ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
คันได้ขี่ม้าแล้วอย่ากั้งฮ่มแฮแถม ย้านเจ้าเพพังตกถืกตอตำต้อง แปลว่า หากได้ขึ้นขี่ม้า อย่าได้กางร่มด้วย เพราะอาจตกม้า โดนหัวตอได้ หมายถึง ได้ดีแล้วอย่าหยิ่งจองหอง

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เซียงเมี่ยง...หลวงพ่อหัวบักโต่น (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
เซียงเมี่ยง..บั้นต้น

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๗.หลวงพ่อหัวบักโต่น


มื้อนึง หลวงพ่อ ย่านเจ้าของตื่นสวย สิบ่ทันบิณฑ์บาต กะสั่งเณรเมี่ยงไว้ว่า

“ เมี่ยงเอ้ย มื้ออื่นเช้า ปลุกหลวงพ่อเด้อ คันเห็นดาวเพ็กขึ้น กะให้ฟ้าวมาปลุกหลวงพ่อเด้อ”

สั่งแล้วเลากะเข้านอน

(ดาวเพ็ก คือดาวศุกร์นั่นหละ ดาวศุกร์ที่ขึ้นตอนเช้า เขาเอิ่นว่า ดาวเพ็ก......ฮาลังหม่อง กะเอิ่นว่าดาวเพชร)

ฝ่ายเณรเมี่ยง กะบ่อยากตื่นแต่เดิ่ก ลุกแต่เช้า ย่อนว่า ช่วงเช้ามืดน่ะ มันเป็นช่วงที่นอนแซบ ที่สุด แต่ว่าคันสิบ่ปลุกหลวงพ่อ กะบ่ได้ เลากะเลย เอาขี้กะบอง ขึ้นไปมัดไว้ปลายตาล แล้วกะจุดไฟ เด้

จากนั้น กะลงมา เข้าไปปลุกหลวงพ่อ

“ หลวงพ่อ ๆ ดาวเพ็กขึ้นแล้ว ” เทิงเว้าเทิงซี้มือไปทางขี้กะบองอยู่ยอดตาล

หลวงพ่อเห็นไฟขี้กะบองอยู่ยอดตาล กะคึดว่าแมนดาวเพ็กอีหลี กะเลยล้างหน้า ห่มผ้า ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาต เลาย่างไป ฮอดเลาะบ้าน กะยังมืดตึบอยู่ บ่ทันแจ้งจ้อย ชาวบ้าน กะยังบ่มีไผลุกขึ้นมานึ่งข้าวจ้อย หลวงพ่อกะเลยเหลียวเบิ่งดาวเพ็กอีก....

...เอ๋า พอเบิ่งจากหม่องนี่ มันผัดบ่เห็นดาวเพ็ก บ่มีดาวเพ็ก แสดงว่าดาวเพ็กยังบ่ทันขึ้น เลาฮู้โตว่า ถืกเณรเมี่ยงตั๋ว เด้ คันสิย่างกลับวัด กะไกลเนาะ ขี้คร้านย่าง กะเลยตัดสินใจว่า

“ หาหม่องนอนแถว ๆ นี่ ดีกว่า ”

หลวงพ่อย่างไปเห็นค้างบักโต่น เป็นตาหลับได้ กะเลย นั่งลงพิงเสาค้างบักโต่นนั่นล่ะ หลับ.....

แม่ใหญ่อั่นนึง(เอิ่นเลาว่า แม่ใหญ่สา ซะเนาะ)... ฝ่ายแม่ใหญ่สา ตื่นแต่เดิ่ก ลุกแต่เช้า นึ่งข้าว สิเฮ็ดแนวกินไปจังหัน เด้ เลากะสิไปเก็บบักโต่นไปแกงใส่ไก่ นั่นหนา ตอนนั่น มันกะยังบ่ทันแจ้งดีเนาะ

หลวงพ่อกะยังนั่งหลับเสยอยู่...

แม่ใหญ่สากะเอามือคลำหาบักโต่น พอดีคลำไปพ้อหัวโล้นหลวงพ่อ คึดว่าแมนบักโต่น ตัดสินใจว่า

“ หน่วยนี้ ใหญ่พอดี เอาหน่วยนี่หละ ”

แล้วกะเอาสองมือจับหัวหลวงพ่อบิด คือบิดบักโต่นนั่นล่ะ

หลวงพ่อถืกบิดหัว ขะลาดตื่นขึ้น....ตกใจอย่างใหญ่

“ ผีหลอก...ผีหลอก ” แล้วกะฟ้าวถือบาตรแล่นหนี

ฝ่ายแม่ใหญ่สา กะตกใจคือกัน

“ ว้าย...ผีหลอก.. ” แล้วกะแล่นหนีขึ้นเฮือน....

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน