดับเศรษฐีแล้ว สร้อยคอทองคำ บ่เสียดายปานได๋ดอก แต่ว่าคนรับใช้ในบ้าน มีนิสัยขี้กะโมยนี้ตี้ เลาบ่มัก... กะเลยต้องฮู้ให้ได้ว่า ไผเป็นขี้กะโมย สิได้สั่งสอนให้หลาบจำ นั่นหนา...

เศรษฐี จนปัญญาสิหาโตขี้ขะโมย กะเลยไปวัด ปรึกษาเณรป่อง ซั่นแหล่ว เณรป่องได้ฟังเรื่องราวแล้ว กะรับปากว่า สิหาโตขี้ขะโมยให้อย่างถืกต้อง... จากนั้น กะเตรียมสิ่งของยัดใส่ถงย่าม ถือถงย่ามติดตามไปบ้านเศรษฐี

พอฮอดบ้านเศรษฐี... เศรษฐีกะเอิ้นคนรับใช้มาเหมิดทุกคน แล้วกะเว้าว่า

"ในบ้านนี้ อาจสิมีคนได๋คนนึง เป็นขี้ขะโมย หลอยสร้อยคอไป เฮากะเลย ไปนิมนต์เณรป่อง ขอให้ซ่อยหาโตขี้ขะโมยให้ เชิญเณรป่องตามสบาย..."

จากนั้นเณรป่อง กะเอามือกำซี่ไม้ไผ่ที่เตรียมมา ออกจากถงย่าง แล้วกะว่า

"ไม้ไผ่นี้ เป็นไม้ไผ่ลงคาถาอาคม อาคมที่อยู่ในไม้ไผ่นี้ สิฮู้ว่าไผบริสุทธิ์ ไผเป็นขี้ขะโมย... ไม้ไผ่นี้ยาวท่อกันเหมิดทุกอัน... ผู้ได๋บริสุทธิ์ ไม้ไผ่กะสิอยู่ส่ำเก่า ยาวท่อเก่า แต่ว่าผู้ได๋เป็นขี้ขะโมย ไม่ไผ่ที่ผู้นั้นเอาไป พอฮอดมื้ออื่นเซ้า กะสิยาวขึ้นหนึ่งนิ้วพอดี มื้ออื่นเซ้า ให้ทุกคนเอาไม้ไผ่ของเจ้าของ มาให้ข้อยเบิ่ง มาแทกกันเบิ่ง กะสิฮู้ทันทีว่า ผู้ได๋เป็นขี้ขะโมย"

จากนั้นเณรป่อง กะให้คนรับใช้ทุกคนมาเอาไม้ไผ่ รวมเทิงครอบครัวของเศรษฐี ทุกคนนำนั่นล่ะ แล้วกะนัดว่า มื้ออื่นเซ้าให้เอาไม้ไผ่มาคืน

บักอั่นนึง (เอิ้นเลาว่าบักหลอยซะเนาะ) บักหลอย เลาเป็นคนรับใช้อยู่บ้านเศรษฐี มื้อที่สร้อยหายนั่น เลาเป็นคนตักน้ำ เข้าไปใส่ห้องน้ำ เห็นสร้อยทอง กะเลยหลอยเอา..... หลังจากบักหลอยจับไม้ไผ่ มาจากเณรป่องแล้ว กะเอาไปวางไว้หัวนอน รอจนฮอดเซ้า สะล่ะล่ะ

พอฮอดเซ้า... ด้วยความฉลาดแกมโกง ของบักหลอย เลากะคึดได้ทันทีเลยว่า "เณรป่องบอกว่า ไม้ของขี้ขะโมยสิยาวขึ้นหนึ่งนิ้ว... สิยากหยัง แค่เอามีดมาตัดออกหนึ่งนิ้ว ให้มันยาวท่อของผู้อื่น พอเอาไปแทกกัน กะบ่ฮู้แล้ว... แผนตื้นๆ สิมาล่อจับคนหัวดีจั่งบักหลอย บ่ได้ผลดอก" บักหลอย กะเลยเอามีดมาตัดไม้ไผ่ออกหนึ่งนิ้ว

หลังจากทุกคนมารวมกันแล้ว กะเอาไม้ไผ่มาคืนให้เณรป่องทีละคน เณรป่องเอาแทกกันเบิ่งแล้ว มีอยู่อันนึง สั้นกว่าหมู่ เป็นของบักหลอย นั่นเอง เณรป่องกะเลยว่า

"เจ้า เป็นขี้ขะโมย"

"เณรเอาหยังมาเว้า... กะเณรบอกว่า ของขี้ขะโมยมันสิยาวขึ้นหนึ่งนิ้ว ของข้อยสั้นกว่าของผู้อื่นอีก มันแฮ่งบริสุทธิ์ กว่าผู้อื่น นั่นตั้ว" บักหลอยฟ้าวเถียง

"บ่แม่นจั่งซั่นดอก... ไม้ไผ่ซุมนี้ บ่มีคาถาอาคมอีหยังดอก แล้วกะบ่สามารถสิยาวขึ้นได้เองดอก ผู้ได๋ที่เป็นขี้ขะโมย ฮู้อยู่แล้วว่า เจ้าของเป็นขี้ขะโมย ฮ้อนโต ย่านผู้อื่นฮู้ กะสิตัดไม้ไผ่ออกหนึ่งนิ้วใ ห้มันยาวท่อหมู่ ผลกะคือ ไม้ไผ่ของขี้ขะโมย กะสิสั้นกว่าหมู่... ของเจ้าสั้นกว่าหมู่.. เจ้า.. เป็นขี้ขะโมย"

บักหลอยฮู้โตว่า ถืกจับได้ กำลังสิแล่นหนี เศรษฐี กะสั่งให้คนจับไว้... ในที่สุดบักหลอยกะรับสารภาพ... เอาสร้อยมาคืน แล้วกะขอร้องเศรษฐีบ่ให้ไล่ออก... เศรษฐีกะใจดี บ่ไล่ออก... บักหลอยกะสัญญาว่า สิเป็นคนดี ซื่อสัตย์ต่อเศรษฐีตลอดไป ว่าซั่นเด้....

เณรป่อง ซ่อยหาโตขี้ขะโมย ให้เศรษฐีได้อีหลี... เศรษฐี กะฮักเอ็นดู ปานลูกพุ่นตั้วล่ะ...

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน