ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
อย่าได้เสียแฮงได้เป็นคนนำเพิ่น คนให้คนฮอดก้นเหนียวตุ้ยจั่งแม่นคน แปลว่า อย่าได้เสียแรงที่เป็นคนเหมือนคนอื่น คนขอให้คนถึงก้น จนเหนียวหนืด จึงชื่อว่าคน หมายถึง เป็นอะไร เป็นให้เหมาะสม ทำอะไร ทำให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

นิทานพื้นบ้านอีสาน  

เจ็ดหวดเจ็ดไห... จับปลาแม่น้ำ.. (นิทานพื้นบ้าน---อีสานจุฬาฯ)
นิทานแลง..เจ็ดหวดเจ็ดไห

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
จับปลาแม่น้ำ


สามบาคานท้าว อาศัยของวิเศษ ข้วมแม่น้ำได้สำเร็จ พากันเซาพักเมื่อย หายล้าแล้ว สามท้าว กะเดินทาง ต่อไป สาแหล่ว...

พักเซาเมื่อยแล้ว สามคนกะออกย่างต่อไปเรื่อยๆ ค่ำไสนอนฮั่น รอนแรมอยู่กลางป่า โฮ้...ดนเติบอยู่ล่ะว๋า... เผชิญภัยอันตรายหลายๆ รูปแบบ สามพี่น้องกะผ่านพ้นมาได้ซุเทื่อ ย่อน กำลังของจะของเองนำ ย่อนของวิเศษจากยักษ์นำ ย่อนผู้เว้า(คือผู้ข่านี้เอง) บ่แต่งให้ได้รับอันตรายนำ กะเลยพากันอยู่รอดปลอดภัย...

เอาล่ะ เว้าไปหลายมันกะลายทำท่าย เปิดอุ่มไม้... เอ๊อะ!!! โฮ้...อุ่มเล็บแมวตั้วหนิ หนามเล็บแมวปักมือ เจ็บๆ ... เอาใหม่เนาะ บ่ต้องเปิดอุ่มไม้ดอกเนาะ เดี๋ยวสิถืกหนามปักอีก...

เอาล่ะ เว้าไปมันกะลายทำท่าย เว้าย่อๆ พอได้ใจความ ดีก่อเนาะ (เดี๋ยวผู้ฟังสิหลับก่อนว๋า)


บาดนี้กะขอย่อนลัดตัดตอน มาเถิงตอนที่ สามพี่น้องออกจากป่าดงดิบได้ กะเดินทางมาเถิง แม่น้ำหม่องนึง แม่น้ำสายนี้ ไหลมาจากภูเขาใหญ่ในป่าดงดิบนั่นล่ะ เป็นแม่น้ำสายสำคัญของชาวบ้านชาวเมืองเด้

สามคนกะย่างเลียบลำน้ำไปเรื่อยๆ หิวข้าวติ้อีตาทีเนียะ... หมากไม้กะบ่มีซั่มแหม แถวนี่กะดาย กะคึดว่า ในแม่น้ำมันต้องมีปลา หาจับปลาแม่น้ำมาปิ้ง ย่างกิน ดีกั่ว...

ทีแรกบักเจ็ดไห กะเอาหนังสะติ๊กนั่นล่ะยิง ถ้าเป็นหนังสะติ๊กธรรมดา ยิงลงน้ำ ลูกกะสุนกะสิไปถืกผิวน้ำ มันกะสิดังจุ๋ม แล้วกะเฉเลี้ยวออกไปทางอื่นเด้เนาะ แต่ว่านี่เป็นหนังสะติ๊กวิเศษ ยิงได้แม่นคัก อยากให้ถืกปลาโตได๋ต้องถืก

ทีแรกบักเจ็ดไหกะใช้วิธีนี้ล่ะ แต่ว่ากว่าสิเห็นปลาแต่ล่ะโตกะตั้งว่ะโดนเว่ย คันเห็นกะยิงถืกยู้ มันผัดเหลียวบ่ค่อยเห็นโตปลาหนิตี้... นี่ล่ะคือปัญหา...ซัวสิได้แต่ละโต มันบ่แม่นของค่อยแหล่ว ดนเติบล่ะเว่ย ไฟดะดังไว้ท่าแล้ว พอหาได้แต่ละโตกะเอามาปิ้งจี่กิน จับปลาแบบนี้อยู่เคิงมื้อ กะบ่ได้เคิ่งท้องญ่อน

บักเจ็ดไหเลยว่า

“ จับแบบนี้มันได้เทื่อละหน่อย เฮามาจับแบบใหม่เถาะเว่ย เอามันเทื่อละหลายๆ”

แล้วมันกะบอกวิธีการให้อีกสองคนฟัง พอเข้าใจวิธีการแล้ว

บักร้อยไผ ่กะเอามีดอีโต้ที่ได้มาจากยักษ์ ไปตัดต้นไม้ใหญ่บักหลายต้นฟันเฉียงๆ หม่องโคนกกไม้ ฟับ ต้นไม้ใหญ่กะขาด จุ่ด ล้มลง ตัดปลาย ลิง่าออกดีๆ แล้ว บักร้อยเกวียน กะแบกขนมากองไว้ริมแม่น้ำ ให้บักเจ็ดไหจัดการต่อ

บักเจ็ดไห เสกหนังสะติ๊ก ให้ใหญ่ขึ้นอย่างคัก เอาต้นไม้ที่บักร้อยเกวียนแบกมา เฮ็ดเป็นลูกกะสุนหนังสะติ๊ก เด้...... เลาสิยิงอีหยังล่ะหือ????

จากนั้น บักเจ็ดไห กะตั้งใจ กำหนดเป้าหมาย กำหนดทิศทาง กำหนดพลัง ในการยิง ร่ายคาถากำกับเรียบร้อย กะยิงลูกกะสุนต้นไม้ใหญ่ขึ้นฟ้า

ต้นไม้ใหญ่ ลอยขึ้นฟ้าแล้ว กะอ่วยทางแหลม ลงมา ตกลง ตรงๆ ปักลงแม่น้ำ ทะลุลงดินในแม่น้ำ ตั้งเป็นหลักเสาเที่ยงที่ลี่ เอาโลด

เฮ็ดจั่งซี้ล่ะ ไปเรื่อย ๆ จนได้เสาเต็ม กั้นแม่น้ำไว้ ระยะห่างระหว่างเสาแต่ละต้น กะจ่งป่องไว้หน่อยๆ พอให้น้ำไหลผ่านไปได้ ปลาโตน้อยๆ กะลอดไปได้ ส่วนปลาโตใหญ่ๆ ลอดผ่านไปบ่ได้ ขั้นตอนที่หนึ่งเสร็จเรียบร้อย

จากนั้น บักร้อยไผ่ กะย่างขึ้นไปทางเหนือน้ำ ยืนอยู่ตอฝั่งน้ำ เอามีดโต้เลา วางทางคมลงน้ำ แล้วกะเสกมีดโต้ให้เล่มใหญ่ขึ้น ขวางกั้นน้ำไว้ บ่ให้ไหลลงไปทางล่าง เด้


พอน้ำไหลลงไปบ่ได้ น้ำที่อยู่ทางล่างแห้งแหล่วเว่ย ปลากะไหลไปติดเสาต้นไม้ทางล่าง เฮ็ดกองโจ้โก้ ดิ้นด่งเด่ง ด่งเด่ง หลายบักอย่างคัก .....ทั้งสามคน กะซ่อยกันไปจับเอาปลา ขึ้นมาจนเหมิด ได้หลายอย่างคัก ประมาณเป็นสิบๆ เกวียนพุ่นล่ะมั้ง... (บ่แมนเว้าโพดเว้าโพ เด้พี่น้องเอ๋ย เว้านิทานคักๆ นี่ล่ะ) โฮ้..วิธีการของบักเจ็ดไหหนิ ดีคัก จับเทียเดียว ได้บักหลาย

จับแล้วแล้ว บักร้อยไผ่ กะไปเสกมีดโต้คืนเป็นเล่มธรรมดา ปล่อยให้น้ำไหลลงมาคือเก่า ปลากะไหลมานำน้ำ มาข่อน แข่นอั้นตั้น อยู่เสาทางล่าง กะเฮ็ดคือเก่า แล้วกะลงไปจับเอาอีก เฮ็ดไปเฮ็ดมาอยู่จั่งซี้ล่ะ ปลาที่จับได้กะหลายขึ้นหลายขึ้น เฮ็ดกองโจ้โก้ เด้

ทั้งสามคนกะเอาใบตองใบใหญ่ๆ มาปูดิน แล้วกะเอาปลามากองจุ้มกุ้ม ก๋าประมาณอิ่มกันสามคนนั่นล่ะ จากนั้นกะเอาใบตอง มาปิดคลุมไว้ทางเทิงอีก แล้วกะพากันเอาดินมาโอบไว้ เฮ็ดคือสิเผาถ่านนั่นหนา

แล้วแล้ว กะเอาใบไม้แห้งมาสุมกองทับไว้ กะจุดไฟจากหินไฟวิเศษซั่นตี่ล่ะ ใบไม้หน่อยๆ แต่ว่าบ่มอดง่าย เพราะคาถาบ่ให้มอดนั่นเอง... ก๋าประมาณว่าสุก กะเสกให้ไฟดับ แล้วกะไปควดขี้ดินออก เปิดใบตองออก กะเอาปลาที่สุก หอมฮ่วย ฮ่วย มากัดกินอย่างแซบ ซั่นแหล่ว

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... นิทานพื้นบ้านอีสาน