ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ได้ยินป่าวๆฮ้อง งัวเจ้าของอย่าฟ่าวว่า ห่าเป็นแนวซาดเซื้อ เสือฮ้ายซิคาบคอ เอาเด้ แปลว่า แค่เพียงได้ยินเสียงร้องคุ้นๆ อย่าเพิ่งว่าเป็นวัวของตน เพราะหากเป็นเสือแล้วไซร้ มันจะกัดเอาได้ หมายถึง อย่าทำอะไรด้วยความประมาท พลาดพลั้งไปจะแก้ไขไม่ทันการณ์

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

พญาคันคาก (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
นิทานแลง.. พญาคันคาก

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
พญาคันคากปราบพญาแถน


     หลังจากพญาแถนยอมแพ้แล้ว การสู้รบกันได้ยุติลงแล้ว พญาคันคากกะได้จัดประชุมเจรจาตกลงกับพญาแถน โดยพญาคันคากได้ขอให้พญาแถนเปิดป่องแปวพญานาคให้พญานาคขึ้นไปเล่นน้ำคือเก่า ก่อน แล้วกะให้ดูแลชาวมนุษย์ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ชาวมนุษย์ดั่งที่เคยประพฤติมาเก่าก่อน อย่าสะละถิ่มฮีตธรรมอันดีอีก

     จากนั้น กะถกกันเรื่องว่า การเปิดป่องแปวไว้ตลอด โดยบ่มีกำหนดชัดเจนตามลักษณะแบบเก่านั่น พญานาคขึ้นไปเล่นน้ำยามได๋ ฝนกะจั่งค่อยตก ฝนตกตามการเล่นน้ำของพญานาค บางครั้งชาวมนุษย์บ่ได้ต้องการน้ำ ฝนกะตกลงมา สร้างความเดือดร้อนให้มนุษย์เป็นครั้งคราว

     พญาแถนกะว่า แล้วสิฮู้ได้จั่งได๋ว่า ยามได๋ควรสิเปิดป่องให้พญานาคไปเล่นน้ำ...

     พญาคันคากกะว่า เอาจั่งซี้สา พอฮอดยามเดือนหก ซึ่งปกติ เป็นฤดูเริ่มเฮ็ดนา ช่วงนี้ต้องการให้ฝนตกโฮยฮำนา โฮยฮำข้าวกล้า ควรสิให้ฝนตกมาช่วงนี้... ทางเมืองมนุษย์สิจุดบ้องไฟขึ้นไปเทิงฟ้าบอกเป็นสัญญาณว่าต้องการฝนแล้ว... ให้พญาแถนเปิดป่องแปวให้นาคขึ้นไปเล่นน้ำได้

     ซึ่งพญาแถนกะถามต่อว่า (ถามต่อ บ่ได้ถามแตน ถามต่อเด้อ) แล้วสิฮู้ได้จั่งได๋ว่า มีนาคขึ้นมาเล่นน้ำหรือยัง เปิดป่องแล้ว นาคบ่มาเล่นน้ำ ฝนกะบ่ตกคือเก่าเด้อ....

     พญาคันคากกะว่า ถ้าฝนตกลงมาแล้ว กบเขียด กะสิออกมาเล่นน้ำ ฮ้องม่วนก้องท่งนา ให้พญาแถนสังเกตได้เลย ถ้ากบเขียดฮ้อง แสดงว่า ฝนได้ตกลงมาสู่เมืองมนุษย์แล้ว

     จากนั้น พญาคันคาก กะสั่งการให้พญานาค จัดเวรกันขึ้นไปเล่นน้ำทุกปีอย่าได้ขาด...

     พญาแถนกะถามอีกว่า ถ้าเปิดป่องแปวไว้ตลอด บางเทื่อ นาคจองหองอาจสิขึ้นไปเล่นน้ำ เฮ็ดให้ฝนตกตลอดกะได้...  ถ้ามนุษย์บ่ต้องการฝน หรือต้องการให้เฮาพญาแถนปิดแปวนาค กะให้บอกได้

     พญาคันคากเลยว่า คันจั่งซั่น พอชาวมนุษย์ได้น้ำฟ้าเพียงพอแล้ว สิส่งสัญญาณแจ้งบอกให้พญาแถนปิดแปวพญานาคเอง

     บ้องไฟที่จุดขึ้นฟ้าได้ กะใช้เป็นสัญญาณเปิดแปวนาคแล้ว.... กะเลยคึดว่า น่าสิใช้อย่างอื่นไปเป็นสัญญาณ... ในที่สุด กะสรุปว่า พอชาวมนุษย์ได้น้ำฟ้าเพียงพอแล้ว กะสิพร้อมใจกันเฮ็ดโหวด แล้วกะแก่งโหวดขึ้นฟ้า ส่งเสียงสัญญาณให้พญาแถนฮู้ว่า ชาวมนุษย์ได้น้ำพอแล้ว จากนี้ไปขอให้พญาแถนปิดแปวพญานาคไว้ได้เลย



     นับแต่นั้นเป็นต้นมา ช่วงประมาณเดือนหกของทุกปี ซึ่งเป็นฤดูกาลทำนา ชาวเมืองชมพูกะเฮ็ดบั้งไฟ จุดขึ้นฟ้า เพื่อให้พญาแถนเปิดป่องแปวพญานาค ให้พญานาคขึ้นไปเล่นน้ำ เฮ็ดให้ฝนตก.... จากนั้น กะเป็นความเชื่อต่อมาในการเฮ็ดบั้งไฟ เป็นบั้งไฟหัวนาค หมายถึงส่งนาคขึ้นไปเล่นน้ำเทิงฟ้า...

      พอฮอดประมาณเดือนสิบสอง ออกพรรษาแล้ว ข้าวกล้าได้น้ำเพียงพอแล้ว ชาวเมืองชมพู กะพร้อมใจกันเฮ็ดโหวด (โหวดหางยาว) แล้วกะแก่งโหวดขึ้นฟ้า เพื่อให้พญาแถนปิดป่องแปวพญานาคไว้... จนเป็นประเพณีการเล่นโหวดในหน้าหนาว หรือหน้าเกี่ยวข้าว (ปัจจุบัน โหวดหางสำหรับแก่ง อาจสิบ่เห็นเล่นกันแล้ว เหลือแต่โหวดเป่าที่เป็นเครื่องดนตรี)...


-------- จบ ---------

 

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน