ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
อย่าได้ติดตามก้นของคนท้องหยึ่ง มันสิตดใส่เจ้าให้ดังเว้อปึ่งเหม็น แปลว่า อย่าได้เดินตามก้นของคนท้องอืด เขาจะตดใส่ ให้ได้ดมกลิ่นเหม็นๆ หมายถึง คนชั่ว มีพฤติกรรมไม่ดี ไม่ควรเลียนแบบ หรือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

ดนตรีพื้นบ้านอีสาน  

วงโปงลาง (วงดนตรีพื้นบ้านอีสาน---อีสานจุฬาฯ)
  หน้าก่อน หน้าถัดไป
วงโปงลาง


คณะโปงลาง หรือนิยมเรียกว่า วงโปงลาง นั้น คาดว่าได้ชื่อนี้มาจาก... เครื่องดนตรีที่ดังที่สุดในวงคือ โปงลาง (กรณีไม่ใช้เครื่องขยายเสียง) ดังนั้น เลยเรียกวงดนตรีนั้นว่า วงโปงลาง หรืออีกที่มาหนึ่ง คือ โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีเด่น กำลังมาแรง เป็นจุดขายของวง จึงตั้งชื่อว่า วงโปงลาง ซึ่งบางแห่ง อาจจะไม่ใช้ชื่อว่าวงโปงลาง แต่ใช้ชื่อว่าวงแคน หรือวงพิณ ก็มี

วงโปงลาง แม้จะใช้ชื่อว่า วงโปงลาง ก็ไม่ได้หมายความว่า มีเฉพาะโปงลางอย่างเดียว แต่มีเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด ร่วมบรรเลง

วงโปงลาง ในสมัยก่อน เป็นแบบพื้นบ้านจริงๆ ไม่มีเครื่องขยายเสียง ใช้เสียงสดๆ ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเลยทีเดียว ซึ่งเครื่องดนตรีหลักๆ แบบเต็มวง ประกอบด้วย

  • โปงลาง
  • พิณโปร่ง (ชนิดที่มีกล่องเสียงใหญ่ๆ)
  • แคน
  • โหวด
  • ไหซอง (ยังไม่มีพิณเบส)
  • กลองหาง (กลองยาวอีสาน)
  • รำมะนา หรือกลองตุ้ม
  • หมากกะโหล่ง (หมากป็อกๆ) หรือใช้หมากกั๊บแก๊บ
  • ฉาบเล็ก
  • ฉาบใหญ่

เสียงดนตรีที่ได้ จะให้ความรู้สึกคลาสิคแบบพื้นบ้านจริงๆ

ต่อมาเมื่อ เมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเครื่องดนตรีวงโปงลางยุคปัจจุบัน แบบเต็มวง ประกอบด้วย

  • โปงลาง
  • พิณไฟฟ้า (หรือพิณโปร่งไฟฟ้า)
  • แคน
  • โหวด
  • พิณเบสไฟฟ้า
  • ไหซอง (โชว์ลีลานางดีดไห)
  • กลองหาง (กลองยาวอีสาน)
  • รำมะนา หรือกลองตุ้ม
  • หมากกะโหล่ง (หมากป็อกๆ) หรือใช้หมากกั๊บแก๊บ
  • ฉาบเล็ก
  • ฉาบใหญ่
  • แฉ

บางวงใช้เครื่องดนตรีต่อไปนี้ ด้วย

  • ฉิ่ง
  • ฆ้องโหม่ง
  • ปี่ภูไท
  • ซอ
  • หึน

บางวงที่ประยุกต์เพื่อสนุกสนานบันเทิง ก็อาจใช้

  • กลองชุดสากล
  • แซคโซโฟน
  • กลองยาวติดคอนแท็ค

 

ลักษณะการแสดงของวงโปงลางพื้นบ้านนั้น หลักๆ จะมี 3 ลักษณะคือ

  • การบรรเลงลายเพลงพื้นบ้านอีสาน (นิยมเรียกว่า ลายบรรเลง)
  • การฟ้อนประกอบดนตรี (นิยมเรียกว่า ชุดการแสดง)
  • การร้อง ลำ ประกอบดนตรี รวมถึงประกอบการฟ้อนรำ

 

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ดนตรีพื้นบ้านอีสาน