ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
คันได้ขี่ช้างแล้วอย่าดังเปิดดังเหิน อย่าได้เสิ่น ๆ หัวแหย่งสิพานพาฮ้าย แปลว่า หากได้ขึ้นนั่งช้าง อย่าได้ทำเชิดหน้า หยิ่งผยอง ข่มผู้อื่น หมายถึง ได้ดีแล้วอย่าหยิ่ง ความเย่อหยิ่งจะพาตัวตกอับ

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...หล็อยเป็นเจ้าเมือง (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นปลาย

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๖๔.หล็อยเป็นเจ้าเมือง


มีอยู่ช่วงนึง ขุนศรีฯ กับหมู่พวกเพื่อนฝูง กินดื่มสรวลเสเฮฮา เว้านัวหัวม่วนกัน ว่าซั่นเถาะ กะมีการคุยกันถึงเรื่องที่ว่า ขุนศรีฯเป็นคนหัวดี ไหวดี นำเด้

ขุนศรีฯ พอถืกหมู่พวกเว้าถึงเจ้าของ ย่องเจ้าของ กะได้ใจ แฮ่งคุยต่อเด้ เลากะดาย

"เว้าพื้นปัญญาเฮานี่เนาะ กะพอได้อยู่ได้กินอยู่ดอก บ่แม่นคุยดอกเด้อหมู่เอ๋ย... คันแม่นเฮาอยากได้ อยากเฮ็ด อีหยัง มันต้องสำเร็จ เฮาขอบอก ทุกอย่างมีทางออก คันพยายาม แล้วกะใช้หัวจักหน่อย ต้องสำเร็จแน่นอน บ่ได้ด้วยเล่ห์ กะต้องเอาด้วยกล ล่ะหวา"

"ปานนั้นบ้อ ขุนศรีฯ คันจั่งซั่น ลองใช้ปัญญา ไปเป็นเจ้าเมืองให้เบิ่งกะดู้ คันเก่งอีหลี กะดาย" หมู่เลาท้า

"สำบายมากเลยหมู่เอ๋ย... แค่เป็นเจ้าเมืองซื่อๆ สิเป็นให้เบิ่งดอก"

มื้อต่อมา ขุนศรีฯ หลังจากเข้าเฝ้าพระราชาแล้ว ช่วงเวลาว่างกะเอาพู่กัน เขียนผ้า เป็นโตหนังสือขอม เขียนมะง่อก มะแง่ก ทำเป็นเขียนบ่เป็นนั่นล่ะ เขียนผืนนั่น แล้วกะเขียนผืนนี่ เขียนแล้วกะญองทิ้ม เอากองไว้ใต้โต๊ะเด้ ทางปากกะจ่มว่า

"ฮื้อน้อ สังมาเขียนยากคักแท้น้อ ภาษาอั่นนี้กะดาย"

พอดี้ พระราชาย่างผ่านมา เห็น กะเลยเข้าไปถามว่า

"เฮ็ดหยังอยู่น้อขุนศรีฯ ทำทรงหงุดหงิดแท้"

"กำลังหัดเขียนโตขอมพะเจ้าค่า ข้าพะองค์กะว่าเจ้าของเรียนเก่งอยู่น้า แต่พอเรียนเขียนโตขอม คือเขียนยากคักแท้ โดยเฉพาะคำนี้ แมะ พะเจ้าค่า เขียนยากคัก"

"ไส คำได๋ ? "

"นี่ นี่ พะเจ้าค่า ข้าพระองค์ เขียนถืกบ่ ?" เว้าแล้วกะ เอาผ้าที่เจ้าของเขียน เด่ให้พระราชาเบิ่ง

พระราชาเบิ่งแล้วกะว่า

"โฮ้ย.. ขุนศรีฯเอ้ย โตหนังสือกะขี้ร้าย อ่านยากคัก แม่นเจ้าต้องการสิเขียน ว่าจั่งได๋เกาะ"

"สิเขียนชื่อของข้าพระองค์นี่ล่ะ แล้วกะคำว่าเจ้าเมืองของโง้ง (ชื่อเมืองเด้อ) แมะ พะเจ้าค่า... ศรีธนญชัย เจ้าเมืองของโง้ง เขียนให้เบิ่งแหน่ พะเจ้าค่า"

"โฮย..มันสิยากหยัง...ไส เอาผ้า กับพู่กันมา"

ขุนศรีฯกะเด่ผ้ากับพู่กันให้ จากนั้น พระราชากะลงมือบรรจงเขียน อย่างสวยงาม เด้

ขุนศรีกะสอดคอส่องทำทรงสนใจเด้ ...พอพระราชาเขียนแล้วแล้ว ...ขุนศรีฯกะเว้าว่า

"อือ อือ โอ โอ... เขียนจั่งซี้ตั้วหนิ โตหนังสือพระองค์งามดีเนาะ พะเจ้าค่า... แล้ว ชื่อของพระองค์ล่ะ พะเจ้าค่า เขียนจั่งได๋ เขียนให้เบิ่งแหน่... เขียนใส่แผ่นเดียวกันนี่ล่ะ"

พระราชา กะเลยเขียนให้เบิ่ง เด้...ในผ้าผืนนั้นกะมีข้อความว่า

ศรีธนญชัย

เจ้าเมืองของโง้ง

พระเจ้าทวาละ

ขุนศรีฯ กะเอาผ้าผืนนั่นมา บอกว่า สิเอาไปเป็นโตอย่าง ฝึกหัดเขียน พะนะ.... จากนั้น กะเอาผ้าผืนนั้น ไปให้เจ้าหน้าที่แต่งตั้งเจ้าเมืองเด้... ให้ขาเจ้าแต่งตั้งเจ้าของเป็นเจ้าเมืองของโง้ง นั่นล่ะ... เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นลายมือพระราชา เข้าใจว่าเป็นคำสั่งจากพระราชา กะเลยแต่งตั้งให้ตามนั้น

จากนั้นขุนศรีฯ กะถือใบแต่งตั้ง เดินทางไปเมืองของโง้ง ขึ้นนั่งเป็นเจ้าเมือง เสยนั่นแหล่ว

ช่วงนั้น พระราชาบ่เห็นขุนศรีฯเข้าเฝ้า กะเลยถามหา กะได้คำตอบว่า

"ขุนศรีฯ ตอนนี้ เป็นพระศรีธนญชัย เจ้าเมืองของโง้ง ครองเมืองของโง้ง" พะนะ

กะสงสัยว่า ผู้ได๋ให้ขุนศรีฯ ไปเป็นเจ้าเมือง ตั้งแต่เหิง ? กะได้คำตอบว่า เป็นคำสั่งของเจ้าของเอง... กะเลยให้คนไปตามขุนศรีฯ มาเข้าเฝ้า พอขุนศรีฯมาฮอด สอบสวนถามไถ่แล้ว จั่งค่อยฮู้ว่า

ญ่อนผ้าผืนนั้นนั่นเอง ผ้าผืนที่พระราชา เขียนโตขอม ให้ขุนศรีฯเบิ่งนั่นล่ะ...

พระราชาฮู้เรื่องแล้ว กะให้ขุนศรีฯกลับมาเป็น ขุนศรีฯคือเก่า

ขุนศรีฯ ถึงสิเป็นเจ้าเมืองได้บ่ดน แต่กะสามารถเป็นเจ้าเมืองได้ อีหลี ตามที่รับปากไว้กับหมู่พวก สะล่ะล่ะ ...

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน