ช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน เดือน 4 เดือน 5 บรรยากาศแถบบ้านเฮา มักจะมี พายุฤดูร้อน
หรือ "ฝนแล่น" นั่นคือ ลมกระโชกแรง ฝนตกหนัก และ" บักเห็บ" (ลูกเห็บ)
ซึ่งเป็นฝนโฮยดอกมะม่วง ดอกงิ้ว และให้ไม้ผลัดใบได้ฟื้นตัวผลิใบ ให้แมลง และ ขี้กะปอม ได้เกิดใหม่
งัวควาย ที่ถูกฝนแล่น แบบนี้มักจะ "ห่าว" วิ่งหนีแก๋ว (หนีแก่ว)
ขึ้นโคก ลงทาม บ่กลับมาคอก
ฝนตกมา อีสานกะมีแนวกินตามมาอีกสารพัดสาระเพ พี่น้อง
ท้องทุ่งโคกป่า ที่แห้งระแหง เริ่มมีชีวิตผลิกผัน เปลี่ยนโฉมหน้าไปตามฤดูกาล

สำหรับบรรยากาศในตัวเมืองใหญ่ หรือ กึ่งเมืองกึ่งชนบท จะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลง
ของธรรมชาติเท่าใดนัก มีแต่อากาศร้อนๆ รถติดคือเก่า สิ่งที่ชินตาสำหรับเฮาผู้อยู่ในเมืองใหญ่
ก็คือ ร้านอาหาร "ฟาสต์ฟู้ด" อาหารจานด่วน เนื่องจากสะดวกรวดเร็ว ทันใจ ฟ้าวไป ฟ้าวมา
แลชำเรื่องไป มีแต่ชื่อยี่ห้อต่างชาติ โกยเงินออกต่างประเทศ ปีละหลายหมื่นล้านบาท
"ฟาสต์ฟู้ด" ทางอีสานบ้านเฮาก็มีเช่นกัน แต่แตกต่างไปคนละแบบ ในทางอีสานเน้นความเรียบง่าย
สมถะและได้รสชาติ เช่น ไนบักขามคั่ว แจ่วปลาแดก หรือ แจ่วหัวโหล่น
"ฟาสต์ฟู้ด" อีกอย่างหนึ่ง ที่เป็นพื้นเพทางภาคอีสาน บ่งบอกตัวตนและวิถีได้อย่างดีคือ
ชื่อเมนู คั่วไข่
ชื่อภาษาไทย ไข่นอกคอก
ชื่อภาษาอังกฤษ Relate Egg
การคั่ว คือการทำให้อาหารสุก โดยการทำให้แห้ง ไม่ใช้น้ำมันเป็นตัวกลาง ไม่ง้อน้ำมันปาล์ม น้ำมันพืช
การทำอาหารประเภทนี้ พบได้ทั่วไป ส่วนใหญ่ในแถบยุโรป จะเป็นการคั่วเมล็ดพืช เสียมากกว่า
ส่วนอาหารที่นำไข่มา"คั่ว" คงมีแต่อีสานบ้านเฮาแห่งเดียว

ความเป็นมาของเมนู
วิถีชีวิตชาวอีสานสมัยเก่า อยู่กับไร่กับนา การงานส่วนใหญ่อยู่กับการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ต่างๆ
เรียกได้ว่า ชอบปลูกชอบฝัง งานหนักของผู้ชายส่วนใหญ่คือ "ขุดดินสิมไม้" ส่วนผู้หญิงก็
ยุ่งยากเรื่องอาหารการกิน เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม จึงปรากฏเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านดังที่เห็น
เมื่อฤดูกาลปลูกพืชมาถึงการงานจึงเยอะแยะไม่ค่อยมีเวลา เรียกว่า "ยากเวียก"
บางครั้งไม่มีเวลาไปหาอาหาร ( หาปูหาปลาหากบหาเขียด ) เหลือบมองไปบนเถียงนา
เห็นแต่ไก่แม่ฟัก กำลังฟักไข่ (กกไข่) จึงหลอยเอามาประกอบอาหารง่ายๆ เพื่อให้ทันเวลา
ชาวอีสานโบราณ ไม่นิยมซื้อของกิน ให้เสียสตางค์ มักจะหากินเอาตามธรรมชาติ
จนมีเจตคติเก่าแก่ว่า " ตื่นเซ้ามี 3 แนวหย๋าม ยามแลงมี 3 แนวใส่ "
อธิบายให้คนปัจจุบันเข้าใจลำบาก เนื่องจากสมัยก่อน เสรีชนมีเยอะสมัยปัจจุบันเสรีภาพมีเยอะ
แต่เสรีชนมีน้อย จึงยากที่จะดำรงเจตคติแบบอีสานเก่าก่อน )

ส่วนประกอบอาหาร
1.ไข่ไก่
2.ปลาแดก
3.ผักหอมบั่ว ผักหอมเป
4.หัวหอมแดง
5.เกลือ
6.บักเผ็ด (พริก) 3 เม็ด
7.ผงนัว ( แล้วแต่คนชอบ)
ไข่ไก่จากไก่ที่เลี้ยงไว้ ปลาแดกที่หาเฮ็ดไว้ตั้งแต่ฤดูน้ำหลาก และฤดูปลาข่อน
ผักบั่วหัวหอมปลูกไว้ติดครัวเรือน พริกเกลือ คือสิ่งสามัญประจำครัวอยู่แล้ว
วิธีทำ
1.เอาน้ำเหยาะใส่ม้อนิดหน่อยป้องกันการติดหม้อ

2.ตอกไข่ใส่หม้อตีให้แตก เหยาะเกลือนิดหนึ่ง

3.เอาน้ำปลาแดกเหยาะลงไป คนให้ทั่ว

4.ซอยพริกกับผักหอมต่างๆ เตรียมไว้

5.นำไปตั้งไฟอ่อน ๆ คอย คะลนอย่าให้ไหม้

6.เอาผักหอมที่ซอยไว้ลงไปใส่

7.คนและคั่วให้สุกหอม

8.ตักใส้ถ้วย อย่าลืมขูด ขี้เมี่ยงติดหม้อไปด้วย ส่วนนี้หละที่แซบ


ใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 5 นาทีก็ได้กิน เมนูสุดแซบนี้
ไข่คั่วนั้น รสชาติแตกต่างจาก ไข่เจียวมากมาย เพราะความหอมของไข่
ไข่ผ่านการคั่วจะมีรสชาติที่แซบและนัว เป็นอาหารที่ทำง่ายๆ ได้คุณค่า
เมนูนี้ยังมีความอ่อนตัว สามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่ หรือความเป็นอินเตอร์
เพื่อให้ถูกปากผู้นิยมของนอกได้ แต่กระผมนิยมแบบ อีสส...
เมื่อกินครั้งใดหัวใจลอยไปชะโลมทุ่ง...กลิ่นแห่งเสรีภาพ ในวิถีอีสาน

พ่อครัวปิ่นลมลงมือทำเอง พี่น้อง เป็นตาแซบบ่
|