ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
นกเขาเข้าอยู่ตุ้ม เหงาง่วมทนทุกข์ แม่นสิงอยคอนเงินคอนคำ ก็บ่ลืมคอนไม้ แปลว่า นกเขาอยู่ในกรง เหงาเศร้าทนทุกข์ ถึงจะจับบนคอนเงินคอนทอง ก็ไม่ลืมคอนไม้ หมายถึง นกเขา ยังไม่ลืมคอน คน ไม่ควรลืมบ้านเกิดเมืองนอน

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...ตั๋วเอาปลา (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นกลาง

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๒๘.ตั๋วเอาปลา


มีท้าวอั่นนึง เลาบวชดนจนได้เป็นจารย์ สึกออกมา แล้วกะได้เมียผู้สาวงาม ๆ ผู้นึง เด้ (เอิ้นเลาว่าจารย์เถิงซะเนาะ) จารย์เถิงเลาอยู่กินกับเมีย บ่ทันดน เมียเลากะมีท้อง (เอ๋า...หัวตะมีท้องซั่นบ้อ... เอาหยังใส่แนวกินน้อนอ..) ....หมายถึงว่า มีลูกอยู่ในท้องนั่นล่ะ... ท้องใหญ่ใกล้คลอดแล้วมั้ง..

มื้อนึงจารย์เถิง เลาไปสาปลา สิหาปลามาสู่เมียกินนั่นล่ะ สาปลาอยู่

บ๋อม จ่อก บ๋อม จ่อก ๆๆๆๆๆๆ

จนน้ำใกล้แห้งแล้วเด้

พอดี้ เซียงเมี่ยง ออกจากบ้านมา กำลังสิไปนาเด้ ย่างผ่านมาเลาะนั้น ได้ยินเสียง บ๋อม จ่อก บ๋อม จ่อก อยู่ เกิดความสงสัย กะเลยเลาะเลียบไปเบิ่ง เห็นจารย์เถิงกำลังสาปลาอยู่ ซั่นแหล่ว

น้ำแห้งพอดี จารย์เถิงกะลงมือจับปลาใส่ข้อง นั่นแหล่ว ปลากะหลายคัก มีเทิงปลาดุก ปลาค่อ ปลาเข็ง ปลาจิเดิด เด้ เลากะจับเอาจับเอา กะยังว้ากะยังว่า

กำลังจับปลาม่วน ๆ เซียงเมี่ยง ผัดโผล่ป่อดล่อดออกมา

“ เอ้า พ่อลุง เฮ็ดหยังอยู่น้อนอ ”

“ อ้าว... เซียงเมี่ยงติ ....กะตามที่เห็นนั่นล่ะ” จารย์เถิงตอบอย่างไว้ภูมิ เด้

“ โฮ้ บวกนี้ ปลาหลายคักน้อ ลุงน้อ ”

“ ปลาหลาย กะหั่งว่าอยู่ดอก... ของแนวนี้ หาเอาไผเอามันตั้ว ” จารย์เถิงเว้าแบบกั๊กไว้เนาะ

“ กะบ่ได้ว่าหยังเด้ล่ะ ” เซียงเมี่ยงว่า

“ เอ้อ..เซี่ยงเมี่ยง.. เขาคือลือคือซากันคักแท้ ว่าเจ้าตั๋วเก่ง คันว่าตั๋วเก่งอีหลี ลองตั๋วเอาปลาข้อยเบิ่งกะดู้”

“ สิมาตั๋ว มาเต๋อหยังอยู่หนี่ เมียเจ้าเจ็บท้องออกลูกอยู่บ้าน ฟ้าวเข้าไป เบิ่งเมียเจ้านั่นปาหยัง อุตส่าห์สิมาบอกข่าว มาชวนคุยอยู่ได้”

จารย์เถิง ได้ยินคำว่า “ เมียเจ็บท้องออกลูก ” ท่อนล่ะ ด้วยความเป็นห่วงลูกเมีย ลืมฮอดปลา ฟ้าวแล่นเข้าบ้านอย่างหันเลย

พอแล่นฮอดเฮือน เห็นเมียนั่งเล่นสำบายเสยอยู่ บ่มีอาการเจ็บท้องออกลูก จักหน่อย จั่งค่อยฮู้ว่า ถืกเซียงเมี่ยงตั๋วแล้ว

คนเฮากะดายเนาะ ฮาลังเทื่อ สิเว้าจั่งได๋กะบ่เชื่อ ฮาลังเทื่อผัดเชื่อง้ายง่าย เด้บะได๋....

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน