ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ผักหมเหี้ยนกลางทางเจ้าอย่าฟ้าวเหยียบย่ำ บาดห่าถอดยอดขึ้นยังสิได้ก่ายเกย แปลว่า ผักขมด้วนตามทาง อย่าเพิ่งเดินเหยียบย่ำ เผื่อออกยอดขึ้นมา จะได้เก็บกินได้ หมายถึง คนล้ม อย่าซ้ำเติม คนพลาดพลั้ง อย่าเหยียดหยาม

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...โก่งดากใส่พระราชา (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นกลาง

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๔๗.โก่งดากใส่พระราชา


พระราชา ถืกเซียงเมี่ยงตั๋วให้กินขี้แฮ้ง เลาสูนแฮง จนฮ้อนฮิ่น อดโทโสบ่ได้ ต้องลงโทษให้สาสม ท่อนแหล่ว...

“ เทื่อก่อน มันตั๋วให้ดมตด ดมตดกะยังว่าดีกว่ากินขี้ กินขี้หยังบ่กิน บัดได้กินขี้แฮ้ง แฮ้ง สัตว์สกปรกเหม็นกุย ที่คนทั้งหลายขี้เดียด บ่กล้าเข้าใกล้ บ่กล้ากินซิ้น แต่ว่า เฮาถืกเซียงเมี่ยงตั๋วให้กินขี้แฮ้ง” …. แฮ่งคิดแฮ่งสูน... ในที่สุด พระราชากะตัดสินใจ ลงโทษเซียงเมี่ยง ไล่ออกจากราชการ

“ บักเซียงเมี่ยง มึงตั๋วกูเทื่อนี้ รุนแรงคัก กูบ่สั่งตัดคอมึงกะบุญมึงแล้ว... มึงฟ้าวหนีไป ให้พ้นหน้ากูเดียวนี้ บ่ต้องมาให้กูเห็นหน้า ตราบจนดินพลิกปิ้น ไป ไป ”

เซียงเมี่ยงท้าว ย่างเฮ็ดคอ ตกต่อซ่อ เหมิดอาลัย เทิงอายพร้อม ถืกถอนถอด จากยศศักดิ์ ซั่นแหล่ว...

เซียงเมี่ยง ถืกปลดออกจากราชการแล้ว เลากะไปหาเฮ็ดงานรับจ้าง ผู้นั้นแหน่ผู้นี้แหน่ เฮ็ดนาแหน่ พอได้อยู่ได้กินนั่นล่ะ

มื้อนึง เซียงเมี่ยง ไปรับจ้างขุดดินเด้ กำลังขุดดินย็อกๆ อยู่ข้างทาง พอดี พระราชา เสด็จผ่านมาทางนั้น พอเซียงเมี่ยง ฮู้ว่าพระราชากำลังเสด็จมา เลากะบ่หนีไปทางอื่นเด้ ผัดขุดดินต่อเสย พอพระราชา มาใกล้ฮอด เซียงเมี่ยง กะก้มเอาหัวมุดลงหลุม โก่งดากขึ้นมา เด้

ตามปกติแล้ว หากพระราชาเสด็จผ่านมา ชาวประชา กะควรสิรอรับเสด็จ ก้มกราบ เนาะ แต่เซียงเมี่ยง ผัดโก่งดากใส่เสย

พระราชา เห็นจั่งซั่น คึดว่า นี่มันแมนผู้ได๋ จั่งค่อยบ่ให้ความเคารพ บังอาจมาโก่งดากใส่... กะเลยให้ทหารไปถาม ทหารไปก้มถาม จนได้ใจความดีแล้ว กะมาบอกพระราชาว่า

“ คนผู้นี้ บ่แม่นคนอื่นไกลดอกพะเจ้าค่า คือ เซียงเมี่ยง นั่นเอง”

“ สิเป็นผู้ได๋กะตาม บ่ควรสิมาโก่งดากใส่เฮาจั่งซี้”

“ เซียงเมี่ยงเลาว่า ‘อีหลีแล้วอยากเฝ้าพระราชาอยู่ดอก แต่ว่าพระราชาสั่งไว้ว่า ห้ามบ่ ให้เห็นหน้า กะเลยต้องเอาหน้าไปลี้' พะนะ พะเจ้าค่า”

“ โฮ้ย... บักเซียงเมี่ยงวะติ.... จั่งซั่นกะซ่างหัวมัน ปล่อยมันไป”

แล้วพระราชากะเสด็จต่อไป สะล่ะล่ะ

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน