ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2567:: อ่านผญา 
อันว่าเสือสางช้างกวางฟานอาศัยป่า ป่าอาศัยสิ่งฮ้ายหนาแน่นมืดมุง แปลว่า เสือ ช้าง กวาง ฟาน อาศัยป่า และต้นไม้ในป่าก็อาศัยสัตว์ร้าย จึงรอดพ้นการถูกทำลาย หมายถึง พึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันอยู่เสมอ

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

หลวงพ่อกับเณรน้อย...หลวงพ่อสูนให้แมงวัน (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
หลวงพ่อกับเณรน้อย

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
ตอน:หลวงพ่อสูนให้แมงวัน


หลวงพ่อ ถืกเยี่ยงปลาดุกปักมือ ปวดบักอย่างขนาด เคียดให้ปลาดุกอีกเด้ บาดตาทีเนียะ...

“ บ๋า.. บ๋า.. ปลาดุกโตนี่.. มึงสู้ติ.. สู้ติ จั่งซี้ต้องเอาไปย่างกิน จั่งสิหายแค้น”

กะเลยบอกเณรน้อยว่า

“ น้อยเอ้ย เอาปลาดุกโตนี่ ไปให้แม่ออกย่าง แล้วให้เอามาจังหัน มื้ออื่นเช้าเด้อ”

เณรน้อย กะเฮ็ดตามคำสั่งหลวงพ่อ

พอฮอดยามมื้อเซ้า หลวงพ่อกะเข้าไปบิณฑ์บาต คือเก่านั่นล่ะหว๋า ส่วนเณรน้อย กะเตรียมพาข้าว เตรียมข้าวของไว้ท่าอยู่ศาลา พอดีแม่ออก กะเอาปลาดุกย่างมาส่ง โฮ้ ปลาดุกย่าง กลิ่นมันกะหอมขนาด ล่ะเว่ย

เณรน้อย เอาปลาดุกย่าง ไปวางไว้หม่องพาข้าวหลวงพ่อ กลิ่นปลาดุกย่าง หอมหวนยั่วยวนใจเลาบักขนาด เลาทนบ่ไหว เลยบิ๋หางแก่ะ ...ตัดสินใจลองซิมเบิ่งคำน้อยๆ ...มันล่ะแซบตี้ล่ะ กะเลย ซิมต่ออีกเทื่อล่ะคำน้อยๆ ซิมไปซิมมา เหลือแต่ก้างกับหัว กะยังว๋ากะยังว่า เณรน้อยเลาแซบคัก กินปลาดุกหลวงพ่อเหมิดเลย ว่าซั่นเถาะ

พอกินเหมิดแล้ว จั่งค่อยคิดได้ ตกใจบักใหญ่ ย่านถืกหลวงพ่อด่ากะพ่องกัน

“ ตายคักๆ ตายคักๆ เฮ็ดจั่งได๋น้อ บาดทีเนี่ย”

พอดีคึดแผนอุบายได้ ...เณรน้อยเลากะฉลาดเนาะ

เณรน้อย เอาเศษปลาดุกที่เหลืออยู่นั่น วางใส่จาน แล้วกะเอาวางทิ้งไว้ ...บ่ทันพอคราว แมงวันกะมาตอมแซวๆ จับดำจุ่มกุ่มอยู่ พอได้จังหวะ เณรน้อย กะเอาบาตรงุมจาน บึบ ว่าหนึ่ง ขังแมงวันไว้ในบาตรหั่นล่ะ เสร็จเรียบร้อยแล้ว กะยิ้มย่วยๆ สำบายใจเสย

หลวงพ่อกลับจากบิณฑ์บาตแล้ว กะสิฉันจังหันน้อ ..กะถามหาปลาดุกย่าง เณรน้อยกะบอกว่า เอาไว้ในจาน เอาบาตรงุมไว้อย่างดี พอหลวงพ่อเปิดบาตรขึ้น แมงวันพากันตกใจ กะบินแตก พืง วะนึง

“ โฮ้ ...ปลาดุกย่าง เหลือแต่หัวกับก้าง ปาดทิโธ แมงวันซุมนี้ บังอาจมาหลอยกิน ปลาดุกย่างกู …หือน้อ”

หลวงพ่อเลาสูน แล้วกะเคียดให้แมงวันเด้ บาดตาทีเนี่ย

เณรน้อย กะหัวย่ามใน ใจ

“ รอดแล๊ว รอดแล้ว ได้แมงวันมาซอยซีวิต”

พะนะว่า เหอ เห้อ ...( เสียงหัวเด้หนิ )

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน