ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
แนวว่าทองคำนี้ ตกดินบ่หมองหม่น เอาผ้าฮ้ายห่อไว้ กะยังเลื่อมดังเดิม แปลว่า ธรรมชาติทองคำ ตกดินไม่หม่นหมอง ถูกห่อหุ้มด้วยผ้าขี้ริ้ว ก็ยังผุดผ่องดังเดิม หมายถึง คนจิตใจงาม มีศีลธรรม อยู่ที่ไหนก็งาม

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...ซ่อยแม่ครัวเช็ดก้น (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นปลาย

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๖๐.ซ่อยแม่ครัวเช็ดก้น


ช่วงนึง พระราชาพร้อมทั้งเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย พากันนั่งเรือลำบักใหญ่ ไปเที่ยวตามลำน้ำ ตางว่าไปเบิ่งทุกข์สุข ของชาวเมืองนำนั่นล่ะ

เบิ่งสองฝั่งน้ำไปนำ คุยนัวหัวม่วนไปนำ ต่อกลอน ต่อผญากันไปนำ พอฮอดเวลากินข้าว กะกินเทิงเรือนั่นล่ะ เพราะว่ามีสนม มีแม่ครัวมานำอยู่ ว่าซั่นเถาะน้อ...

นั่งเรือไปตั้งวะไกลเติบ จนวะตะเว็นบ่ายคล้อยแล้วเด้ พอดี กะไปฮอดเลาะบ้าน ของนางกำนัลผู้นึง นางกำนัลผู้นั้น กะเลยขออนุญาตพระราชา แวะเยี่ยมยามพ่อแม่พี่น้อง แล้วกะขอลางานจักสี่ห้ามื้อนำเด้ พระราชากะอนุญาตตามที่ขอ นั่นล่ะ...

จากนั้น กะอ่วยเรือกลับเมืองทวาลี สะล่ะล่ะ

พอฮอดเคิ่งทาง พระราชาเพิ่นปวดถ่าย กะเลยเข้าห้องส้วมเทิงเรือ น้อ... หลังจากเสร็จธุระเรียบร้อยแล้ว กะเอิ้นหาพนักงานล้างดาก ซั่นแหล่ว... พอดี พนักงานล้างดากพระราชา กะคือนางกำนัลที่ขอลาไปยามบ้าน นั่นล่ะ ...แล้วกะ พอดี แม่ครัว ย่างไปเลาะนั้น ได้ยินพระราชาเอิ้นว่า นางกำนัลผู้ได๋อยู่ทางนอก ให้เข้ามา ..พอเข้าไป กะเลยได้ล้างดากให้พระราชา จนเกลี้ยงหล่อนดีเรียบร้อย ด้วยความภูมิอกภูมิใจ ที่ได้บายดากพระราชา ...

พอเรือกลับฮอดเมืองทวาลี... พระราชาคึดได้ว่า คนผู้ที่ล้างดากให้มื้อนี้ กะคือแม่ครัว ผู้ที่เฮ็ดอาหารสู่เจ้าของกิน คึดได้จั่งซั่น กะเกิดขี้เดียดขึ้นมา ซั่นตี้ บาดตาทีเนียะ

"ฮื๋ยยยย... ขนาดเฮายังบ่กล้าเอามือล้างขี้เจ้าของ... แม่ครัวเลาเอามือมาล้างดากเฮา มือแม่ครัวกะติดขี้... แล้ว...แล้ว...คันแม่ครัวเอามื้อนั่น มาคั้นยานาง คั้นส้มผัก คั้นกะทิ หรือว่า จับบายแนวอยู่แนวกิน.... อัวะ..เป็นตาขี้เดียด... คันเป็นจั่งซี้ เฮาบ่กล้ากินเดิก"

พอพระราชาคิดจั่งซี้แล้ว กะเลยเอิ้นแม่ครัวมาหา แล้วกะ ปลดออกจากตำแหน่งแม่ครัว ให้ไปเป็นคนกวาดเฮือนถูเฮือนแทน (อุตส่าห์ภูมิใจน้อแม่ครัวน้อ..ถืกปลดจ้อย)

แม่ครัว เลากะเสียใจเด้ เฮ็ดงานแม่ครัว สำบายอยู่ดีๆ ถืกให้มาเฮ็ดงานต่ำต้อยกว่าเก่า ให้มาเป็นแค่คนถูเฮือน... คิดมา อุราช้ำหนัก ...สะล่ะล่ะ..

เลาบ่ฮู้สิเฮ็ดจั่งได๋ดี กะเลยลองไปขอความซ่อยเหลือ จากขุนศรีฯ เผื่อเลาสิซ่อยได้ อ้อนแล้ว อ้อนอีก... ในที่สุด ขุนศรีฯ กะยอมซ่อยเหลือ...

หลังจากวางแผนกันเรียบร้อยแล้ว

มื้อนึง ขุนศรีฯ กำลังปรักษาข้อราชการ กับพระราชาอยู่สองต่อสอง นางกำนัลแม่ครัวเก่า กะเอาผ้า มาคลานก้มถูเฮือน ย่อกๆ ถูไป ถูมา อยู่แถวนั่นล่ะ

พอขุนศรีฯเห็น กะเว้าให้พระราชาได้ยินว่า

"เอ้อ อี่นางนี้ ก้นดี ดากดี" แล้วกะ แล่นเข้าไป ทำทรงสิหอม สิดม แล้วกะนบมือขึ้นกราบไหว้ดาก ของนางกำนัลผู้นั่น อีกต่างหาก ทางปากกะว่า

"สาธุ ดากเจ้านี้ เป็นดากดี เป็นดากมีมงคล เป็นดากนำโชค เป็นดากนำความเจริญ สาธุ สาธุ"

ไล่คุมไหว้ดากนางกำนัลผู้นั่น ว่าซั่นเถาะ... พระราชาเห็นกะแปลกใจอย่างคัก คนอีหยัง ไปหาไหว้ดากผู้อื่น ไหว้ดากพระ หรือว่าไหว้ดากพระราชา กะบ่ว่าหยังหยามดอก... นี่ไปไหว้ดากคนถูเฮือน ??? กะเลยถามว่า

"ขุนศรีฯ เป็นหยังจั่งค่อยไปหาไหว้ดากคนถูเฮือน แทนที่สิไหว้ดากเฮา"

"กะดากคนถูเฮือน เป็นดากนำโชค เป็นดากนำความเจริญ... แต่ว่าดากของพระองค์ เป็นดากอับโชค เป็นดากนำความต่ำต้อย"

"เว้าจั่งซี้ หมายความว่าจั่งได๋"

"พระองค์จำได้บ่ พะเจ้าค่า นางกำนัลผู้นี้ หน้าที่เก่า คืออีหยัง"

"จำได้ เฮาเป็นคน ปลดออกจากตำแหน่งแม่ครัว ให้มาถูเฮือนเอง เป็นหยังสิจำบ่ได้"

"นั่นล่ะ พระเจ้าค่า.... นางกำนัลผู้นี้ ต้องขี้ ต้องเยี่ยว ซุมื้อ ล้างดาก เจ้าของซุมื้อ ย่อนล้างดาก บายดากเจ้าของ ได้เป็นถึงตำแหน่งแม่ครัวของพระราชา ดากของเลา สิบ่ให้ว่าดากนำความเจริญ ได้จั่งได๋... แต่พอมาบายดาก ล้างดาก ของพระราชา แค่เทื่อเดียว ท่อนั่นล่ะ ความอับโชค ความต่ำต้อยกะเข้ามา จนถืกปลดจากตำแหน่งแม่ครัวหลวง ไปเป็นแค่คนถูเฮือน ดากของพระองค์ สิบ่ให้ว่าเป็นดากนำความต่ำต้อย ได้จั่งได๋ พระเจ้าค่า"

พระราชา ได้ฟังคำอธิบายของขุนศรีฯ กะคึดได้ ….

"เอ้อ.. กะแม่นคือขุนศรีฯว่าเด้ล่ะเนาะ ดากของนางกำนัล อาจสิบ่สะอาดดี ท่อดากเฮาจ้อย เลาล้างดากเจ้าของซุมื้อ มาเฮ็ดอาหารให้เฮากิน จนดนปานนี้ เฮายังกินได้ บ่ขี้เดียด... ดากเฮา สะอาดก่อของนางกำนัลอีก เฮาสิขี้เดียดเฮ็ดหยัง.. คนเฮา ล้างดากแล้ว กะล้างมือให้สะอาดได้....... แม่นล่ะ เฮาสิคืนตำแหน่งให้นางกำนัลผู้นี้"

จากนั้น พระราชา กะเอิ้นนางกำนัลผู้นั่นมา แล้วกะคืนตำแหน่งแม่ครัว ให้เลา เป็นแม่ครัวคือเก่า สะล่ะล่ะ...

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน