ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ทำทานบ่มีศีลพร้อมผลบุญบ่เฮืองฮุ่ง มีศีลคันบ่คิดละเว้นสิเป็นได้ดั่งใด แปลว่า ให้ทาน แต่ไม่รักษาศีลด้วย ย่อมไม่ได้ผลบุญเต็มส่วน วาจารับศีล แต่ใจไม่ได้คิดละเว้น ก็ไม่ได้บุญเต็มส่วน หมายถึง พึงประพฤติตนในศีล ทั้งกาย วาจา และใจ

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...เมืองชวาแข่งดำน้ำทน (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นปลาย

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๕๙.เมืองชวาแข่งดำน้ำทน


ยังมีเมืองใหญ่กว้าง กว้างใหญ่ใกล้ทะเล ชาวประชาฮาเฮ สุขสำบายภายพื้น ชื่อกึกก้องนาม "ชวา" กะว่าม่วน มวลหมากไม้ หลายเติบพอได้กิน อยู่ตั้วล่ะ....

กะจั่งว่าล่ะน้อ.. บ้านเมืองร่มเย็น ศิลปะ กะเจริญ เป็นเรื่องธรรมดา การจัดประกวดนั่น แข่งขันนี่ กะมีอยู่เรื่อยๆ ว่าซั่นเถาะ... เมืองชวา อยู่ใกล้ทะเล คนเมืองชวา กะเลยมุดน้ำเก่ง ดำน้ำใจเฮีย... เขากะมีการแข่งดำน้ำทน ว่าผู้ได๋สิอยู่ในน้ำได้ดนที่สุด....ในที่สุด กะได้ผู้ชนะเลิศ มีชื่อว่า "ท้าวใจเฮีย" ผู้ใจเฮียสมชื่อ

เจ้าเมือง เห็นว่าเป็นโอกาสดี ที่สิได้มีสัมพันธไมตรี กับบ้านอื่นเมืองอื่น กะเลยส่งท้าวใจเฮีย ไปแข่ง "ดำน้ำทน" กับเมืองนั่นเมืองนี้...... แข่งกับเมืองได๋ กะชนะทุกเมืองเอาโลด

ในที่สุด กะถึงตาเมืองทวาลี สะล่ะล่ะ

พระราชา ได้รับจดหมายท้าประลองแล้ว กะเอิ้นประชุมเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย คือเก่า นั่นล่ะ... ตีฆ้องร้องป่าวหาคนใจเฮียที่สุดในเมืองทวาลี ...คนใจเฮียที่สุด กะมุดน้ำได้บ่ดน ถ้าสิส่งไปแข่งกับท้าวใจเฮีย กะต้องแพ้แน่นอน (เพราะว่าข่าววงใน ขาเจ้าเว้าค่อยๆ มาว่า.. ท้าวใจเฮียมุดน้ำได้เคิ่งมื้อ..พะนะ)

เฮ็ดจั่งได๋ล่ะ ตาทีเนียะ.... กะขุนศรีฯ คือเก่านั่นล่ะ รับอาสาเป็นคนจัดการกะดาย....

พอฮอดมื้อประลอง คณะท้าวใจเฮีย พระราชา กรรมการ พร้อมทั้งชาวบ้านชาวเมือง ชุมนุมกันพร้อมแล้ว.... ท้าวใจเฮีย กับขุนศรีฯ เตรียมโต ลุกย่างไปฝั่งน้ำ แล้วกะลอยน้ำ ไปประจำตำแหน่งอยู่หลักไผหลักมัน พอได้เวลา กรรมการให้สัญญาณ ... ท้าวใจเฮีย กับ ขุนศรีฯ กะไลมือตามหลัก มุดลงไปในน้ำ ...เงียบ...

อยู่ในน้ำกะเงียบอยู่ดอก แต่ว่าเทิงบก กองเชียร์กะตีกลอง ฟ้อนรำ งันกันม่วน อย่างคักล่ะว้า


ผ่านไปเคิ่งมื้อ กะเห็นหัวท้าวใจเฮีย ป่อนป้อล่อขึ้นจากน้ำ แล้วกะลอยเข้าฝั่ง... พอขึ้นมาแล้ว จั่งค่อยฮู้ว่า ขุนศรีฯ ยังบ่ทันได้ขึ้นมา.... นี่กะแสดงว่า ท้าวใจเฮียแพ้ เมืองชวาแพ้ ซั่นตี้ล่ะ

จากนั้น ทุกคนกะคองคอยเบิ่งว่า ขุนศรีฯ สิใจเฮียปานได๋ สิมุดน้ำได้ดนปานได๋ หรือว่าสิใจขาดตายก่อน เป็นศพฟูขึ้นมา กะบ่จัก ???


ผ่านไปหนึ่งมื้อ จั่งค่อยเห็นหัวขุนศรีฯ ป่อนป้อล่อขึ้นจากน้ำ แล้วกะลอยเข้าฝั่ง มารับรางวัล

ขุนศรีฯ เป็นผู้ชนะ

ขุนศรีฯ กะได้ซ่อยรักษาหน้าของเมืองทวาลี ไว้ได้อีกเทื่อหนึ่ง จั่งซี้ล่ะ.... จั่งซี้ คือจั่งได๋ ล่ะหือ ???

เอ๋า...บ่ทันได้ฮู้ติ บะได๋....คันจั่งซั่น กะตามไปเบิ่ง....


ขุนศรีฯ หลังจากรับอาสาเป็นคนจัดการแล้ว เลากะให้ขาเจ้า ไปหาเรือใหญ่เติบมาลำนึง เฮ็ดห้องน้อยๆ ใหญ่เติบ พอกินอยู่หลับนอน ได้สำบาย อุดฮูอย่างดี บ่ให้น้ำเข้าได้ ทางเทิง กะเอาลำไม้ไผ่ ทั่งป้องโล่งออกแล้ว มาต่อขึ้นเป็นท่ออากาศหายใจ ข้างท้องเรือ กะจ๋อฮูเฮ็ดประตูบานเลื่อน สำหรับลอยเข้าไป แล้วอยู่ทางใน กะมีอีกประตูนึง เผื่อว่า น้ำไหลเข้ามา ตอนเปิดประตูแรก สิได้บ่เปียกเตียงนอน นั่นหนา เฮ็ดเป็นสองชั้น ว่าซั่นเถาะ .... จากนั้น กะเอาแนวอยู่แนวกิน เทียน ไฟ เตียงนอน หมอน ผ้าห่ม ฯลฯ เข้าไปไว้ในห้องใต้ท้องเรือ เสร็จเรียบร้อยแล้ว กะลากเรือไปไว้ในแม่น้ำ ไกลจากหม่องสิประลอง จักหน่อย เรือกะจมน้ำ พ้นขึ้นมา แค่ปลายไม้ไผ่ท่อหายใจนั่นล่ะ …. จากนั้น กะเอาเชือกผูกประตูบานเลื่อน โยงไปหาหลักสำหรับแข่งขัน... การเตรียมการ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย...

( อั่นนี้ เป็นความลับเด้อ อย่าสะไปบอกคนเมืองชวาเด้อล่ะ)

พอฮอดมื้อประลอง คณะท้าวใจเฮีย พระราชา กรรมการ พร้อมทั้งชาวบ้านชาวเมือง ชุมนุมกันพร้อมแล้ว.... ท้าวใจเฮีย กับขุนศรีฯ เตรียมโต ลุกย่างไปฝั่งน้ำ แล้วกะลอยน้ำ ไปประจำตำแหน่ง อยู่หลักไผหลักมัน

พอได้เวลา กรรมการให้สัญญาณ ท้าวใจเฮียกับขุนศรีฯ กะไลมือตามหลัก มุดลงไปในน้ำ

ท้าวใจเฮีย กะจับหลักกลั้นหายใจไว้ อยู่หม่องหนั่นล่ะ

ส่วนขุนศรีฯ กะเอามือไลไปนำเชือก มุดไป จนฮอดประตูบานเลือน เปิดประตูออก... แล้วกะเข้าไปอยู่ กิน นอนเล่น อยู่ในห้องใต้ท้องเรือ เสย

พอกำหนดเวลา พอประมาณว่า หนึ่งมื้อ แล้ว ขุนศรีฯ กะออกมาทางเก่า แล้วกะมุดน้ำ ตามเชือกมาจนฮอดหลัก แล้วกะจั่งค่อยโผล่ขึ้นจากน้ำ......

ขุนศรีฯ กะซ่อยรักษาหน้าให้เมืองทวาลี ไว้จั่งซี้ล่ะ ….

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน