ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ผักหมเหี้ยนกลางทางเจ้าอย่าฟ้าวเหยียบย่ำ บาดห่าถอดยอดขึ้นยังสิได้ก่ายเกย แปลว่า ผักขมด้วนตามทาง อย่าเพิ่งเดินเหยียบย่ำ เผื่อออกยอดขึ้นมา จะได้เก็บกินได้ หมายถึง คนล้ม อย่าซ้ำเติม คนพลาดพลั้ง อย่าเหยียดหยาม

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...ให้ล่วงหน้าไปก่อน (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นปลาย

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๕๘.ให้ล่วงหน้าไปก่อน


หลังจาก ทุกคนพร้อมแล้ว ได้ฤกษ์ดีแล้ว ทัพหลวงกะออกเดินทาง แล้วกะไปตั้งค่ายพักเซา อยู่ท่งหม่องนึงเด้ ทุกคนอาบน้ำอาบท่า กินข้าวแล้วแล้ว กะพากันมาประซุม ปรึกษาหารือกันต่อ ว่าซั่นเถาะ แล้วกะสรุปกันว่า มื้ออื่น กินข้าวงายแล้ว ..พุ้นล่ะ สวยๆ จักหน่อย จั่งสิออกเดินทางพะนะ

พอสิเลิกประซุม พระราชาย่านขุนศรีฯ มาบ่ทันหมู่อีก กะเลยว่า

"ขุนศรีฯ หว่างมื้อเซ้า เจ้ามาบ่ทันหมู่ มาช้ากั่วหมู่เขา แม่นบ่... คันจั่งซั่น เอาจั่งซี้ซะเนาะ... มื้ออื่น ให้เจ้า ล่วงหน้าไปก่อน เด้อ"

"ได้ พะเจ้าค่า" ขุนศรีฯรับปาก

พอฮอดมื้อเดินทาง ...ทุกคนกินข้าวงายแล้ว กะมารวมกันอยู่ลานนัดหมาย

พระราชากะบ่เห็นขุนศรีฯ ตามที่คาดไว้ กะเข้าใจว่า "ขุนศรีฯ คือสิล่วงหน้าไปก่อนแล้ว"

พอได้ฤกษ์งามยามดี กะเคลื่อนทัพ เดินทางสะล่ะล่ะ

ฝ่ายขุนศรีฯน้อ เลากะตื่นสวยคือเก่า กินข้าวงายแล้ว กะฟ้าวแล่นลัดท่งไป ดักอยู่ทางหน้าพระราชาเด้ พอพระราชาเห็น กะถามว่า

"อ้าว ขุนศรีฯ มาเฮ็ดหยังอยู่นี่ ว่าแม่นล่วงหน้าไปก่อนแล้ว บ่แม่นติ ?"

"ข้าพระองค์ กะล่วงหน้าไปก่อนอยู่หนิเด้ พะเจ้าค่า"

"ล่วงหน้าไปก่อน แนวได๋ เดียวเนียะ"

"กะนี่เด้ พะเจ้าค่า..." แล้วขุนศรีฯ กะแสดงท่าย่างไปย่างมา แบบเอาหน้าโผล่ออกก่อน เอาโตตามหลัง ...ย่างเฮ็ดดากแงนๆ โตเซ่วๆ เอียงๆ ไปทางหน้า เอามือขัดไว้ทางดาก นั่นล่ะ...

"นี่บ้อ ขุนศรีฯ ล่วงหน้าไปก่อนของเจ้า"

"นี่ล่ะพระเจ้าค่า ล่วงหน้าไปก่อน ของแท้"

"มันคนละความหมายกันเด้เดียวหนิ... ล่วงหน้าไปก่อนที่เฮาเว้าน่ะ หมายถึง ไปก่อนผู้อื่น ไปก่อนคณะของเฮา ซั่นเด้เดียวหนิ"

"บ้อ ??? พะเจ้าค่า.... คันจั่งซั่น ข้าพระองค์กะสิย่างออกก่อน เป็นผู้นำขบวนเสด็จ เด้อ พะเจ้าค่า"

"มันบ่แม่นจั่งซ้าน.... ฮู้ย... จักแม่นเว้ายาก เนาะเจ้ากะดาย"

ขุนศรีฯกำลังสิอ้าปากเว้า "...."

"หยุดเดียวนี้ เจ้าบ่ต้องเว้าต่อ...ไปออกเดินทาง"

แป่ว !!!!!!

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน