ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ผักหมเหี้ยนกลางทางเจ้าอย่าฟ้าวเหยียบย่ำ บาดห่าถอดยอดขึ้นยังสิได้ก่ายเกย แปลว่า ผักขมด้วนตามทาง อย่าเพิ่งเดินเหยียบย่ำ เผื่อออกยอดขึ้นมา จะได้เก็บกินได้ หมายถึง คนล้ม อย่าซ้ำเติม คนพลาดพลั้ง อย่าเหยียดหยาม

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง... พระราชากินขี้แฮ้ง (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นกลาง

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๔๖.พระราชากินขี้แฮ้ง


เซียงเมี่ยง พอแต่ฮู้ว่า ถืกตั๋วให้กินแฮ้ง กะสูนวะสั่น สูนปานได๋ กะได้แต่สูนนั่นล่ะ เพราะว่าผู้ตั๋วเป็นพระราชา สิจับมาลงโทษกะบ่ได้ เซียงเมี่ยง กะเลยแบกความสูน ย่างกลับบ้าน ไปจกคอฮาก แล้วกะรอคอยโอกาส ตั๋วแก้แค้นพระราชา

“ ตั๋วให้เฮากินซิ้นแฮ้ง.. ต้องแก้แค้นด้วยขี้แฮ้ง จั่งค่อยสิหายแค้น”

คึดแล้ว เซียงเมี่ยงกะย่างออกท่ง ไปดงแฮ้ง เก็บเอาขี้แฮ้ง มาผสมกับดินชนวน ปั้นเป็นดินสอ สำหรับเขียนกระดานชนวนเนาะ ปั้นตากแห้งเรียบร้อยแล้ว กะเหลือแต่รอคอย โอกาสเหมาะๆ ท่อนั้นตั้ว

อีกหลายมื้อต่อมา เสนาอำมาตย์ เทิงเซียงเมี่ยงนั่นล่ะ เข้าเฝ้าพระราชา หารือข้อราชการ เกี่ยวกับทางสำหรับสัญจรไปมา ว่าสิขุดคลองน้ำไปทางได๋ สิเฮ็ดถนนไปทางได๋แหน่ จั่งสิดี...

พระราชา กะถามเสนาอำมาตย์ผู้นั้นผู้นี้เด้ เสนาอำมาตย์ กะเอากระดานชะนวน มาขีดเขียนวาดรูป ตามที่เจ้าของคิดเนาะ.... พระราชา พิจารณาของผู้นั้นผู้นี้แล้ว กะบ่ถืกใจ กะอยากรวมวิธีการ ของผู้นั้นผู้นี้ เพิ่นกะเลยสิเสนอความคิด หลังจากรวบรวมแล้วแล้ว กะเลยขอกระดานชะนวน กับดินสอจากเซียงเมี่ยง

ได้จังหวะพอดี สะล่ะล่ะ

เซียงเมี่ยง กะเอาดินสอขี้แฮ้งนั่นล่ะ ให้พระราชา พระราชา กะเอาดินสอขี้แฮ้ง เขียนกระดาน เขียนออกบ่ค่อยดี กะเลยใช้ลิ้นเลีย หรือฮาลังเทื่อ กะเอาจุ่มน้ำลายในปาก แล้วกะเอามาเขียน เด้ อม เขียน อม เขียน อยู่จั่งซั่นล่ะ จนดินสอเหมิดไปเคิ่งแท่ง

เซียงเมี่ยง เลากะนั่งยิ้มย่วยๆ แหล่วเนาะ

มีตอนนึง ขี้แฮ้งมันเป็นก้อนอยู่ พระราชาเพิ่นอมถืกหม่องหนั่น กะฮู้สึกเหม็นๆ ... อีหลีแล้ว เพิ่นได้กลิ่นเหม็นๆ ตั้งแต่ดนแล้วล่ะหวา... กะเลยถามว่า

“ ดินสออั่นนี้ คือเขียนบ่ค่อยดี คือมีกลิ่นเหม็นๆ ตะหนุ่ย ตะหนุ่ย”

เซียงเมี่ยงกะเลยว่า

“ ดินสอขี้แฮ้ง มันกะกลิ่นจั่งซี้ล่ะ พะเจ้าค่า ปกติ ข้าพระองค์สิจุ่มน้ำ สิบ่จุ่มน้ำลาย”

“ แล้วมึงเป็นหยังบ่บอกกู มึงเป็นหยังบ่ตักน้ำมาให้กู มึงล่อให้กูกินขี้แฮ้งแมนบ่”

พระราชาเลาสูนอย่างคักเด้

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน