พวกลาวเชียง เสียเมี่ยง ให้เณรเมี่ยง จนเหมิดเกี้ยง เลยบ่มีเมี่ยง ให้เจ้าเมียง(เมือง) ซั่นแหล่ว...คันสิกลับเมืองเชียง ไปหาบเมี่ยง มาให้เจ้าเมือง พระราชากะสิเคือง ว่าผิดนัดแท้....บ๋า ต้องไปเข้าเฝ้าพระราชาแจ้งเหตุสาก่อน...
พระราชา ฟังเรื่องราวแล้ว กะคึดว่า “เณรผู้นี้ ปัญญาดีเติบยุน้อ” กะเห็นอกเห็นใจพวกลาวเชียงเนาะ เลยบอกว่า สิไถ่เมี่ยงคืนให้ดอก ให้ไปบอกเณรว่า
“ พระราชาสิไถ่เมี่ยงเป็นเงิน ห้าบาด (บาท) ให้เณรคืนเมี่ยงให้ลาวเชียงสา ”
พวกลาวเชียง กะกลับไปบอกเณรเมี่ยง ตามนั่นล่ะ
เณรเมี่ยงกะเลยเอาบาตรให้พวกลาวเชียง ห้าใบ บอกว่า
“ เงิน ห้า บาด วะติ เอ๋า นี่ บาตร ห้า ใบ เอาไปใส่เงินมาจนเต็ม ห้า บาตร เด้อ”
พวกลาวเชียง กะเอาบาตร ห้าใบ ไปเฝ้าพระราชาอีก แล้วกะทูลพระราชาตามนั่น
พระราชา เป็นพระราชา เป็นกษัตริย์เนาะ ถือคติว่า “ กษัตริย์ ตรัสแล้ว บ่คืนคำ ” กะเลยจำเป็นต้อง เอาเงินใส่บาตร จนเต็มเทิง ห้าบาตร เหมิดเงินไป ๔๙๖ ชั่ง หรือเกือบ หมื่นบาท (แทนที่สิเสียแค่ ๕ บาท)
“ โฮ้..เณรรูปนี้ คือสำมะคัน แท้ว้า..” พระราชาคึดในใจ...
เณรเมี่ยง กะเอาเงินส่วนนึง ไปซ่อมแซมวัด ส่วนนึงกะเก็บไว้
(ส่วนได๋หลายกว่ากัน บุล่ะหวา)
|