ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ไผเฮ็ดดีให้ซอยยู้ ซอยซูอย่าย่านลืน ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ซอยกัน แปลว่า ใครทำดีให้ช่วยส่งเสริมอุ้มชู อย่ากลัวจะได้ดีเกินตน ใครทำผิด ก็ให้ช่วยบอก และหาทางแก้ไข หมายถึง ส่งเสริมคนทำดี อย่าอิจฉาริษยา บอกกล่าวตักเตือนคนทำผิด

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...แข่งตอบปัญหาธรรมะ (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นกลาง

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๕๐.แข่งตอบปัญหาธรรมะ


เมืองธานี ที่ผ่านมา กะพยายามท้าประลองกับเมืองทวาลี ตั้งวะหลายเทื่อ แต่กะต้องแพ้ปัญญาเซียงเมี่ยง กลับไปทุกเทื่อ เจ้าเมืองเอง กะหาทางสิเอาชนะ เมืองทวาลีอยู่ตลอด ในที่สุด กะคึดออก...

อยู่เมืองธานี การเรียนการศึกษาธรรมะ ศึกษาพระไตรปิฏก ของพระเณรทั้งหลาย กะอยู่ในระดับที่ดี บ่แพ้เมืองลงกาเด้ พระเถระผู้ที่เก่งๆ ช่ำชองพระไตรปิฏก กะมีหลายคักเติบ

เจ้าเมือง กะเลยคึดสิส่งพระเถระ ไปประลองตอบปัญหาธรรมะกัน กับพระเมืองทวาลี สะล่ะล่ะ ... หวังสิหลีกเลี่ยงเซียงเมี่ยง นั่นล่ะหวา....

เจ้าเมืองธานี คัดเลือกพระเถระเก่งๆ ได้สามรูป เพื่อส่งไปโต้ตอบปัญหาธรรม กับพระเมืองทวาลี แล้วกะส่งใบบอก ไปแจ้งแก่พระราชาเมืองทวาลีเด้

พระราชา กะเอิ้นประชุมเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย คือเก่านั่นล่ะ.... ผลสุดท้าย กะหาพระที่เก่ง สู้พระเมืองธานีบ่ได้ แล้วกะให้เซียงเมี่ยง เป็นคนจัดการคือเก่า นั่นล่ะ...

พอดี เซียงเมี่ยง เลาอายุครบบวชพระแล้ว กะเลยลาพระราชา ขอบวชพระ เด้ หลังจากบวชแล้ว กะได้ฉายาว่า ธนญฺชโย คันสิเอิ้นว่า พระเมี่ยง ธนญฺชโย กะบ่ม่วนดี เทิงบ่อยากให้พระเมืองธานี สงสัยนำนั่นล่ะ กะเลยเปลี่ยนชื่อเป็น ธนญชัย

พระธนญชัย ธนญฺชโย กะไปอยู่วัดวัง ซึ่งเป็นวัดที่สิจัดงาน ตอบปัญหาธรรมะเด้

พระเถระเมืองธานี เดินทางมาฮอด เข้าเฝ้าพระราชาแล้ว กะได้มาพักอยู่วัดวังคือกัน โดยมีเซียงเมี่ยง หรือพระธนญชัย เป็นผู้คอยเบิ่งแยงดูแล ว่าซั่นเถาะ

ช่วงค่ำน้อ พระธนญชัย กะหาน้ำฮ้อนน้ำยา ไปถวายพระเมืองธานีเด้ พระเมืองธานี อยากฮู้ลึกตื้นหนาบาง ของการศึกษา ของพระเมืองทวาลี เพื่อประเมินว่า เจ้าของสิชนะหรือบ่นั่นล่ะ กะเลยถามพระธนญชัย

...เข้าแผนเซียงเมี่ยงพอดี...

“ ท่าน ชื่อว่าจั่งได๋ ”

“ ชื่อว่า ธนญชัย ธนญฺชโย ขอรับ ”

“ บวชได้ดนแล้วบ้อ ”

“ บวชได้บ่ทันดนดอก ขอรับ กะได้เรียนธรรมะนิดๆ หน่อยๆ จากพระอาจารย์”

“ เอ ปกติแล้ว พระเมืองทวาลี ได้เรียนธรรมหมวดได๋แหน่ล่ะ”

“ กะมีเรียน มีสอนเหมิด ทั้งพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมนั่นล่ะ เทิงอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา กะเรียนเหมิด... แล้วเมืองธานีล่ะ ขอรับ?”

“ อยู่เมืองธานี กะเรียนเหมิดคือกัน ท่องจำได้ ตอบปัญหาได้สบาย.. คันท่านมีข้อสงสัยอีหยัง กะถามได้เด้อ”

พระธนญชัยกะเลยถามว่า

“ ปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของปู่ ของพระพุทธเจ้า ชื่อว่าจั่งได๋...”

“ ฮ่วย คำถามแบบนี้ มันบ่เกิดประโยชน์ เขาบ่เรียนบ่สอนกัน ผู้ได๋สิไปฮู้”

“ เอ๋า... คำถามนี้ เป็นคำถามพื้นๆ เกี่ยวกับพุทธประวัติ ยังบ่ทันได้ลงลึก ไปเถิงหมวดอภิธรรม ยังบ่ฮู้ ยังตอบบ่ได้ คันสิแข่งกับพระเมืองทวาลี กะต้องแพ้ลูกเดียว แพ้แน่ๆ ขะผมบ่บอกคำตอบดอก มื้ออื่น สิให้พระอาจารย์ ถามคำถามนี้ล่ะเป็นคำถามแรก แฮกหมาน... ขอโตก่อนเด้อขอรับ”

พระธนญชัยเว้าจบ กะต่อดหยับออก ลุกย่างหนี ปล่อยให้พระเมืองธานี คึดหนักเอาเองสะล่ะล่ะ

พระเมืองธานี ได้ยินจั่งซั่น กะย่านแพ้น้อ คันถืกถามอีหลี ตอบบ่ได้ กะเป็นตาอยากอาย เสียหน้าไปฮอดเจ้าเมืองธานีอีกต่างหาก คิดจั่งซั่นแล้ว กะเลยทำเป็นบ่สำบาย ขอยกเลิกการโต้ตอบปัญหาธรรมะ ลากลับเมืองธานี ซั่นแหล่ว

เซียงเมี่ยง กะซ่อยรักษาหน้าให้เมืองทวาลีไว้ได้อีกเทื่อนึง จั่งซี้ล่ะ

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน