ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ได้ยินป่าวๆฮ้อง งัวเจ้าของอย่าฟ่าวว่า ห่าเป็นแนวซาดเซื้อ เสือฮ้ายซิคาบคอ เอาเด้ แปลว่า แค่เพียงได้ยินเสียงร้องคุ้นๆ อย่าเพิ่งว่าเป็นวัวของตน เพราะหากเป็นเสือแล้วไซร้ มันจะกัดเอาได้ หมายถึง อย่าทำอะไรด้วยความประมาท พลาดพลั้งไปจะแก้ไขไม่ทันการณ์

ดนตรีพื้นบ้านอีสาน  

ไหซอง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน---อีสานจุฬาฯ)
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน...ไหซอง

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
ไหซอง


ไหซอง เป็นเครื่องดนตรีประเภทคุมจังหวะ ให้เสียงทุ้มต่ำ แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความโตของไหที่ใช้ และความตึงหย่อนของหนังยางที่ขึงพาดอยู่ปากไห

ไหซอง โดยทั่วไป นิยมใช้บรรจุปลาร้า เกลือ และหมักสาโท ยังไม่ทราบชัดเจนว่า ใครเป็นผู้นำไหซอง มาทำเป็นเครื่องดนตรีคนแรก

ไหซอง ทำเป็นเครื่องดนตรี ได้โดย ใช้สายยาง หรือสายหนังสะติ๊ก (สมัยก่อน ใช้ยางในรถจักรยาน หรือยางในล้อรถ ต่อมาใช้ยางหนังสะติ๊ก) ขึงให้ตึงพาดผ่านปากไห และมัดยึดปลายสองด้านไว้กับคอไห ปรับความตึงของหนังยางให้พอเหมาะ

เวลาจะเล่น ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เกี่ยวดึงสายหนังยางขึ้นมาแล้วปล่อย เสียงที่ได้จากการดึงปล่อยหนังยาง จะดังทุ้มต่ำ คล้ายเสียงเบส

สมัยก่อนนั้น ยังไม่มีเบส จึงใช้ไหซองแทนเสียงเบส โดยจำนวนไหที่นิยมใช้ ประมาณ ๔-๕ลูก ปรับระดับคีย์เสียงให้เหมาะสมกับเสียงดนตรีหลัก โดยปรับความตึงของหนังยาง วางเรียงไหบนขาตั้งไห จากใหญ่ไปหาเล็ก และผู้บรรเลงไหซอง ก็เป็นผู้ชายเหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆ

วงโปงลางในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ใช้เบส คุมจังหวะ จึงไม่มีการดีดไหซองจริงๆ ซึ่งไหซองในปัจจุบัน เป็นเพียงโชว์ลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำแบบอ่อนช้อยแพรวพราว ดังนั้น จึงนิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีดไห เรียกว่า นางดีดไห หรือนางไห และนางไหนี่เอง ถือเป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มาก

 

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ดนตรีพื้นบ้านอีสาน